ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2011, 03:04:55 pm »ปัญหาเกิดเมื่อฝืนธรรมชาติ
สังคมในอดีตมักไม่ต้องคิดมาก การแต่งงานมีครอบครัวเป็นวัฒนธรรมที่ล้วนยอมรับกัน ค่านิยมเรื่องไม่อยากแต่งงานมีลูกเพราะไม่อยากมีภาระรับผิดชอบนี่เพิ่งมาเปลี่ยนแปลงมากในยุค ๓๐ ปีให้หลังนี้ เกิดจากขบวนการ women’s liberation เพศหญิง เรียกร้องสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมฝ่ายชายมากขึ้น จนทำให้ฝ่ายหญิงมีบทบาททางสังคมมากขึ้น ออกมาหาเงินเป็นที่พึ่งของตัวเองได้ ความคิดเรื่องไม่แต่งงานและพึ่งตัวเองจึงเริ่มระบาดจากสังคมตะวันตกก่อน เมื่อหญิงออกมาทำงานมาก การเลี้ยงลูกจึงต้องถูกผลักภาระให้แก่ผู้อื่น เช่น ปู่ยาตายาย คนรับใช้ หรือไม่ก็สถานรับเลี้ยงเด็กต่าง ๆ เพราะเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ ปัญหาสังคมจึงตามมาอันเนื่องจากเด็กขาดความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ที่เอาแต่ทำงานจนไม่มีเวลาให้ลูก
นอกจากนั้น ความกดดันของระบอบเศรษฐกิจและปัญหาสังคม การดิ้นรนตะเกียกตะกายเพื่อเลี้ยงชีวิตตนเองให้รอดยังเป็นเรื่องยากอยู่ หญิงชายไม่น้อยจึงกลัว ไม่กล้าคิดเรื่องมารับภาระของการมีครอบครัวเพิ่ม ทำให้คนอยากแต่งงานมีน้อยลงในยุคนี้ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรงที่จะต้องส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวอยู่รอด ทำให้คู่แต่งงานที่มีลูกสามารถอยู่ได้ง่ายขึ้น โดยให้เสียภาษีน้อยลง อำนวยความสะดวกในเรื่องการให้แม่ได้ดูแลลูกเล็กของตน เป็นต้น เพราะถ้าสถาบันครอบครัวถูกส่งเสริมให้อยู่ได้ง่ายและประสบความสำเร็จแล้ว ปัญหาสังคมจะค่อย ๆ น้อยลงเอง
เสี่ยงทั้งนั้น
ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้พูดกับคนที่ยังอยู่ในโคตรปุถุชน แต่พูดกับคนที่ได้ข้ามพรมแดนมาอยู่ในอริยโคตรแล้ว แต่ยังมีความทุกข์อยู่ จึงอยากให้เห็นภาพใหญ่ของชีวิตและเข้าใจธรรมชาติของโลกมนุษย์และความลึกซึ้งของมัน ต้องไม่มองชีวิตแบบตัดตอน แต่มองอย่างครบวงจร การพูดครั้งนี้จึงพยายามหาทางออกให้แก่คนที่อยู่ในแต่ละกลุ่ม ซึ่งต้องเข้าใจว่า ไม่ว่าจะเลือกวิถีวิตแบบไหน ล้วนเป็นเรื่องของการเสี่ยงทั้งสิ้น เราอาจจะวางแผนสวยหรูไว้เช่นนี้ แต่ความเป็นจริงกลับกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะทุกอย่างเป็นอนิจจัง
นอกจากนั้น ต้องยอมรับความจริงขั้นพื้นฐานว่า เรากำลังอยู่ในคุกชีวิตที่มีความทุกข์ ฉะนั้น ไม่ว่าใครจะเลือกวิถีชีวิตอะไรก็ตาม ล้วนต้องมีปัญหาและความทุกข์ที่แตกต่างกันทั้งสิ้น คนโสดก็ทุกข์อย่างคนโสด คนมีครอบครัวก็มีปัญหาและทุกข์อย่างคนมีครอบครัว สิ่งที่รับประกันได้ คือ ความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพราก ไม่ว่าจะจากกันไปไกล เช่น ลูกที่ต้องจากบ้านไปเรียนหรือทำงานไกล ๆ นาน ๆ จึงกลับบ้านมาดูหน้าพ่อแม่สักครั้งหนึ่ง หรือ การพลัดพรากเพราะความตาย ไม่ว่าใครจะเลือกวิถีชีวิตแบบไหน ล้วนต้องพบความพลัดพรากและต้องเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ใครมีครอบครัว สิ่งที่หวังได้ดีที่สุดคือ ขอให้พ่อแม่ตายก่อนลูก ใครที่เป็นโสด อย่างน้อยก็ขอให้มีคนฝากผีฝากไข้ด้วย เมื่อความตายมาถึง ทั้งคนโสดและคนมีครอบครัวล้วนจากโลกนี้ไปมือเปล่าเท่าเทียมกันหมด
สรุป
ไม่ว่าจะเป็นโสดหรือมีครอบครัว เมื่อได้ข้ามพรมแดนมาสู่อริยโคตรแล้ว จับหลักเรื่องการพาตัวใจกลับบ้านได้แล้ว ทุกคนล้วนมีสิทธิ์เดินเข้าใกล้พระนิพพานและถึงพระนิพพานได้เท่าเทียมกันหมด ไม่มีกฏเกณฑ์บอกว่า คนโสดจะไปถึงนิพพานเร็วกว่าหรือช้ากว่าคนมีครอบครัว ใครที่ปฏิบัติถูกทาง ย่อมถึงพระนิพพานทั้งสิ้น
หวังว่าบทความนี้จะสามารถตอบคำถามของผู้อ่านที่เขียนเข้ามาถามปัญหาของการมีครอบครัว และหวังว่าทุกคนจะสามารถใช้สถานะของความเป็นมนุษย์ตลอดจนทรัพยกรชีวิต และธรรมชาติที่มีอยู่ในโลกมนุษย์ให้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อเดินเข้าใกล้พระนิพพานให้มากขึ้น
ด้วยความเมตตา Very Happy
ศุภวรรณ พิพัฒพรรณวงศ์ กรีน
๖ กันยายน ๔๙
บทความจาก : http://www.supawangreen.in.th
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ