ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 05:40:22 pm »



ขันติ ความข่มใจ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

ผู้มีขันติคือผู้ที่ แม้มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ในใจมากมายเพียงใดก็ตาม เมื่อมีขันติ ไม่แสดง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ออกมาอย่างรุนแรง โดยไม่คำนึงถึงความถูกความผิด ความหนักความเบา

ขันติเป็นความมีใจอดทน อดกลั้น หรือจะกล่าวว่า ทนเก็บความรู้สึกไม่ ว่าโลภ ไม่ว่าโกรธ ไม่ว่าหลง ที่เกิดขึ้นรุนแรงเพียงใดก็ตาม ให้อยู่แต่ภายในใจตน ไม่ให้พ้นใจออกปรากฏเป็นการ ติเตียน ทะเลาะวิวาท ฆ่าฟันกันถึงเป็นถึงตายอันเป็นบาปกรรมทั้งหลาย เป็นไปตามพระศาสนสุภาษิตในพระพุทธศาสนาจริงที่ว่า “ขันติตัดรากแห่งมารได้”

ผู้ที่ไม่ได้แสดงความมีขันติให้กลายเป็นความไม่มีขันติ หรือ ขันติแตก อาจไม่ใช่ผู้มีขันติจริง เมื่อเกิดอะไรขึ้นที่น่าจะก่อให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง ผู้มีขันติอดทนอดกลั้นจริงไม่ต้องใช้กำลังใจมากมาย เป็นไปง่ายๆ สบายๆ แต่ก็เป็นขันติ

จึงน่าจะแบ่งขั้นได้ว่าเป็นชั้นสูงเหนือขันติธรรมดาทั่วไป ผู้มุ่งมีขันติทั้งหลายอาจต้องข่มใจมาก ถ้าข่มได้สำเร็จ ขันติก็จะเป็นขันติ ไม่เป็นขันแตกให้น่ากลัว

ขันติจะเข้าสู่ระดับไม่ต้องข่มใจหนักหนาได้ ต้องอยู่ที่การพยายามฝึกเสมอ เมื่อ กระทบอารมณ์ใดก็ให้ระวังใจให้ดีที่สุด คือนึกให้เกิดมงคลสูงสุดแก่ชีวิต ว่าเราจะบูชาสมเด็จพระบรมศาสดาด้วยบูชาอันยิ่ง คือด้วยการมีขันติ

ดังในพระศาสนสุภาษิตในพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่า “ผู้มีขันติชื่อว่าทำตามคำทรงสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา” นี้เป็นคำทรงสอนที่ให้คุณแก่ชีวิตสัตว์โลกเป็นอย่างยิ่ง



Pics by : Google
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต * อกาลิโกโฮม
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 04:19:47 pm »




การขอโทษและการให้อภัย
: พระนิพนธ์
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร..

การรู้จักขอโทษนั้นเป็นมารยาทอันดีงามสำหรับตัวผู้ทำเอง และเป็นการ
ช่วยระงับหรือช่วยแก้โทสะของผู้ถูกกระทบกระทั่งให้เรียบร้อยด้วยดี
ในทางหนึ่ง หรือจะกล่าวว่าการขอโทษคือการพยายามป้องกันมิให้มีการ
ผูกเวรกันก็ไม่ผิด เพราะเมื่อผู้หนึ่งทำผิด อีกผู้หนึ่งเกิดโทสะ

เพราะถือความผิดนั้นเป็นความล่วงเกินกระทบกระทั่งถึงตน แม้ไม่อาจ
แก้โทสะนั้นได้ ความผูกโกรธหรือความผูกเวรก็ย่อมมีขึ้น
ถ้าแก้โทสะนั้นได้ก็เท่ากับแก้ความผูกโกรธหรือผูกเวรได้ เป็นการสร้าง
อภัยทานขึ้นแทน อภัยทานก็คือการยกโทษให้
คือการไม่ถือความผิด
หรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ


อันอภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทาน
ทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด
จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ

โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน
โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ
ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย
เป็นการบริหารจิต
โดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น


ผู้ดู แลเห็นความสำคัญของจิต จึงควรมีสติทำความเพียรอบรมจิต
ให้คุ้นเคยต่อการให้อภัยไว้เสมอ เมื่อเกิดโทสะขึ้นในผู้ใด
เพราะการปฏิบัติล้วงล้ำก้ำเกินเพียงใดก็ตาม
พยายามมีสติพิจารณา หาทางให้อภัยทานเกิดขึ้นในใจให้ได้
ก่อนที่ความโกรธจะดับไปเสียเองก่อน ทำได้เช่นนี้จะเป็นคุณ
แก่ตนเองมากมายนัก
ไม่เพียงแต่จะทำให้มีโทสะลดน้อยลงเท่านั้น

และเมื่อปล่อยให้ความโกรธดับไปเอง ก็มักหาดับไปหมดสิ้นไม่
เถ้าถ่านคือความผูกโกรธมักจะยังเหลืออยู่
และอาจกระพือความโกรธขึ้นอีกในจิตใจได้ในโอกาสต่อไป

ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย
แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้


ในทางตรงกันข้าม ผู้ไม่เคยอบรมจิตใจให้คุ้นเคยกับการให้อภัยเลย
โกรธแล้วก็ให้หายเอง แม้ได้รับการขอขมาโทษ
ก็อาจจะไม่อภัยให้ได้ เป็นเรื่องของการไม่ฝึกใจให้เคยชิน

อันใจนั้นฝึกได้ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้
ฝึกอย่างไดก็จะเป็นอย่างนั้น ฝึกให้ดีก็จะดี ฝึกให้ร้ายก็จะร้าย...


: พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร..



ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
I am : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=22765
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ