ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 12, 2011, 10:51:20 am »


                 

อุทยมาณพปัญหาที่ ๑๓
            ข้าพระเจ้ามีความประสงค์จะทูลถามถึงปัญหา  จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงนั่งบำเพ็ญฌาน มีพระสันดานปราศจากกิเลสธุลี หาอาสวะมิได้ ได้ทรงทำกิจที่จะต้องทำเสร็จแล้ว บรรลุถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ขอพระองค์จงทรงแสดงธรรมเป็นเครื่องพ้น (จากกิเลส) ที่ควรรู้ทั่วถึง เป็นเครื่องทำลายอวิชชา ความเขลา ไม่รู้แจ้งเสีย
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องละความพอใจในกาม และโทมนัสเสียทั้งสองอย่าง เป็นเครื่องบรรเทาความง่วง เป็นเครื่องห้ามความรำคาญมีอุเบกขากับสติเป็นธรรมบริสุทธิ์ มีความตรึกประกอบด้วยธรรมเป็นเบื้องหน้า ว่าเป็นธรรมเครื่องพ้น (จากกิเลส) ที่ควรรู้ทั่วถึง เป็นเครื่องทำลายอวิชชา ความเขลาไม่รู้แจ้งเสีย
            อ.  โลกมีอะไรผูกพันไว้ อะไรเป็นเครื่องสัญจรของโลกนั้น ท่านกล่าวกันว่านิพพาน ๆ ดังนี้ เพราะละอะไรได้
            พ.  โลกมีความเพลิดเพลินผูกพันไว้ ความตรึกเป็นเครื่องสัญจรของโลกนั้น ท่านกล่าวกันว่า นิพพาน ๆ ดังนี้ เพราะละตัณหาเสียได้
            อ.  เมื่อบุคคลมีสติระลึกอย่างไรอยู่วิญญาณจึงจะดับ
            พ.  เมื่อบุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนา ทั้งภายในภายนอก มีสติระลึกอย่างนี้วิญญาณจึงดับ

โปสาลมาณพปัญหาที่ ๑๔
            ข้าพระเจ้ามีความประสงค์จะทูลถามปัญหา จึงได้มาเฝ้าพระองค์ ผู้ทรงสำแดงพระปรีชาญาณในกาลเป็นอดีตไม่ทรงหวั่นไหว (เหตุสุขทุกข์) มีความสงสัยอันตัดเสียได้แล้ว บรรลุถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ข้าพระเจ้าขอทูลถามถึงญาณของบุคคลผู้ความกำหนดหมายในรูปแจ้งชัด (คือได้บรรลุปฐมฌานแล้ว) ละรูปารมณ์ทั้งหมดได้แล้ว (ล่วงรูปฌานไปแล้ว) เห็นอยู่ทั้งภายในภายนอกว่า ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่ง (คือได้บรรลุอรูปฌานที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ) บุคคลเช่นนั้น จะควรแนะนำสั่งสอน ให้ทำอย่างไรต่อไป ?
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า พระตถาคตเจ้าทรงทราบภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณทั้งหมด จึงทรงทราบบุคคลผู้เช่นนี้ แม้ยังอยู่ในโลกว่า มีอัธยาศัยน้อมไปในอากิญจัญญายตนภพ  มีอากิญจัญญายตนภพ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า บุคคลเช่นนั้นรู้ว่ากรรมอันเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ มีความเพลิดเพลินยินดี เป็นเครื่องประกอบดังนี้แล้ว สำคัญนั้น ย่อมพิจารณาเห็นสหชาติธรรมในอากิญจัญยายตนฌาน นั้น (คือ ธรรมที่เกิดพร้อมกันกับฌานนั้น) แจ้งชัดโดยลักษณะสาม (คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว) ข้อนี้เป็นสัญญาณอันถ่องแท้ของพราหมณ์เช่นนั้น ผู้มีพรหมจรรย์ได้ประพฤติจบแล้ว

โมฆราชมาณพปัญหาที่ ๑๕
            ข้าพระเจ้าได้ทูลถามปัญหาถึงสองครั้งแล้ว พระองค์ไม่ทรงแก้ประทานแก่ข้าพระเจ้า ๆ ได้ยินว่า ถ้าทูลถามถึงสามครั้งแล้ว พระองค์ทรงแก้ ครั้นว่าอย่างนี้แล้ว ทูลถามปัญหาเป็นคำรบ ๑๕ ว่า โลกนี้ก็ดี โลกอื่นก็ดี พรหมโลกกับทั้งเทวโลกก็ดี ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ เหตุฉะนี้จึงมีปัญหามาถึงพระองค์ ผู้ทรงพระปรีชาเห็นล่วงสามัญชนทั้งปวงอย่างนี้ ข้าพระเจ้าจักพิจารณาเห็นโลกอย่างไร ? มัจจุราช (ความตาย) จึงจักไม่แลเห็น คือ ว่าจักไม่ตามทัน
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ท่านจงเป็นคนมีสติ พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่าถอนความเห็นว่าตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจักข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายอย่างนี้ ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ และมัจจุราชจึงไม่แลเห็น

ปิงคิยมาณพปัญหาที่ ๑๖
            ข้าพระเจ้าเป็นคนแก่แล้ว ไม่มีกำลัง มีผิวพรรณสิ้นไปแล้ว ดวงตาของข้าพระเจ้าก็เห็นไม่กระจ่าง หูก็ฟังไม่สะดวก ขอข้าพระเจ้าอย่าเป็นคนหลงฉิบหายเสีย ในระหว่างเลย ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมที่ข้าพระเจ้าควรรู้ เป็นเครื่องละชาติ ชรา ในอัตภาพนี้เสีย
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ท่านเห็นว่าชนทั้งหลายผู้ประมาทแล้ว ย่อมเดือดร้อนเพราะรูปเป็นเหตุ เพราะฉะนั้น ท่านจะเป็นคนไม่ประมาท ละความพอใจในรูปเสีย จะได้ไม่เกิดอีก
            ปิ.  ทิศใหญ่สี่ ทิศน้อยสี่ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ ที่พระองค์ไม่ได้เห็น แล้วไม่ได้ฟังแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้รู้แล้ว แม้น้อยหนึ่งมิได้มีในโลก ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์ควรรู้ เป็นเครื่องละชาติ ชราในอัตภาพนี้เสีย
            พ.  เมื่อท่านเห็นหมู่มนุษย์ อันตัณหาครอบงำแล้ว มีความเดือดร้อนเกิดแล้ว อันชราถึงรอบข้างแล้วเหตุนั้น ท่านจะเป็นคนไม่ประมาท ละตัณหาเสีย จะได้ไม่เกิดอีก



Credit by : http://www.heritage.thaigov.net/religion/religion.htm
ภาพจากอินเตอร์เนต..
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย.. อนุโมทนาสาธุค่ะ..
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ...
 
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 10:45:30 pm »


               

โตเทยยมาณพปัญหาที่ ๙
            กามทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในผู้ใด ตัณหาของผู้ใดไม่มี และผู้ใดก้าวล่วงความสงสัย เสียได้ความพ้นของผู้นั้นเป็นเช่นไร ?
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ความพ้นของผู้นั้น ที่จะเป็นอย่างอื่นอีกมิได้ (อธิบายว่า ผู้นั้นพ้นจากกาม จากตัณหา จากความสงสัยแล้ว กามก็ดีตัณหาก็ดี ความสงสัยก็ดี จะกลับเกิดขึ้น ผู้นั้นจักต้องเพียรพยายามเพื่อจะทำต้นให้พ้นไปอีก หามีไม่ ความพ้นของผู้นั้นเป็นอันคงที่ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น)
            ต.  ผู้นั้นเป็นคนมีความหวังทะเยอทะยานหรือไม่ เป็นคนมีปัญญาแท้ หรือเป็นแต่ก่อปัญหา และทิฏฐิให้เกิดขึ้นด้วยปัญญา ข้าพระเจ้าจะรู้จักท่านมุนีนั้นได้ด้วยอย่างไร ?
            พ.  ผู้นั้นเป็นคนไม่มีความหวังทะเยอทะยาน จะเป็นคนมีความหวังทะเยอทะยานหามิได้ เป็นคนมีปัญญาแท้ จะเป็นแต่คนก่อตัณหา และทิฏฐิ ให้เกิดด้วยปัญญาก็หาไม่ ท่านจงรู้จักมุนีว่าคนไม่มีกังวล ไม่ติดอยู่ในกามภพ อย่างนี้เถิด

กัปปมาณพปัญหาที่ ๑๐
            ขอพระองค์ตรัสบอกธรรม อันเป็นที่พึ่งพำนักของชนอันชราและมรณะ มาถึงรอบข้าง ดุจเกาะอันเป็นที่พำนักอาศัยของชนผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลางสาคร เมื่อคลื่นเกิดที่น่ากลัวใหญ่แก่ข้าพระเจ้า อย่าให้เกิดทุกข์นี้มีได้อีก
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า เรากล่าวว่านิพพานอันไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มีตัณหาเครื่องถือมั่น เป็นที่สิ้นแห่งชราและมรณะนี้ แลเป็นดุจเกาะ หาใช่ธรรมอื่นไม่ ชนเหล่าใดรู้นิพพานนั้นแล้ว เป็นคนมีสติ มีธรรมอันเห็นแล้วดับกิเลสได้แล้ว ชนเหล่านั้นไม่ต้องตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่ต้องเดินไปในทางของมารเลย

ชตุกัณณีมาณพปัญหาที่ ๑๑
            ข้าพระเจ้าได้ทราบว่า พระองค์มิใช่ผู้ใคร่กาม ข้ามล่วงกิเลสเสียได้ จึงมาเฝ้าเพื่อจะทูลถามพระองค์ผู้หากิเลสมิได้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระปัญญาดุจดวงตา เกิดพร้อมกับตรัสรู้ จะแสดงธรรมอันระงับแก่พระเจ้าโดยถ่องแท้ เหตุว่าพระองค์ทรงผจญกิเลสกามให้แห้งหายได้ ดุจพระอาทิตย์อันส่องแผ่นดินให้แห้งด้วยรัศมี ขอพระองคผู้มีพระปัญญา กว้างใหญ่ราวแผ่นดิน ตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติชรา ในอัตภาพนี้ที่ข้าพระเจ้าควรจะทราบ  แก่ข้าพระเจ้าผู้มีปัญญาน้อยเถิด
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ท่านจงนำความกำหนัดในกามเสียให้สิ้น เห็นการออกไปจากกาม โดยเป็นความเกษมเถิด กิเลสเครื่องกังวล ที่ท่านยึดไว้ด้วยตัณหาและทิฏฐิ ซึ่งควรจะสละเสีย อย่าเสียดใจของท่านได้กังวลใดได้มีแล้วในปางก่อน ท่านจะให้กังวลนั้นเหือดแห้งเสีย กังวลในภายหลังอย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอากังวลในท่ามกลาง ท่านจักเป็นคนสงบระงับกังวลได้เที่ยวอยู่อาสวะ (กิเลส) ซึ่งเป็นเหตุถึงอำนาจมัจจุราชของชนผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดยอาการทั้งปวงมิได้มี

ภัทราวุธมาณพ ปัญหาที่ ๑๒
            ข้าพระเจ้าทูลขออาราธนาพระองค์แล้ว ผู้ทรงและอาลัยตัดตัณหาเสียได้ไม่หวั่นไหว (เพราะโลกธรรม) ละความเพลิดเพลินเสียได้ ข้ามล่วงกิเลสพ้นไปได้แล้ว และธรรมเป็นเครื่องให้ดำริ (ไปต่าง ๆ ) คือ ตัณหาและทิฏฐิได้แล้ว มีพระปรีชาญาณอันดี ชนที่อยู่ชนบทต่าง ๆ อยากจะฟังพระวาจาของพระองค์ มาพร้อมกันแล้วจากชนบทนั้น ๆ ได้ฟังพระวาจาพระองค์แล้ว จักกลับไปจากที่นี้ ขอพระองค์ทรงแก้ปัญญา เพื่อชนเหล่านั้น
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า หมู่ชนนั้น ควรจะนำตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นในส่วนเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวา คือ ท่ามกลางทั้งหมดให้สิ้นเชิง เพราะเขาถือมั่นในสิ่งใด ๆ ในโลก มารย่อมติดตามเขาได้ โดยสิ่งนั้น ๆ เหตุนั้น ภิกษุเมื่อรู้อยู่ เห็นหมู่สัตว์ผู้ติดอยู่ในวัฏฏะ เป็นด้าวแห่งมารนี้ว่า ติดอยู่เพราะความถือมั่นดังนี้ พึงเป็นคนมีสติ ไม่ถือมั่นกังวลในโลกทั้งปวง
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 10:20:59 pm »


                 

โธตกมาณพปัญหาที่ ๕
            ข้าพระเจ้าขอทูลถามพระองค์ อยากฟังพระวาจาของพระองค์ ข้าพระเจ้าได้ฟังพระสุรเสียงของพระองค์แล้วจะศึกษาข้อปฏิบัติ อันเป็นเครื่องดับกิเลสของตน
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจะเป็นคนมีปัญญา มีสติ ทำความเพียรในศาสนานี้เถิด
            ธ.  ข้าพระเจ้าได้เห็นพระองค์ หากังวลมิได้ เที่ยวอยู่ในเทวโลก และมนุษยโลก เหตุนั้นขอพระองค์ทรงเปลื้องข้าพระเจ้าเสียจากความสงสัยเถิด
            พ.  เราเปลื้องใคร ๆ ในโลก ผู้ยังมีความสงสัยอยู่ไม่ได้ เมื่อท่านรู้ธรรมอันประเสริฐ ก็จักข้ามห้วงทะเลใหญ่คือ กิเลสอันนี้เสียได้เอง
            ธ.  ขอพระองค์จงแสดงธรรมอันสงัด จากกิเลสที่ข้าพระเจ้าควรรู้ สั่งสอนข้าพระเจ้าให้เป็นคนโปร่ง ไม่ขัดข้อง ดุจอากาศ สงประงับกิเลสเสียได้ ไม่อาศัยสิ่งหนึ่งสิ่งใด เที่ยวอยู่ในโลกนี้
            พ.  เราจะบอกอุบายเครื่องสงบระงับกิเลส ซึ่งจะเห็นเอง ไม่ต้องเชื่อตามตื่นข่าว ที่บุคคลได้ทราบแล้ว จักมีสติ ข้ามความอยากที่ตรึงใจในโลกเสียได้แก่ท่าน
            ธ.  ข้าพระเจ้าชอบใจอุบายเครื่องสงบระงับกิเลสอันสูงสุดนั้นเป็นอย่างยิ่ง
            พ.  ถ้ท่านรู้ว่า ความทะยานอยากทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ ท่ามกลาง เป็นเหตุให้ติดข้องอยู่ในโลก ท่านอย่าทำความทะยานอยาก เพื่อจะเกิดในภพน้อยภพใหญ่

อุปสีวมาณพปัญหาที่ ๖
            ลำพังข้าพระเจ้าผู้เดียว ไม่ได้อาศัยอะไรแล้ว ไม่อาจข้ามห้วงทะเลใหญ่คือ กิเลสได้ ขอพระองค์ตรัสบอกอารมณ์ที่หน่วงเหนี่ยว อันข้าพระเจ้าจะควรอาศัยข้ามห้วงนี้แก่ข้าพระเจ้าเถิด
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ ท่านจงเป็นผู้มีสติเพ่งอากิญจัญญายตนฌาน อาศัยอารมณ์ว่าไม่มี ๆ ดังนี้ ข้ามห้วงเสียเถิด ท่านจงละกามทั้งหลายเสีย เป็นคนเว้นจากความสงสัย เห็นธรรมที่สิ้นไปแห่งความทะยานอยาก ให้ปรากฏชัดทั้งกลางคืน กลางวันเถิด
            อ.  ผู้ใด ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวงแล้ว ล่วงฌานได้แล้ว อาศัยอากิญจัญญายตนฌานน้อมใจแล้วในอากิญจัญญายตนฌาน อันเป็นธรรมเปลื้องสัญญาอย่างประเสริฐสุด ผู้นั้นจะต้องอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อมบ้างหรือ ?
            พ.  ผู้นั้น จะตั้งอยู่ใน อากิญจัญญายตนฌานนั้นไม่มีเสื่อม
            อ.  ถ้าผู้นั้น จะตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้นไม่มีเสื่อม สิ้นปีเป็นอันมาก เขาจะเป็นผู้ยั่งยืนอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น หรือจะดับขันธปรินิพพาน วิญญาณของผู้เช่นนั้น จะเป็นฉันใด ?
            พ.  เปลวไฟอันกำลังลมเป่าแล้วดับไป ไม่ถึงความนับได้ไปแล้วข้างทิศไหน ฉันใด ท่านผู้รู้พ้นไปแล้วจากนามรูป ย่อมดับไม่เหลือเชื้อ (คือ ดับพร้อมทั้งกิเลสทั้งขันธ์) ไม่ถึงความนับว่าไปเถิดเป็นอะไรฉันนั้น
            อ.  ท่านผู้นั้น ดับไปแล้ว หรือว่าเป็นแต่ไม่มีตัว หรือจะเป็นผู้ตั้งอยู่ยั่งยืน หาอันตรายมิได้ ขอพระองค์ทรงพยากรณ์ความข้อนั้นแก่ข้าพระเจ้า
            พ.  ประมาณแห่งเบญจขันธ์ของผู้ที่ดับ ปรินิพานแล้ว มิได้มีกิเลส ซึ่งเป็นเหตุกล่าวผู้นั้นว่า ไปเถิดเป็นอะไรของผู้นั้นมิได้มี เมื่อธรรมทั้งหลาย (มีขันธ์ เป็นต้น) อันผู้นั้นจัดได้หมดแล้ว ก็ตัดทางแห่งถ้อยคำ ที่พูดถึงผู้นั้นว่าจะเป็นอะไรเสียทั้งหมด

นันทมาณพปัญหาที่ ๗
            ชนทั้งหลายกล่าวว่า มุนีมีอยู่ในโลกนี้ ข้อนี้เป็นอย่างไร เขาเรียกคนถึงพร้อมด้วยญาณ หรือถึงพร้อมด้วยการเลี้ยงชีวิตว่ามุนี
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ ผู้ฉลาดในโลกนี้ ไม่กล่าวว่าคนเป็นมุนี ด้วยความเห็น ด้วยความสดับ หรือด้วยความรู้ เรากล่าวว่าคนใด ทำตนให้ปราศจากกองกิเลส เป็นคนหากิเลสมิได้ ไม่มีความหวังทะยานอยากเที่ยวอยู่ คนผู้นั้นแลชื่อว่ามุนี
            น.  สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยความเห็น ด้วยความฟัง ด้วยศีลและพรต และด้วยวิธีเป็นอันมาก สมณพราหมณ์เหล่านั้น ประพฤติในวิธีเหล่านั้น ตามที่ตนเห็นว่าเป็นเครื่องบริสุทธิ์ ข้ามพ้นชาติชราได้แล้วบ้างหรือหาไม่ ข้าพเจ้าทูลถาม
            พ.  สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้ประพฤติอย่างนั้น เรากล่าวว่าพ้นชาติชราไม่ได้แล้ว
            น.  เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครเล่าในเทวโลก หรือมนุษยโลก ข้ามพ้นชาติชราได้แล้ว
            พ.  เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์อันชาติชรา ครอบงำแล้วทุกคน แต่เรากล่าวว่า สมณพราหมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ละอารมณ์ที่ตนได้เห็นได้ฟังได้รู้ และศีลพรตกับรู้วิธี เป็นอันมากเสียหมด กำหนดรู้ตัณหาว่าเป็นโทษควรละแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล ข้ามห้วงได้แล้ว
            น.  ข้าพระเจ้าชอบใจพระวาจาของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงแสดงธรรมอันไม่มีอุปธิ (กิเลส) ชอบแล้ว แม้ข้าพระเจ้าก็เรียกสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า ผู้ข้ามห้วงได้แล้ว เหมือนพระองค์ตรัส

เหมกมาณพปัญหาที่ ๘
            ในปางก่อนแต่ศาสนาของพระองค์ อาจารย์ทั้งหลายได้ยืนยันว่า อย่างนั้นได้ เคยมีมาแล้วอย่างนี้ จักมีต่อไปข้างหน้า คำนั้นล้วนแต่ว่า อย่างนี้แล ๆ สำหรับแต่จะทำความตรึกให้ฟุ้งมากขึ้น ข้าพระเจ้าไม่พอใจในคำนั้นเลย ขอพระองค์ตรัสบอกธรรมเป็นเหตุถอนปัญหา ที่ข้าพระเจ้าทราบแล้ว จะพึงเป็นคนมีสติ ข้ามล่วงตัณหา อันให้ติดอยู่ในโลก แก่ข้าพระเจ้าเถิด
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ชนเหล่าใด ได้รู้ว่าพระนิพพาน เป็นที่บรรเทาความกำหนัดพอใจในอารมณ์ที่รัก ซึ่งได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว ได้ดมแล้ว ได้ชมแล้ว ได้ถูกแล้ว และได้รู้แล้วด้วยใจ และเป็นธรรมไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นแล้ว เป็นคนมีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้แล้ว ชนผู้สงบระงับกิเลสได้แล้วนั้น ข้ามล่วงตัณหาอันให้ติดอยู่ในโลกได้แล้ว
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 08:26:27 pm »


               

อชิตมาณพปัญหาที่ ๑
            โลกคือหมู่สัตว์ อันอะไรปิดบังไว้ จึงหลงอยู่ในที่มืด ?  เพราะอะไรเป็นเหตุ จึงไม่มีปัญหาเห็นปรากฏ ? พระองค์ตรัสว่า อะไรเป็นเครื่องฉาบไล้สัตวโลกนั้นให้ติดอยู่ และตรัสว่า อะไรเป็นภัยใหญ่ของสัตวโลกนั้น ?
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า โลกคือ หมู่สัตว์ อันอวิชชาคือ ความไม่รู้แจ้งปิดบังไว้แล้ว จึงหลงอยู่ในที่มืด เพราะความอยากมีประการต่าง ๆ และความประมาท เลินเล่อ จึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฎ เรากล่าวว่าความอยากเป็นเครื่องฉาบไล้สัตวโลกให้ติดอยู่ และกล่าวว่าทุกข์เป็นภัยใหญ่ของสัตวโลกนั้น
            อ.  ขอพระองค์จงตรัสบอกว่า อะไรเป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องกันความอยากอันเป็นดุจกระแสน้ำ หลั่งโลกไปตามอารมณ์ทั้งปวง ความอยากนั้นจะละได้เพราะธรรมอะไร ?
            พ.  เรากล่าวว่า สติเป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องกันความอยากนั้น และความอยากนั้นจะละได้ เพราะปัญญา
            อ.  ปัญญา สติ กับนามรูปนั้น จะดับไป ณ ที่ไหน ขอพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระเจ้า
            พ.  เราจะแก้ปัญหาที่ท่านถามถึง ที่ดับนามรูปสิ้นเชิง ไม่มีเหลือแก่ท่าน เพราะวิญญาณดับไปก่อนนามรูปจึงดับไป ณ ที่นั้นเอง
            อ.  ชนผู้มีธรรมได้ พิจารณาเห็นแล้ว และชนผู้ยังต้องศึกษาอยู่ สองพวกนี้มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก ข้าพเจ้าขอทูลถามถึง ความประพฤติของชนสองพวกนั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่ข้าพเจ้า
            พ.  ภิกษุผู้มีธรรมได้พิจารณาเห็นแล้ว และชนผู้นั้นยังต้องศึกษาอยู่ ต้องเป็นคนไม่กำหนัดในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติอยู่ทุกอิริยบถ
 
ติสสเมตเตยมาณพปัญหาที่ ๒
            ใครชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ คือ เต็มตามประสงค์ในโลกนี้ ความอยากซึ่งเป็นเหตุทะเยอทะยานดิ้นรน ของใครไม่มีใครรู้ ส่วนข้างปลายทั้งสอง (คือ อดีตกับอนาคต) ด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง (คือปัจจุบัน) พระองค์ตรัสว่าใครเป็นมหาบุรุษ ใครล่วงความอยากอันผูกใจสัตวในโลกนี้ ดุจด้วยเป็นเครื่องเย็บผ้าให้ตัดกันไปได้
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สำรวมในกามทั้งหลาย ปราศจากความอยากแล้ว มีสติระลึกได้ทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโดยชอบแล้วดับเครื่องร้อน กระวน กระวาย เสียได้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ คือ เต็มความประสงค์ในโลกนี้ ความอยากชึ่งเป็นเหตุทะเยอทะยานดิ้นรนของภิกษุนั้นแลไม่มี ภิกษุนั้นแลรู้ส่วนปลายทั้งสอง ด้วยปัญญาแล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรากล่าวว่าภิกษุนั้นแลเป็นมหาบุรุษ ภิกษุนั้นแลล่วงความอยากอันผูกใจสัตวไว้ในโลกนี้ ดุจด้วยเป็นเครื่องเย็บผ้าให้ติดกันไปได้

ปุณณกมาณพปัญหาที่ ๓
            บัดนี้มีปัญหามาถึงพระองค์ผู้หาความหวาดหวั่นมิได้ รู้เหตุที่เป็นรากเหง้าสิ่งทั้งปวง ข้าพระองค์ขอทูลถาม หมู่มนุษย์ในโลกนี้คือ ฤษี กษัตริย์ พราหมณ์ เป็นอันมาก อาศัยอะไรจึงบูชายัญ บวงสรวงเทวดา ขอพระองค์จงตรัสบอกความนั้น แก่ข้าพระเจ้า
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า หมู่มนุษย์เหล่านั้น อยากได้ของที่ตนปรารถนา อาศัยของที่มีชราทรุดโทรม จึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา
            ป.  หมู่มนุษย์เหล่านั้น ก็ไม่ประมาทในยัญของตน จะข้ามพ้นชาติได้หรือไม่ ?
            พ.  หมู่มนุษย์เหล่านั้น มุ่งลาภที่ตนหวังไว้ จึงพูดสรรเสริญการบูชายัญ รำพันถึงสิ่งที่ตนใคร่ดังนั้น ก็เพราะอาศัยลาภ เรากล่าวว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้น ยังเป็นคนกำหนัดยินดีในภพ ไม่ข้ามชาติชราไปได้
            ป.  ถ้าผู้บูชายัญเหล่านั้น ข้ามพ้นชาติชราเพราะยัญของตนไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นใครเล่าในเทวโลกหรือไม่มนุษย์โลก ข้ามชาติชนานั้นได้แล้ว
            พ.  ความอยากซึ่งเป็นเหตุทะเยอทะยานดิ้นรนในโลกไหน ๆ ของผู้ใดไม่มี เพราะได้พิจารณาเห็นธรรม ที่ยิ่งและหย่อนในโลก
เรากล่าวว่า ผู้นั้นสงบระงับแล้ว ไม่มีทุจริตความประพฤติชั่ว อันจะทำให้มัวหมอง ดุจควันไฟอันจับเป็นเขม่า ไม่มีกิเลศอันจะกระทบจิต หาความอยากทะเยอทะยานมิได้ ข้ามพ้นชาติไปได้แล้ว

เมตตคูมาณพปัญหาที่ ๔
             ข้าพเจ้าขอทูลถาม ขอพระองค์จงตรัสบอกข้อความที่จะทูลถามนั้นแก่ข้าพระเจ้า ข้าพระเจ้าทราบว่า พระองค์ถึงที่สุดจบไตรเพท มีจิตอันได้อบรมดีแล้ว ทุกข์ในโลกหลายประการ ไม่ใช่แต่อย่างเดียวนี้ มีมาแล้วแต่อะไร ?
            พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ท่านถามเราถึงเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เราจะบอกแก่ท่านตามรู้เห็น ทุกข์ในโลกนี้ มีอุปธิคือ กรรม และกิเลสเป็นเหตุ ล้วนเกิดมาก่อนแต่อุปธิ  ผู้ใดเป็นคนเขลา ไม่รู้แล้วทำอุปธินั้นให้เกิดขึ้น ผู้นั้นย่อมถึงทุกข์เนือง ๆ เหตุนั้นเมื่อรู้เห็นว่า อุปธิเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ อยากกระทำให้เกิดมี
            ม.  ข้าพระเจ้าขอทูลถามข้ออื่นอีก อย่างไรผู้มีปัญญาจึงข้ามพ้นห้วงทะเลใหญ่ คือ ชาติ ชรา และโศก พิไรรำพันเสียได้ ? ขอพระองค์จงทรงทรงแก้ข้อนั้นประทานแก่ข้าพระเจ้า
            พ.  เราจักแสดงธรรมที่จะพึงเห็นแจ้งด้วยตนเองในอัตภาพนี้ ไม่ต้องพิศวงตามคำของผู้อื่นว่า คืออย่างนี้ ที่บุคคลได้ทราบแล้ว จักเป็นผู้มีสติดำเนินข้ามความอยาก อันให้ติดอยู่ในโลกเสียได้แก่ท่าน
            ม.  ข้าพระเจ้ายินดีธรรมที่สูงสุดนั้นเป็นอย่างยิ่ง
            พ.  ท่านรู้อย่างใดอย่างหนึ่งในส่วนเบื้องบน (คือ อนาคต) ในส่วนเบื้องต่ำ (คือ อดีต) ในส่วนท่ามกลาง (คือปัจจุบัน) จงบรรเทาความเพลิดเพลิน ความยึดมั่นในส่วนเหล่านั้นเสีย วิญญาณเองท่านจะไม่ตั้งอยู่ในภพ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติไม่เลินเล่อ ได้ทราบแล้ว ละความถือมั่นว่าของเราได้สียแล้ว จักละทุกข์คือ ชาติ ชรา และโศกพิไรรำพันในโลกนี้ได้
            ม.  ธรรมใดอันไม่มีอุปธิ พระองค์ทรงแสดงชอบแล้ว พระองค์คงจะละทุกข์ได้แน่แล้ว เพราะว่าพระองค์ ด้วยตั้งใจจะให้ทรงสั่งสอน ข้าพระเจ้าเป็นนิตย์ไม่หยุดหย่อนเหมือนอย่างนั้นบ้าง
           พ.  ท่านรู้ว่าผู้ใดเป็นพราหมณ์ ถึงที่สุดจบไตรเพท ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ติดข้องอยู่ในกามภพ ผู้นั้นแลข้ามล่วงเหตุแห่งทุกข์ ดุจห้วงทะเลอันใหญ่นี้ได้แน่แล้ว ครั้นข้ามถึงฝั่งแล้ว เป็นคนไม่มีกิเลสอันตรึงจิต สิ้นความสงสัย ผู้นั้นครั้นรู้แล้วถึงที่สุด จบไตรเพทในศาสนานี้ ละธรรมที่เป็นเหตุติดข้องอยู่ในภพน้อยภพใหญ่เสียได้แล้ว เป็นคนมีความอยากสิ้นแล้ว ไม่มีกิเลสอันกระทบจิต หาความอยากทะเยอทะยานมิได้ เรากล่าวว่าผู้นั้นแล ข้ามพ้นชาติชราได้แล้ว
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 07:13:51 pm »


               

โสฬสปัญหา
พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย พระสูตรว่าด้วยมาณพ ๑๖ คน

           โสฬสปัญหา  เป็นธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา มีความลึกซึ้งทั้งในด้านอรรถะ คือ ความหมายทั้งในด้านพยัญชนะคือ ถ้อยคำสำนวน
            โสฬสปัญหา  เป็นการถามปัญหาของมาณพ ๑๖ คน ซึ่งพาวรีพราหมณ์ ผู้เป็นอาจารย์ ได้แต่งปัญหาให้ศิษย์ของตน ๑๖ คน ไปทูลถามพระผู้มีพระภาค เพื่อรู้ว่าจะเป็นผู้ตรัสรู้จริงหรือไม่ สูตรทั้งสิบหกจึงมีชื่อตามชื่อของมาณพทั้งสิบหก แต่ละสูตรจะแสดงคำถามและคำตอบเป็นคำฉันท์
วัตถุกถา
            พราหมณ์พาวรี เป็นผู้เรียนจบมนต์ ปรารถนาความเป็นผู้ไม่มีกังวล ได้ออกจากนครโกศลอันน่ารื่นรมย์ ไปสู่ทักขิณปถชนบท
            พราหมณ์นั้นอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี อันเป็นพรมแดนแคว้นอัสสกะ และแคว้นมุฬกะ เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยการเที่ยวภิกขาและผลไม้
            ชาวบ้านที่อาศัยพราหมณ์พาวรีนั้นก็เป็นผู้ไพบูลย์ พราหมณ์พาวรีได้บูชามหายัญด้วยส่วย อันเกิดแก่กสิกรรมเป็นต้นในบ้านนั้น ครั้นบูชามหายันต์แล้วได้กลับเข้าไปสู่อาศรม

            พราหมณ์อื่นได้เขามาหาพราหมณ์พาวรีแล้วขอทรัพย์ ๕๐๐
            พราหมณ์พาวรีได้เชื่อเชิญด้วยอาสนะไต่ถามถึงสุข และความไม่มีโรคแล้วกล่าวว่า ไทยธรรมวัตถุอันใดของเรา เราสละเสียสิ้นแล้ว ทรัพย์ ๕๐๐ เราไม่มี
            เมื่อเราขอแล้วท่านไม่ให้ ในวันที่เจ็ดศีรษะของท่านจะแตกเจ็ดเสี่ยง
            พราหมณ์ผู้หลอกลวงนั้น ทำกลอุบายแล้ว กล่าวคำให้เกิดความกลัว
            พราหมณ์พาวรีได้ฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้วก็เป็นทุกข์ ซูบซีดไม่บริโภคอาหาร ใจของพราหมณ์พาวรี ผู้มีจิตเป็นอย่างนั้น ย่อมไม่ยินดีในฌาน
            เทวดาผู้ปรารถนาประโยชน์ เห็นพราหมณ์พาวรีมีทุกข์ หวาดกลัวจึงเข้าไปหาพราหมณ์พาวารีแล้วได้กล่าวว่า พราหมณ์นั้นเป็นคนโกหก ย่อมไม่รู้จักศีรษะ ต้องการทรัพย์ ไม่มีความรู้ในธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป

            พราหมณ์พาวรีถามว่า ท่านรู้จักข้าพเจ้า ขอท่านจงบอกธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไปแก่ข้าพเจ้าเถิด
            เทวดาตอบว่า แม้เราก็ไม่รู้ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ความเห็นซึ่งศีรษะ และธรรมอันให้ศีรษะตกไป ย่อมมีแก่พระชินเจ้าทั้งหลายเท่านั้น
            พราหมณ์พาวรีถามว่า บัดนี้ใครเล่าในปฐพีมณฑลนี้ย่อมรู้จักศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ขอท่านจงบอกบุคคลผู้รู้ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไปแก่ข้าพเจ้าเถิด
            เทวดาตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าศากยบุตร เป็นวงศ์พระโอกากราช เสด็จออกจากเมืองกบิลพัสดุ เป็นพระพุทธเจ้าผู้นำสัตว์โลก เป็นผู้แสดงธรรมอันสว่าง ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ทรงบรรลุ อภิญญา และทศพลญาณครบถ้วน มีพระจักษุในสรรพธรรม ทรงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง ทรงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ

            พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระพุทธเจ้าในโลก มีพระจักษุย่อมทรงแสดงธรรม ท่านจงไปทูลถามพระองค์เถิด พระองค์จักทรงพยากรณ์ปัญหานั้นแก่ท่าน
            พราหมณ์พาวรีได้ฟังคำว่า สัมพุทโธ แล้วมีความเบิกบานใจ มีความโศกเบาบาง และได้ปิติอันไพบูลย์เกิดความโสมนัส จึงถามเทวดานั้นว่า พระโลกนาถนั้นประทับอยู่ในคามนิคม หรือในชนบทไหน เราทั้งหลายพึงไปนมัสการพระสัมพุทธเจ้า ผู้อุดมกว่าสัตว์ได้ในที่ใด
            เทวดาตอบว่า  พระชินเจ้าผู้ศากยบุตร ทรงมีพระปัญญามาก มีพระปัญญาประเสริฐกว้างขวาง ทรงปราศจากธุระ หาอาสวะมิได้ องอาจกว่านรชน ทรงรู้ธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุศีรษะตกไป ประทับอยู่ในมณเฑียรสถานของชาวโกศล ในพระนครสาวัตถี

            ลำดับนั้น  พราหมณ์พาวรีได้เรียกพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์ มาสั่งว่าท่านทั้งหลายจงฟังคำของเรา ความปรากฏแห่งพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ยากที่จะหาได้ในโลก ท่านทั้งหลายจงรับไปเมืองสาวัตถี เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ผู้อุดมกว่าสรรพสัตว์
            พราหมณ์ผู้ศิษย์ทั้งหลายถามว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายได้แล้วจะพึงรู้ว่าท่านผู้นี้เป็นพระสัมพุทธเจ้าด้วยอุบายอย่างไร ขอท่านจงบอกอุบายที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ผู้ไม่รู้เถิด
            พราหมณ์พาวรีกล่าวว่า ก็มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มาแล้วในมนต์ทั้งหลาย อันพราหมณาจารย์ทั้งหลาย พยากรณ์ไว้บริบูรณ์แล้วตามสำคัญว่า
            ท่านผู้ใด มีมหาปุริสลักษณะเหล่านั้นในกายตัว ท่านผู้นั้นมีคติเป็นสองอย่าง มิได้มีคติเป็นสาม

            คือ ถ้าอยู่ครองเรือน จะพึงครอบครองทั่วปฐพีนี้ จะทรงปกครองโดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาญาไม่ต้องใช้ศัสตรา
            ถ้าออกบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมพุทธเจ้า มีกิเลศดังหลังอันเปิดแล้ว ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
            ท่านทั้งหลายจงถามถึงชาติ โคตร ลักษณะ มนต์ และศิษย์เหล่าอื่นอีก และถามถึงศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไปด้วยใจเท่านั้น เมื่อท่านทั้งหลายถามปัญหาด้วยใจแล้ว ก็จักแก้ด้วยวาจา
            พราหมณ์ ผู้เป็นศิษย์ ๑๖ คน คือ ติสสเมตเตยยะ ปุณณกะ เมตตคู โธตกะ นันทะ เหมกะ โตเทยยะ กัปปะ ชตุกัณณี ผู้เป็นบัณฑิต ภัทราวุธะ อุทยะ โปสาลพราหมณ์ โมฆราชผู้มีเมธา ปิงคิยะ ผู้แสวงคุณอันใหญ่

            ทั้งหมดนั้น เฉพาะคนหนึ่ง ๆ เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ ปรากฏแก่โลกทั้งปวง เป็นผู้เพ่งฌาน มีปัญญาทรงจำ เป็นธีรชน ผู้มีจิตอบรมด้วยวาสนา ทรงชฎาหนังเสือเหลือง
            ได้ฟังคำพราหมณ์พาวรีแล้ว อภิวาทพราหมณ์พาวรี กระทำประทักษิณ แล้วบ่ายหน้าต่อทิศอุดรมุ่งไปยังที่ตั้งแห่งแคว้นมุฬกะ เมืองมาหิสสติ เมืองอุชเชนี เมืองโคนัทธะ เมืองเวทิสะ เมืองวนนคร เมืองโกสัมพี เมืองสาเกต เมืองสาวัตถี อันเป็นเมืองอุดม เมืองเสตัพยะ เมืองกบิลพัสดุ เมืองกุสินารามันทิรสสถาน เมืองมันทิระ เมืองปาวา เมืองโภคนคร เมืองเวสาลี เมืองราชคฤห์ และปาสาณกเจดีย์ อันเป็นรมณียสถาน ที่น่ารื่นรมย์ใจ
            พราหมณ์มาณพทั้งหลายพากันยินดีรีบด่วนขึ้นสู่ เจดีย์บรรพต เหมือนบุคคลถูกความร้อนแผดเผายินดีร่มเงาฉะนั้น

            สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แวดล้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ประหนึ่ง ราชสีห์บันลืออยู่ในป่าฉะนั้น
            อชิตมาณพได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระรัศมี เรื่อเรื่องเหลืองอ่อน บริบูรณ์ดังดวงจันทร์วันเพ็ญ ได้เห็นพระอวัยวะอันบริบูรณ์ อชิตมาณพมีความร่าเริง ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ได้ทูลถามปัญหาด้วยใจว่า
            ขอพระองค์จงตรัสบอกอ้าง (ชาติ) อายุ โคตร พร้อมทั้งลักษณะ และขอให้ตรัสบอกถึงความสำเร็จในมนต์ทั้งหลายแห่ง อาจารย์ของข้าพระองค์เกิด อาจารย์ของข้าพระองค์ยอมบอกมนต์แก่ศิษย์มีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า

            พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็พราหมณ์ผู้เป็น อาจารย์ของท่านนั้นมีอายุร้อยยี่สิบปี ชื่อพาวรีโดยโคตรลักษณะในกายมีสามประการ เรียนจบไตรเพท ในตำราทำนายมหาปุริสลักษณะคือ คัมภีร์ อิติหาส พร้อมทั้งคัมภีร์ นิฆัณฑุศาสตร์ และเกฏุกศาสตร์ ถึงซึ่งความสำเร็จในธรรมแห่งพราหมณ์ของตน ย่อมบอกมนต์ แก่ มานพ ๕๐๐
            อชิตมาณพทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน ขอพระองค์จงค้นคว้า ลักษณะทั้งหลายของพราหมณ์พาวรี อย่าให้ข้าพระองค์มีความสงสัยเกิด
            พราหมณ์พระองค์เจ้าตรัสว่า ดูก่อนมานพพราหมณ์พาวรีนั้นย่อมปกปิดมุขมณฑล (หน้า) ด้วยชีวหาได้ มีอุณาโลมชาติในระหว่างคิ้ว มีคุยหฐานอยู่ในฝัก ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด

            ชนทั้งปวงไม่ได้ยินใครๆ ผู้ถามเลย ได้ฟังปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพยากรณ์แล้ว คิดพิศวงอยู่เกิดความโสมนัส ประนมอัญชลี (สรรเสริญ) ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอะไรหนอ เป็นเทวดา หรือ เป็นพรหม หรือเปนท้าวสุชัมบดีจอมเทพ เมื่อปัญหาอันผู้ถามด้วยใจ ไฉนมาแจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
            อชิตมาณพทูลถามด้วยใจต่อไปว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระหมณ์พาวรีถามถึงธรรมเป็นศีรษะ และธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ขอพระองค์ตรัสพยากรณ์ข้อนั้น กำจัดความสงสัยถึงข้าพระองค์ผู้เป็นฤาษีเสียเถิด
            พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า อวิชชาชื่อว่าธรรมเป็นศีรษะ วิชชาประกอบด้วย ศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะและวิริยะ ชื่อว่าเป็นธรรมเครื่องให้ศีรษะตกไป
            ลำดับนั้น อชิตมาณพมีความโสมนัสเป็นอันมาก เบิกบานใจ กระทำหนังเสือเหลือง เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลงแทบบาทยุคล ด้วยเศียรเกล้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้มีพระจักษุ พราหมณ์พาวรีผู้เจริญ มีจิตเบิกบาน ดีใจพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลาย ขอไหว้พระยุคลบาท

            พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาณพ พราหมณ์พาวรีพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลาย จะเป็นผู้ถึงความสุขเถิด ถึงแม้ท่านก็จงเป็นผู้ถึงความสุข จงเป็นอยู่สิ้นกาลอยู่สิ้นกาลนานเถิด
            อชิตมาณมีโอกาส นั่งลงประนมอัญชลีทูลปัญหาแรกแก่พระตถาคต ณ ที่นั่งฉะนี้แล