ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 05:18:34 am »


เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ ผู้มีปกติอยู่ในป่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อยฺญา หิ ลาภูปนิสา เป็นต้น

พระติสสเถระ เป็นบุตรของเศรษฐีในกรุงสาวัตถี บิดาของท่านเคยถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระสารีบุตรเถระในบ้านของท่าน พระติสสเถระขณะเป็นเด็กตัวเล็กๆก็ได้มีโอกาสพบกับพระสารีบุตรอยู่หลายครั้ง เมื่อตอนที่ท่านอายุได้ 7 ขวบ ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมีพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์ หลังจากที่ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว พวกญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงได้มาหาท่านและได้นำสิ่งของมาถวายท่านเป็นจำนวนมาก สามเณรติสสะเบื่อหน่ายแขกที่มาหาท่านเหล่านี้มาก จึงได้ไปรับพระกัมมัฏฐานจากพระศาสดาแล้วออกไปปฏิบัติพระกัมมัฏฐานอยู่ที่วัดป่าแห่งหนึ่ง เวลาที่มีชาวบ้านมาถวายสิ่งของใดๆ สามเณรติสสะก็จะกล่าวแต่เพียงว่า “ขอท่านทั้งหลาย จงถึงซึ่งความสุข จงพ้นจากทุกข์” (สุขิตา โหถ, ทุกขา มุจฺจถ) แล้วเดินเลี่ยงไป ขณะที่มาพำนักอยู่ในวัดป่าแห่งนี้ ติสสะสามเณรมีความมุ่งมั่นพยายามปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ในช่วงเข้าพรรษาท่านก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล

หลังจากออกพรรษาปวารณาแล้ว พระสารีบุตรเถระพร้อมด้วยพระมหาโมคคัลลานะและภิกษุอาวุโสอื่นๆได้ไปเยี่ยมติสสสามเณร โดยได้รับพุทธานุญาตแล้ว พวกชาวบ้านทั้งหลายได้ออกมาต้อนรับพระสารีบุตรและคณะภิกษุประมาณ 4 หมื่นรูป และได้อาราธนาพระสารีบุตรแสดงธรรมให้ฟัง แต่พระสารีบุตรปฏิเสธที่จะแสดงเอง ได้มอบหมายให้ติสสสามเณรซึ่งเป็นอันเตวาสิกของท่านแสดงแทน พวกชาวบ้านเรียนพระสารีบุตรว่า สามเณรติสสะนี้ได้แต่พูดคำสองประโยคนี้ว่า “ขอท่านทั้งหลาย จงถึงซึ่งความสุข จงพ้นจากทุกข์” เท่านั้น และได้ขอให้พระเถระได้มอบหมายภิกษุอื่นแสดงธรรมแทน แต่พระเถระยังยืนกรานให้สามเณรเป็นผู้แสดงธรรม และได้บอกกับติสสสามเณรว่า “สามเณร คนทั้งหลายจะมีความสุขได้อย่างไร ? และจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร ? เธอจงกล่าวเนื้อความแห่งบททั้ง 2 นี้แก่เราทั้งหลาย

จากนั้นติสสสามเณรก็ได้ขึ้นธรรมาสน์ตามคำบัญชาของพระอุปัชฌาย์ แล้วแสดงธรรม โดยท่านได้อธิบายให้ผู้ฟังได้รู้จักความหมายของขันธ์ ธาตุ อายตนะ และโพธิปักขิยธรรม ทางนำไปสู่พระอรหัตตผลและพระนิพพาน ในที่สุดท่านได้กล่าวสรุปว่า “ท่านผู้เจริญ ความสุขย่อมมีแก่บุคคลผู้บรรลุพระอรหัตอย่างนี้ ผู้บรรลุพระอรหัตแล้วนั่นแล ย่อมพ้นจากทุกข์ คนที่เหลือไม่พ้นจากชาติเป็นต้น และจากทุกข์ในนรกเป็นต้นได้

พระสารีบุตรเถระ ได้กล่าวยกย่องติสสสามเณรว่าแสดงธรรมได้ดี เมื่อพระเถระแสดงธรรมจบลงก็ถึงเวลารุ่งอรุณพอดี ในหมู่ชาวบ้าน บางคนก็เกิดความประหลาดใจเมื่อพบว่าติสสสามเณรแสดงธรรมได้ดี แต่กลับไม่ยอมแสดงธรรมให้พวกเขาฟังได้แต่กล่าวประโยคสั้นๆว่า ขอท่านทั้งหลายจงถึงซึ่งความสุข จงพ้นจากทุกข์ แต่ชาวบ้านอีกพวกหนึ่งก็มีความชื่นชมในตัวสามเณรมาก ที่ได้พบว่าสามเณรเป็นผู้คงแก่เรียนซึ่งพวกเขามีความโชคคีที่มีสามเณรมาอยู่ด้วยเช่นนี้

พระศาสดาประทับอยู่ในวัดพระเชตวัน แต่ทรงทอดพระเนตรเห็นพวกชาวบ้านที่แยกกันออกเป็น 2 กลุ่มนั้นด้วยจักษุทิพย์ ทรงต้องการขจัดความเข้าใจผิดของพวกชาวบ้านในกลุ่มแรก จึงได้เสด็จไป ณ ที่นั้นด้วยอิทธิฤทธ์ไปปรากฏพระองค์ในขณะที่พวกชาวบ้านกำลังตระเตรียมอาหารสำหรับพระภิกษุทั้งหลาย พวกชาวบ้านมีความยินดีที่ได้มีโอกาสถวายภัตตาหารแด่พระศาสดา หลังจากสร็จภัตตกิจแล้วพระศาสดาเมื่อจะทรงทำอนุโมทนาจงตรัสว่า “อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ซึ่งได้เห็นอสีติมหาสาวก คือ สารีบุตร โมคคัลลานะ กัสสปะ เป็นต้น เพราะอาศัยสามเณรผู้เข้าถึงสกุลของตนๆ แม้เราก็มาแล้ว เพราะอาศัยสามเณรผู้เข้าถึงสกุลท่านทั้งหลายเหมือนกัน แม้การเห็นพระพุทธเจ้า อันท่านทั้งหลายได้แล้ว เพราะอาศัยสามเณรนั่นเอง เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายดีแล้ว” จากพระดำรัสว่าทำให้ชาวบ้านทั้งหลายได้ตระหนักว่าเป็นความโชคดีที่พวกเขามีติสสสามเณรมาอยู่ด้วยเช่นนี้ พวกที่เคยโกรธสามเณรก็ได้หายโกรธ พวกที่เลื่อมใสอยู่แล้วก็ยิ่งเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น เมื่อเทศนาจบลง ชนเป็นอันมากทั้งภิกษุและชาวบ้านได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

หลังจากแสดงพระธรรมเทศนาจบแล้ว พระศาสดาได้เสด็จกลับไปที่วัดพระเชตวัน ในตอนเย็นภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันในโรงธรรม กล่าวยกย่องติสสสามเณรว่า “ติสสสามเณร ทำกรรมที่บุคคลทำได้ยาก จำเดิมแต่ถือปฏิสนธิ พวกญาติของเธอ ได้ถวายข้าวปายาสมีน้ำน้อยแก่ภิกษุประมาณ 500 ในมงคล 7 ครั้ง ในเวลาบวชแล้ว ก็ได้ถวายข้าวปายาสมีน้ำน้อยเหมือนกัน แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ในวิหารสิ้น 7 วัน ครั้นบวชแล้ว ในวันที่ 8 เข้าไปสู่บ้าน ได้บิณฑบาตพันหนึ่งกับผ่าสาฎกพันหนึ่ง โดย 2 วันเท่านั้น วันรุ่งขึ้น ได้ผ้ากัมพลพันผืน ในเวลาอยู่ในที่นี้ ลาภและสักการะมากมายก็เกิดขึ้นแล้วเหมือนกัน บัดนี้เธอทิ้งลาภและสักการะมากมายเช่นนี้ แล้วเข้าไปสู่ป่า ดำเนินชีวิตด้วยอาหารที่เจือกัน

พระศาสดาเมื่อทราบหัวข้อสนทนาของภิกษุเหล่านั้นแล้วได้ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือในหมู่บ้าน ไม่พึงอยู่เพราะต้องการลาภและสักการะ หากภิกษุสละลาภและสักการะแล้ว มีความมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมในที่สงัดในป่า ก็จะบรรลุพระอรหัตตผลได้อย่างแน่นอน

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 75 ว่า
อญฺญา หิ ลาภูปนิสา
อญฺญา นิพฺพานคามินี
เอวเมตํ อภิญฺญาย
ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก
สกฺการํ นาภินนฺเทยฺย
วิเวกมนุพฺรูหเยฯ

(อ่านว่า)
อันยา หิ ลาพูปะนิสา
อันยา นิบพานะคามินี
เอวะเมตัง อะพินยายะ
พิกขุ พุดทัสสะ สาวะโก
สักการัง นาพินันเทยยะ
วิเวกะมะนุพรูหะเย.

(แปลว่า)
ข้อปฏิบัติอันจะนำไปสู่ลาภเป็นอย่างหนึ่ง
ทางปฏิบัติอันจะนำไปสู่พระนิพพานเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ทราบเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว

ไม่พึงเพลิดเพลินลาภสักการะ
แต่พึงตามเจริญวิเวก.


เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น.

one mind :http://agaligohome.com/index.php?topic=4612.0
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 05:02:34 am »


เรื่องพระสุธรรมเถระ

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสุธรรมเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อสนฺตํ ภาวมิจฺเฉยฺย เป็นต้น

ครั้งหนึ่ง จิตตคฤหบดี เห็นพระมหานามเถระ หนึ่งในภิกษุคณะปัญจวัคคีย์ จึงรับบาตร นิมนต์เข้าไปในบ้าน แล้วได้ถวายภัตตาหารแก่พระเถระ และเมื่อฟังธรรมของพระเถระแล้วก็ได้บรรลุพระโสดาปัตติผล ต่อมาจิตตคฤหบดีได้สร้างวัดขึ้นในอุทยานชื่ออัมพาฏกวัน(สวนมะม่วง)ของตน ในมัจฉิกาสัณฑนคร และคอยดูแลอุปถัมภ์พระภิกษุสงฆ์ที่เดินทางมาพักอยู่ที่วัดนี้ด้วยปัจจัยต่างๆเป็นอย่างดี ที่วัดนี้มีพระสุธรรมเถระเป็นเจ้าอาวาส

วันหนึ่ง พระอัครสาวกทั้ง 2 คือ พระสารีบุตรแลพระโมคคัลลานะ ได้เดินทางไปที่วัดนี้ และจิตตคฤหบดีหลังจากฟังธรรมของพระสารีบุตรแล้ว ก็ได้บรรลุพระอนาคามิผล จากนั้นท่านคฤหบดีก็ได้อาราธนาพระอัครสาวกทั้ง 2 ไปรับอาหารบิณฑบาตที่บ้านในวันรุ่งขึ้น ท่านคฤหบดีได้อาราธนาพระสุธรรมเถระเจ้าอาวาสด้วยเช่นกัน แต่พระสุธรรมเถระโกรธหาว่า “อุบาสกนี้ นิมนต์เราภายหลัง” จึงปฏิเสธที่จะรับนิมนต์ แม้ว่าท่านคฤหบดีจะอ้อนวอนอยู่หลายครั้งก็ยังปฏิเสธว่าจะไม่ไปเช่นเดิม แต่พอถึงเวลาจริงๆ ท่านพระสุธรรมเถระกลับเดินทางไปที่บ้านของจิตตคฤหบดีในตอนเช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้น เมื่อจิตตคฤหบดีนิมนต์ให้เข้าไปนั่งในบ้านท่านกลับปฏิเสธโดยกล่าวว่าท่านไม่ต้องการเข้าไปนั่งแต่ต้องการจะออกไปบิณฑบาต เมื่อท่านแลเห็นสิ่งของต่างๆที่จิตตคฤหบดีตระเตรียมไว้ถวายพระอัครสาวกทั้ง 2 ท่านก็เกิดความริษยาพระอัครสาวกทั้งสอง ถึงกับระงับความโกรธไว้ไม่อยู่ ท่านได้กล่าวเสียดสีจิตตคฤหบดีแล้วกล่าวว่า “อาตมาไม่ต้องการอยู่ในวัดนี้อีกต่อไปแล้ว” แล้วก็จากไปด้วยความโกรธ

ท่านสุธรรมเถระได้เดินทางไปเฝ้าพระศาสดาและได้กราบทูลเรื่องที่เกิดขึ้นแด่พระศาสดา พระศาสดาได้ตรัสกับพระสุธรรมเถระว่า “เธอด่าอุบาสกผู้ประกอบศรัทธาและมีอัธยาศัยใฝ่ทาน เธอจงกลับไปขอโทษความผิดต่ออุบาสกนั้นเสีย” พระสุธรรมเถระได้กลับไปขอโทษ แต่จิตตคฤหบดีไม่ยอมยกโทษให้ ท่านจึงต้องกลับไปเฝ้าพระศาสดาเป็นครั้งที่สอง พระศาสดาทรงทราบว่าคราวนี้พระสุธรรมเถระหมดทิฏฐิมานะแล้ว จึงตรัสว่า “เธอจงไปเถิด ไปกับภิกษุผู้เก่งในทางเจรจา(อุปทูต) จงให้อุบาสกอดโทษ” แล้วตรัสอีกว่า “พระที่ดีไม่พึงยึดติด ไม่พึงมีทิฏฐิมานะว่า วิหารของเรา ที่อยู่ของเรา อุบาสกของเรา อุบาสิกาของเรา เพราะเมื่อพระทำอย่างนั้น เหล่ากิเลส มีริษยาและมานะเป็นต้น ย่อมเจริญ

จากนั้น พระศาสดาตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 73 และพระคาถาที่ 74 ว่า
อสนฺตํ ภาวมิจฺเฉยฺย
ปุเรกฺขารญฺจ ภิกฺขุสุ
อาวาเสสุ จ อิสฺสริยํ
ปูชา ปรกุเลสุ จฯ

(อ่านว่า)
อะสันตัง พาวะมิดเฉยยะ
ปุเรกขารันจะ พิกขุสุ
อาวาเสสุ จะ อิดสะริยัง
ปูชา ปะระกุเลสุ จะ.

(แปลว่า)
ภิกษุพาล ย่อมปรารถนา
ความยกย่อง อันไม่มีอยู่
ความแวดล้อมในหมู่ภิกษุทั้งหลาย
ความเป็นใหญ่ในอาวาส

และการบูชาในตระกูลแห่งชนอื่นฯ


มเมว กตมญฺญนฺตุ
คิหี ปพฺพชิตา อุโภ
มเมว อติวสา อสฺสุ
กิจฺจากิจฺเจสุ กิสมิญฺจิ
อิติ พาลสฺส สงฺกฺโป
อิจฉา มาโน จ วฑฺฒติฯ

(อ่านว่า)
มะเมวะ กะตะ มันยันตุ
คิหิปับพะขิตา อุโพ
มะเมวะ อะติวะสา อัดสุ
กิดจากิดเจสุ กิดสะมินจิ
อิติ พาลัดสะ สังกับโป
อิดฉา มาโน จะ วัดทะติ.

(แปลว่า)
ภิกษุโง่ คาดหวังว่า
ขอคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้ง 2 ฝ่าย
จงสำคัญว่า กิจการงานทำเสร็จไปเพราะอาศัยเรา
ในกิจการทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นกิจการน้อยใหญ่ใดๆ
จะสำเร็จได้ก็โดยอาศัยเราเท่านั้น

ความทะยานอยาก และความถือตัวของภิกษุโง่นั้น ย่อมเพิ่มพูน.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น

ข้างพระสุธรรมเถระ ฟังโอวาทนี้แล้วก็ได้เดินทางไปที่บ้านของจิตตคฤหบดี ครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายสามารถประนีประนีประนอมกันได้ และจากนั้นอีกไม่กี่วัน พระสุธรรมเถระก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 04:52:47 am »


เรื่องสัฏฐิกูฏเปรต

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภสัฏฐิกูฏเปรต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
ยาวเทว อนตฺถาย เป็นต้น

พระมหาโมคคัลลานเถระ ลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พร้อมกับพระลักขณเถระ เห็นเปรตตัวใหญ่โตมาก
ขณะจะไปบิณฑบาต ได้กระทำการยิ้มแย้มแต่ไม่ได้พูดอะไร พอกลับจากบิณฑบาตเข้าไปในวัดพระเวฬุวัน ได้กราบทูลเรื่องนี้แด่พระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า สัฏฐิกูฏเปรตนี้ในอดีตชาติ เป็นบุรุษเปลี้ยผู้ชำนาญในการดีดก้อนกรวด วันหนึ่งเขาได้ขออนุญาตจากอาจารย์ทำการทดลองความแม่นยำของการดีดก้อนกรวด อาจารย์บอกว่าจะต้องไม่ทดลองกับโคหรือกับมนุษย์ เพราะหากโคหรือมนุษย์ตายจะต้องจ่ายสินไหมให้แก่เจ้าของโคหรือญาติของผู้ตาย แต่จะต้องหาเป้าที่เป็นคนที่ไม่มีมีมารดาบิดาเท่านั้น

บุรุษเปลี้ยมาเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าสุเนตตะ ซึ่งกำลังออกเดินบิณฑบาต จึงคิดจะใช้ท่านเป็นเป้าสำหรับดีดกรวด โดยมีความคิดว่า “พระปัจเจกพุทธเจ้านี้ เป็นผู้ไม่มีมารดาบิดา เมื่อเราดีดผู้นี้ ไม่ต้องมีสินไหม เราจักดีดพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ ทดลองศิลปะ” ก้อนกรวดที่บุรุษเปลี้ยดีดไปเข้าทางช่องหูขวาไปทะลุออกทางช่องหูซ้าย พระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อโดนดีดด้วยกรวด ได้รับบาดเจ็บเดินบิณฑบาตต่อไปไม่ได้ ได้เหาะกลับไปปรินิพพาน(เสียชีวิต)ที่บรรณศาลา ต่อมาเมื่อชาวบ้านมาพบว่าบุรุษเปลี้ยเป็นผู้สังหารพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ได้ช่วยกันเอาก้อนหินขว้างปาจนถึงแก่ความตาย และเขาไปเกิดในมหานรกชั้นอเวจี เมื่อไปหมกไหม้อยู่ในนรกชั้นนี้จนแผ่นดินโลกมนุษย์หนาขึ้นโยชน์หนึ่ง จึงได้มาเสวยเศษกรรมที่เหลือ โดยมาเกิดเป็นสัฏฐิกูฏเปรต ที่ยอดเขาคิชฌกูฏ ที่พระมหาโมคคัลลานะแลเห็นดังกล่าว โดยที่ศีรษะของเปรตตนนี้ถูกค้อนเหล็กเผาไฟจนแดง 6 หมื่นอันตีกระหน่ำอยู่อย่างต่อเนื่อง

พระศาสดาครั้นนำบุรพกรรมของเปรตนี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนพาลได้ศิลปะหรือความรู้มาแล้ว ย่อมทำความฉิบหายแก่ตนถ่ายเดียว

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 72 ว่า
ยาวเทว อนตฺถาย
ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺสส สุกฺกํสํ
มุทฺธมสฺส วิปาตยํฯ

(อ่านว่า)
ยาวะเทวะ อะนัดถายะ
ยัดตัง พาลัดสะ ชายะติ
หันติ พาลัดสะ สุกกังสัง
มุดทะมัดสะ วิปาตะยัง.

(แปลว่า)
ความรู้ย่อมเกิดแก่คนพาล
เพียงเพื่อความฉิบหายเท่านั้น
ความรู้นั้น ยังหัวคิดของเขาให้ตกไป

ย่อมฆ่าส่วนสุกกธรรมของคนพาลเสีย.


เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 04:29:47 am »


เรื่องอหิเปรต

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในวัดพระเวฬุวัน ทรงปรารภอหิเปรตตนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น หิ ปาปํ กตํ กมฺมํ เป็นต้น

ครั้งหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะและพระลักขณเถระ ลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เพื่อจะไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะแลเห็นเปรตตนหนึ่ง จึงได้ยิ้มออกมาแต่ไม่พูดอะไร เมื่อพระเถรทั้งสองรูปกลับถึงพระวัดพระเวฬุวัน พระมหาโมคคัลลานะจึงบอกกับพระลักขณเถระว่า ที่ท่านยิ้มออกมานั้น เพราะท่านเห็นเปรตซึ่งมีศีรษะเป็นมนุษย์แต่มีร่างเป็นงู พระศาสดาได้ตรัสว่า พระองค์เองก็เคยทอดพระเนตรเห็นเปรตตนนี้ในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณเหมือนกัน พระศาสดาทรงเล่าถึงบุพพกรรมของเปรตตนนี้ว่าเขาไม่เพียงแต่จะได้เสวยผลในชาติที่กระทำกรรมนั้นเท่านั้น แต่กฎแห่งกรรมยังส่งผลร้ายแก่เขาในชาติต่อมาด้วยว่า เมื่อนานมาแล้วมีพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่ง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนมาก ประชาชนได้ช่วยกันก่อสร้างบรรณศาลาถวายท่านและก็ได้เดินทางไปหาท่านโดยเดินผ่านทุ่งนาของชายผู้หนึ่งไป ชายเจ้าของนากลัวว่าข้าวกล้าในนาของตนจะได้รับความเสียหายจากการเหยียบย่ำของประชาชนที่เดินไปบรรณศาลา จึงจุดไฟเผาวัดบรรณศาลาหลังนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น เมื่อพวกประชาชนไปไม่พบพระปัจเจกพุทธเจ้าและทราบว่าชายเจ้าของนาเป็นผู้จุดไฟเผาบรรณศาลา ก็ได้ช่วยกันทุบตีจนชายเจ้าของนานั้นเสียชีวิต ชายเจ้าของนาเมื่อเสียชีวิตแล้วก็ได้ไปเกิดในอเวจีมหานรก หมกไหม้อยู่ในนรกจนแผ่นดินในโลกมนุษย์หนาขึ้นประมาณโยชน์หนึ่ง จึงเกิดเป็นอหิเปรตเพราะเศษของกรรมที่ยังเหลือ

พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมของอหิเปรตนั้นแล้ว จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าบาปกรรมนั่น เป็นเช่นกับน้ำนม น้ำนมที่บุคคลกำลังรีด ย่อมยังไม่แปรไปฉันใด กรรมอันบุคคลกระทำไว้ ก็ยังไม่ทันให้ผลฉันนั้น แต่ในกาลใด กรรมให้ผล ในกาลนั้น ผู้กระทำย่อมประสบทุกข์เห็นปานนั้น

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 71 ว่า
น หิ ปาปํ กตํ กมฺมํ
สชฺชุขีรํว มุจฺจติ
ฑหนฺตํ พาลมเนวติ
ภสฺมาจฺฉนฺโนว ปาวโกฯ

(อ่านว่า)
นะ หิ ปาปัง กะตัง กำมัง
สัดชุขีรังวะ มุดจะติ
ทะหันตัง พาละมันนะเวติ
พัดสะมาดฉันโทวะ ปาวะโก.

(แปลว่า)
กรรมชั่วอันบุคคลทำแล้ว ยังไม่ให้ผล
เหมือนน้ำนมที่รีดในขณะนั้น ยังไม่แปรไป ฉะนั้น
บาปกรรม ย่อมตามเผาคนพาล

เหมือนไฟอันเถ้ากลบไว้ ฉะนั้น.


เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 04:24:05 am »


เรื่องชัมพุกาชีวก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภชัมพุกาชีวก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า มาเส มาเส กุสคฺเคน เป็นต้น

ชัมพุกาชีวก เป็นบุตรของเศรษฐีผู้หนึ่งในกรุงราชคฤห์ เขาพอคลอดออกมาเป็นทารก ก็มีพฤติกรรมที่ประหลาดๆเนื่องจากกรรมเก่าที่ได้กระทำมาแต่อดีตชาติ คือ เป็นทารกที่ไม่ชอบนอนบนที่นอน แต่ชอบนอนบนพื้นดิน ไม่ชอบรับประทานอาหารปกติ แต่ชอบรับประทานอุจจาระของตนเองเป็นอาหาร เมื่อเติบโตขึ้นมาหน่อย เขาไม่ต้องการจะนุ่งผ้า บิดามารดาก็จึงได้พาเขาไปบวชเป็นนักบวชในสำนักของพวกอาชีวก เมื่อพวกอาชีวกพบว่าเขามีพฤติกรรมชอบรับประทานอุจจาระของตนเองก็ได้ขับไล่เขาออกจากสำนัก เมื่อถูกขับไล่ออกจากสำนักของอาชีวก เขาก็ได้มาอาศัยอยู่ที่ใกล้ส้วมหลุมสาธารณะ ในตอนกลางคืนก็ได้ไปนำเอาอุจจาระมนุษย์มารับประทาน แต่ในตอนกลางวันก็ทำทีเหนี่ยวก้อนหินยกขาขึ้นมาข้างหนึ่ง ยืนเงยหน้าอ้าปากกว้าง เขาบอกกับทั้งหลายว่าที่ต้องยืนอ้าปากอยู่เสมอนั้น ก็เพราะเขากินลมเป็นอาหาร ส่วนที่ต้องยืนด้วยขาข้างเดียวนั้นก็เพราะว่าตัวของเขาหนักมากหากยืนทั้งสองขาแผ่นดินก็จะสั่นไหว และก็ยังคุยออกมาเป็นตุเป็นตะด้วยว่า “ข้าพเจ้าไม่เคยนั่ง และไม่เคยนอน” ด้วยเหตุนี้ผู้คนจึงเรียกเขาว่า “ชัมพุกะ”

หลายคนมานิยมนับถือเขา และบางคนถึงกับนำอาหารมาให้ แต่ชัมพุกะปฏิเสธโดยกล่าวว่า “เรากินลมอย่างเดียว ไม่กินอาหารอย่างอื่น เพราะเมื่อเรากินอาหารอย่างอื่น ตบะย่อมเสื่อมไป” เมื่อถูกประชาชนคะยั้นคะยอมากเข้าๆ เขาก็เอาปลายหญ้าคามาจุ่มลงที่อาหารที่คนนำมาให้แล้วยกขึ้นไปแตะที่ปลายลิ้นของตัวเอง แล้วกล่าวว่า “ท่านจงไปเถิด เท่านี้ก็เป็นบุญกุศลที่จะเป็นประโยชน์ และความสุข แก่ท่านทั้งหลายแล้ว” ชัมพุกะดำเนินชีวิตโดยเปลือยกาย รับประทานอุจจาระ ถอนผมด้วยเสี้ยนตาล และนอนบนพื้นดินเช่นนี้ มาเป็นเวลานานถึง 55 ปี

อยู่มาวันหนึ่ง พระศาสนาทอดพระเนตรเห็นชัมุกาชีวกเข้ามาอยู่ในข่ายคือพระญาณพิเศษของพระองค์ และทรงทราบว่าชัมพุกาชีวกนี้จะได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฎิสัมภิทาญาณทั้งหลาย ดังนั้นในตอนเย็นของวันนั้น พระองค์จึงได้เสด็จไปยังที่ที่ชัมพุกาชีวกพักอาศัยอยู่ และได้ทรงขอพักค้างแรมด้วย ชัมพุกาชีวะชี้มือไปที่ถ้ำแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแผ่นหินที่เขาพักอาศัยอยู่นั้น แล้วทูลให้พระศาสดาประทับค้างแรมอยู่ ณ ที่นั้น ในช่วงยามที่ 1 ยามที่ 2 และยามที่ 3 ท้าวจาตุมมหาราชทั้ง 4 ท้าวสักกเทวราช และท้าวมหาพรหม ได้มาเฝ้าพระศาสดาตามลำดับ ในช่วงที่ท่านทั้งหลายเหล่านี้มาเฝ้า ทั่วทั้งป่าเกิดความสว่างไสว และชัมพุกาชีวกก็ได้แลเห็นป่าไม้สว่างไสวทั้ง 3 ครั้งนี้ด้วย พอถึงตอนเช้า ชัมพุกาชีวกเดินตรงไปหาพระศาสดาและได้สอบถามถึงแสงสว่างเหล่านั้น

เมื่อพระศาสดาตรัสว่า แสงสว่างเหล่านั้นมาจากร่างของท้าวจาตุมมหาราชทั้ง 4 ท้าวสักการะ และท้าวมหาพรหม มาเฝ้าพระองค์ ชัมพุกาชีวิตเกิดความประทับใจมากได้กล่าวกับพระศาสดาว่า “ท่านจะต้องเป็นบุคคลที่ยอดเยี่ยมแน่ๆ มิฉะนั้นท้าวจาตุมมหาราช ท้าวสักกะ และท้าวมหาพรหม คงจะไม่เสด็จมาเฝ้า แม้แต่ตัวช้าพเจ้าเองบำเพ็ญตบะมาเป็นเวลานานถึง 55 ปี โดยรับประทานแต่ลมเป็นอาหาร และยืนขาเดียว เหนี่ยวก้อนหินอยู่อย่างนี้ ท้าวจาตุมมหาราชทั้ง 4 ท้าวสักกะ และท้าวมหาพรหมก็ยังไม่เคยเสด็จมาหาเลย” พระศาสดาตรัสตอบว่า “ดูก่อนชัมพุกะ เธอลวงชาวโลก และยังจะมาลวงเราอีก เรารู้ว่าเธอกินอุจจาระและนอนบนพื้นดินมาเป็นเวลา 55 ปี”

นอกจากนั้นแล้ว พระศาสดาก็ยังนำเรื่องในอดีตชาติเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะมาเล่าให้ชัมพุกาชีวกฟังว่า สมัยนั้น ชัมพุกาชีวกเป็นพระภิกษุได้ขัดขวางพระเถระรูปหนึ่งไม่ให้ติดตามไปรับอาหารบิณฑบาตที่บ้านของอุบาสกคนหนึ่ง และเมื่ออุบาสกคนนี้ฝากอาหารมาถวายพระเถระก็ได้เอาเททิ้งในระหว่างทาง เพราะอกุศลกรรมนั้นทำให้ชัมพุกาชีวกต้องมารับประทานอุจจาระและนอนบนแผ่นดิน เมื่อชัมพุกาชีวกได้ฟังเรื่องนี้แล้วก็เกิดความสังเวชใจ มีความละอายใจและเกรงกลัวบาปกรรมจากการหลอกลวงคนอื่น จึงได้คุกเข่าลงมา และพระศาสดาก็ได้โยนผ้าผืนหนึ่งไปให้ปกปิดกาย จากนั้นพระศาสดาได้แสดงอนุปุพพิกถาให้ฟัง เมื่อจบเทศนากัณฑ์นั้น ชัมพุกาชีวกก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ถวายบังคมพระศาสดาแล้วลุกขึ้นจากที่นั่ง ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระศาสดาจึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาออก ตรัสกับชัมพุกาชีวกว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด จงประพฤติพรหมจรรย์เถิด

หลังจากนั้นไม่นาน พวกชาวอังคะและมคธที่เป็นสาวกก็ได้นำของมาถวายชัมพุกาชีวก และพวกเขาก็ต้องแปลกใจที่เห็นครูของเขานั่งอยู่กับพระศาสดา พระชัมพุกเถระจึงได้อธิบายให้สาวกทั้งหลายเหล่านั้นได้ทราบว่าท่านได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว และท่านเป็นสาวกของพระศาสดา พระศาสดาจึงได้ตรัสกับคนเหล่านั้นว่า แม้ว่าครูของพวกเขาจะบำเพ็ญตบะด้วยการนำเอาปลายหญ้าตาแตะที่อาหารไปสัมผัสที่ปลายลิ้นนับร้อยปี การบำเพ็ญตบะเช่นนี้มีค่าไม่ถึงเศษหนึ่งส่วนสิบหกของการประพฤติปฏิบัติในฐานะที่เป็นพระภิกษุอย่างในปัจจุบัน

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 70 ว่า
มาเส มาเส กุสคฺเคน
พาโล ภุญเชถ โภชนํ
น โส สงฺขาตธมฺมานํ
กลํ อคฺฆติ โสฬสึฯ

(อ่านว่า)
มาเส มาเส กุสักเคนะ
พาโล พุนเชถะ โพชะนัง
นะ โส สังขาตะทำมานัง
กะลัง อักคะติ โสละสิง.

(แปลว่า)
คนพาล พึงบริโภคโภชนะ
ด้วยปลายหญ้าคาทุกๆเดือน
เขาย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งท่านผู้มีธรรม

อันนับได้แล้ว(หมายถึงพระอริยบุคคล).


เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง การตรัสรู้ธรรม ได้บังเกิดแก่สัตว์ 8 หม่น 4 พัน.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 04:13:47 am »


เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในวัดพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถรีนามว่าอุบลวรรณา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า มธุวา มญฺญตี พาโล เป็นต้น

ครั้งหนึ่ง มีธิดาเศรษฐีในกรุงสาวัตถีอยู่คนหนึ่ง นางมีร่างกายงดงามมาก มีผิวพรรณเหมือนกลีบอุบลเขียว มารดาบิดาจึงตั้งชื่อนางว่า อุบลวรรณา กิตติศัพท์ความงามของนางกระฉ่อนไปไกล จนทำให้มีชายมากมายต้องการได้นางมาเป็นภรรยา ชายเหล่านี้มีทั้งที่เป็นเจ้าชาย ลูกชายเศรษฐี เป็นต้น แต่นางได้ตัดสินใจบวชเป็นภิกษุณี หลังจากบวชเป็นภิกษุณีแล้ว วันหนึ่งนางได้ไปทำหน้าที่จุดประทีปแล้วกวาดโรงอุโบสถอยู่ นางเพ่งตามองที่เปลวประทีป ทำฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น แล้วกระทำฌานนั้นให้เป็นบาท บรรลุพระอรหัตตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญาทั้งหลาย

ครั้งหนึ่ง นางอุบลวรรณาเถรี หลังจากออกจาริกไปในชนบท ได้ไปปลีกวิเวกอยู่ที่ป่าอันธวัน วันหนึ่ง ขณะที่นางออกไปบิณฑบาต นันทมาณพ ซึ่งเป็นบุตรของลุงของพระเถรี และหลงรักนางมาตั้งแต่ก่อนที่นางจะมาบวชเป็นภิกษุณี ได้เข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ใต้เตียง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้กำลังข่มขืนนาง เมื่อนางกลับมาเห็นนันทมาณพก็ได้กล่าวว่า “คนพาล เธออย่าทำลายตนเองเลย คนพาล เธออย่าทำลายตนเองเลย” แต่นันทมาณพไม่ฟัง หลังจากข่มขืนจนสำเร็จความใคร่แล้วก็ได้หลบหนีไป แต่ในทันทีที่เท้าของเขาเหยียบลงบนพื้นดิน แผ่นดินก็ได้แยกออกจากกันสูบเขาไปเกิดในอเวจีมหานรก

เมื่อพระศาสดาสดับเรื่องนี้แล้ว ได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 69 ว่า
มธุวา มญฺญตี พาโล
ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจติ ปาปํ
อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติฯ

(อ่านว่า)
มะทุวา มันยะตี พาโล
ยาวะ ปาปัง นะ ปัดจะติ
ยะทา จะ ปัดจะติ ปาปัง
อะถะ ทุกขัง นิคัดฉะติ.

(แปลว่า)
คนโง่ ย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล
แต่เมื่อใด บาปให้ผล

เมื่อนั้น คนพาล ย่อมประสบทุกข์.


เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง คนเป็นอันมาก บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น.

ต่อมาพระศาสดารับสั่งให้เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลมาแล้ว ตรัสกับพระราชาถึงอันตรายที่ภิกษุณีทั้งหลายซึ่งไปอยู่ในป่าจะต้องประสบจากบุคคลชั่วร้ายใช้กำลังข่มเหงหรือข่มขืนนางภิกษุณี พระราชาได้กราบทูลว่าต่อไปพระองค์จะทรงสร้างวัดสำหรับภิกษุณีทั้งหลายอยู่ภายในเมืองหรือไม่ไกลจากเมืองมากนัก.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 04:08:25 am »


เรื่องนายสุมนมาลาการ

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนายมาลาการชื่อสุมนะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ เป็นต้น

นายมาลาการชื่อสุมนะ นำดอกมะลิไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าพิมพิสารในทุกเช้า วันหนึ่งขณะนายสุมนมาลาการกำลังจะเข้าไปถวายดอกมะลิในพระราชวังนั้น ก็ได้เห็นพระศาสดา มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม ทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสี เสด็จเข้าไปบิณฑบาต เขาเห็นพระศาสดาแล้วเกิดศรัทธา มีความต้องการจะนำดอกไม้ที่นำมาทูลเกล้าถวายพระราชาทูลถวายพระศาสดา เขาได้ตกลงใจว่า แม้ว่าพระราชาจะฆ่าเขาหรือว่าจะขับไล่เขาออกจากแว่นแคว้น เขาก็จะไม่นำดอกมะลิไปทูลเกล้าถวายพระราชา เมื่อคิดเช่นนี้แล้วก็ได้ซัดดอกมะลิไปที่เบื้องบนพระเศียร ที่เบื้องหลัง ที่ทั้งสองข้างของพระศาสดา ดอกมะลิที่ซัดขึ้นไปนั้นล่องลอยอยู่ในอากาศ ดอกที่อยู่เหนือพระเศียรได้รวมตัวกันเป็นเพดาน ส่วนดอกมะลิที่ซัดไปทางสองข้างของพระศาสดาได้รวมตัวกันเป็นกำแพงดอกไม้ ดอกมะลิเหล่านี้ติดตามพระศาสดาในทุกที่ที่เสด็จไป และหยุดเมื่อพระศาสดาทรงหยุดประทับยืน ขณะที่พระศาสดาเสด็จโดยมีดอกมะลิลอยเคลื่อนไหวติดตามไป มีพระฉัพพรรณรังสีเรืองรองสวยงามงาฉายออกมา และติดตามด้วยพระภิกษุสงฆ์จำนวนมากนั้น ประชาชนเป็นจำนวนมากมายทั้งในเมืองและนอกเมืองราชคฤห์ ก็ได้ออกมาจากบ้านมาถวายบังคมพระศาสดา นายสุมนมาลาการเห็นเช่นนั้นก็เกิดปีติปราโมทย์อย่างล้นพ้น

ข้างภรรยาของนายสุมนมาลาการ ได้เข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า นางไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสามีของนางซึ่งไม่ยอมนำดอกไม้มาทูลเกล้าถวายพระองค์แต่กลับนำไปบูชาพระศาสดาแล้ว และว่า “กรรมที่เขากระทำ จะเป็นกรรมดีก็ตาม จะเป็นกรรมชั่วก็ตาม กรรมนั้นจงเป็นของเขาผู้เดียว ขอเดชะ พระองค์จงทราบความที่เขาอันหม่อมฉันทิ้งแล้ว” พระราชา(พระเจ้าพิมพิสาร)ซึ่งพระองค์ก็เป็นพระโสดาปัน ทรงปลื้มพระทัยเมื่อทรงสดับเรื่องนายมาลาการนำดอกไม้บูชาพระศาสดา พระองค์ได้เสด็จออกมาทอดพระเนตรภาพมหัศจรรย์พันลึกนั้น และได้ถวายบังคมพระศาสดา พระราชาได้ทรงถือโอกาสนี้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย หลังจากเสร็จภัตตกิจแล้ว พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ได้เสด็จกลับวัดพระเชตวัน และราชาก็ได้ตามส่งเสด็จพระศาสดาแล้วเสด็จกลับพระราชวัง จากนั้นมีรับสั่งให้ไปนำตัวนายสุมนมาลาการเข้าเฝ้าแล้วพระราชทาน ช้าง 8 ตัว ม้า 8 ตัว ทาสชาย 8 คน ทาสหญิง 8 คน เครื่องประดับใหญ่ 8 อย่าง เงิน 8 พันกหาปณะ นารี 8 นาง และบ้านส่วย 8 ตำบล

ที่วัดพระเชตวัน พระอานนทเถระได้ทูลถามพระศาสดาว่า นายสุมนมาลาการจะได้วิบากผลจากการกระทำกรรมดีในวันนี้อย่างไรบ้าง พระศาสดาตรัสตอบว่า นายสุมนมาลาการได้บูชาพระองค์โดยไม่เยื่อใยในชีวิตเช่นนี้ “จักดำรงอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่ไปสู่ทุคติ ตลอดแสนกัป นี่เป็นผลแห่งกรรมนั้น ภายหลังเขาจักเป็นพระปัจเจกพุทธะ นามว่าสุมนะ” หลังจากที่พระศาสดาเสด็จถึงพระเชตวัน เข้าสู่พระคันธกุฎี ดอกมะลิเหล่านั้นตกลงที่ซุ้มพระทวาร

ในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันถึงการการกระทำอันยิ่งใหญ่และอาจหาญของนายสุมนมาลาการ และผลทันตาเห็นของการกระทำนั้น พระศาสดาเสด็จมาตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ความเดือดร้อนในภายหลังย่อมไม่มี มีแต่โสมนัสเกิดขึ้น เมื่อระลึกถึง เพราะการกระทำกรรมใด กรรมนั้นอันบุคคลควรทำ

ในคืนนั้น เมื่อแสดงธรรม พระศาสดาได้เชื่อมโยงเรื่อง ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 68 ว่า
ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ยสฺส ปตีโต สุมโน
วิปากํ ปฏิเสวติฯ

(อ่านว่า)
ตันจะ กำมัง กะตัง สาธุ
ยัง กัดตะวา นานุตับปะติ
ยัดสะ ปะตีโต สุมะโน
วิปากัง ปะติเสวะติ.

(แปลว่า)
บุคคลทำกรรมใดแล้ว
ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง
เป็นผู้เอิบอิ่ม มีใจดี
ย่อมเสวยผลของกรรมใด

กรรมนั้นแล อันบุคคลทำแล้ว เป็นกรรมดี.


เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง การตรัสรู้ธรรม ได้บังเกิดแก่สัตว์ 8 หมื่น 4 พัน.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 04:01:19 am »


เรื่องชาวนา

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภชาวนาคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ เป็นต้น

วันหนึ่ง มีโจรจำนวนหนึ่งขโมยเงินและทองเป็นจำนวนมากจากบ้านของคนรวยคนหนึ่ง แล้วหนีมาแบ่งทรัพย์ที่ขโมยมาในนาของชายผู้หนึ่ง แต่บังเอิญถุงบรรจุทรัพย์ประมาณหนึ่งพันกหาปณะของโจรผู้หนึ่งเกิดหล่นอยู่ในนานั้นโดยที่โจรไม่ทันสังเกต

ในเช้าวันรุ่งขึ้น พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพระญาณพิเศษ ทอดพระเนตรเห็นชาวนาซึ่งกำลังไถนามาปรากฏอยู่ในข่ายคือพระญาณ และพระองค์ทรงทราบว่า ชาวนาผู้นี้จะได้สำเร็จพระโสดาปัตติผลในวันนั้น จึงได้เสด็จไป ณ ที่นั้น โดยมีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ(ผู้ติดตาม) ชาวนาเห็นพระศาสดาแล้ว ได้เข้าไปถวายบังคมแล้วไปไถนาต่อ พระศาสดาไม่ตรัสอะไรๆกับชาวนา เสด็จตรงไปยังที่ที่ถุงบรรจุทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะตกอยู่ ทอดพระเนตรเห็นถุงนั้นแล้ว จึงตรัสกะพระอานนทเถระว่า “อานนท์ เธอเห็นไหม อสรพิษ” พระอานนทเถระทูลว่า “เห็น พระเจ้าข้า อสรพิษร้าย” จากนั้นพระศาสดาและพระอานนทเถระก็ได้เสด็จหลีกไปจากที่นั้น ชาวนาได้ยินถ้อยคำนั้นแล้ว ก็ได้เดินไปตรงจุดนั้นโดยเข้าใจว่าจะต้องมีอสรพิษอยู่ที่นั่นจริงๆ แต่แทนที่จะพบอสรพิษกลับพบถุงทรัพย์ เขาจึงนำถุงทรัพย์ไปซ่อนไว้ พวกเจ้าของทรัพย์แกะรอยตามโจรมาถึงนาของชาวนาผู้นั้น และได้พบทรัพย์ที่ถูกซ่อนไว้นั้น จึงได้ทุบตีชาวนาแล้วนำตัวไปเฝ้าพระราชา พระราชามีรับสั่งให้นำตัวเขาไปประหารชีวิต เมื่อชาวนานั้นถูกนำตัวไปที่หลักประหารนั้น เขาได้แต่พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า “ เห็นไหม อานนท์ อสรพิษ เห็น พระเจ้าข้า อสรพิษร้าย” เมื่อราชบุรุษได้ยินคำพูดซ้ำๆของชาวนานี้แล้ว ก็เกิดความสงสัยเลยนำตัวไปเข้าเฝ้าพระราชา พระราชาทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า ชาวนาคงอ้างพระศาสดาเป็นพยาน จึงได้นำตัวชาวนาไปเข้าเฝ้าพระศาสดา หลังจากที่ได้สดับเรื่องที่พระศาสดาทรงเล่าในเช้าวันนั้นแล้ว พระราชาได้ทูลพระศาสดาว่า “พระเจ้าข้า ถ้าชายผู้นี้ไม่อ้างพระองค์เป็นพยาน เขาก็จะต้องถูกฆ่าแน่ๆ” พระศาสดาจึงตรัสตอบว่า “ผู้ฉลาดไม่พึงทำกรรมที่จะนำความเดือดร้อนมาให้ในภายหลัง

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 67 ว่า
ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา อะนุตปฺปติ
ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ
วิปากํ ปฏิเสวติฯ

(อ่านว่า)
ตันจะ กำมัง กะตัง
ยัง กัดตะวา อะนุตับปะติ
ยัดสะ อัดสุมุโข โรทัง
วิปากัง ปะติเสวะติ.

(แปลว่า)
ทำกรรมใดแล้ว เดือดร้อนในภายหลัง
ร้องไห้น้ำตานองหน้า
เสวยวิบากของกรรมใด

กรรมนั้นทำแล้ว ไม่ดีเลย.


เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง อุบาสกชาวนา ได้บรรลุพระโสดาปัตติผล ส่วนภิกษุผู้มาประชุมกันเป็นอันมาก ก็บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 03:56:00 am »


เรื่องสุปปพุทธกุฏฐิ

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบุรุษโรคเรื้อน ชื่อสุปปพุทธะ ตรัสพระธรรมเทศฯนี้ว่า จรนฺติ พาลา ทุมฺเมธํ เป็นต้น

นายสุปปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อน ขณะที่ฟังธรรมของพระศาสดาอยู่ที่ข้างท้ายพุทธบริษัท ได้ตั้งใจฟังมากจนได้บรรลุพระโสดาปัตติผล เมื่อพุทธบริษัททั้งหลายแยกย้ายเดินทางกลับบ้านกันหมดแล้ว สุปปพุทธะได้ติดตามพระศาสดาไปที่วัดพระเชตวัน เพราะต้องการจะกราบทูลว่า ตนได้บรรลุพระโสดาปัตติผลแล้ว ท้าวสักกะเทวราช มีความประสงค์จะทดสอบศรัทธาของสุปปพุทธะที่มีต่อพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ว่ามั่นคงขนาดไหน จึงได้เสด็จไปยืนในอากาศแล้วตรัสว่า “สุปปพุทธะ ท่านเป็นคนขัดสน เป็นคนยากไร้ เราจะให้ทรัพย์มากมายแก่ท่าน ท่านจงกล่าวว่า พระพุทธไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ เราขอปฏิเสธประโยชน์ของพระพุทธ เราขอปฏิเสธประโยชน์ของพระธรรม เราขอปฏิเสธประโยชน์ของพระสงฆ์” สุปปพุทธะตอบว่า “เราไม่ใช่คนเข็ญใจ เป็นคนขัดสน เป็นคนไร้ที่พึ่ง เป็นคนกำพร้า เราเป็นคนรวย เรามีทรัพย์ 7 ประการที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมี คือ 1.ทรัพย์คือศรัทธา 2.ทรัพย์คือศีล 3.ทรัพย์คือหิริ 4.ทรัพย์คือโอตตัปปะ 5.ทรัพย์คือสุตะ 6.ทรัพย์คือจาคะ 7.ทรัพย์คือปัญญา

ท้าวสักกะ ทรงสดับคำของสุปปพุทธะนั้นแล้ว ก็ได้เสด็จล่วงหน้าไปเฝ้าพระศาสดาและกราบทูลเรื่องที่ทรงสนทนากับสุปปพุทธะให้ทรงทราบ พระศาสดาจึงตรัสกับท้าวสักกะว่า “ท้าวสักกะ ทั้งร้อยทั้งพันแห่งคนทั้งหลายผู้เช่นกับพระองค์ ไม่อาจเพื่อจะให้สุปปพุทธะกล่าวว่า พระพุทธไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์” ต่อมาสุปปพุทธะก็ตามมาที่วัดพระเชตวัน และได้กราบทูลเรื่องที่ตนบรรลุพระโสดาบันให้ทรงทราบ ในระหว่างเดินทางกลับสุปปพุทธะได้ถูกโคแม่ลูกอ่อนที่ถูกนางยักษิณีเข้าสิงขวิดตาย นางยักษิณีนี้ก็คือนางโสเภณีที่เคยถูกสุปปพุทธะสังหารในอดีตชาติและนางเคยตั้งสัจอธิษฐานก่อนตายว่าจะทำการแก้แค้น “ขอเราพึงเป็นยักษิณี ผู้สามารถเพื่อฆ่าชนเหล่านั้น เหมือนอย่างที่พวกนี้ฆ่าเราฉะนั้นเหมือนกัน” เมื่อข่าวการเสียชีวิตของสุปปพุทธะไปถึงวัดพระเชตวัน พวกภิกษุได้ทูลถามพระศาสดาว่า สุปปพุทธกุฏฐิไปเกิดที่ใด พระศาสดาตรัสตอบว่า สุปปพุทธกุฏฐิไปเกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ พระศาสดายังได้ทรงอธิบายแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยว่า ที่สุปปพุทธกุฏฐิเป็นโรคเรื้อนนั้นก็เพราะในอดีตชาติหนึ่งเคยบ้วนน้ำลายต่อหน้าพระตครสิขีปัจเจกพุทธเจ้า

จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 66 ว่า
จรนฺติ พาลา ทุมฺเมธา
อมิตฺเตเนว อตฺตนา
กโรนฺตา ปาปกํ กมฺมํ
ยํ โหติ กฏุกปฺปกํฯ

(อ่านว่า)
จะรันติ พาลา ทุมเมทา
อะมิดเตเนวะ อัดตะนา
กะโรนตา ปาปะกัง กำมัง
ยัง โหติ กะตุกับปะกัง.

(แปลว่า)
คนโง่ ปัญญาทราม
มีตนเป็นเหมือนศัตรู
เที่ยวทำกรรมชั่ว

มีผลเผ็ดร้อน.


เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 03:49:19 am »


เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ 30 รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู เป็นต้น

ครั้งหนึ่ง ชายหนุ่มจากเมืองปาฐา 30 คน ไปหาความสุขกับหญิงโสเภณีอยู่ในป่า แต่หญิงโสเภณีนางนั้นได้ขโมยเครื่องประดับที่มีค่าของชายหนุ่มเหล่านี้วิ่งหนีไป ขณะที่พวกเขากำลังตามหาหญิงโสเภณีนางนี้อยู่นั้น ก็ได้พบกับพระศาสดาในระหว่างทาง พระศาสดาได้แสดงธรรมให้ฟัง ทำให้ชายหนุ่มเหล่านี้ได้บรรลุพระโสดาปัตติผล และทั้งหมดก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วติดตามพระศาสดาไปที่วัดพระเชตวัน เมื่อได้ไปอยู่ที่วัดพระเชตวันนี้แล้ว ภิกษุใหม่เหล่านี้ก็ได้ปฏิบัติธุดงค์ 13 อย่างเคร่งครัด ต่อมาพระศาสดาได้ทรงแสดงอนมตัคคธรรมเทศนา และภิกษุเหล่านี้ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล

ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในธรรมสภาว่า “น่าอัศจรรย์หนอ ภิกษุเหล่านี้ รู้แจ้งธรรมพลันทีเดียว” พระศาสดาจึงได้ตรัสตอบพระภิกษุเหล่านี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุเหล่านี้ เป็นนักเลงเป็นสหายกัน 30 คน ฟังธรรมเทศนาของสุกรชื่อมหาตุณฑิละ ในตุณฑิลชาดก รู้แจ้งธรรมได้ฉับพลันทีเดียว สมาทานศีล 5 แล้ว เพราะอุปนิสัยที่ติดตัวมานั้นเอง เขาเหล่านั้นจึงบรรลุพระอรหัต ณ อาสนะที่ตนนั่งแล้วทีเดียวในกาลบัดนี้

จากนั้น พระศาสดาได้แสดงธรรม ด้วยพระธรรมบท พระคาถาที่ 65 ว่า
มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู
ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ
ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ
ชิวฺหา สูปรสํ ยถาฯ

(อ่านว่า)
มุหุดตะมะปิ เจ วินยู
ปันดิตัง ปะยิรุปาสะติ
ขิบปัง ทำมัง วิชานะติ
ชิวหา สูปะระสัง ยะถา.

(แปลว่า)
วิญฺญูชนเข้าหาคนฉลาด
แม้เพียงครู่เดียว
ย่อมรู้ธรรมได้เร็วพลัน

เหมือนลิ้นรับรู้รสแกง.


เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ภิกษุเป็นอันมาก บรรลุพระอรหัตผลแล้ว.