ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 05:12:27 pm »



ทั้งที่รู้ว่า ทุกคนไม่พ้นความตาย แต่ก็ไม่มีใครอยากตาย ถ้าเลือกได้ก็ไม่มีใครยอม ยามที่ผู้เป็นที่รักสิ้นชีวิต ญาติพี่น้อง คนแวดล้อมรอบกายก็เศร้า อาลัย ตกอยู่ในห้วงทุกข์ บางรายเหตุการณ์ผ่านไปแล้วเนิ่นนาน แต่อาการโศกระทมก็ไม่คลาย
   
พระปณต คุณวฑฺโฒ (อิสรสกุล) จากวัดญาณเวศกวัน ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม  พระนิสิตปริญญาโท สาขาวิชาชีวิตและความตาย ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้นำเสนอวิทยานิพนธ์ เรื่อง ผลของกิจกรรมเชิงพุทธที่เน้นธรรมะเรื่องหลักกรรมและชีวิตหลังความตายต่อความเศร้าโศกของผู้เคยสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก และได้รับการพิจารณาเป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่น
   
งานวิจัยของพระปณต มีวัตถุ ประสงค์ ๒ ประการคือ (๑) ศึกษาคำสอนพุทธศาสนาเถรวาทเกี่ยวกับหลักกรรม และชีวิตหลังความตาย ประยุกต์ร่วมกับการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยาแบบกลุ่มเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมเชิงพุทธที่เน้นธรรมะเรื่องหลักกรรมและชีวิตหลังความตาย (๒) ศึกษาผลของกิจกรรม ต่อความเศร้าโศกของผู้เคยสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑๙ คน อายุระหว่าง ๒๔-๗๗ ปี ให้ทำแบบวัดความเศร้าโศก ๕ ด้าน คือ อารมณ์ การรู้คิด กายภาพ สังคม และจิตวิญญาณ รวม ๓๓ ข้อ จากนั้นให้เข้าร่วมกิจกรรมเชิงพุทธซึ่งมีการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา และนำเสนอเนื้อหาหลักกรรม และชีวิตหลังความตาย รวม ๔ วัน ๓ คืน เมื่อจบกิจกรรม ได้วัดความเศร้าโศกอีก ๒ ครั้ง คือ ทันทีที่สิ้นสุดกิจกรรม และติดตามผลอีก ๒ สัปดาห์ต่อมา
   
ผลวิเคราะห์พบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของทั้ง ๒ กลุ่ม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนความเศร้าโศก หลังการเข้าร่วมต่ำกว่าช่วงก่อนเข้าร่วม ร้อยละ ๔๘.๖ และ ๕๔.๓ ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการปรึกษาทางพุทธจิตวิทยา นำมาประยุกต์ร่วมกับการปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาเพื่อช่วยเยียวยาความเศร้าโศกเนื่องจากการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   
พระปณต กล่าวว่า ได้ติดตามผู้ร่วมกิจกรรมผ่านช่องทางอื่น เช่น การสนทนาผ่านโซเชียลมีเดีย ที่บอกถึงทัศนคติต่อชีวิตที่เปลี่ยนไป เห็นคุณค่าของชีวิตในปัจจุบัน ความตั้งใจใช้ชีวิตอย่างดีที่สุด มีเมตตา มีสติ เพื่อไม่ให้เกิดบาดแผลในใจเรากับคนที่รักที่จะจากไปในวันข้างหน้า
   
สำหรับกิจกรรมในงานวิจัย ๔ วัน ประกอบด้วยการนำหลักไตรสิกขา อริยมรรค นับแต่หลักอริยสัจ ๔ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มาแนะนำ เพื่อให้มองเห็นปัญหา คือความทุกข์ อย่างชัดเจน เพราะการจัดการทุกข์ก็ต้องเห็นทุกข์ จากนั้นวันที่ ๒-๓ จะเริ่มเข้าใจว่า แท้จริงที่ความทุกข์ยังคงติดค้าง อาจเป็นเพียงปมเล็กๆ ที่ไม่ได้ดูแลก่อนเสียชีวิตและเชื่อว่าจุดนี้เป็นสาเหตุการตาย ในกิจกรรมก็จะทราบว่าแท้จริง ความคิดที่ติดค้างนั้นเป็นเพียงความคาดหวัง หรือความต้องการในใจ ที่ไม่ใช่ว่าเราอยู่กับผู้จากไปแล้วจะดีหรือไม่ดี เมื่อหาเหตุแห่งทุกข์พบ ก็ไปสู่มรรคมีองค์ ๘ ที่สรุปเป็น ๓ หมวด คือ ศีล สมาธิ และปัญญา มาเป็นกรอบการดำเนินกิจกรรม เริ่มวันแรก ช่วงเช้า ให้อยู่ในศีล อยู่กับสภาพแวดล้อมที่สบายใจ ปลอดภัย กับเพื่อนร่วมกิจกรรมที่มีปัญหาความทุกข์ด้วยกัน ให้นั่งล้อมวง ทำความรู้จักกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีพระเป็นผู้ดำเนินการ ช่วงบ่าย เริ่มการพัฒนาด้านสมาธิ เจริญสติ ดื่มชา ภาวนา เดินภาวนา สวดมนต์และเมตตาภาวนา มีพระสอนกรรมฐานและวิธีการนั่งสมาธิ การวางจิตว่าควรทำอย่างไร วันที่สอง เริ่มด้วยการนั่งสมาธิตามอัธยาศัย ช่วงบ่าย ก็เริ่มเรียนรู้เรื่องบุญ ความสงบ เมตตา เพื่อปรับฐานจิตให้ได้ระดับหนึ่ง แล้วค่อยเติมปัญญา เกี่ยวกับภพภูมิ การเวียนว่ายตายเกิด “ตายแล้วไปไหน”
   
กิจกรรมทั้งหมดทำในรูปไดอะล็อกหรือ สุนทรียสนทนา ทุกคนจะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดใจรับฟังกัน คนไม่เชื่อก็ได้รับทราบว่า หลักในพระพุทธศาสนาว่าอย่างไร วิทยากรจะให้ประสบการณ์ นำไปสู่การแลกเปลี่ยน เช่น บางคนเชื่อว่า คนตายแล้ววิญญาณจะวนเวียนอยู่ที่บ้าน ไม่ไปไหน จนกว่าจะทำบุญ แต่เมื่อได้ฟังว่า มีข้อมูลอีกด้าน ตายแล้วเกิดใหม่ ก็จะเกิดชุดความคิดอีกด้าน ซึ่งขึ้นกับว่าจะเชื่ออย่างไหน แต่อย่างน้อย ก็มีข้อมูลที่อาจต่างจากเดิมให้เกิดความคิดอีกแง่มุม
   
“องค์ความรู้หลักที่นำมาแลกเปลี่ยน มี ๒ เรื่อง คือภพภูมิ และกฎแห่งกรรม ตามคัมภีร์อภิธรรมในรูปแบบการนั่งคุย บางครั้งก็มีพระเทศน์ และการเล่นเกม ตลอด ๔ วัน ทุกคนจึงมีส่วนร่วม ไม่ใช่นั่งฟังอย่างเดียว ผู้เข้าร่วมซึ่งบางท่านสูงอายุก็บอกว่าเป็นการเรียนรู้ธรรมที่สนุก”
   
พระปณต อธิบายด้วยว่า การปฏิบัติเพื่อลดความเศร้าโศกนี้ ทุกคนสามารถทำเองหรือแนะนำคนอื่นก็ได้ เริ่มตั้งแต่เปลี่ยนสภาพแวดล้อมก่อน เช่น ถ้าเห็นภาพในอดีตของผู้จากไป ก็จะนึกถึงแต่เหตุการณ์เดิม ๆ ก็เอาออก เครื่องรบกวนจิตใจก็จะลง จากนั้นก็หาเพื่อน หางานทำ มีกิจกรรม แทนที่จะนั่งคิดถึงอยู่ริมหน้าต่าง แต่ต้องอยู่ในกรอบศีลธรรม จากนั้น หาที่ให้ใจพัก เช่น ฝึกนั่งกรรมฐาน มิให้เผลอไปคิดเรื่องอดีต ยึดลมหายใจ หรือบริกรรม  ในช่วงแรกกิเลสยังแรง แต่ฝึกบ่อย ๆ ก็จะดึงใจกลับมาอยู่กับปัจจุบันได้ ฝึกเมตตาภาวนา แก้โทสะด้วยการแผ่เมตตา นึกว่าคนที่เรารักอยากบอกสิ่งใดให้เขามีความสุข ก็เริ่มปฏิบัติสิ่งนั้น คือทำให้เรามีความสุข มีความเมตตาก่อน จึงจะมอบให้ผู้อื่นได้ ขั้นต่อมาก็เติมองค์ความรู้เชิงปัญญา ว่าด้วยเรื่องภพภูมิ ตามหลักคำสอนในพุทธศาสนา การเวียนว่ายตายเกิด จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ ไม่ใช่ข้อถกเถียง เพราะเลือกทางใดก็มีคำตอบตรงกัน คือ ถ้าเชื่อว่ามี ก็ต้องทำความดี ชีวิตก็จะมีความสุข ถ้าเชื่อว่าไม่มี ก็ต้องทำดีเหมือนเดิม ชีวิตก็จะมีความสุข และใช้เวลาให้ดีที่สุดในขณะที่ยังมีชีวิต ไม่รอให้ถึงเวลาที่จากกันแล้วค่อยมาคิดทำ
   
หลักการนี้ฝึกตนเองได้ก็แนะนำคนอื่นได้ แบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่คนกำลังเศร้า แล้วไปแนะให้มีสติ อยู่กับปัจจุบันทันที คงไม่ได้ผล
   
อาจมีบางคนที่พอใจกับการจมอยู่กับความทุกข์ สงสัยว่าความเศร้าเพราะเฝ้าคิดถึงอดีต ผิดอย่างไร พระปณต อธิบายว่า ความเศร้าไม่ใช่ความผิด แต่ความเศร้าเป็นโรคทางใจ มนุษย์ทุกคนปรารถนาความสุข ไม่ชอบความทุกข์ การพลัดพรากเป็นความทุกข์โดยธรรมชาติ เมื่อเรายังมีกิเลสก็พบความทุกข์เรื่อยไป ฉะนั้นเมื่อเกิดความทุกข์ ก็ต้องหาเหตุและดับทุกข์ สร้างปัญญา พัฒนาจิตใจและไม่ยึดว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้อยู่กับเราตลอดไป
   
สนใจวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาได้จากงานสัมมนาวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี ๒๕๕๔ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วันอังคารที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๘.๐๐ น.เป็นต้นไป ที่หอประชุม ๔๘ พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย พระนครศรีอยุธยา ส่วนผู้สูญเสียที่กำลังเศร้าโศก สามารถเข้าร่วมกิจกรรมภาวนาเพื่ออุทิศกุศลแด่ผู้ล่วงลับอันเป็นที่รักที่จะมีขึ้นอีกครั้งวันที่ ๑๙–๒๒ มกราคม ๒๕๕๕ โดยสอบถามรายละเอียดได้ที่ ๐๘-๑๑๗๔-๖๓๑๔ (๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น.)หรือ ๐๘-๑๖๒๐-๓๖๔๖ (๑๗.๐๐-๒๐.๐๐ น.) หรืออีเมล bhavanaforlove@gmail.com
   
อย่าปล่อยความเศร้าเฝ้าทำร้ายจิตใจ ควรรู้จักนำมาใช้เพื่อรู้ธรรม.

อุเปกขินทรีย์

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=164615