ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 28, 2011, 05:31:16 pm »



“พลิกโชคชะตา แก้กรรมด้วยความคิด และวิธีผ่านช่วงลำบากของชีวิต”

   ...คือชื่อหัวข้อการบรรยายพิเศษ ซึ่งจัดโดย สถาบันแห่งความสุข ประเทศไทย (Happy Science (Thailand) Foundation) เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา โดย อาจารย์ ฮิโรชิ ไยตะ ผู้บรรยายอาวุโสของสถาบันฯ เป็นผู้บรรยายครั้งนี้ ซึ่งกับตัวผู้บรรยายเองก็มีเรื่องราว มีแง่มุมที่น่าสนใจ...
                   
   ทีม “วิถีชีวิต” มีโอกาสได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตของอาจารย์ฮิโรชิเองก่อนการบรรยาย ซึ่งอาจารย์ฮิโรชิ เผยว่า ปัจจุบันอายุ 54 ปี เกิดที่เมืองคาโกชิม่า ประเทศญี่ปุ่น เรียนจบระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกักกุชูอิน คณะนิติศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ เดิมทำงานอยู่ที่บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น รับผิดชอบทางการค้าระหว่างประเทศในเรื่องของการนำเข้า-ส่งออก และการค้ากับประเทศที่สาม และโครงการลงทุนต่าง ๆ จำพวกอุตสาหกรรมหนัก โลหะผสมของเรือเฟอร์รี่ รวมถึงโลหะต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม
   
   อาจารย์ฮิโรชิ เล่าว่า ปลายปี 2529 ได้ทำความรู้จักกับแฮปปี้ไซด์ (Happy Science) เป็นครั้งแรก จากการที่คุณแม่ได้ให้หนังสือเล่มหนึ่งซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับสารที่มีปฏิกิริยา ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คน แต่ทิ้งไว้ประมาณเดือนกว่า ๆ จึงค่อยหยิบขึ้นมาอ่าน เพราะตอนแรกนั้นยังไม่ได้สนใจ และกำลังมีปัญหากับคนที่ทำงาน เลยเกิดความคิดว่าอยากจะหนีไปให้พ้น ๆ แล้วก็ไปต่างประเทศ “พออ่านแล้วก็รู้สึกประทับใจกับตัวเนื้อหา รู้สึกว่ามันมีอะไรที่กินใจตัวเรามากทีเดียว ในหนังสือเล่มนี้ก็มีปรัชญาความคิดของขงจื๊อ ของกวนอู นักปราชญ์จีน”    อาจารย์ฮิโรชิ เล่าต่อไปว่า ใจความสำคัญในหนังสือเล่มนั้นบอกว่า ในการต่อสู้ในชีวิต ความพ่ายแพ้หรืออุปสรรคมันเหมือนเป็นเงาตาม ชีวิตเราถึงอย่างไรมันก็ตามเรา เพราะฉะนั้นยังไงก็หนีไม่พ้น ดังนั้น การที่เราจะวิ่งหนีไปตลอดคงไม่ได้ เราต้องหันมาสู้ และยอมรับสถานการณ์ความจริง แล้วเราก็สามารถที่จะเปลี่ยนความทุกข์ หรือว่าสิ่งที่มันเป็นอุปสรรคขัดขวางเรา ให้มันเป็นความสุขได้
   
   หรือเราอยากจะหนีจากตรงนี้ไปอยู่ที่อื่น ในหนังสือบอกให้คิดไปว่า ขณะนี้เราอยู่ที่ตรงนี้เราก็ยังไม่มีความเบิกบานแจ่มใส ไม่สามารถจะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ ไปที่อื่นเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเราจะหนีความทุกข์นี้ไปได้
   
   “เมื่ออ่านแล้วรู้สึกว่า เหมือนกับหนังสือเล่มนี้อ่านใจเราออกเลยว่าคิดอะไร และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้น และหันมาปฏิบัติอย่างจริงจังตามคำสอนของ ดร.โอกาวา และภายในเวลา 1 ปี ก็เห็นชัดว่าตัวเองกับหัวหน้างานที่เดิมก่อนหน้านี้มีปัญหากัน พัฒนาดีขึ้นมาก จากด้านลบมันกลายเปลี่ยนเป็นด้านบวก”
   
   อีกราว 2 ปีต่อมา อาจารย์ฮิโรชิได้เข้าไปร่วมกับทางแฮปปี้ไซด์ ตอนที่เข้าไปเป็นปีที่ 3 ของการก่อตั้ง  ช่วงเวลาที่เข้าไปร่วมมีสมาชิกอยู่แล้ว 4,000 คน โดยหลักการของที่นี่อาจารย์ฮิโรชิ สรุปอย่างสั้น ๆ ว่า ให้คนเราปฏิบัติและเป็นความคิดที่ดี แล้วจากความคิดดี ก็นำไปสู “ความสุข” โดยที่มีหลักการอยู่ 4 ข้อด้วยกันคือ หลักการแรกเป็นหลักการแห่งความรัก หลักการที่สองเป็นหลักการแห่งปัญญา หลักการที่สามเป็นหลักการตรวจสอบตัวเอง และหลักการที่สี่เป็นหลักการแห่งความก้าวหน้า โดยปฏิบัติหลักการข้อใดข้อหนึ่งได้ก็เป็นทางที่นำไปสู่ความสุขได้
   
   แต่ ถ้าปฏิบัติทั้ง 4 หลักการไปด้วยกัน ก็หมายความว่าเราสามารถที่จะพัฒนาตัวเราเองไปได้กว้างไกล แล้วก็ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
   
   ตั้งแต่ปี 2532 ที่อาจารย์ฮิโรชิได้เข้าไปสัมผัสกับเรื่องนี้ พอถึงปี 2537 ก็ลาออกจากงานแล้วก็มาทำงานให้แฮปปี้ไซด์ เป็นวิทยากรบรรยายเต็มเวลามาจนกระทั่งปัจจุบัน โดยทำงานในระดับผู้บรรยายและผู้บริหารระดับสูงของสถาบัน
   
   สำหรับการบรรยายพิเศษ “พลิกโชคชะตา แก้กรรมด้วยความคิด และวิธีผ่านช่วงลำบากของชีวิต” เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น อาจารย์ฮิโรชิบอกว่า เป็นการพูดถึงความจริงในเชิงจิตวิญญาณเกี่ยวกับโชคชะตาและกรรม พูดถึงแนวทางในเชิงปฏิบัติที่จะเปลี่ยนหรือแก้กรรม พูดก็เพื่อให้คนทราบว่าปัญหาหรือโจทย์ใหญ่ที่เราเกิดมาในภพในชาตินี้มันคืออะไร แล้วก็จะดำเนินการอย่างไร 
               
   ทิ้งท้าย อาจารย์ฮิโรชิบอกว่า... “เวลาที่คนเราถามถึงโชคชะตา เราจะเปลี่ยนได้ไหม บางคนประสบเหตุการณ์ที่ไม่ดี มักจะบอกว่ามันเป็นเพราะกรรม แล้วกรรมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนไม่ได้ มันมีเขียนไว้ในชีวิตเราอยู่แล้ว แต่ ดร.โอกาวา บอกว่า ไม่จริง การศึกษาจากที่ท่านโอกาวาศึกษามุมมองชีวิตในเชิงจิตวิญญาณ จะมองว่า กรรมสามารถเปลี่ยนได้ คนเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ มีพลังมากกว่าที่เรามักจะคิดกัน ในแต่ละภพแต่ละชาติของเรามันมีอะไรสักอย่างเป็นโจทย์ที่เราจะต้องดำเนินการ ทุกครั้งที่เราพยายามจะเอาชนะกรรมของเรา บางคนประสบความสำเร็จ บางคนก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้น การเกิดใหม่ หรือกรรม มันเป็นกระบวนการเรียนรู้การศึกษาของคนเราด้วย”.

   ทีม “วิถีชีวิต” ถามถึงกรณีประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเคยเผชิญความลำบากมามาก ทั้งสงคราม แผ่นดินไหว สึนามิ คนญี่ปุ่นมี “วิธีผ่านความยากลำบากของชีวิต” ได้อย่างไร ? อาจารย์ฮิโรชิ บอกว่า ไม่ใช่ว่าคนเราแต่ละบุคคลเท่านั้นที่มีกรรม ประเทศชาติก็ด้วย เปรียบเหมือนกรรมที่คนเรามีร่วมกัน อย่างเช่นความลำบากของชาวญี่ปุ่น

   อาจจะไม่ได้เป็นเชิงอุดมคติอย่างที่เคยเป็นมา ถ้ามองจากมุมมองของโลกที่มันเป็นโลกศีลธรรม สังคมก็อาจจะเป็นเชิงวัตถุนิยม คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น ซึ่งมันไม่ได้เป็นสถานการณ์ที่ดีนักในแง่มุมมองจากสวรรค์

   “บางคนอาจบอกว่าสิ่งที่เจอนี่เป็นการลงโทษ แต่เราพยายามแนะนำเรื่องของความสุขที่แท้จริง เรื่องธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ เพื่อที่จะให้คนเปลี่ยนแนวทางการกระทำของคน เพื่อให้พบความสุข” อาจารย์ฮิโรชิ ระบุ.
   
   สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล ขนิกานต์ วงศ์สุธารส
   อนุสรา แสงเงิน เรื่อง สันติ มฤธนนท์ ภาพ


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=524&contentId=159813