ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 07:44:58 pm »





อนุโมทนาสาธุ ขอพระพุทธองค์ทรงเมตตาค่ะ

ข้อความโดย: เลดี้เบื๊อก
« เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 12:33:01 am »


ศิลาทับหญ้า อัตตาข่มกิเลส
   
หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ


เรื่องใจที่ละเอียดนั้น คือ ละเอียดในความคิดฝักใฝ่ในฝ่ายต่ำ ถ้ายินดีอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ยินดีอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ ไม่แสดงออกมาภายนอก คือ กายและวาจาอันเป็นส่วนหยาบ ๆ หรือถ้าจะให้รู้ความคิดที่ละเอียดอันเป็นของฝ่ายต่ำจริง ๆ แล้วนั้น จะรู้จักในขณะที่มีความสงบในสมาธิส่วนลึก เช่น ผู้ชำนาญในการเข้าฌาน ผู้ชำนาญในการเข้าสมาบัติ การเข้าฌาน การเข้าสมาบัติ นี้เอง จะมีความสุขกายและมีความสุขใจเป็นที่อยู่ประจำวัน

เมื่อความสุขภายในใจมีกำลังอยู่แล้ว ก็สามารถจะข่มกิเลสตัณหาไว้ได้ จะเหมือนกันกับศิลาทับหญ้านั่นเอง ขณะมีศิลาทับอยู่ หญ้าก็ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อศิลาเคลื่อนที่เมื่อไร หญ้าก็เกิดในที่นั้น ๆ

ฉะนั้น ผู้หวังความสงบในสมาธิ หวังความสงบในฌาน หวังความสงบในสมาบัติ ก็เพื่อกลบความกำเริบของราคะตัณหานั้นไว้ ใจก็เพลินอยู่ในความสุขนั้น ๆ ทั้งวันทั้งคืน นานเข้าก็จะเกิดลืมตัว ว่าราคะ ตัณหา อวิชชา ไม่มีในใจ ใจมีความสุข จึงไม่อยากนึกคิดอะไร ใจไม่อยากคิด ปัญญามันก็จะมืดมิดคิดอะไรไม่เป็น เหมือนกันกับร่างกายเราไม่มีโรค ก็ไม่คิดหายา

ใจมีความสงบแต่ไม่มีปัญญาที่จะคิด นี่ก็คือความละเอียดของใจ ทำให้กิเลสตัณหาฝังอยู่ในส่วนลึกของใจโดยไม่รู้ตัว หรือเหมือนกันกับเสือหรืองูที่อยู่ในถ้ำลึก มันจะออกมาหาสัตว์กินก็เมื่อเราเผลอตัว นี้ฉันใด ใจเมื่อเสื่อมจากฌานสมาบัติเมื่อไร กิเลส ตัณหา มันก็จะออกมาปรากฏตัวให้โลกได้รู้ และจับเอารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มาเป็นอาหารเมื่อนั้น


ฉะนั้น เมื่อใจเราละเอียด เราก็ต้องใช้ปัญญาอย่างละเอียดเข้าขุดค้นกันว่า ขณะนี้ กิเลส ตัณหา ได้หลบตัวอยู่ที่ไหน ก็ต้องใช้สติปัญญากับผู้รู้ คอยสังเกต เพื่อสำรวจตรวจตราลงไปหาใจอย่างละเอียด ความสงบในฌานในสมาบัติ นั้นเป็นเครื่องปกปิดกิเลสตัณหา ก็ต้องรื้อถอนชั่วคราวเหมือนกันกับผ้าปิดแผล เมื่อเราจะล้างแผล ก็ต้องเปิดผ้าฉันนั้น

เมื่อปัญญาจะเข้าดูความจริงของกิเลส เราก็ถอนออกจากความสงบนั้นออกมา เพื่อจะได้ใช้ปัญญาพิจารณาต่อไป ให้เหมือนกันกับเหี้ยที่มีรูทั้งหกอยู่ในจอมปลวก เมื่อเราต้องการจับเหี้ย เราก็ต้องปิดเสียสักห้ารู ส่วนรูที่หกนั้นก็ปล่อยไว้ สำหรับให้เหี้ยได้โผล่หัวและออกมาหากินตามความอยากของมัน ถ้าเหี้ยโผล่หัวออกมาได้จังหวะแล้ว เราก็กำคอเหี้ยให้แน่น เอาเชือกผูกลากออกจากรู แล้วก็ปิดรูให้แน่นเสีย

ส่วนเหี้ยก็จะไม่มีโอกาสได้เข้าไปในรูอีกต่อไป นี้ฉันใด เมื่อใจมีความละเอียด ก็ต้องหาวิธีที่จะดักจับกิเลสตัณหาภายในให้ได้ โดยใช้วิธีเอาสติปัญญาคอยจดจ้องอยู่กับใจ ถ้าเราไม่รู้ใจเห็นใจ เราก็ต้องเอาสติปัญญามาจดจ้องอยู่ในอารมณ์ของใจ อารมณ์ของใจเป็นอย่างไร ใจก็เป็นอย่างนั้น เมื่อรู้อารมณ์ของใจแล้ว ก็สืบสาวขยับเข้าหาใจตัวจริง คำว่าใจ ก็คือสภาพที่รู้ หรือธาตุรู้นั่นเอง สภาพรู้หรือธาตุรู้นี้เองแหละ เป็นต้นตอที่นักภาวนาต้องการรู้ต้องการเห็น จะว่า กิเลส ตัณหา อวิชชา ก็เกิดจากตัวนี้