ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 07:57:55 pm »จุ่มลวก (หรือลวง)
โดย: ผศ.นสพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ
ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุกแบบไหนกินอย่างไรให้ปลอดจากภาวะอาหารเป็นพิษ หมอซุปมีคำตอบเพื่อการกินจุ่มลวก ให้ปลอดภัยมาฝากครับ
เลือกอาหารมื้อสุก(คิดว่า)ปลอดภัย
ตะวันนัดลัดดาวกินอาหาร คราวนี้ลัดดาวเลือกแนวจิ้มจุ่มลวกในตึกที่ทำงาน เพราะเห็นว่าน่าจะสด สุก และสะอาด ทั้งที่โดยธรรมชาติของลัดดาวอาจจะมีนิสัยที่ชอบอาหารเสี่ยงต่อโรคภัยเป็นประจำอยู่แล้ว
ทั้งคู่สั่งอาหารซึ่งมีทั้งเนื้อสัตว์ (ชนิดไม่ปรุงและปรุงรส) อาหารทะเล ผัก และไข่ไก่ เป็นต้น ตามปกติ แล้วบนโต๊ะก็มักจะมีช้อนตักซุปขนาดใหญ่ และกระชอนใช้สำหรับการลวกอาหาร เมื่ออาหารที่สั่งมาถึง ทั้งคู่คีบอาหารดิบใส่ลงในกระชอนแล้วจุ่มลงในน้ำซุปที่กำลังเดือด รอจนกระทั่งวัตถุดิบอาหารสุก จึงได้นำอาหารมาใส่ในชาม
ระหว่างกินอาหารได้ใช้ตะเกียบคีบวัตถุดิบอาหารใส่ลงในกระชอนเพื่อรอให้สุก จะได้มีอาหารเติมแบบไม่สะดุด บางครั้งลัดดาวคีบอาหารดิบใส่ลงในกระชอน แล้วจึงใช้ตะเกียบมาคีบอาหารสุกเข้าปากอย่างไม่รู้ตัว นอกจากนี้ลัดดาวยังจุ่มอาหารที่ลวกสุกแล้วในไข่ดิบด้วย โดยเข้าใจว่าจะทำให้อาหารมีรสชาติมากยิ่งขึ้น
หลังจากกลับบ้านลัดดาวรู้สึกถึงความไม่ปกติของในท้อง แต่ไม่เอะใจเพราะคิดว่าอาหารที่เลือกกินวันนี้สด สุก และสะอาดแล้ว จนในที่สุดกลางดึก ลัดดาวมีอาการไข้ คลื่นไส้ และถ่ายท้องหลายครั้งจนกระทั่งซูบและเพลียกับอาการอาหารเป็นพิษที่กระหน่ำอย่างรุนแรงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น
เปิบให้ปลอดภัยจากหมอซุป
+ การกินอาหารประเภทจุ่มลวก จัดได้ว่าเป็นทางเลือกการบริโภคในเชิงคุณภาพที่ดี กล่าวคือ อาหารหลังจากผ่านการแปรรูปให้สุกด้วยความร้อนแล้ว ก็บริโภคทันทีได้เลย จะทำให้หลีกเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวกับการเก็บรักษาและการเน่าเสียไปได้มาก ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคสามารถประเมินความสด ความสะอาดของวัตถุดิบอาหารได้โดยตรง ณ จุดที่บริโภคด้วย
+ กรณีความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับลัดดาว คือ การปนเปื้อนข้ามระหว่างอาหารดิบ (ที่มีจุลินทรีย์ก่อโรค) และอาหารสุก (ปลอดจุลินทรีย์ก่อโรค) ในกรณีนี้เกิดจากการที่ลัดดาวคีบอาหารดิบลงในกระชอน ตะเกียบจึงอาจจะปนเปื้อนจุลินทรีย์ก่อโรคค้างอยู่ที่ตะเกียบ แม้ว่าปลายตะเกียบอาจจะได้รับไอน้ำร้อนที่กรุ่นขึ้นมาน้ำซุปที่เดือด แต่ปริมาณความร้อนที่ได้รับนั้นน้อยเกินไป หรือปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคที่ปนเปื้อนมีปริมาณมากเกินความร้อนจากไอน้ำจะทำลายได้หมด
ทางที่จะปลอดภัยจากจุลินทรีย์นี้ก็คือ ลวกตะเกียบก่อนจะใช้ตะเกียบคืบอาหารสุกเพื่อบริโภคก็จะปลอดภัย
3. นอกจากนี้ลัดดาวยังบริโภคจุ่มลวกในแนวญี่ปุ่น โดยการจุ่มอาหารที่สุกแล้วในไข่ดิบก่อนจะบริโภค จัดว่าเป็นการเพิ่มระดับความเสี่ยงต่อการได้รับแบคทีเรียที่อาจจะมาจากไข่ ข้อแนะนำการจุ่มไข่(ดิบ) จึงควรผ่านความร้อนซ้ำอีกครั้งจนกระทั่งไข่สุกก่อนการบริโภค รสชาติอาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่เพื่อความปลอดภัยก็ควรจะหลีกเลี่ยงครับ
หากใส่ใจในเรื่องของอาหารสุกๆ ดิบๆ สักนิด ชีวิตก็จะปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสียครับ
http://www.momypedia.com/knowledge/health/detail.aspx?no=31071&title=%A8%D8%E8%C1%C5%C7%A1%20%28%CB%C3%D7%CD%C5%C7%A7%29
.
โดย: ผศ.นสพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ
ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุกแบบไหนกินอย่างไรให้ปลอดจากภาวะอาหารเป็นพิษ หมอซุปมีคำตอบเพื่อการกินจุ่มลวก ให้ปลอดภัยมาฝากครับ
เลือกอาหารมื้อสุก(คิดว่า)ปลอดภัย
ตะวันนัดลัดดาวกินอาหาร คราวนี้ลัดดาวเลือกแนวจิ้มจุ่มลวกในตึกที่ทำงาน เพราะเห็นว่าน่าจะสด สุก และสะอาด ทั้งที่โดยธรรมชาติของลัดดาวอาจจะมีนิสัยที่ชอบอาหารเสี่ยงต่อโรคภัยเป็นประจำอยู่แล้ว
ทั้งคู่สั่งอาหารซึ่งมีทั้งเนื้อสัตว์ (ชนิดไม่ปรุงและปรุงรส) อาหารทะเล ผัก และไข่ไก่ เป็นต้น ตามปกติ แล้วบนโต๊ะก็มักจะมีช้อนตักซุปขนาดใหญ่ และกระชอนใช้สำหรับการลวกอาหาร เมื่ออาหารที่สั่งมาถึง ทั้งคู่คีบอาหารดิบใส่ลงในกระชอนแล้วจุ่มลงในน้ำซุปที่กำลังเดือด รอจนกระทั่งวัตถุดิบอาหารสุก จึงได้นำอาหารมาใส่ในชาม
ระหว่างกินอาหารได้ใช้ตะเกียบคีบวัตถุดิบอาหารใส่ลงในกระชอนเพื่อรอให้สุก จะได้มีอาหารเติมแบบไม่สะดุด บางครั้งลัดดาวคีบอาหารดิบใส่ลงในกระชอน แล้วจึงใช้ตะเกียบมาคีบอาหารสุกเข้าปากอย่างไม่รู้ตัว นอกจากนี้ลัดดาวยังจุ่มอาหารที่ลวกสุกแล้วในไข่ดิบด้วย โดยเข้าใจว่าจะทำให้อาหารมีรสชาติมากยิ่งขึ้น
หลังจากกลับบ้านลัดดาวรู้สึกถึงความไม่ปกติของในท้อง แต่ไม่เอะใจเพราะคิดว่าอาหารที่เลือกกินวันนี้สด สุก และสะอาดแล้ว จนในที่สุดกลางดึก ลัดดาวมีอาการไข้ คลื่นไส้ และถ่ายท้องหลายครั้งจนกระทั่งซูบและเพลียกับอาการอาหารเป็นพิษที่กระหน่ำอย่างรุนแรงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น
เปิบให้ปลอดภัยจากหมอซุป
+ การกินอาหารประเภทจุ่มลวก จัดได้ว่าเป็นทางเลือกการบริโภคในเชิงคุณภาพที่ดี กล่าวคือ อาหารหลังจากผ่านการแปรรูปให้สุกด้วยความร้อนแล้ว ก็บริโภคทันทีได้เลย จะทำให้หลีกเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวกับการเก็บรักษาและการเน่าเสียไปได้มาก ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคสามารถประเมินความสด ความสะอาดของวัตถุดิบอาหารได้โดยตรง ณ จุดที่บริโภคด้วย
+ กรณีความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับลัดดาว คือ การปนเปื้อนข้ามระหว่างอาหารดิบ (ที่มีจุลินทรีย์ก่อโรค) และอาหารสุก (ปลอดจุลินทรีย์ก่อโรค) ในกรณีนี้เกิดจากการที่ลัดดาวคีบอาหารดิบลงในกระชอน ตะเกียบจึงอาจจะปนเปื้อนจุลินทรีย์ก่อโรคค้างอยู่ที่ตะเกียบ แม้ว่าปลายตะเกียบอาจจะได้รับไอน้ำร้อนที่กรุ่นขึ้นมาน้ำซุปที่เดือด แต่ปริมาณความร้อนที่ได้รับนั้นน้อยเกินไป หรือปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคที่ปนเปื้อนมีปริมาณมากเกินความร้อนจากไอน้ำจะทำลายได้หมด
ทางที่จะปลอดภัยจากจุลินทรีย์นี้ก็คือ ลวกตะเกียบก่อนจะใช้ตะเกียบคืบอาหารสุกเพื่อบริโภคก็จะปลอดภัย
3. นอกจากนี้ลัดดาวยังบริโภคจุ่มลวกในแนวญี่ปุ่น โดยการจุ่มอาหารที่สุกแล้วในไข่ดิบก่อนจะบริโภค จัดว่าเป็นการเพิ่มระดับความเสี่ยงต่อการได้รับแบคทีเรียที่อาจจะมาจากไข่ ข้อแนะนำการจุ่มไข่(ดิบ) จึงควรผ่านความร้อนซ้ำอีกครั้งจนกระทั่งไข่สุกก่อนการบริโภค รสชาติอาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่เพื่อความปลอดภัยก็ควรจะหลีกเลี่ยงครับ
หากใส่ใจในเรื่องของอาหารสุกๆ ดิบๆ สักนิด ชีวิตก็จะปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสียครับ
http://www.momypedia.com/knowledge/health/detail.aspx?no=31071&title=%A8%D8%E8%C1%C5%C7%A1%20%28%CB%C3%D7%CD%C5%C7%A7%29
.