ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 01:13:46 pm »




:07: :19: :13:





ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 01:06:14 pm »



-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1315561105&grpid=03&catid=&subcatid=-
ตื่นพบ"ไตรภูมิ"โบราณสมัยอยุธยาที่ฝรั่งเศส ล้างความเชื่อ ยุคอยุธยาไม่มีไตรภูมิ



(สำเนาหนังสือไตรภูมิ คัดลอกมาจากต้นฉบับ ไตรยภูมิพระมาไลย จากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งชี้ว่าเป็นหลักฐานสำคัญในการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ยืนยันว่า สมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์)



("เอกสารไตรภูมิเล่มนี้ ไม่เคยค้นพบในประเทศไทยมาก่อน นักวิชาการหลายคนคิดว่า สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีไตรภูมิที่เป็นลักษณะการเขียน มีเพียงสมุดภาพไตรภูมิเท่านั้น ดังนั้นในทำเนียบวรรณคดีไทยจึงไม่ปรากฎว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิ)

ตื่นพบ “ไตรภูมิ” โบราณสมัยอยุธยาอยู่ที่ฝรั่งเศส ชี้เป็นเอกสารสำคัญระดับชาติ ขอสำเนามาศึกษา พบลักษณะการเขียนแบบอยุธยา คล้ายสนธิสัญญา ไทย-ฝรั่งเศส สมัยสมเด็จพระนารายณ์ เผยเป็นการเปิดประวัติศาตร์หน้าใหม่ในวงการวรรณคดีไทย ล้างความเชื่อ ยุคอยุธยาไม่มีไตรภูมิ

เมื่อวันที่ 9 กันยายน นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (สวป.) กรมศิลปากร เปิดเผยว่า สวป. ได้ค้นพบเอกสารชิ้นสำคัญระดับชาติชิ้นใหม่ คือ หนังสือไตรภูมิ ซึ่งสันนิษฐานว่า จะเป็นไตรภูมิในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยขณะนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ทางนายปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาได้ดำเนินการคัดลอกสำนักมาจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เพื่อนำมาให้สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว

นายบุญเตือน กล่าวว่า สิ่งที่บอกว่าหนังสือเล่มนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากหนังสือไตรภูมิเอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ไม่เคยถูกค้นพบในประเทศไทย เนื้อหาบางส่วนต่างไปจากไตรภูมิฉบับอื่นๆ โดยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอักขรวิธีต่างๆมาตรวจสอบแล้ว บ่งชี้ว่า หน้าต้นบอกชื่อหนังสือว่า ไตรยภูมิพระมาไลย ต้นฉบับน่าจะมีอายุเก่าถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา

ลักษณะตัวอักษรที่บันทึกในหน้าแรกเป็นแบบที่เรียกว่า อักษรไทยย่อ ซึ่งนิยมใช้กันในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่ปรากฏในหลักฐานหนังสือต่างๆหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส พ.ศ.2231 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สำหรับเนื้อหาของไตรภูมิเล่มนี้แบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น 2 ส่วน คือ เรื่องไตรภูมิ และเรื่องพระมาไลย


"เอกสารไตรภูมิเล่มนี้ ไม่เคยค้นพบในประเทศไทยมาก่อน นักวิชาการหลายคนคิดว่า สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีไตรภูมิที่เป็นลักษณะการเขียน มีเพียงสมุดภาพไตรภูมิเท่านั้น ดังนั้นในทำเนียบวรรณคดีไทยจึงไม่ปรากฎว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิ

การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดของนักวิชาการด้านไตรภูมิ จะเสนอให้คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติขึ้นทำเนียบใหม่ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีไตรภูมิด้วย ถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ นี่คือวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สำนักวรรณกรรมและประวติศาสตร์ จึงได้นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาเรียบเรียงใหม่เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น พร้อมทั้งนำสำเนาต้นฉบับมาให้จัดทำเป็นหนังสือ ไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส จำนวน 1,000 เล่ม โดยจะนำไปมอบให้สถาบันการศึกษา หอสมุดทั่วประเทศได้ใช้ศึกษาต่อไป พร้อมกันนี้จะจัดเก็บเป็นอีบุ๊คสำหรับผู้สนใจดาวโหลดไว้ศึกษาด้วย" นักอักษรศาสตร์ กล่าว

สำหรับหนังสือไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส จะมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับคติศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา ดังนี้ อธิบายเรื่องไตรภูมิ คติไตรภูมิ-ไตรภพใน “คัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์” พระบรเมสวรสร้างจักรวาล เขาพระสุเมรุและเขาสัตบริภัณฑ์ กำเนิดมนุษย์ กำเนิดลังกาทวีป กำเนิดพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ศาสนาพระศรีอาริยไมตรี อานิสงส์ศีล 5 มหาพราหมเทพราชสร้างเทรวดาต่างๆ ไฟประลัยกัลป ทวีปทั้ง 4 ฉกามาพจรภูมิ นรกภูมิ และสำเนาเอกสารต้นฉบับ

ส่วนที่มาของหนังสือไตรภูมิปรากฏครั้งแรก คือ ไตรภูมิกถา และไตรภูมิพระร่วง ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงเรียบเรียงขึ้นในสมัยสุโขทัย พ.ศ.1888 นอกจากนี้ยังมี ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา หรือไตรภูมิฉบับหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้ชำระเมื่อพ.ศ.2345 ขณะที่ไตรภูมิสมัยอยุธยานั้น เพิ่งปรากฏฉบับนี้เป็นฉบับแรก

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1315561105&grpid=03&catid=&subcatid=


-http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=42&contentID=162518-
ตื่น!ไตรภูมิโบราณโผล่เมืองน้ำหอม

นักวิชาการไทยตื่นพบไตรภูมิโบราณสมัยอยุธยาอยู่ฝรั่งเศส ชี้เป็นเอกสารสำคัญระดับชาติ ล้างความเชื่อ ยุคอยุธยาไม่มีไตรภูมิ

วันนี้ (9 ก.ย.) นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กล่าวว่า ทางสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบเอกสารชิ้นสำคัญระดับชาติชิ้นใหม่ คือ หนังสือไตรภูมิ ซึ่งสันนิษฐานว่าจะเป็นไตรภูมิในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยขณะนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ทาง ศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาได้ดำเนินการคัดลอกสำนักมาจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เพื่อนำมาให้สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว

นายบุญเตือน กล่าวต่อว่า สิ่งที่บอกว่าหนังสือเล่มนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากหนังสือไตรภูมิเอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ไม่เคยถูกค้นพบในประเทศไทย เนื้อหาบางส่วนต่างไปจากไตรภูมิฉบับอื่น ๆ โดยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอักขรวิธีต่าง ๆ มาตรวจสอบแล้ว บ่งชี้ว่า หน้าต้นบอกชื่อหนังสือว่า ไตรภูมิพระมาไลย ต้นฉบับน่าจะมีอายุเก่าถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะตัวอักษรที่บันทึกในหน้าแรกเป็นแบบที่เรียกว่า อักษรไทยย่อ ซึ่งนิยมใช้กันในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่ปรากฏในหลักฐานหนังสือต่างๆหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส พ.ศ.2231 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สำหรับเนื้อหาของไตรภูมิเล่มนี้แบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.เรื่องไตรภูมิ 2.เรื่องพระมาไลย

“เอกสารไตรภูมิเล่มนี้ ไม่เคยค้นพบในประเทศไทยมาก่อน ซึ่งนักวิชาการหลายคนเคยคิดว่า สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีไตรภูมิที่เป็นลักษณะการเขียน มีเพียงสมุดภาพไตรภูมิเท่านั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดของนักวิชาการด้านไตรภูมิ อย่างไรก็ตามขณะนี้สำนักวรรณกรรมและประวติศาสตร์ จึงได้นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาเรียบเรียงใหม่เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น พร้อมทั้งนำสำเนาต้นฉบับมาให้จัดทำเป็นหนังสือ ไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส จำนวน 1,000 เล่ม โดยจะนำไปมอบให้สถาบันการศึกษา หอสมุดทั่วประเทศได้ใช้ศึกษาต่อไป” นักอักษรศาสตร์ กล่าว

สำหรับหนังสือไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส จะมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับคติศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา ดังนี้ อธิบายเรื่องไตรภูมิ คติไตรภูมิ-ไตรภพใน “คัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์” พระบรเมสวรสร้างจักรวาล เขาพระสุเมรุและเขาสัตบริภัณฑ์ กำเนิดมนุษย์ กำเนิดลังกาทวีป กำเนิดพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ศาสนาพระศรีอาริยไมตรี อานิสงส์ศีล 5 มหาพราหมเทพราชสร้างเทรวดาต่าง ๆ ไฟประลัยกัลป ทวีปทั้ง 4 ฉกามาพจรภูมิ นรกภูมิ และสำเนาเอกสารต้นฉบับ

ส่วนที่มาของหนังสือไตรภูมิปรากฏครั้งแรก คือ ไตรภูมิกถา และไตรภูมิพระร่วง ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงเรียบเรียงขึ้นในสมัยสุโขทัย พ.ศ.1888 นอกจากนี้ยังมี ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา หรือไตรภูมิฉบับหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯ ให้ชำระเมื่อ พ.ศ.2345 ขณะที่ไตรภูมิสมัยอยุธยานั้น เพิ่งปรากฏฉบับนี้เป็นฉบับแรก.


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=42&contentID=162518

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 01:04:46 pm »

.

ฮือฮา! พบไตรภูมิสมัยอยุธยาครั้งแรก โผล่หอสมุดปารีส




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องข้อมูล

วงการประวัติศาสตร์ฮือฮา! พบไตรภูมิสมัยอยุธยาโผล่หอสมุดปารีส ชี้เป็นการเปิดประวัติศาสตร์ใหม่ พร้อมลบความเชื่อที่ว่าไตรภูมิมีแต่ยุคสุโขทัย

วานนี้ (9 กันยายน) นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (สวป.) กรมศิลปากร เปิดเผยว่า ทางสำนักวรรณกรรมฯ ได้ค้นพบหนังสือไตรภูมิ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยชิ้นใหม่ ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนายปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้คัดลอกสำเนามาจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีสแล้ว เพื่อนำมามอบให้สำนักวรรณกรรมฯ ตรวจสอบ

นายบุญเตือน กล่าวต่อว่า สำหรับหนังสือไตรภูมิดังกล่าวมีชื่อหน้าหนังสือว่า ไตรยภูมิพระมาไลย ซึ่งไม่เคยค้นพบในประเทศไทยมาก่อน ทั้งนี้ จากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญเบื้องต้น โดยดูจากลักษณะตัวอักษรที่ใช้นั้น เรียกว่า "อักษรไทยย่อ" ซึ่งนิยมใช้กันในสมัยอยุธยาตอนปลาย ดัง ที่ปรากฎในเอกสารสำคัญหลาย ๆ ฉบับ เช่น สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส พ.ศ.2231 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงเชื่อกันว่า ไตรภูมิฉบับนี้น่าจะเป็นไตรภูมิสมัยกรุงศรีอยุธยา

นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ระบุต่ออีกว่า การค้นพบไตรภูมิสมัยอยุธยานี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความคิดในกลุ่มนักวิชาการด้านไตรภูมิ เนื่องจากนักวิชาการหลายคนเคยคิดว่า ไตรภูมิมีเฉพาะในสมัยสุโขทัย ส่วนในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีไตรภูมิที่เป็นลักษณะการเขียน มีแต่เพียงสมุดภาพเท่านั้น

ทั้งนี้ ทางสำนักวรรณกรรมฯ จะนำสำเนาที่คัดลอกกลับมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น และจะตีพิมพ์เป็นหนังสือไตรภูมิ ฉบับเอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส จำนวน 1,000 เล่ม เพื่อมอบให้สถาบันการศึกษา และหอสมุดทั่วประเทศไว้ใช้ศึกษาต่อไป รวมทั้งจะจัดเก็บเป็นอีบุ๊กให้ผู้สนใจเข้าไปดาวน์โหลดมาเก็บไว้ศึกษาด้วย

สำหรับ หนังสือไตรภูมิฉบับเอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส แบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น 2 ส่วน คือ เรื่องไตรภูมิ และเรื่องพระมาไลย ซึ่งแสดงถึงแนวคิด คติศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ในประเทศไทยเคยค้นพบไตรภูมิกถา และไตรภูมิพระร่วง ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงเรียบเรียงขึ้นในสมัยสุโขทัย พ.ศ.1888 ต่อจากนั้นก็ยังมีไตรภูมิฉบับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯ ให้ชำระเมื่อปี พ.ศ.2345 คือ ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา หรือไตรภูมิฉบับหลวง แต่ยังไม่เคยมีการค้นพบไตรภูมิในสมัยกรุงศรีอยุธยามาก่อน ซึ่งไตรภูมิฉบับที่หอสมุดแห่งชาติปารีสถือเป็นไตรภูมิอยุธยาฉบับแรก


-http://education.kapook.com/view31346.html-

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

มติชน และ เดลินิวส์