ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2011, 01:38:55 pm »ธ ทรงปกป้องผืนป่า พระปรีชาฟื้นดินถิ่นสมบูรณ์
พระราชกรณียกิจสำคัญที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ก็คือ “การสร้างป่าคืนให้แก่แผ่นดิน” ด้วยความตั้งมั่นพระราชหฤทัย
พระวิริยอุตสาหะ มิได้ทรงย่อท้อต่ออุปสรรคนานัปการ ในการทำนุบำรุงพลิกฟื้นผืนดินอันแห้งแล้ง ให้ค่อย ๆ กลับคืนมาเขียวชอุ่มอุดมสมบูรณ์เช่นเคย ดังจะเห็นได้จากแนวพระราชดำริที่พระราชทานโครงการต่าง ๆ มีมากมาย อาทิ โครงการป่ารักน้ำ, โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่, โครงการจัดตั้งหมู่บ้านชาวไทยภูเขาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, โครงการพระราชทานธงพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต, โครงการสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เป็นต้น ล้วนเป็นแบบอย่างที่ดีในการพลิกฟื้นระบบสมดุลแห่งธรรมชาติให้กลับคืนสู่ผืน แผ่นดินไทยทั้งสิ้น
หนึ่งในโครงการพระราชดำริ อันถือเป็นต้นแบบดีเยี่ยม ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระวิริยอุตสาหะพลิกฟื้นมายาวนานโครงการหนึ่งคือ “โครงการพระราชดำริสวนป่าหาดทรายใหญ่” ซึ่งตั้งอยู่ที่ราบในหุบเขาติดชายฝั่งทะเล เขตติดต่อระหว่าง อ.หัวหิน และ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ แม้อาณาเขตขนาดพื้นที่ราบจำนวน 113 ไร่ รวมเนื้อที่บนภูเขาแล้ว มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,081 ไร่ จะตั้งอยู่บนภูมิทัศน์ที่สวยงาม มีภูเขาโอบล้อม 3 ด้านคือ ด้านทิศเหนือ, ด้านทิศตะวันตก และด้านทิศใต้ สำหรับด้านทิศตะวันออกจดทะเล แต่ก็นับว่าเป็นพื้นที่แห้งแล้งกันดารที่สุดของภาคกลางตอนใต้ เนื่องจากสภาพป่าถูกทำลายลงหมด พื้นดินเกือบเป็นทะเลทราย ดินเสื่อมโทรม ฝนตกน้อย ส่วนบนภูเขามีสภาพเป็นหินมีดินน้อย บนพื้นราบก็ไม่มีต้นไม้เหลืออยู่เลย
นับย้อนหลังไปหลายสิบปีก่อน แผ่นดินแห่งนี้เคยอุดมสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด แต่ได้ถูกทำลายลงไปจนหมดสิ้น เหลืออยู่เพียงพื้นดินที่แห้งแล้งและต้นไม้บนภูเขาเท่านั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มา ณ พื้นที่แห่งนี้ ทั้งสองพระองค์ทอดพระเนตรเห็นความแห้งแล้ง จึงได้มีพระราชดำริที่จะฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนดินสามารถใช้ประโยชน์ ได้อีกครั้ง และเพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า “แม้พื้นดินจะแห้งแล้งสักเพียงใดก็สามารถที่จะพัฒนากลับให้ดีด้วยความตั้งใจ อดทนที่จะฟื้นธรรมชาติที่เสื่อมสลายให้กลับคืนมา”
ในปี พ.ศ. 2508 จึงเกิดฟาร์มส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับขยายพันธุ์สัตว์เลี้ยง อาทิ สุกร, โค, ไก่ไข่ พระราชทานให้แก่ราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีชื่อว่า “โครงการฟาร์มส่วนพระองค์หาดทรายใหญ่” และในปี พ.ศ.2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานโครงการแห่งนี้ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงดำเนินงานเป็นโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติสัตว์ป่า และต้นน้ำลำธาร โดยมีชื่อว่า “โครงการพระราชดำริสวนป่าหาดทรายใหญ่” จวบจนปัจจุบัน
ก่อนการดำเนินงาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2526 ใจความว่า “ก่อนถึงวันที่สัตว์จะหมดป่า ข้าพเจ้ามีความภูมิใจในทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่าของไทยมาก ข้าพเจ้าเห็นว่าเราควรจะใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างระมัดระวัง และทะนุบำรุงให้คงอยู่ตลอดไป มิใช่ให้ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่า ทรัพยากรเหล่านี้ถูกทำลายหมดสิ้นไปในระยะเวลาอันสั้นแค่อายุของเรา ทรัพยากรธรรมชาตินับเป็นสมบัติล้ำค่าของชาติ และเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษสมควรที่เราทั้งหลายจะช่วยกันรักษาไว้ให้คง ประโยชน์สืบไปชั่วลูกชั่วหลาน”
ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานแนวพระราชดำริในการพัฒนาพื้นที่ไว้ 5 ประการ โดยโปรดให้ปลูกต้นไม้ทดแทนทั้งพื้นที่ราบและบนภูเขา นำสัตว์ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์มาเลี้ยงขยายพันธุ์และปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ต่อไป, ปรับปรุงพื้นที่ทั้งหมดให้มีความสวยงามตามธรรมชาติ และเสริมด้วยดอกไม้ชนิดต่าง ๆ, ให้เป็นสถานที่สามารถรับแขกบ้านแขกเมืองได้, ให้เป็นสถานที่ตัวอย่างเพื่อการศึกษาธรรมชาติในเรื่องของต้นไม้และสัตว์ป่า ตลอดจนให้เป็นสมบัติของชาติที่มีคุณค่าสืบไป
พร้อมกันนี้ทรงมอบหมายให้ ศูนย์ทหารราบ เป็นหน่วยดำเนินงาน เป็นโครงการส่วนพระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้ราชเลขานุการในพระองค์ เป็นประธานอำนวยการ และให้ พล.อ.นพดล วรรธโนทัย ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ สำนักราชเลขาธิการ เป็นหัวหน้าฝ่ายแผนและนโยบายและเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 27 ปี ซึ่ง พล.อ.นพดล วรรธโนทัย เปิดเผยว่า ในระยะแรกนั้น การทำงานเต็มไปด้วยอุปสรรคนานา เพราะสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ทั้งดินที่เค็มเสื่อมสภาพกลายเป็นดินทราย ขาดแคลนน้ำจืด ฝนตกน้อย ถ้าฝนมาจากตะวันตกจะข้ามไปตกในทะเล ถ้าฝนมาจากตะวันออกจะข้ามไปตกหลังเขา ฉะนั้นหาดทรายใหญ่จะได้รับน้ำฝนน้อย งานอนุรักษ์ป่าไม้และธรรมชาติ จึงถือว่าเป็นงานที่ยากมาก
ในระยะแรกปี พ.ศ.2528 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ขึ้นบนภูเขาด้วยพระองค์เอง ตรงไหนสูงชันทรงใช้เชือกไต่ลงมา ทรงแนะนำว่าควรปลูกต้นไม้อะไร ที่ตรงไหน ที่ใดควรปลูกไม้อะไรก่อน และต่อไปควรปลูกอะไร แรก ๆ ก็มีกระถินณรงค์, ยูคาลิปตัส, ไม้มะค่า, หางนกยูง, เสลา, มะกอก, ลูกหว้า ชนิดไหนปลูกแล้วตายไม่โตก็เปลี่ยนใหม่ บางพันธุ์พอเติบโตรากหยั่งลึกเจอดินเค็มก็ทยอยตาย แต่บางชนิดก็ทนสภาพอยู่ได้ จึงต้องเปลี่ยนพันธุ์ไม้มา 4 รอบแล้ว ในปี พ.ศ.2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้นำหญ้าแฝกมาปลูก ปรากฏว่าขึ้นงามดี ซ้ำยังทำให้ดินดีขึ้นด้วย “หญ้าแฝก” ช่วยให้หาดทรายใหญ่ สามารถปลูกต้นไม้ได้เพิ่มมากขึ้นทุกที่ ดังที่เห็นในปัจจุบัน
ส่วนน้ำอาศัยระบบชลประทานจากอ่างเก็บน้ำเขาเต่า ส่งข้ามเขามาซึ่งค่อนข้างลำบากและไม่เพียงพอกับความต้องการ ระยะหลัง ๆ น้ำที่อ่างเขาเต่าก็กร่อย เพราะอยู่ใกล้ทะเล ต่อมากรมชลประทานได้ส่งน้ำมาให้ภายในโครงการฯ จึงทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตขึ้นให้ความร่มรื่น บังเกิดทัศนียภาพที่สวยงามทั่วทั้งพื้นราบและพื้นที่บนภูเขา ไม่ว่าจะเป็นไม้ป่า ไม้ผลต่าง ๆ อาทิ หางนกยูง, นนทรี, ประดู่, ปีบ, มะค่าโมง, ตะแบก, เกด, โพธิ์ทะเล, จิกทะเล, เตยทะเล, เฟื่องฟ้า และไม้ดอกหอมอีกหลายสิบชนิด อาทิ ดอกพุดน้ำบุษย์ และดอกชมนาด ล้วนแต่เป็นงานที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระวิริยอุตสาหะทั้งสิ้น คณะทำงานเป็นเพียงผู้ดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทเท่านั้น
ด้าน งานอนุรักษ์สัตว์ป่าและสัตว์น้ำ มีพระราชดำริให้นำสัตว์ป่าที่หายากใกล้สูญพันธุ์แต่ไม่ดุร้ายเข้ามาเลี้ยง ไว้เพื่อศึกษาและขยายพันธุ์คืนสู่ธรรมชาติต่อไป สมัยก่อนพื้นที่แถบนี้มีป่าอุดมสมบูรณ์มีสัตว์ชุกชุม แต่ต่อมาถูกคนลอบตัดไม้และล่าสัตว์ไปจนเกือบหมด เหลืออยู่เพียงนกยูงและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดเท่านั้น ดังนั้นโครงการฯ จึงได้หาสัตว์ป่ามาเลี้ยงหลายชนิด เช่น กวางป่า, เนื้อทราย, เก้ง, ละอง, ละมั่ง, ไก่ฟ้า, นกยูงไทย, นกเงือก และอื่น ๆ เมื่อขยายพันธุ์ได้มากแล้วก็ปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติ การอนุรักษ์สัตว์น้ำ ได้มีการประกาศเป็นเขตห้ามจับสัตว์น้ำจากแนวชายหาด ด้านหน้าโครงการฯ ออกไป 1 ไมล์ทะเล
การทำงานที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคจากธรรมชาติ พล.อ.นพดล เปิดเผยความรู้สึกว่า “การทำงานเกี่ยวกับป่ามันท้าทาย เพราะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มิได้ทรงย่อท้อที่จะพิทักษ์รักษาป่า ผมจึงท้อไม่ได้ เพราะเห็นว่าพระองค์ท่านไม่ทรงท้อถอย เราทำเพียงจุดเล็ก ๆ แค่นี้ แต่พระองค์ท่านทรงทำทั่วทั้งประเทศมากมายไปหมด เราต้องถวายงานพระองค์ท่านอย่างเต็มความสามารถ”
ลักษณะพิเศษของการดำเนินงานโครงการฯ ก็คือ “ธรรมชาติได้ถูกคนทำลายไปจนหมดสิ้นแล้ว คนก็สร้างคืนมาได้ เป็นการต่อสู้เอาชนะธรรมชาติที่ค่อนข้างลำบากมากได้” เป้าหมายของการพัฒนาโครงการฯ เป็นงานที่ยังไม่ทราบวันจบ เพราะยังมีสภาพของพื้นที่ที่ต้องการทดสอบ ทดลอง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการฯ แห่งนี้แม้จะเป็นโครงการส่วนพระองค์ อยู่ในเขตพระราชฐาน แต่ทรงพระราชานุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมเพื่อศึกษาหาความรู้ นับได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติอีกด้วย
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 79 พรรษา 12 ส.ค. 2554 ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราชและอำนาจแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โปรดดลบันดาลอภิบาลให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระเกษมสำราญ มีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน พระบารมีแผ่ไพศาลทุกทิศานุทิศ ทรงสถิตเป็นร่มโพธิ์ทอง เป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทย ตลอดกาลนานเทอญ.
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า ทีมข่าวสตรี หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
-http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=359&contentID=156526-
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=359&contentID=156526
.
พระราชกรณียกิจสำคัญที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ก็คือ “การสร้างป่าคืนให้แก่แผ่นดิน” ด้วยความตั้งมั่นพระราชหฤทัย
พระวิริยอุตสาหะ มิได้ทรงย่อท้อต่ออุปสรรคนานัปการ ในการทำนุบำรุงพลิกฟื้นผืนดินอันแห้งแล้ง ให้ค่อย ๆ กลับคืนมาเขียวชอุ่มอุดมสมบูรณ์เช่นเคย ดังจะเห็นได้จากแนวพระราชดำริที่พระราชทานโครงการต่าง ๆ มีมากมาย อาทิ โครงการป่ารักน้ำ, โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่, โครงการจัดตั้งหมู่บ้านชาวไทยภูเขาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, โครงการพระราชทานธงพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต, โครงการสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เป็นต้น ล้วนเป็นแบบอย่างที่ดีในการพลิกฟื้นระบบสมดุลแห่งธรรมชาติให้กลับคืนสู่ผืน แผ่นดินไทยทั้งสิ้น
หนึ่งในโครงการพระราชดำริ อันถือเป็นต้นแบบดีเยี่ยม ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระวิริยอุตสาหะพลิกฟื้นมายาวนานโครงการหนึ่งคือ “โครงการพระราชดำริสวนป่าหาดทรายใหญ่” ซึ่งตั้งอยู่ที่ราบในหุบเขาติดชายฝั่งทะเล เขตติดต่อระหว่าง อ.หัวหิน และ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ แม้อาณาเขตขนาดพื้นที่ราบจำนวน 113 ไร่ รวมเนื้อที่บนภูเขาแล้ว มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,081 ไร่ จะตั้งอยู่บนภูมิทัศน์ที่สวยงาม มีภูเขาโอบล้อม 3 ด้านคือ ด้านทิศเหนือ, ด้านทิศตะวันตก และด้านทิศใต้ สำหรับด้านทิศตะวันออกจดทะเล แต่ก็นับว่าเป็นพื้นที่แห้งแล้งกันดารที่สุดของภาคกลางตอนใต้ เนื่องจากสภาพป่าถูกทำลายลงหมด พื้นดินเกือบเป็นทะเลทราย ดินเสื่อมโทรม ฝนตกน้อย ส่วนบนภูเขามีสภาพเป็นหินมีดินน้อย บนพื้นราบก็ไม่มีต้นไม้เหลืออยู่เลย
นับย้อนหลังไปหลายสิบปีก่อน แผ่นดินแห่งนี้เคยอุดมสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด แต่ได้ถูกทำลายลงไปจนหมดสิ้น เหลืออยู่เพียงพื้นดินที่แห้งแล้งและต้นไม้บนภูเขาเท่านั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มา ณ พื้นที่แห่งนี้ ทั้งสองพระองค์ทอดพระเนตรเห็นความแห้งแล้ง จึงได้มีพระราชดำริที่จะฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนดินสามารถใช้ประโยชน์ ได้อีกครั้ง และเพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า “แม้พื้นดินจะแห้งแล้งสักเพียงใดก็สามารถที่จะพัฒนากลับให้ดีด้วยความตั้งใจ อดทนที่จะฟื้นธรรมชาติที่เสื่อมสลายให้กลับคืนมา”
ในปี พ.ศ. 2508 จึงเกิดฟาร์มส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับขยายพันธุ์สัตว์เลี้ยง อาทิ สุกร, โค, ไก่ไข่ พระราชทานให้แก่ราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีชื่อว่า “โครงการฟาร์มส่วนพระองค์หาดทรายใหญ่” และในปี พ.ศ.2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานโครงการแห่งนี้ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงดำเนินงานเป็นโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติสัตว์ป่า และต้นน้ำลำธาร โดยมีชื่อว่า “โครงการพระราชดำริสวนป่าหาดทรายใหญ่” จวบจนปัจจุบัน
ก่อนการดำเนินงาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2526 ใจความว่า “ก่อนถึงวันที่สัตว์จะหมดป่า ข้าพเจ้ามีความภูมิใจในทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่าของไทยมาก ข้าพเจ้าเห็นว่าเราควรจะใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างระมัดระวัง และทะนุบำรุงให้คงอยู่ตลอดไป มิใช่ให้ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่า ทรัพยากรเหล่านี้ถูกทำลายหมดสิ้นไปในระยะเวลาอันสั้นแค่อายุของเรา ทรัพยากรธรรมชาตินับเป็นสมบัติล้ำค่าของชาติ และเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษสมควรที่เราทั้งหลายจะช่วยกันรักษาไว้ให้คง ประโยชน์สืบไปชั่วลูกชั่วหลาน”
ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานแนวพระราชดำริในการพัฒนาพื้นที่ไว้ 5 ประการ โดยโปรดให้ปลูกต้นไม้ทดแทนทั้งพื้นที่ราบและบนภูเขา นำสัตว์ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์มาเลี้ยงขยายพันธุ์และปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ต่อไป, ปรับปรุงพื้นที่ทั้งหมดให้มีความสวยงามตามธรรมชาติ และเสริมด้วยดอกไม้ชนิดต่าง ๆ, ให้เป็นสถานที่สามารถรับแขกบ้านแขกเมืองได้, ให้เป็นสถานที่ตัวอย่างเพื่อการศึกษาธรรมชาติในเรื่องของต้นไม้และสัตว์ป่า ตลอดจนให้เป็นสมบัติของชาติที่มีคุณค่าสืบไป
พร้อมกันนี้ทรงมอบหมายให้ ศูนย์ทหารราบ เป็นหน่วยดำเนินงาน เป็นโครงการส่วนพระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้ราชเลขานุการในพระองค์ เป็นประธานอำนวยการ และให้ พล.อ.นพดล วรรธโนทัย ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ สำนักราชเลขาธิการ เป็นหัวหน้าฝ่ายแผนและนโยบายและเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 27 ปี ซึ่ง พล.อ.นพดล วรรธโนทัย เปิดเผยว่า ในระยะแรกนั้น การทำงานเต็มไปด้วยอุปสรรคนานา เพราะสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ทั้งดินที่เค็มเสื่อมสภาพกลายเป็นดินทราย ขาดแคลนน้ำจืด ฝนตกน้อย ถ้าฝนมาจากตะวันตกจะข้ามไปตกในทะเล ถ้าฝนมาจากตะวันออกจะข้ามไปตกหลังเขา ฉะนั้นหาดทรายใหญ่จะได้รับน้ำฝนน้อย งานอนุรักษ์ป่าไม้และธรรมชาติ จึงถือว่าเป็นงานที่ยากมาก
ในระยะแรกปี พ.ศ.2528 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ขึ้นบนภูเขาด้วยพระองค์เอง ตรงไหนสูงชันทรงใช้เชือกไต่ลงมา ทรงแนะนำว่าควรปลูกต้นไม้อะไร ที่ตรงไหน ที่ใดควรปลูกไม้อะไรก่อน และต่อไปควรปลูกอะไร แรก ๆ ก็มีกระถินณรงค์, ยูคาลิปตัส, ไม้มะค่า, หางนกยูง, เสลา, มะกอก, ลูกหว้า ชนิดไหนปลูกแล้วตายไม่โตก็เปลี่ยนใหม่ บางพันธุ์พอเติบโตรากหยั่งลึกเจอดินเค็มก็ทยอยตาย แต่บางชนิดก็ทนสภาพอยู่ได้ จึงต้องเปลี่ยนพันธุ์ไม้มา 4 รอบแล้ว ในปี พ.ศ.2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้นำหญ้าแฝกมาปลูก ปรากฏว่าขึ้นงามดี ซ้ำยังทำให้ดินดีขึ้นด้วย “หญ้าแฝก” ช่วยให้หาดทรายใหญ่ สามารถปลูกต้นไม้ได้เพิ่มมากขึ้นทุกที่ ดังที่เห็นในปัจจุบัน
ส่วนน้ำอาศัยระบบชลประทานจากอ่างเก็บน้ำเขาเต่า ส่งข้ามเขามาซึ่งค่อนข้างลำบากและไม่เพียงพอกับความต้องการ ระยะหลัง ๆ น้ำที่อ่างเขาเต่าก็กร่อย เพราะอยู่ใกล้ทะเล ต่อมากรมชลประทานได้ส่งน้ำมาให้ภายในโครงการฯ จึงทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตขึ้นให้ความร่มรื่น บังเกิดทัศนียภาพที่สวยงามทั่วทั้งพื้นราบและพื้นที่บนภูเขา ไม่ว่าจะเป็นไม้ป่า ไม้ผลต่าง ๆ อาทิ หางนกยูง, นนทรี, ประดู่, ปีบ, มะค่าโมง, ตะแบก, เกด, โพธิ์ทะเล, จิกทะเล, เตยทะเล, เฟื่องฟ้า และไม้ดอกหอมอีกหลายสิบชนิด อาทิ ดอกพุดน้ำบุษย์ และดอกชมนาด ล้วนแต่เป็นงานที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระวิริยอุตสาหะทั้งสิ้น คณะทำงานเป็นเพียงผู้ดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทเท่านั้น
ด้าน งานอนุรักษ์สัตว์ป่าและสัตว์น้ำ มีพระราชดำริให้นำสัตว์ป่าที่หายากใกล้สูญพันธุ์แต่ไม่ดุร้ายเข้ามาเลี้ยง ไว้เพื่อศึกษาและขยายพันธุ์คืนสู่ธรรมชาติต่อไป สมัยก่อนพื้นที่แถบนี้มีป่าอุดมสมบูรณ์มีสัตว์ชุกชุม แต่ต่อมาถูกคนลอบตัดไม้และล่าสัตว์ไปจนเกือบหมด เหลืออยู่เพียงนกยูงและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดเท่านั้น ดังนั้นโครงการฯ จึงได้หาสัตว์ป่ามาเลี้ยงหลายชนิด เช่น กวางป่า, เนื้อทราย, เก้ง, ละอง, ละมั่ง, ไก่ฟ้า, นกยูงไทย, นกเงือก และอื่น ๆ เมื่อขยายพันธุ์ได้มากแล้วก็ปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติ การอนุรักษ์สัตว์น้ำ ได้มีการประกาศเป็นเขตห้ามจับสัตว์น้ำจากแนวชายหาด ด้านหน้าโครงการฯ ออกไป 1 ไมล์ทะเล
การทำงานที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคจากธรรมชาติ พล.อ.นพดล เปิดเผยความรู้สึกว่า “การทำงานเกี่ยวกับป่ามันท้าทาย เพราะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มิได้ทรงย่อท้อที่จะพิทักษ์รักษาป่า ผมจึงท้อไม่ได้ เพราะเห็นว่าพระองค์ท่านไม่ทรงท้อถอย เราทำเพียงจุดเล็ก ๆ แค่นี้ แต่พระองค์ท่านทรงทำทั่วทั้งประเทศมากมายไปหมด เราต้องถวายงานพระองค์ท่านอย่างเต็มความสามารถ”
ลักษณะพิเศษของการดำเนินงานโครงการฯ ก็คือ “ธรรมชาติได้ถูกคนทำลายไปจนหมดสิ้นแล้ว คนก็สร้างคืนมาได้ เป็นการต่อสู้เอาชนะธรรมชาติที่ค่อนข้างลำบากมากได้” เป้าหมายของการพัฒนาโครงการฯ เป็นงานที่ยังไม่ทราบวันจบ เพราะยังมีสภาพของพื้นที่ที่ต้องการทดสอบ ทดลอง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการฯ แห่งนี้แม้จะเป็นโครงการส่วนพระองค์ อยู่ในเขตพระราชฐาน แต่ทรงพระราชานุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมเพื่อศึกษาหาความรู้ นับได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติอีกด้วย
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 79 พรรษา 12 ส.ค. 2554 ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราชและอำนาจแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โปรดดลบันดาลอภิบาลให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระเกษมสำราญ มีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน พระบารมีแผ่ไพศาลทุกทิศานุทิศ ทรงสถิตเป็นร่มโพธิ์ทอง เป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทย ตลอดกาลนานเทอญ.
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า ทีมข่าวสตรี หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
-http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=359&contentID=156526-
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=359&contentID=156526
.