ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 08:42:24 am »




:37: วรนุสปิ้งวิ่งลงปล่อง...


 :07: :45: :07:


ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: กันยายน 10, 2011, 08:44:09 pm »

โคธชาดก เขารักก็รักมั่ง เขาชังก็ชังตอบ

 ในชาดกนี้ เมื่อพระราชบุตรและชายานั้นเสด็จกลับ ในระหว่างทาง นายพรานทั้งหลายเห็นความอิดโรยของคนทั้งสอง จึงได้ให้เหี้ยย่างตัวหนึ่ง บอกว่า ท่านทั้งสองคนจงกินเสียเถิด พระราชธิดาเอาเถาวัลย์พันเหี้ยนั้นแล้วถือเดินทางไป เธอทั้งสองนั้นพบ สระน้ำแห่งหนึ่ง จึงแวะลงจากทาง นั่งที่โคนต้นอัสสัตถะ พระราชบุตรตรัสว่า นางผู้เจริญ เธอจงไปนำน้ำจากสระมาด้วยใบบัว เราจักได้กินเนื้อกัน
พระราชธิดานั้นแขวนเหี้ยไว้ที่กิ่งไม้แล้วไปนำน้ำมา ฝ่ายพระราชบุตรเสวยเหี้ยหมดแล้ว ทรงนั่งเบือนพระพักตรจับปลายหางเหี้ยอยู่ พระราชบุตรนั้น ในเวลาพระราชธิดาถือน้ำดื่มเสด็จมา จึงตรัสว่า นางผู้เจริญ เหี้ยลงจากกิ่งไม้เข้าไปยังจอมปลวก เราวิ่งไล่จับปลายหางไว้ได้ ตัวมันขาดเข้าปล่องไป เหลือแต่ที่จับได้เฉพาะในมือเท่านั้น พระราชธิดาทูลว่า ช่างเถอะพระองค์ เมื่อเหี้ยย่างมันหนีไปได้ เราจักทำอะไรได้ มาเถิดพวกเราไปกันเถอะ
เธอทั้งสองนั้นดื่มน้ำแล้วไปถึงพระนครพาราณสี พระราชบุตรได้ราชสมบัติแล้วทรงตั้งพระราชธิดานั้นไว้ เพียงในตำแหน่งอัครมเหสี ส่วนสักการะและสัมมานะ ไม่มีแก่พระนาง พระโพธิสัตว์ประสงค์จะให้พระราชากระทำสักการะแก่พระนาง จึงยืนอยู่ในสำนักของพระราชา แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ข้าพระองค์ไม่ได้อะไรๆ จากสำนักของพระองค์มิใช่หรือ ทำไมไม่ทรงเหลียวแลข้าพระองค์เลย
พระเทวีตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เราเองก็ไม่ได้อะไรจากสำนักของพระราชา เราจักให้อะไรท่านเล่า จนบัดนี้ แม้พระราชาก็จักประทานอะไรแก่ฉัน ในเวลาเสด็จมาจากป่า ท้าวเธอเสวยเหี้ยย่างแต่พระองค์เดียว
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระองค์ผู้ประเสริฐจักไม่ทรงกระทำเช่นนี้แน่ พระองค์โปรดอย่าได้ตรัสอย่างนี้เลย
ลำดับนั้น พระเทวีจึงตรัสกะพระโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนพ่อ เรื่องนั้นไม่ปรากฎแก่ท่าน ปรากฏเฉพาะแก่พระราชาและฉันเท่านั้น แล้วตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :
[๖๓๐] หม่อมฉันทราบว่า พระองค์ผู้ทรงดำรงรัฐจะไม่ทรงอาลัยใยดีต่อหม่อมฉัน
ตั้งแต่ครั้งเมื่อพระองค์ทรงพระภูษาเปลือกไม้ เหน็บพระแสงขรรค์ ทรง
ผูกสอดเครื่องครบ ประทับอยู่กลางป่า เหี้ยย่างได้หนีไปจากกิ่งไม้
อัสสัตถะแล้ว.
พระเทวีตรัสโทษที่พระราชาทรงกระทำไว้ ให้ปรากฎในท่ามกลางบริษัท ด้วยประการอย่างนี้ พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า เพราะกระทำความไม่ผาสุกให้แก่ทั้งสองพระองค์ นับแต่เวลาไม่เป็นที่โปรดปรานของพระราชาผู้ประเสริฐ พระองค์จะประทับอยู่ในที่นี้เพราะอะไร แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถา นี้ว่า :
[๖๓๑] พึงอ่อนน้อมต่อผู้ที่อ่อนน้อม พึงคบผู้ที่เขาพอใจจะคบด้วย พึงทำกิจแก่ผู้ที่
ช่วยทำกิจ ไม่พึงทำความเจริญให้แก่ผู้ที่ใคร่ความเสื่อม อนึ่ง ไม่พึงคบ
หาสมาคมกับผู้ที่เขาไม่พอใจจะคบหาสมาคมด้วย.
[๖๓๒] พึงละทิ้งผู้ที่เขาละทิ้ง ไม่พึงทำความสิเนหาในผู้เลิกรากัน ไม่พึงสมาคม
กับผู้มีจิตคิดออกห่าง นกรู้ว่า ต้นไม้มีผลหมดแล้ว ย่อมบินไปสู่ต้นอื่นที่
เต็มไปด้วยผล ฉันใด คนก็ฉันนั้น รู้ว่า เขาหมดความอาลัยแล้ว ก็ควร
จะเลือกหาคนอื่นที่เขาผู้สมัครรักใคร่ เพราะว่า โลกใหญ่พอ.
พระราชา เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอยู่นั้นแล ระลึกถึงคุณความ ดีของพระเทวีนั้นได้ จึงตรัสว่า น้องนางผู้เจริญ พี่ไม่ได้กำหนดคุณความดีของเธอเป็นเวลานานถึงเพียงนี้ ฉันกำหนดได้เพราะถ้อยคำของบัณฑิตนี่เอง จะให้ราชสมบัตินี้เฉพาะแก่เธอผู้อดกลั้นต่อความผิดของฉันได้ แล้วตรัสคาถาที่ ๔ ว่า :
[๖๓๓] ฉันเป็นกษัตริย์มุ่งความกตัญญู จะทำตอบแทนแก่เธอตามสติกำลัง อนึ่ง
ฉันจะมอบอำนาจให้แก่เธอทั้งหมด เธอต้องการสิ่งใด ฉันจะให้สิ่งนั้น
แก่เธอ.
พระราชาครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ประทานความเป็นใหญ่ทั้งปวงแก่พระเทวี และทรงดำริว่า บัณฑิตนี้ทำให้เราระลึกถึงคุณความดีของพระเทวีนี้ จึงได้ประทานอิสริยยศใหญ่แม้แก่บัณฑิตด้วย
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง ทรงประกาศสัจจะ ในเวลาจบสัจจะ ผัวเมีย ทั้งสองคนได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วทรงประชุมชาดกว่า ผัวและเมียในครั้งนั้น ได้เป็น ผัวและเมียนี่แหละในบัดนี้ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้ เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล
จบ โคธชาดก