ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: กันยายน 10, 2011, 08:10:20 pm »

 กุมมาสปิณฑชาดก ว่าด้วยอานิสงส์ถวายขนมกุมมาส

 
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลของคนยากจนตระกูลหนึ่ง เติบโตแล้วอาศัยเศรษฐีคนหนึ่ง ทำงานรับจ้างเลี้ยงชีวิต อยู่มาวันหนึ่ง เขาถือขนมกุมมาส ๔ ก้อนมาจากตลาด โดยคิดว่า ขนมเหล่านี้จักเป็นอาหารเช้าของเรา เมื่อเดินไปทำงาน ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องค์ กำลังเสด็จมา บ่ายพระพักตร์ไปนครพาราณสี เพื่อประโยชน์แก่ภิกษาจาร จึงคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ เสด็จไปนครพาราณสีเพื่อต้องการภิกษาจาร เราก็มีขนมกุมมาส ๔ ก้อนนี้ ถ้ากระไรแล้ว เราควรถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ แล้วเข้าไปเฝ้าท่านทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีขนมกุมมาสในมือ ๔ ก้อน ข้าพระองค์ ขอถวายขนมเหล่านี้แก่พระองค์ทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระองค์ทั้งหลายจงทรงรับเถิด แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ บุญนี้จักมีแก่ข้าพระองค์ เพื่อประโยชน์และความสุขตลอดกาลนาน
และเมื่อได้ทราบการทรงรับนิมนต์ของพระองค์ท่านแล้ว ก็ตกแต่งอาสนะ ๔ ที่โดย พูนทรายขึ้นลาดกิ่งไม้และผ้าเปลือกไม้ไว้บนกองทรายเหล่านั้น นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าให้ประทับนั่งตามลำดับแล้ว เอากระทงใบไม้ตักน้ำมา หลั่งทักขิโณทก วางขนมกุมาส ๔ ก้อนลงในบาตร ๔ ใบ นมัสการแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยผลแห่งการถวายขนมกุมมาสเหล่านั้น ขึ้นชื่อว่าการเกิดในเรือนคนจน ขอจงอย่ามีเลย ขอให้การถวายทานนี้ จงเป็นปัจจัยแห่งการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
พระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งหลายก็เสวยทันที ในที่สุดแห่งการเสวย ทรงทำอนุโมทนาแล้ว ได้ทรงเหาะไปสู่เงื้อมเขานันทมูลนั่นเอง พระโพธิสัตว์ประคองอัญชลี แล้วเอาปิติที่ไปในพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ พอพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นละสายตาไปแล้ว ก็ไป ณ ที่ทำงานของตน แม้ท่านทำกรรมเพียงเท่านี้ แต่รำลึกถึงทานนั้นตลอดอายุถึงแก่กรรมแล้ว ก็ถือกำเนิดในพระอุทรของพระอัครมเหสี ของพระเจ้าพาราณสี พระญาติทั้งหลายได้ ถวายพระนามว่า พรหมทัตกุการ ท้าวเธอนับแต่แต่เวลาที่ตนเสด็จดำเนินไปด้วยพระบาท ทรงเห็นกิริยาอาการของตนในชาติก่อนปรากฏชัด ด้วยความรู้ระลึกชาติได้เหมือนเห็นเงาหน้าในกระจกเงาที่ใสว่า เราได้เป็นลูกจ้างในนครนี้นั่นเอง เมื่อเดินไปทำงานได้ถวายขนมกุมมาส ๔ ก้อน แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ถือกำเนิดในที่นี้ เพราะผลของกรรมนั้น
ท้าวเธอทรงเจริญวัย แล้วเสด็จไปยังนครตักกศิลา ทรงเรียนศิลปะทุกอย่าง แล้วเสด็จกลับมา ทรงแสดงศิลปะที่ทรงศึกษามาแล้ว แก่พระราชบิดา แล้วพระราชบิดาทรงพอพระราชหฤทัย ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งอุปราช ในกาลต่อมาโดยสิ้นรัชกาลของพระราชบิดา ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลาย พากันนำพระราชธิดาของพระเจ้าโกศลผู้ทรงเลอโฉม มาถวายให้เป็น พระอัครมเหสีของพระองค์ ก็ในวันฉัตรมงคลของพระองค์คนทั้งหลาย ได้พากันตบแต่งพระนครทั้งนครให้เหมือนเทพนครก็ปานกัน พระองค์เสด็จเลียบพระนคร แล้วเสด็จขึ้นปราสาทที่ตบแต่ง แล้วเสด็จขึ้นพระราชบัลลังก์ ที่ยกเศวตรฉัตรขึ้นไว้ ณ ท่ามกลางชั้นที่กว้างใหญ่ ประทับนั่งแล้ว ทอดพระเนตรพสกนิกรทั้งหลายที่พากันยืนเฝ้า ด้านหนึ่งเป็นอำมาตย์ ด้านหนึ่งเป็นคหบดี มีพราหมณ์คหบดีเป็นต้น ผู้มีสมบัติต่างๆ กัน มีความรุ่งเรืองสุกใสด้วยสิริวิลาส ด้านหนึ่งเป็นประชาชนชาวกรุง มีมือถือเครื่องบรรณาการนานาชนิด ด้านหนึ่งเป็นคณะหญิงฟ้อนจำนวนหมื่นหกพันนาง ปานประหนึ่งสาวอัปสร ผู้ตบแต่งแล้ว ฉะนั้น และสิริราชสมบัตินี้เป็นที่รื่นรมย์พระทัยยิ่งนัก ทรงรำลึกถึงกุศลกรรมที่ตนบำเพ็ญไว้ในปางก่อนแล้ว ทรงรำลึกถึง พระคุณของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายว่า สิริสมบัติแม้ทั้งหมดนี้ คือ ห่อทองห่อนี้ ๑ ดอกไม้ทอง ๑ เศวตรฉัตร ๑ ช้างม้าและรถที่เป็น ราชพาหนะเหล่านี้ จำนวนหลายพัน ๑ ห้องคลังที่เต็มด้วยแก้วมณี และแก้วมุกดาเป็นต้น ๑ แผ่นดินใหญ่ที่เต็มไปด้วยธัญชาตินานาชนิด ๑ เหล่านารีที่เทียบเคียงกับสาวอัปสร ๑ เป็นสมบัติของเรา ไม่ใช่ของคนอื่น แต่เป็นสิ่งที่อาศัยการถวายขนมกุมมาส ๔ ก้อน แก่พระปัจเจก ๔ องค์นั่นเอง สมบัตินั้นเราได้มาเพราะอาศัยพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ดังนี้ แล้วได้กระทำกรรมของตนให้ปรากฏแล้ว เมื่อพระองค์ทรงรำลึกถึงผลกรรมนั้นแล้ว พระสรีระทั้งสิ้นเต็มเปี่ยมไปด้วยปิติ พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยชุ่มเย็นด้วยปิติ เมื่อทรงขับเพลงที่ทรงอุทานออกมา ที่ท่ามกลางมหาชน ได้ตรัสคาถา ๒ คาถา ว่า:
[๑๑๐๗] ได้ยินว่า การทำสามีจิกรรมในพระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าอโนมทัสสี มี
คุณไม่น้อยเลย เชิญดูผลแห่งก้อนขนมกุมมาสแห้ง ไม่มีรสเค็ม ส่งผล
ให้เราได้ช้าง ม้า วัว ทรัพย์ ข้าวเปลือกเป็นอันมากนี้ ตลอดทั้งแผ่น
ดินทั้งสิ้น และนางนารีเหล่านี้เปรียบด้วยนางอัปสร เชิญดูผลแห่งก้อน
ขนมกุมมาส

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ทรงมีปิติปราโมทย์เกิดขึ้นในวันฉัตรมงคลของตน จึงทรงร้องเพลงพระราชอุทาน ด้วยคาถา ๒ คาถาเหล่านี้ นับแต่แต่นั้นมา เหล่าหญิงฟ้อนของพระโพธิสัตว์พากันร้องเพลงนั้น โดยคิดว่า เป็นเพลงที่พระราชาทรงโปรด คือเพลงพระราชนิพนธ์ และคนธรรพ์ที่เป็นนักฟ้อนทั้งหลายเป็นต้น ที่เหลือก็ดี คนภายในเมืองก็ดี คนที่อยู่ภายในพระนครทั้งหลายก็ดี คนที่อยู่ภายนอกพระนครทั้งหลายก็ดี พากันร้องเพลงนั้นเหมือนกัน ที่ร้านเครื่องดื่มภัตตาคารบ้าง ที่บริเวณชุมชนบ้าง โดยคิดว่า เป็นเพลงที่พระราชาของพวกเราทรง โปรด
เมื่อเวลาผ่านไปนานแล้วอย่างนี้ พระมเหสีได้มีพระราชประสงค์จะทรงทราบเนื้อร้องของเพลงนั้น แต่ไม่กล้าทูลถามพระมหาสัตว์ ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาทรงเลื่อมใสในคุณงามความดีอย่างหนึ่งของพระนาง จึงตรัสว่า น้องนางเอ๋ย ฉันจะให้พรแก่เธอ ขอให้เธอจงรับพร

พระนางจึงทูลว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม หม่อมฉันขอรับพระราชทานพระพร
บรรดาช้างม้าเป็นต้น เราจะให้อะไรแก่เธอ
ข้าแต่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ไม่มีอะไรที่หม่อมฉันไม่มี เพราะอาศัยเสด็จพี่ หม่อมฉันไม่มีความต้องการสิ่งเหล่านั้น ถ้าหากเสด็จพี่มีพระราชประสงค์จะพระราชทานพระพร ขอจงตรัสบอกเนื้อเพลง พระราช นิพนธ์ พระราชทานหม่อมฉันเถิด
น้องนาง เธอจะมีประโยชน์ อะไรด้วยพรนี้ เธอจงรับเอาพรอื่นเถิด
ขอเดชะพระอาชญาไม่พ้น เกล้า หม่อมฉันไม่มีความต้องการอย่างอื่น ต้องการเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์อย่างเดียว
น้องนาง ดีแล้ว เราจักบอกให้ แต่เราจะไม่บอกแก่เธอคนเดียวในที่ลับ จักให้ตีกลองป่าวร้องไปในนครพาราณสี ประมาณ ๑๒ โยชน์ ให้สร้างรัตนบัลลังก์ที่พระทวารหลวง ให้ลาดรัตนบัลลังก์ห้อมล้อมด้วยชาวนครทั้งหลาย มีอำมาตย์และพราหมณ์เป็นต้น และหญิงหมื่นหกพันนาง นั่งบนรัตนบัลลังก์ ท่ามกลางคนเหล่านั้น แล้วบอก
พระนางทูลรับว่า ดีแล้ว เพคะ
พระราชาทรงให้ทำอย่างนั้นแล้ว มีหมู่มหาชนแวดล้อม เหมือนท้าวสักกะเทวราชมีหมู่เทวดาห้อมล้อม ฉะนั้น แล้วเสด็จประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ ฝ่ายพระราชเทวี ทรงประดับประดาด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ตั้งพระภัทรบิฐทอง ทรงชำเลืองหางพระเนตรดูที่สมควรข้างหนึ่ง แล้วประทับ ณ ที่ตามความเหมาะสม ทูลว่า ข้าแต่เสด็จพี่ ขอเสด็จพี่จงตรัสบอกเนื้อร้องของเพลงมงคลที่เสด็จพี่ปลื้มพระทัย แล้วทรงขับร้องแก่หม่อมฉันให้ชัดแจ้ง เหมือนให้พระจันทร์โผล่ขึ้นบนท้องฟ้าก่อน ฉะนั้น แล้วทูลคาถาที่ ๓ ว่า:
[๑๑๐๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้มีอัธยาศัยเป็นกุศล ผู้บำรุงรัฐให้เจริญ
พระองค์ตรัสคาถาเพลงขับเสมอๆ ขอพระองค์ผู้มีพระทัยเปี่ยมด้วยปีติ
อันแรงกล้า ได้โปรดตรัสบอกใจความแห่งคาถาเพลงขับที่หม่อมฉันทูล
ถามนั้นเถิด
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงทำเนื้อความของคาถา ทั้งหลายให้แจ่มชัดแก่พระนาง จึงได้ภาษิตคาถา ๔ คาถา ว่า:
[๑๑๐๙] เราเกิดในตระกูลหนึ่งในนครนี้แหละ เป็นลูกจ้างทำงานให้คนอื่น ถึง
จะเป็นลูกจ้างทำการงานเลี้ยงชีวิต แต่เราก็มีศีลสังวร วันนั้นเราออก
ไปทำงาน ได้เห็นสมณะ ๔ รูป ผู้ประกอบไปด้วยอาจาระและศีล เป็นผู้
เยือกเย็น ไม่มีอาสวะ
เรามีจิตเลื่อมใสในสมณะเหล่านั้น จึงนิมนต์ให้ท่านนั่งบนอาสนะที่ลาด
ด้วยใบไม้แล้ว ได้ถวายขนมกุมมาสแก่ท่านด้วยมือของตน ผลแห่งกุศล
กรรมนั้นของเราเป็นเช่นนี้ เราจึงได้เสวยราชสมบัตินี้ อันมีแผ่นดินแผ่
ไพศาลไปด้วยสมบัติทุกชนิด


เมื่อพระมหาสัตว์บอกผลกรรมของตน โดยพิสดารอย่างนี้แล้ว พระเทวีครั้นทรงสดับแล้ว ทรงมีพระทัยเลื่อมใส เมื่อจะทรงทำการสดุดีพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าว่า พระองค์ทรงทราบผลทาน โดยประจักษ์อย่างนี้แล้วไซร้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พระองค์ทรงได้ก้อนข้าวก้อนหนึ่งแล้ว ต้องถวายแก่สมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรมนั้นแหละ จึงจะเสวย ดังนี้แล้ว ได้ทูลคาถานี้ว่า:
[๑๑๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้มีอัธยาศัยเป็นกุศล พระองค์ทรงประทานเสียก่อน จึงค่อย
เสวยเอง พระองค์อย่าทรงประมาทในบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น พระองค์
จงทรงยังจักร ๔ มีการอยู่ในประเทศอันสมควรเป็นต้นให้เป็นไป อย่าได้
ทรงตั้งอยู่ในอธรรมเลย จงทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรมเถิด
พระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงรับพระดำรัสของพระนาง จึงตรัสคาถา นี้ว่า:
[๑๑๑๑] ดูกรพระราชธิดาของพระเจ้าโกศลผู้เลอโฉม เรานั้นจักประพฤติตามทางที่
พระอริยเจ้าประพฤติมาแล้วนั้นแลเสมอๆ พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นที่
พอใจของเราแท้ เราปรารถนาจะได้เห็นท่าน
ก็แหละพระราชา ครั้นตรัสคำนี้แล้ว ทรงตรวจดูสมบัติของพระเทวี เมื่อตรัสถามว่า ดูก่อนน้องนางผู้เจริญ เราบอกกุศลกรรม ของตนในภพก่อนอย่างพิสดารแก่เธอแล้ว แต่ในท่ามกลางหญิงเหล่านี้ ไม่มีหญิงแม้แต่คนเดียวที่เช่นกับเธอ โดยรูปร่างหรือโดยเยื้องกราย และกิริยาเสน่หาของหญิง เธอนั้นทำกรรมอะไรไว้ จึงได้รับสมบัตินี้ ดังนี้ จึงได้ตรัสคาถาซ้ำว่า:
[๑๑๑๒] ดูกรนางเทวีผู้เป็นพระราชธิดาที่รักของพระเจ้าโกศล เจ้างดงามอยู่ใน
ท่ามกลางหมู่นารี เปรียบเหมือนนางเทพอัปสรฉะนั้น เจ้าได้ทำกรรมดี
งามอะไรไว้ เจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่องอย่างนี้ เพราะกรรมอะไร?
ลำดับนั้น พระราชเทวีนั้น เมื่อจะทูลบอกกรรมดี ในภพก่อน ด้วยพระญาณที่ทรงระลึกชาติได้ จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาที่เหลือว่า:
[๑๑๑๓] ข้าแต่พระมหากษัตริย์ หม่อมฉันเป็นทาสีทำการรับใช้ของตระกูลกฏุมพี
เป็นผู้สำรวมระวัง เป็นอยู่โดยธรรม มีศีล มีความเห็นชอบธรรม
คราวนั้น หม่อมฉันมีจิตโสมนัส ได้ถวายอาหารที่เป็นส่วนของหม่อม
ฉัน แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ด้วยมือตนเอง
ผลแห่งกรรมนั้นของหม่อมฉัน เป็นเช่นนี้
ได้ทราบมาว่า แม้พระราชเทวีนั้น ก็ทรงระลึกชาติได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระนางจึงได้ทูลพระราชา โดยทรงกำหนดด้วยพระญาณ ที่ทรงระลึกชาติของตนได้นั่นเอง
ข้าแต่มหาราช เมื่อก่อนหม่อมฉันเป็นทาสี ของตระกูลกุฎุมพีตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในนครสาวัตถี ถือเอาภัตตาหารส่วนที่ได้แล้วเดินออกไป เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งกำลังทรงดำเนินไปบิณฑบาต ยังความยินดีของตนให้ห่อเหี่ยวลง ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีความสำรวมระวังเป็นต้น เชื่อผลของกรรมอยู่ จึงได้ ถวายภัตตาหารนั้นแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น หม่อมฉันนั้น ดำรงอยู่จนตลอดอายุถึงแก่กรรมแล้ว ได้ถือกำเนิดในพระอุทรของพระมเหสีของพระเจ้าโกศล ในนครสาวัตถีนั้น บัดนี้ กำลังบำเรอบาทของพระองค์ เสวยสมบัติเห็นปานนี้ ผลกรรมของหม่อมฉันนั้น เป็นอย่างนี้
พระราชาและพระมเหสีทั้ง ๒ พระองค์นั้น ครั้นตรัสกรรมเก่า โดยพิสดารด้วยประการอย่างนี้แล้ว นับแต่แต่นั้นมา ทรงให้สร้างศาลา ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง ที่กลางพระนคร ๑ แห่ง ที่ประตูพระราชวัง ๑ แห่ง ทรงกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้กระฉ่อน ยังมหาทานให้เป็นไป ทรงรักษาศีล รักษาอุโบสถ ในอวสานต์แห่งพระชนม์ ชีพ ได้ทรงมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ว่า พระราชเทวีในครั้งนั้น ได้แก่ มารดาพระราหุล ส่วนพระราชา ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล
จบ กุมมาสปิณฑชาดก