ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 04:44:48 am »

กรรม คือ การกระทำ(ลงไปแล้ว) โดยเจตนา
กรรมที่ผู้อื่น(คนทั่วไป) รับรู้ ได้ คือ กรรมทางวาจา และกรรมทางกาย
กรรมทางใจของเธอ ผู้อื่น(คนทั่วไป)จะรับรู้ได้ต่อเมื่อเธอแสดงออกทางวาจา หรือ ทางกาย
ส่วนความคิดก่อนเกิด กรรม หากหยุดหรือตัด สังขาร(การปรุงแต่งจิต) ลงไปได้ การสร้างกรรม-
ไม่ว่า เลว หรือ ดี ก็หยุดลง เช่นกัน
.................................................................................................
ส่วน บาปกรรมทางวาจา
หรือ บาปกรรมจากการเขียน
หรือ บาปกรรมจากVDO
ผมเชื่อว่า เป็นบาปกรรม ทั้งสิ้น
..................................................................................................
เพียงแต่ เขา ผู้ซึ่งรับรู้จากกรรมของเธอ
เป็นผู้มีจิตใจระดับใด
เป็นผู้สนใจ ใส่ใจกับกรรมของเธอ เพียงใด
เป็นผู้ให้อภัย มากน้อยเพียงใด
เป็นผู้เข้าใจธรรมชาติของเด็ก ผู้ใหญ่ หรือวุฒิภาวะ เพียงใด

เราคงเคยเห็น พระพุทธเจ้า ได้ทรงสอนไว้ ว่า
ความโกรธ มีหลายระดับ คือ
โกรธ เหมือนใช้ไม้ เขียนตัวอักษร ไว้บน สายน้ำ (คือ เขียนแล้ว ก็หายไป)
(เสมือนหนึ่ง บาปกรรมที่พูดออกไป)
โกรธ เหมือน ใช้เหล็ก สลัก ตัวอักษร ไว้บนหินผา (คือ เขียนไว้เป็นสาปแช่ง)
(เสมือนหนึ่ง บาปกรรมที่เขียนออกไป บาปกรรมที่ทำ VDOออกไป)

แต่สำหรับผู้รับสาร หรือ ผู้รับรู้ กรรมที่เธอ กระทำออกไป นั้น
การตอบรับของเขา เหล่านั้น คงมีอยู่ 3 ประเภท คือ
1.ใส่ใจ คือ โกรธ ถึง โกรธแค้นมาก (เพราะเหตุใดก็ตาม)
2.ไม่ได้ใส่ใจ ไม่ติดใจอะไร เพียงแต่รับรู้ อ่าน หรือ ดู ผ่านไป (เพราะเหตุใดก็ตาม)
3.นิ่งสงบ (รู้สึกแบบพระอรหันต์ คือ รู้ว่า เํธอ ผู้ยังไม่รู้ ผู้ยังไม่ตื่น)
..................................................................................................
คนประเภทแรก จึงเป็นประเภทที่น่าเป็นห่วงที่สุด หากยังคงใส่ใจ จนถึงปัจจุบันนี้
เพราะเขาคนนั้น ยังคงโกรธต่อไป แม้นว่า เป็นเพียง วาจา คำพูด ที่ไม่มีการบันทึกใดๆไว้เป็นหลักฐาน
แต่ยังคง ฝังใจ อยู่ พร้อมที่จะระบายเป็นบาปกรรมอื่น ต่อไป
...
ดังนั้น บาปกรรมทางวาจา ก็ไม่ควรสร้างไว้
แม้นจะเห็นว่า ไม่เป็นไร เพราะเขาคง จดจำ ไม่ได้
แต่หารู้ไม่ว่า จิต เป็นเครื่องบันทึกกรรมจากผู้อื่น ได้ดี เช่นกัน
ขึ้นอยู่กับ จิต จะให้ความสนใจ ใส่ใจ นานเพียงใด
...
บาปกรรมของเขา ผู้นั้น คง คลาย ลงได้ ต่อเมื่อ "ให้อภัย" และ กลับมาสู่ "ความสงบใจ" ดังเดิม

.....................................................
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์

ขอบพระคุณที่มาจากคุณbad&good
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 04:39:13 am »

บุญ/บาปทางอินเทอร์เน็ต โดยคุณดังตฤณ




 ถาม – การเขียนข้อความหรือนำเสนอเนื้อหาอะไรผ่านอินเตอร์น็ต
โดยใช้นามแฝง ถือเป็นกรรมหรือไม่ ? เพราะไม่มีใครรู้จักชื่อเรา
ไม่มีใครเห็นหน้าเรา ไม่มีใครได้ยินเสียงเรา เหมือนเราไม่มีตัวตน


 ตอบ – ผมเห็นว่าคำถามนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจเรื่องกรรมได้ลึกซึ้งขึ้น
เพราะคนส่วนใหญ่ยังนึกว่าการก่อกรรมเป็นเรื่องที่ต้องโชว์ตัว โชว์เสียง
หรืออย่างน้อยก็ต้องมีชื่อแซ่ของเจ้าตัวปรากฏเป็นที่รับรู้เสียก่อน
ความเข้าใจดังกล่าวนั้นคลาดเคลื่อนนะครับ
กรรมนั้นคือเจตนา ต่อให้คุณนอนคิดร้ายอยู่บนยอดเขา
ไม่มีใครเห็น คุณก็ทราบชัดอยู่แก่ใจ และสามารถสำเหนียกรู้สึกได้ว่า
ใจคุณดำมืดเพราะโดนเมฆหมอกอกุศลทาบทับแล้ว

สำหรับกรรมที่ทำอยู่ในใจจริงๆ มีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจคุณเองคนเดียวนั้น
เรียกว่า ‘มโนกรรม’ สำหรับมโนกรรมนั้นจะสำเร็จสมบูรณ์เต็มขั้นในทันที
ที่ตั้งใจคิดและมีความยินดีกับความคิดนั้น
หากจะพูดว่ามโนกรรมคือกรรมที่ก่อแล้ว
ยังไม่ทันส่งผลกระทบดีร้ายกับผู้อื่นก็คงได้
ตัวอย่างเช่น คุณคิดจะด่าเขา แต่ระงับใจไม่ด่า
อย่างนั้นก็เป็นเพียงมโนกรรมอันเป็นอกุศล มีผลให้จิตคุณทุกข์ร้อนอยู่คนเดียว
ยังไม่เป็นวจีกรรม ยังไม่มีเสียงกระทบหูใครให้ใจเป็นทุกข์ขึ้นมา

แต่หากคลื่นความคิดแรงจนทะลักรั้วกั้น หลุดจากสมองไปกระทบผู้อื่น
ไม่ว่าจะทางภาษาพูดหรือภาษาเขียน ทำให้เขาเกิดความเข้าใจว่าคุณคิดอย่างไร
ตรงนั้นจัดว่าเป็นวจีกรรมได้หมด พูดง่ายๆ ว่า ‘ภาษา’ นั่นเอง
คือเครื่องมือก่อวจีกรรมของมนุษย์

ฉะนั้น คุณจะแอบเขียนอะไรทางอินเตอร์เน็ตโดยใช้นามแฝงเฉพาะกิจ
ไม่มีใครอื่นรู้เห็น ไม่มีใครรู้จักเลย
แม้เพียงครั้งเดียวก็นับว่าสร้างวจีกรรมไปแล้วหนึ่งครั้ง
และกรรมก็จะติดตามคุณเป็นเงาตามตัว ไม่ผิดต่างไปจากกรรมอื่นๆ
ที่กระทำโดยเปิดเผยหน้าตาตัวตน เจตนาเกิดขึ้นที่จิตของคุณ
กรรมก็เกิดที่จิตของคุณเช่นกัน เพราะกรรมคือเจตนา เจตนาคือกรรม
ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าบุคคลคิดแล้วจึงก่อกรรมทางกาย วาจา ใจ

อินเตอร์เน็ตเปิดโอกาสให้เราเห็นอะไรหลากหลายจริงๆ
แม้แต่การทำงานของกรรม อย่างเช่นที่ผมรู้จักหลายๆ คน
เห็นกรรมทางวาจาของเขาในเบื้องต้น
แล้วได้เห็นพัฒนาการหรือความเสื่อมทรามทางจิตใจในเวลาต่อมา
เป็นไปตามวิธีคิดเขียนให้ดีให้ร้ายแก่ผู้อื่น

ผู้ก่อความวุ่นวาย นานไปย่อมมีจิตใจที่วุ่นวาย ปั่นป่วนเหมือนพายุ
และแสดงแนวโน้มที่จะฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปในเรื่องเหลวไหล
พูดจาจับต้นชนปลายไม่ติดมากขึ้นเรื่อยๆ

ผู้ก่อกระแสความเยือกเย็น นานไปย่อมมีจิตใจเยือกเย็น สงบราบคาบผาสุก
และแสดงแนวโน้มที่จะแน่วนิ่งหนักแน่นในเรื่องเป็นเหตุเป็นผล
พูดจามีต้นมีปลายมากขึ้นเรื่อยๆ

บอกได้เลยครับว่า วจีกรรมที่เกิดขึ้นในโลกอินเตอร์เน็ตนั้น
อาจจะให้ผลเร็วและแรงเสียยิ่งกว่าวจีกรรมที่เกิดขึ้นในโลกความเป็นจริงเสียอีก
ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร ?
เพราะบนอินเตอร์เน็ตอาจมีผู้รับคำพูดของคุณจำนวนมาก
ขอให้ลองนึกดู หากคุณพูดเบาๆ ว่า ‘ไอ้โง่’
ก็อาจมีคุณคนเดียวในโลกที่ได้ยินเสียงอกุศลของตัวเอง
แต่ถ้าคุณพิมพ์คำว่า ‘ไอ้โง่’ ลงในกระทู้ของเว็บบอร์ดที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมคับคั่ง
คุณไม่มีทางปรับให้ดังหรือเบาได้ตามใจชอบได้เลย
คุณทำอกุศลกรรมกับคนแบบไม่เลือกหน้าเข้าแล้ว
คำด่านั้นอาจทำให้คนนับพันนับหมื่นเกิดความแสลงใจ
ความแสลงใจของคนนับไม่ถ้วนนั่นแหละ
จะย้อนกลับมาก่อเหตุให้คุณแสลงใจยิ่งกว่าพวกเขาได้

ผมเห็นแล้วนึกเสียดายครับ หลายคนยังเป็นเด็ก
และมีความสนุกที่จะขีดเขียนข้อความฝากไว้ในอินเตอร์เน็ตด้วยความคึกคะนอง
บางทีไม่รู้ตัวเลยว่าเอาอนาคตมาทิ้งเสียด้วยการสนทนาแบบไร้หน้าไร้เสียงนี่เอง

โอกาสก่อกรรมในยุคไอทีของพวกเรานี้
มีได้เป็นร้อยเป็นพันเท่ามากกว่ายุคอื่นครับ
กระดิกนิ้วง่ายๆ ไม่กี่ที ผล (กรรม) อาจใหญ่หลวงยิ่งกว่า
พยายามพูดในห้องประชุมใหญ่หลายๆ อาทิตย์เสียอีก
หากจิตตั้งไว้ดีแล้วก็สบายตัวไป
แต่หากจิตยังตั้งไว้ในมุมมืด อย่างนั้นก็คงน่าเป็นห่วงหน่อยล่ะ


ที่มา... http://larndham.org/index.php?/topic/37 ... ntry678967

ขอบพระคุณที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=27765