ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: กันยายน 10, 2011, 08:08:48 pm »

กุมภีลชาดก คุณธรรมเป็นเครื่องให้เจริญ

 
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้
พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :
        ผู้ใดมีคุณธรรมอันเป็นเครื่องให้ความเจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการนี้ คือ
สัจจะ ๑ ธรรม ๑ ธิติ ๑ จาคะ ๑ ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้
        ส่วนผู้ใดไม่มีคุณธรรมอันเป็นเครื่องให้เจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการนี้ คือ
สัจจะ ๑ ธรรม ๑ ธิติ ๑ จาคะ ๑ ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูไม่ได้
 
ข้อความทั้งหมดที่เหลือในชาดกนี้พร้อมทั้งประชุมชาดก มีนัยดังกล่าวแล้วใน วานรินทชาดก
 ในหนหลังแล
 
 ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นกระบี่ ครั้นเจริญวัย มีร่างกายเติบโตขนาดลูกม้า สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง เที่ยวไปตามแนวฝั่งน้ำ ลำพังผู้เดียว. ก็กลางแม่น้ำนั้น มีเกาะแห่งหนึ่ง อุดมสมบูรณ์ด้วยต้นไม้อันมีผลนานาชนิด มีมะม่วงและขนุน เป็นต้น. พระโพธิสัตว์มีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง โจนจากฝั่งแม่น้ำข้างนี้แล้ว ก็ไปพักที่หินดาดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่กลางลำน้ำ ระหว่างฝั่งแห่งเกาะ โจนจากแผ่นหินนั้นแล้ว ก็ขึ้นเกาะนั้นได้ ขบเคี้ยวผลไม้ต่างๆ บนเกาะนั้น. พอเวลาเย็น ก็กระโดดกลับมาด้วยอุบายนั้น กลับที่อยู่ของตน. ครั้นวันรุ่งขึ้น ก็กระทำเช่นนั้นอีก พำนักอยู่ในสถานที่นั้น โดยนิยามนี้แล.
                ก็ในครั้งนั้น มีจระเข้ตัวหนึ่งพร้อมกับเมีย อาศัยอยู่ในน่านน้ำนั้น. เมียของมันเห็นพระโพธิสัตว์โดดไปโดดมา เกิดแพ้ท้อง ต้องการกินเนื้อหัวใจของพระโพธิสัตว์ จึงพูดกะจระเข้ผู้ผัวว่า ทูลหัว ฉันเกิดแพ้ท้อง ต้องการกินเนื้อหัวใจของพานรินท์นี้.
                จระเข้ผู้ผัวกล่าวว่า ได้ซี่ เธอจ๋า เธอจะต้องได้. แล้วพูดต่อไปว่า วันนี้ พี่จะคอยจ้องจับ เมื่อมันกลับมาจากเกาะในเวลาเย็น. แล้วไปนอนคอยเหนือแผ่นหิน.
                พระโพธิสัตว์เที่ยวไปทั้งวัน ครั้นเวลาเย็น ก็หยุดยืนอยู่ที่ชายเกาะ มองดูแผ่นหิน แล้วดำริว่า บัดนี้ แผ่นหินนี้สูงกว่าเก่า เป็นเพราะเหตุอะไรหนอ?
                ได้ยินว่า ประมาณของน้ำ และประมาณของแผ่นหิน พระโพธิสัตว์กำหนดไว้เป็นอย่างดีทีเดียว ด้วยเหตุนั้น จึงมีวิตกว่า วันนี้ ก็ไม่ลงและไม่ขึ้นเลย ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ หินนี้ดูใหญ่โตขึ้น จระเข้มันนอน คอยจับเราอยู่บนแผ่นหินนั้น บ้างกระมัง.
                พระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักทดสอบดูก่อน คงยืนอยู่ตรงนั้นแหละ ทำเป็นพูดกะหิน พลางกล่าวว่า แผ่นหินผู้เจริญ ยังไม่ได้รับคำตอบ ก็กล่าวว่า หินๆ ถึง ๓ ครั้ง หินจักให้คำตอบได้อย่างไร?
                วานรคงพูดกะหินซ้ำอีกว่า แผ่นหินผู้เจริญ เป็นอย่างไรเล่า วันนี้ จึงไม่ตอบรับข้าพเจ้า.
                จระเข้ฟังแล้วคิดว่า ในวันอื่นๆ แผ่นหินนี้คงให้คำตอบแก่พานรินทร์แล้วเป็นแน่ บัดนี้ เราจะให้คำตอบแก่เขา พลางกล่าวว่า อะไรหรือ พานรินทร์ผู้เจริญ.
                พระโพธิสัตว์ถามว่า เจ้าเป็นใคร?
                เราเป็นจระเข้.
                เจ้ามานอนที่นี่ เพื่อต้องการอะไร ?
                เพื่อต้องการเนื้อหัวใจของท่าน.
                พระโพธิสัตว์ดำริว่า เราไม่มีทางไปทางอื่น วันนี้ ต้องลวงจระเข้ตัวนี้. ครั้นคิดแล้ว จึงพูดกะมันอย่างนี้ว่า จระเข้สหายรัก เราจะตัดใจสละร่างกายให้ท่าน ท่านจงอ้าปากคอยงับเรา ในเวลาที่เราถึงตัวท่าน. เพราะหลักธรรมดามีอยู่ว่า เมื่อจระเข้อ้าปาก นัยน์ตาทั้งสองข้างก็จะหลับ. จระเข้ไม่ทันกำหนดเหตุ(อันเป็นหลักธรรมดา) นั้น ก็อ้าปากคอย. ทีนั้น นัยน์ตาของมันก็ปิด. มันจึงนอนอ้าปากหลับตารอ.
                พระโพธิสัตว์รู้สภาพเช่นนั้น ก็เผ่นไปจากเกาะ เหยียบหัวจระเข้ แล้วโดดจากหัวจระเข้ ไปยังฝั่งตรงข้าม เร็วเหมือนฟ้าแลบ.
                จระเข้เห็นเหตุอัศจรรย์นั้น คิดว่า พานรินทร์นี้กระทำการน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก พลางพูดว่า พานรินทร์ผู้เจริญ ในโลกนี้บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมครอบงำศัตรูได้ ธรรมเหล่านั้น ชะรอยจะมีภายในของท่านครบทุกอย่าง.
                แล้วกล่าวคาถานี้ ใจความว่า :-
 
                พานรินทร์ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ สัจจะ ธรรม ธิติ และจาคะ มีแก่บุคคลใด เหมือนมีแก่ท่าน บุคคลนั้นย่อมพ้นศัตรูไปได้ ดังนี้.
 
                บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ได้แก่ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง.
                บทว่า เอเต ความว่า ย่อมปรากฏโดยประจักษ์ในธรรม ที่เราจะกล่าวในบัดนี้.
                บทว่า จตุโร ธมฺมา ได้แก่ คุณธรรม ๔ ประการ.
                บทว่า สจฺจํ ได้แก่ วจีสัจ คือที่ท่านบอกว่า จักมาสู่สำนักของข้าพเจ้า ท่านก็มิได้กระทำให้เป็นการกล่าวเท็จ มาจริงๆทีเดียว ข้อนี้เป็นวจีสัจของท่าน.
                บทว่า ธมฺโม ได้แก่ วิจารณปัญญา กล่าวคือ ความรู้จักพิจารณาว่า เมื่อทำอย่างนี้แล้ว จักต้องมีผลเช่นนี้ ข้อนี้เป็นวิจารณปัญญาของท่าน.
                ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนขาดตอนลง ท่านเรียกว่า ธิติ แม้คุณธรรมข้อนี้ ก็มีแก่ท่าน.
                บทว่า จาโค ได้แก่ การสละตน คือการที่ท่านสละชีวิต มาถึงสำนักของเรา แต่เราไม่อาจจับท่านได้ นี้เป็นโทษของเราฝ่ายเดียว.
                บทว่า ทิฏฺฐํ ได้แก่ ปัจจามิตร.
                บทว่า โส อติวตฺตติ ความว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ดังพรรณนามานี้มีแก่บุคคลใด เหมือนมีแก่ท่าน บุคคลผู้นั้นย่อมก้าวล่วง คือครอบงำเสียได้ ซึ่งปัจจามิตรของตน เหมือนดังท่านล่วงพ้นข้าพเจ้าไปได้ในวันนี้ ฉะนั้น.
                จระเข้สรรเสริญพระโพธิสัตว์อย่างนี้แล้ว ก็ไปที่อยู่ของตน.
                แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัต มิใช่เพื่อจะตะเกียกตะกายจะฆ่าเรา ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ตะเกียกตะกายเหมือนกัน ดังนี้.
                แล้วทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา สืบอนุสนธิ ประชุมชาดก ว่า
                จระเข้ในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระเทวทัตในครั้งนี้
                เมียของจระเข้ได้มาเป็น นางจิญจมาณวิกา
                ส่วนพานรินทร์ได้มาเป็น เราตถาคตฉะนี้แล.
จบ กุมภีลชาดก