ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 10:50:40 pm »

ว้าว เท่ห์จังครับชมรมนี้  :13: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 12:28:46 am »



ชมรมที่เปิดหัวใจคุณด้วยใบหู
 
Main course 130
 
เรื่องและภาพ> a team junior 8
 
ชมรมของนักพูดที่สอนให้ฟังคนอื่นเพื่อได้ยินเสียงตนเอง
 
ชมรมสอนการฟังที่เกิดจากนักพูด
 
ฟังดูไม่เข้ากันเท่าไหร่ แต่มีตัวมีตนอยู่จริง เรื่องมีอยู่ว่า ปีที่แล้วในช่วงเคอร์ฟิวที่มีกฏห้ามไม่ให้ประชาชนชุมนุมกันเกิน 5 คน กลุ่มเพื่อนนักพูดจากสมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทยกลุ่มหนึ่งที่ต้องงดพูดชั่วคราวได้นัดมาคุยกันที่ร้านอาหาร ก่อนพูดกันเล่นๆ ว่า ทุกคนในกลุ่มล้วนพูดเก่ง น่าจะมีหลักสูตรสอนให้หยุดพูดบ้าง ซึ่งทำไปทำมา จากการพูดเล่นๆ ก็กลายเป็นการก่อตั้งชมรมสอนการฟังขึ้นอย่างจริงจัง โดยสมาชิกมีทั้งคนรู้จักของเหล่านักพูด และคนที่มาร่วมเพราะได้ข่าวจากโลกออนไลน์
 
ว่าแต่ ทำไม ‘การฟัง’ ถึงเป็นเรื่องต้องสอน
 
ชมรมสุนทรียแห่งการฟังอธิบายกับเราว่า เพราะที่ผ่านมา มนุษย์ไม่เคย ‘ฟัง’ กันจริงๆ เลยสักนิด เวลาที่คนอื่นพูด ในใจเราก็จะคิดแต่ว่า เดี๋ยวจะพูดอะไร หรือไม่ก็คิดตัดสินคำพูดที่เราได้ยิน เขาพูดถูก เขาพูดผิด ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ สมาชิกทุกคนในชมรมจึงพร้อมใจมาฝึกฟังให้เป็นกันเดือนละ 1 ครั้ง โดยกิจกรรมจะเริ่มจาก ‘การเล่น’ คือทำกิจกรรมสนุกๆ เพื่อให้ทุกคนเหมือนย้อนกลับไปเป็นเด็กที่พร้อมเรียนรู้ จากนั้นถึงเข้าสู่การพูดคุยที่เรียกว่า ‘สุนทรียสนทนา’ หรือ ‘ไดอะล็อค’ ซึ่งจากการไปแอบดู เราพบว่าสิ่งนี้คือการที่ทุกคนในชมรมนั่งล้อมเป็นวงกลม ก่อนผู้นำกิจกรรม(ทางชมรมเรียกว่า ‘กระบวนกร’) จะเปิดประเด็นชักชวนให้พูดคุย โดยเมื่อคนหนึ่งพูด คนที่เหลือก็จะนิ่งฟังอย่างตั้งใจ ไม่พูดขัดพูดแทรก บรรยากาศผ่อนคลายและเงียบสงบจนคนพูดสามารถได้ยินเสียงตัวเองชัดแจ๋ว
 
แต่ทั้งนี้ สิ่งสำคัญไม่อาจเห็นได้ด้วยตา ความเจ๋งของสุนทรียสนทนาจริงๆเกิดขึ้นจาก’ภายใน’ ของสมาชิกแต่ละคน เพราะคนที่นั่งฟังเพื่อนพูด จะต้องสังเกตว่าตัวเองกำลังฟังเฉยๆ หรือกำลังคิดตัดสินคนอื่น ซึ่งนี่เองคือ ‘การฟัง’ ที่ชมรมสุนทรียแห่งการฟังต้องการสอนเรา “การฟังในที่นี้หมายถึงการฟังเสียงภายในของตัวเอง เวลาฟังคนอื่นพูด เราจะรู้สึกต่อต้านถ้าเรื่องที่เขาพูดไม่ตรงกับความรู้สึกของเรา นั่นคือเสียงภายในที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อน” พี่จุ้ย--เนตรติกาลณ์ ป้อมปราการ หนึ่งในกระบวนกรอธิบาย ก่อนเอ่ยต่อว่า เมื่อเราฟังเสียงตัวเองก็จะรู้จักและเข้าใจตัวเอง แล้วจากนั้น เราก็จะฟังเสียงคนอื่นโดยตัดสินน้อยลงและมีความสุขมากขึ้น
 
ทางชมรมมีเป้าหมายว่า อยากให้ให้สมาชิกนำสุนทรียสนทนานี้ไปใช้ในครอบครัว เพราะถ้าครอบครัวหลายๆ ครอบครัวสงบสุข ผลที่ได้ก็จะขยายกว้างเป็นสังคมที่ร่มเย็น ซึ่งแม้เป้าหมายนี้อาจฟังดูเป็นอุดมคติเหลือเกิน แต่สมาชิกหลายคนก็ยืนยันกับเราฟังว่า สุนทรียสนทนาที่เรียนรู้จากชมรม มีสรรพคุณใช้แก้ปัญหาพ่อแม่ลูกไม่ฟัง ไม่เข้าใจกันได้จริงๆ
 
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงวันนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมของชมรมสุนทรียแห่งการฟังมีความหลายหลายมากขึ้น (มีตั้งแต่ทนาย ดีเจ ยันว่าที่นักเรียนหมอ) รวมถึงมีความสัมพันธ์เหนียวแน่นกว่าเดิม ทุกคนเริ่มอยากมาพบกันจนคอยถามว่าเดือนนี้จะเจอกันที่ไหนเมื่อไหร่ ทั้งหมดคือบทพิสูจน์ว่า ชมรมอายุ 1 ขวบกว่านี้กำลังก้าวไปข้างหน้าด้วยดีจากความร่วมมือของหูหลายคู่ “เราไม่สามารถเรียนรู้โลกทั้งหมด หรือเจอปัญหาทั้งหมดในเวลาเดียวกัน แต่การมาเจอแล้วได้ฟังกัน เราก็สามารถเรียนรู้ทุกอย่างแล้วเติบโตไปพร้อมกันได้” พี่จุ้ยเอ่ยทิ้งท้ายกับเรา
 
อยากมาลองฟังด้วยกันไหมล่ะ?
 
http://aestheticoflist.gagto.com/
 
ล้อมกรอบ fact: วันก่อตั้ง: พ.ศ. 2553
 
จำนวนสมาชิก: ประมาณ 20 คน
 
สถานที่รวมตัว: ร้านก๋วยเตี๋ยวไก่แม่ศรีเรือน สาขาเลียบทางด่วนอาจณรงค์
 
วันรวมตัว: ทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน
 
ล้อมกรอบ เกร็ด: วงสุนทรียสนทนามีกฏเหล็กว่าพูดได้ทีละหนึ่งคน ดังนั้น ช่วงแรกๆ ที่ทุกคนยังอยาก
 
แย่งกันพูด จึงมีการเอา ‘หินวิเศษ’ มาใช้ โดยคนที่มีหินก้อนนี้อยู่ในมือเท่านั้นที่จะมี สิทธิ์เปิดปากพูดได้
 


http://aestheticoflist.gagto.com/?cid=293326