ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: กันยายน 10, 2011, 08:13:11 pm »

กุรุงคมิคชาดก ว่าด้วยผู้ชอบโอ้อวด

 
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นกวางอาศัยอยู่ที่ละเมาะแห่งหนึ่ง ไม่ไกลสระแห่งหนึ่งในป่า ไม่ไกลสระนั้นมีนกชื่อสตปัตตะ จับอยู่ที่ยอดไม้ต้นหนึ่ง ก็ที่สระมีเต่าอาศัยอยู่ สัตว์ทั้งสามนั้นเป็นสหายกัน ต่างอยู่กันด้วยความรัก ครั้งนั้นพรานเนื้อคนหนึ่งท่องเที่ยวไปในป่า พบรอยเท้าพระโพธิสัตว์ที่ท่าลงน้ำดื่ม จึงดักบ่วงมีเกลียวแข็งแรงราวกับโซ่เหล็ก แล้วกลับไป
พระโพธิสัตว์มาดื่มน้ำ ติดที่บ่วงตั้งแต่ยามต้น จึงร้องให้รู้ว่าติดบ่วงเข้าแล้ว นกสตปัตตะได้ยินเสียงพระโพธิสัตว์ จึงลงจากยอดไม้ เต่าก็ขึ้นจากน้ำ ปรึกษากันว่า จะควรทำอย่างไรดี นกสตปัตตะจึงบอกเต่าว่า สหายท่านมีฟันจงแทะบ่วงนี้เถิด เราจะไปคอยกันไม่ให้พรานมาได้ ด้วยความพยายามที่เราทั้งสองทำอย่างนี้ สหายของเราจักรอดชีวิต
เต่าจึงเริ่มแทะเชือกหนัง นกสตปัตตะก็จับคอยอยู่บนต้นไม้ไม่ไกลจากบ้านที่นายพรานอยู่ นายพรานถือหอกออกแต่เช้าตรู่ นกรู้ว่านายพรานออกก็โฉบปรบปีก เอาปากจิกนายพรานผู้จะออกทางประตูหน้า นายพรานคิดว่าเราถูกนกกาลกิณีตีเข้าให้แล้ว จึงกลับไปนอนเสียหน่อยหนึ่ง แล้วลุกขึ้นถือหอกไปอีก นกรู้ว่านายพรานนี้ออกไปทางประตูหน้า บัดนี้คงจะออกไปทางประตูหลัง จึงไปจับที่เรือนด้านหลัง
ฝ่ายนายพรานคิดว่า เมื่อเราออกทางประตูหน้าก็พบนกกาลกิณี บัดนี้เราจะออกทางประตูหลัง จึงออกไปทางประตูหลัง นกก็โฉบเอาปากจิกอีก นายพรานคิดว่า เราถูกนกกาลกิณีอีก บัดนี้นกนี้คงไม่ให้เราออก นอนรอจนอรุณขึ้น จึงถือหอกออกไปในเวลาอรุณขึ้น นกรีบไปบอกแก่พระโพธิสัตว์ว่า พรานกำลังเดินมา ในขณะนั้นเต่ากัดเชือกขาดยังเหลืออีกเกลียวเดียว แต่ฟันของเต่าชักจะเรรวนจวนจะร่วง ปากก็ฟูมไปด้วยเลือด
พระโพธิสัตว์เห็นบุตรนายพรานถือหอก เดินมาด้วยความเร็วดุจฟ้าแลบ จึงกัดเกลียวนั้นขาดเข้าป่าไป นกจับอยู่บนยอดไม้ แต่เต่าคงนอนอยู่ในที่นั้นเอง เพราะบอบช้ำมาก พรานเห็นเต่า จึงจับใส่กระสอบแขวนไว้ที่ตอไม้ต้นหนึ่ง พระโพธิสัตว์กลับมาดูรู้ว่าเต่าถูกจับไปจึงคิดว่า เราจักให้ช่วยชีวิตสหาย จึงทำเป็นคล้ายจะหมดกำลังแสดงตนให้พรานเห็น พรานคิดว่า เนื้อคงหมดแรง เราจักฆ่ามันเสียแล้วถือหอกติดตามไป พระโพธิสัตว์ไปได้ไม่ไกลไม่ใกล้นัก ล่อพรานเข้าป่าไป ครั้นรู้ว่าพรานไปไกลแล้ว จึงเหยียบรอยเท้าลวงไว้ แล้วไปเสียทางอื่นด้วยความเร็วราวกะลมพัด เอาเขาของตนยกกระสอบขึ้นแล้วทิ้งลงบนพื้นดิน ขวิดฉีกขาดนำเต่าออกมาได้ แม้นกสตปัตตะก็ลงจากต้นไม้ พระโพธิสัตว์เมื่อจะให้โอวาทแก่สัตว์ทั้งสอง จึงกล่าวว่า เราได้ชีวิตก็เพราะอาศัยพวกท่าน กิจที่ควรทำแก่สหาย พวกท่านก็ได้ทำแก่เราแล้ว บัดนี้พรานคงจะมาจับท่านอีก เพราะฉะนั้น สหายสตปัตตะท่านจงพาลูกเล็ก ๆ ของท่านไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด สหายเต่า แม้ท่านก็จงลงน้ำไปเถิด สัตว์ทั้งสองได้ทำตาม
แม้พรานมายังที่นั้น ไม่เห็นใคร ๆ หยิบกระสอบที่ขาดขึ้นแล้วก็เสียใจ กลับเรือนของตน สัตว์ทั้งสามสหายก็มิได้ตัดความสนิทสนมกันจนตลอดชีวิต แล้วต่างก็ไปกันตามยถากรรม
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า นายพรานในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ นกสตปัตตะได้เป็นสารีบุตร เต่าได้เป็นโมคคัลลานะ ส่วนกวาง คือเราตถาคตนี้แล
จบ กุรุงคมิคชาดก