ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2011, 07:58:41 pm »พระตถาคตไม่ได้อยู่ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น และท่านก็ไม่ได้อยู่กลางกระแส แต่พระอรหันต์อยู่กลางกระแส ปุถุชนอยู่ฝั่งนี้ พุทธภาวะก็อยู่ฝั่งโน้น
พระพุทธเจ้าทั้งหลายมี 3 กาย21* คือนิรมานกาย; กายจำแลง, สัมโภคกาย; รูปกาย, และธรรมกาย; รูปจริง* (*ตามคติของเถรวาท กายทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า คืออนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา… ผู้แปลไทย )
นิรมานกาย เรียกว่า รูปอวตารก็ได้ รูปนี้แสดงตัวเมื่อกิเลส พาให้ทำดี สัมโภคกาย แสดงตัวเมื่อบุคคลเข้ารับการฝึกฝนอบรมปัญญา และธรรมกาย แสดงตัวเมื่อเขารู้สึกตัวทั่วพร้อม อยู่ในสภาวะปรมัตถ์
สัมโภคกาย เป็นอีกกายหนึ่งที่ท่านเห็นจาริกไปทุกหนทุกแห่ง เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่สามารถจะช่วยได้ และธรรมกาย ทำให้หายสงสัย ( ในเรื่องราวของชีวิต )
พระมหาสัมมาสัมโพธิญาณ22* อุบัติขึ้นที่เชิงเขาหิมาลัยทันทีที่พบความจริง ธรรมกายไม่ได้ทำหรือพูดสิ่งใด เป็นภาวะที่สงบนิ่ง อยู่อย่างครบถ้วน แต่ที่จริงไม่ใช่พุทธะเพียงองค์เดียว อย่างน้อยก็มีถึง 3 องค์ แต่ที่พูดว่ามี 3 กายนี้ ก็เป็นธรรมดาที่ต้องให้มนุษย์เข้าใจ ซึ่งมีทั้งขั้นต้น ขั้นกลางและขั้นสูง* ( * ในชีวิตจิตใจของเรา มีสภาวะธรรมที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คืออนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา... ผู้แปลไทย)
คนที่มีความเข้าใจตื้น ๆ (ขั้นต้น ) คิดว่าพวกเขากำลังสั่งสมความสุข แต่เป็นการเข้าใจผิดต่อนิรมานกายของพุทธะ ( เข้าใจผิดต่อกฎอนิจจัง )
คนที่เข้าใจระดับปานกลาง ( ขั้นกลาง ) คิดว่าเขากำลังทำที่สุดแห่งทุกข์ แต่เป็นความเข้าใจผิดต่อสัมโภคกายของ พระพุทธะ ( เข้าใจผิดต่อกฎทุกขัง )
คนที่เข้าใจลึกซึ้ง ( ขั้นสูง ) คิดว่าเขากำลังประสบกับพุทธภาวะ แต่เข้าใจผิดต่อธรรมกายของพุทธะ ( เข้าใจผิดต่อกฎอนัตตา )
ส่วนคนที่เข้าใจลึกซึ้งที่สุด เฝ้าดูภายในใจตลอดเวลา จึงไม่มีอะไร ที่ทำให้ไขว้เขวหรือสับสน เมื่อจิตสะอาดก็เป็นพุทธะ เขาเข้าถึงญาณทัศนะของพุทธะโดยไม่ใช้จิต กายทั้งสาม ก็เหมือนกับสิ่งอื่นโดยทั่วไป ( ทุกสิ่งย่อมเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ ) เป็นสภาวะที่เข้าถึงและอธิบายไม่ได้ จิตที่ไม่มีนิวรณ์คอยขัดขวางย่อมเข้าถึงมรรค พระสูตรกล่าวว่า “ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ได้แสดงธรรม ไม่ได้ปล่อยกิเลส และไม่ได้ประสบพุทธภาวะ ” ฉันหมายถึงสิ่งนี้
แต่ละคนย่อมสร้างกรรม แต่กรรมไม่ได้สร้างคน พวกเขาสร้างกรรมในชีวิตนี้ และรับผลของกรรมในชีวิตต่อไป พวกเขาไม่เคยพ้นกรรม เป็นเพียงบางคนที่เจริญมรรคสมบูรณ์แล้ว ย่อมไม่สร้างกรรมในชีวิตนี้และไม่ต้องรับผลกรรม
พระสูตรกล่าวว่า “ ใครไม่สร้างกรรม ก็เข้าถึงธรรม ” นี้ไม่ใช่พูดด้วยความว่าง ท่านอาจสร้างกรรมได้ แต่ไม่ต้องสร้างตัวเองในการกระทำนั้น เพราะเมื่อท่านสร้างกรรม ( ด้วยอัตตา ) ท่านก็ต้องเกิดใหม่ตามผลกรรมของท่าน
ดังนั้น เพราะกรรมอาศัยคนเกิด คนก็ต้องพึ่งกรรม ถ้าคนไม่สร้างกรรม กรรมก็ไม่ติดตามคน ในทำนองเดียวกัน บุคคลสามารถขยายมรรคให้กว้างได้ แต่มรรคไม่สามารถขยายคนได้ ( คนขยายธรรม แต่ธรรมขยายคนไม่ได้ 23* )
ปุถุชนชอบสร้างกรรม และยืนยันอย่างผิด ๆ ว่า “ กรรมที่ทำไม่มีผลตอบสนอง แต่พวกเขาจะปฏิเสธทุกข์ได้หรือไม่ ? ” เขาสามารถปฏิเสธได้หรือไม่ว่า สภาวะจิตปัจจุบันได้สั่งสมบ่มเพาะกรรมอะไรไว้ สภาวะจิตข้างหน้า ย่อมเก็บเกี่ยวผลของกรรมนั้นต่อไป พวกเขาจะหลบหลีกผลกรรมนั้นได้อย่างไร ?
แต่ถ้าสภาวะจิตปัจจุบันไม่ได้สั่งสมกรรมอันใดไว้ สภาวะจิตต่อไปก็ไม่มีกรรมอะไรที่ต้องตอบสนอง อย่าเข้าใจผิดเรื่องกรรม* (*พระบาลีว่า กมฺมุนาวฏฺฏตีโลโก = สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หรือตามกฎแห่งกรรม … ผู้แปลไทย)
พระสูตรกล่าวว่า “ แม้จะมีความเชื่อเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า บางคนคิดว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ปฏิบัติเคร่งครัด (บำเพ็ญทุกรกิริยา ) ไม่ใช่ชาวพุทธที่จะต้องปฏิบัติเช่นนั้น ในความคิดทำนองเดียวกันนี้ บางคนคิดว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เกิดโชคลาภ หรือความยากจนก็ได้ พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่อาจเชื่อถือได้ ”
คนที่เข้าใจคำสอนของบัณฑิตก็เป็นบัณฑิต คนที่เข้าใจคำสอนของปุถุชนก็เป็นปุถุชน ปุถุชนที่สามารถเลิกละคำสอนของปุถุชนได้ แล้วปฏิบัติตามคำสอนของบัณฑิต เขาก็เป็นบัณฑิตได้ แต่คนโง่ในโลกนี้ย่อมมองหาบัณฑิตนอกตัวเอง พวกเขาไม่เชื่อว่าปัญญาที่มีอยู่ในใจของตนเองนั้นก็เป็นบัณฑิตได้
พระสูตรกล่าวว่า “ อย่าสอนพระสูตรนี้แก่คนที่ไม่เข้าใจ ” และพระสูตรยังกล่าวอีกว่า “ ใจคือคำสอน ” แต่คนที่ไม่เข้าใจคำสอน ย่อมไม่เชื่อใจของตนเอง เมื่อเขาเข้าใจคำสอนนี้ได้ เขาก็เป็นบัณฑิตได้
คนพาลชอบมองหาความรู้ไกลตัวเอง และไกลออกไปในทุกสิ่งที่มีอยู่ในอากาศ เช่น พระพุทธรูป ธูปเทียน และแสงสี นิมิต เป็นต้น พวกเขาสยบอยู่กับการสวดมนต์อย่างหลงใหล และยอมเสียปกติจิตของตนเอง ไปกับสิ่งที่เหลวไหลไร้สาระ
พระสูตรกล่าวว่า “เมื่อท่านเห็นว่าปรากฏการณ์ทั้งปวง ไม่เป็นปรากฏการณ์ ท่านย่อมเห็นตถาคต*” (* ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา, ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นตถาคต (จากพระบาลี) …. ผู้แปลไทย)
ประตูที่นำไปสู่สัจจะมีเป็นหมื่นเป็นแสน ล้วนออกมาจากจิต เมื่อปรากฏการณ์ของจิตโล่งโปร่งเหมือนอวกาศ ปรากฏการณ์เหล่านั้นก็เลือนหายไป
ความทุกข์อันไม่มีที่สิ้นสุดของพวกเรา เป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย เมื่อปุถุชนมีชีวิตอยู่ พวกเขากังวลถึงความตาย เมื่อพวกเขามีชีวิต ที่สุขสมบูรณ์ พวกเขาก็กังวลถึงความหิว* (* เมื่อมีชีวิตก็กลัวตาย เมื่อสบายก็กลัวความหิว ชีวิตของปุถุชนจึงหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ ... ผู้แปลไทย )
ชีวิตของปุถุชนจึงคือความไม่แน่นอนอันใหญ่หลวง (มหานิจจัง) แต่บัณฑิต ( อริยชน) ไม่กังวลถึงอดีต ไม่คิดถึงอนาคต ไม่ยืดหดกับปัจจุบัน (ไม่ยึดติดกับปัจจุบัน) ทุกขณะจิตบัณฑิตย่อมปฏิบัติตามธรรม (มรรค)
ถ้าท่านยังไม่ตื่นตัวกับบรมสัจจะอันนี้ ท่านควรรีบเสาะแสวงหาครูในโลกนี้ หรือในโลกสวรรค์เสียโดยเร็ว อย่าหมกมุ่นอยู่กับการขาดสติของตนเองอีกต่อไปเลย
จบบทที่ 3
เชิงอรรถบทที่ 3 หมายเลข 21* - 23*
21* ได้แก่ นิรมานกาย (พระศากยมุนี) สัมโภคกาย ( พระอามิตาภะ ) และธรรมกาย ( พระไวยฺโรจนะ )
22* การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ไม่ได้เกิดขึ้นในหิมาลัย แต่เกิดขึ้นที่มคธรัฐ ในอินเดียโบราณ , อยู่ตอนใต้ประเทศเนปาล อย่างไรก็ตามในอดีตชาติ พระพุทธเจ้าเคยอาศัยอยู่ในป่าหิมาลัย ในคราวที่บำเพ็ญตนเป็นฤาษี ในที่นี้อาศัยความสัมพันธ์กับความเป็นอยู่ในอดีตนั้นจึงถือว่าคำกล่าวนี้เป็นจริง
23* นี้เป็นคำกล่าวของ ศาสนาขงจื้อ (จากคำสอนโดยสังเขปของขงจื้อ,ภาคที่ 15)
นำมาแบ่งปันโดย คุณ มดเอ๊กซ์
Credit by : http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=modx&topic=47&Cate=8
Pics by : Google
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมาย..