ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2011, 10:00:45 pm »พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค - หน้าที่ 147
[๓๙๖] บุคคลรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกลมหายใจเข้ายาว
ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้จักโคจรและแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์
ฯลฯ ย่อมให้ธรรมทั้งหลายประชุมกันรู้จักโคจรและแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
คำว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้
ประชุมลงอย่างไร ฯ
บุคคลย่อมยังสัทธินทรีย์ ให้ประชุม ลงด้วย ความน้อมใจเชื่อ ยังวิริยินทรีย์ให้ประชุมลงด้วย
ความประคองไว้ ยังสตินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ยังสมาธินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ยังปัญญินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความเห็น บุคคลนี้ยังอินทรีย์เหล่านี้ให้ประชุมลงใน
อารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งธรรมนั้นว่าเป็นโคจรแห่งธรรมนั้น รู้จัก
โคจรแห่งธรรมนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น บุคคล ความรู้ปัญญา ฯ
คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความสงบ จิต
ตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ ฯ
คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอันไม่มีกิเลสเป็น
ประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ ฯ คำว่า
แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทงตลอดความที่จิตไม่
ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิตผ่องแผ้วเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[๓๙๗] คำว่า ย่อมให้พละทั้งหลายประชุมลง ความว่า ย่อมให้พละทั้งหลายประชุม
ลงอย่างไร ฯ
บุคคลย่อม ยังสัทธาพละให้ประชุมลง ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ยัง
วิริยพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ยังสมาธิพละให้ประชุมลงด้วยความ
ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ยังปัญญาพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา บุคคล
นี้ย่อมยังพละเหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังพละ
ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
คำว่า รู้จักโคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความ
สงบเป็นประโยชน์ ฯ
[๓๙๘] คำว่า ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุม ความว่า บุคคลย่อมยังโพชฌงค์
ทั้งหลายให้ประชุมลงได้อย่างไร ฯ
บุคคลย่อมยังสติสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังธรรมวิจยสัมโพช
ฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความเลือกเฟ้น ยังวิริยสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยังปีติ
สัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความแผ่ซ่านไป ยังปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความสงบ
ยังสมาธิสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วย
ความวางเฉยบุคคลนี้ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงในอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึง
กล่าวว่า ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
คำว่า รู้โคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบ
เป็นประโยชน์ ฯ
[๓๙๙] คำว่า ย่อมยังมรรคให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อมยังมรรคให้ประชุมลง
อย่างไร ฯ
บุคคลย่อมยังสัมมาทิฐิให้ประชุมลงด้วยความเห็น ยังสัมมาสังกัปปะให้ประชุมลงด้วย
ความดำริ ยังสัมมาวาจาให้ประชุมลงด้วยความแน่นอน ยังสัมมากัมมันตะให้ประชุมลงด้วย
ความที่เกิดขึ้นดี ยังสัมมาอาชีวะให้ประชุมลงด้วยความผ่องแผ้ว ยังสัมมาวายามะให้ประชุมลงด้วยความ
ประคองไว้ ยังสัมมาสติให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังสัมมาสมาธิให้ประชุมลงด้วยความ
ไม่ฟุ้งซ่านบุคคลนี้ย่อมยังมรรคนี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าย่อม
ยังมรรคให้ประชุมลง ฯ
คำว่า รู้จักโคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความ
สงบเป็นประโยชน์ ฯ
[๔๐๐] คำว่า ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อมยังธรรมทั้งหลาย
ให้ประชุมลง อย่างไร ฯ
บุคคลย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่
ยังพละทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหว
ยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความเป็นธรรมเครื่องนำออก
ยังมรรคให้ประชุมลงด้วยความเป็นเหตุ
ยังสติปัฏฐานให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้
ยังสัมมัปปธานให้ประชุมลงด้วยความเริ่มตั้ง
ยังอิทธิบาทให้ประชุมลงด้วยความให้สำเร็จ
ยังสัจจะให้ประชุมลงด้วยความถ่องแท้
ยังสมถะให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน
ยังวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วยความพิจารณาเห็น
ยังสมถะและวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วยความมีกิจเป็นอันเดียวกัน
ยังธรรมเป็นคู่กันให้ประชุมลงด้วยความไม่ล่วงเกินกัน
ยังสีลวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความสำรวม
ยังจิตวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน
ยังทิฐิวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความเห็น
ยังวิโมกข์ให้ประชุมลงด้วยความหลุดพ้น
ยังวิชชาให้ประชุมลงด้วยความแทงตลอด
ยังวิมุตติให้ประชุมลงด้วยความสละรอบ
ยังญาณในความสิ้นไปให้ประชุมลงด้วยความตัดขาด
ยังญาณในความไม่เกิดขึ้นให้ประชุมลงด้วยความเห็นเฉพาะ
ยังฉันทะให้ประชุมลงด้วยความเป็นมูลเหตุ
ยังมนสิการให้ประชุมลงด้วยความเป็นสมุฏฐาน
ยังผัสสะให้ประชุมลงด้วยความประสบ
ยังเวทนาให้ประชุมลงด้วยความรู้สึก
ยังสมาธิให้ประชุมลงด้วยความเป็นประธาน
ยังสติให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่
ยังสติสัมปชัญญะให้ประชุมลงด้วยความเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น
ยังวิมุตติให้ประชุมลงด้วยความเป็นสาระ
ยังนิพพานอันหยั่งลงในอมตะให้ประชุมลงด้วยความเป็นที่สุด
บุคคลนี้ย่อมยังธรรมเหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้
เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งธรรมนั้นว่าเป็นโคจรแห่งธรรมนั้น รู้จัก
โคจรแห่งธรรมนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น บุคคล ความรู้ปัญญา ฯ
คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความสงบ จิตตั้งมั่นเป็น
ความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ ฯ
คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอันไม่มีกิเลสเป็น
ประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ ฯ
คำว่า แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทงตลอดความที่จิตไม่
ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
[๔๐๑] ....
-----------------
-------------------
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน
ตนคำแรก คือ โลกุตตรธรรม 9
ตนหลัง คือ ดวงจิต อันสัมปยุตด้วยขันธ์
ศรีธรรมนูญ เรืองศรี : http://www.srthinth.info/PC.php
พฤศจิกายน 2551
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ