ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 08:20:13 pm »


               [๙๕-๙๗] บัดนี้ พระสารีบุตรละอาการ ๙ เหล่านั้นในลำดับวาระแห่งอาการ ๙ แล้วประกอบด้วยบทแห่งปัจจัยอาศัยเหตุ แล้วชี้แจงวาระ ๓ มีอาทิว่า อวิชฺชา เหตุ, สงฺขารา เหตุสมุปฺปนฺนํ - อวิชชาเป็นเหตุ สังขารทั้งหลายอาศัยเหตุเกิดขึ้น ในวาระแห่งอาการ ๙ ท่านกล่าวปัจจัยด้วยสามารถเป็นชนกอุปถัมภกปัจจัย - ปัจจัยอุดหนุนให้เกิด,
               ในที่นี้ บทว่า เหตุ ได้แก่ ความเป็นชนกปัจจัย เพราะเหตุวาระและปัจจยวาระมาต่างหากกัน.
               บทว่า ปจฺจโย พึงทราบความเป็นอุปถัมภกปัจจัย เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นแม้อย่างหนึ่งๆ ก็เกิดโดยประการทั้งสอง.
               พึงทราบวินิจฉัยในปฏิจจวาระดังต่อไปนี้
               บทว่า อวิชฺชา ปฏิจฺจ - อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป.
               ความว่า อวิชชา ชื่อว่า ปฏิจฺจา เพราะต้องถึงต้องไปเฉพาะหน้าด้วยสังขารทั้งหลาย เพราะเพ่งอวิชชา เป็นเหตุของสังขารทั้งหลายในความเกิดของตน.
               ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงความที่อวิชชาสามารถให้สังขารเกิด.
               บทว่า สงฺขารา ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา - สังขารทั้งหลายอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น.
               ความว่า สังขารทั้งหลายมิได้เกิดขึ้นเสมอโดยมิได้อาศัยอะไร เพราะต้องอาศัยอวิชชาแล้ว จึงเกิดขึ้นเป็นไปอยู่.
               แม้ในบทที่เหลือก็พึงประกอบโดยสมควรแก่ลิงค์อย่างนี้.
               อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า อวิชฺชา ปฏิจฺจ - อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไปด้วยสามารถความขวนขวาย แต่ความในบทนี้พึงประกอบด้วยปาฐะที่เหลือว่า อวิชชาอาศัยปัจจัยของตนเป็นไป.
               แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น.
               ในวาระแม้ ๔ อย่างเหล่านี้ ท่านชี้แจงธรรมฐิติญาณด้วยสามารถแห่งองค์ ๑๑ มีอวิชชาเป็นต้น เพราะธรรมฐิติญาณควรชี้แจงด้วยสามารถปัจจัยแห่งองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒. แต่ท่านไม่ชี้แจงด้วยสามารถชรามรณะนั้น เพราะชรามรณะตั้งอยู่ในที่สุด. ธรรมฐิติญาณด้วยสามารถชรามรณะนั้น ทำชรามรณะให้เป็นปัจจัยแห่งองค์ปฏิจจสมุปบาทเหล่านั้นแล้วพิจารณาควรทีเดียว เพราะแม้ชราและมรณะก็เป็นปัจจัยแห่งโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส.

               [๙๘] บัดนี้ พระสารีบุตรประสงค์จะจำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เหล่านั้น จึงแสดงสังเขป ๔ กาล ๓ สนธิ ๓ ด้วยอาการ ๒๐ แล้วจึงชี้แจงธรรมฐิติญาณ กล่าวบทมีอาทิว่า ปุริมกมฺมภวสฺมึ - ในกรรมภพก่อน ดังนี้.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุริมกมฺมภวสฺมึ ได้แก่ ในกรรมภพก่อน.
               อธิบายว่า เมื่อทำกรรมภพในอดีตชาติ.
               บทว่า โมโห อวิชฺชา - โมหะเป็นอวิชชา. ความว่า หลงด้วยโมหะในทุกข์เป็นต้นแล้วทำกรรม, นั้นคืออวิชชา.
               บทว่า อายูหนา สงฺขารา - กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร.
               ความว่า เจตนาก่อนของผู้ทำกรรมนั้น, เจตนาก่อนเกิดขึ้นแก่ผู้คิดว่า เราจักให้ทานดังนี้ แล้วสละอุปกรณ์การให้เดือนหนึ่งบ้าง ปีหนึ่งบ้าง.
               เจตนา ท่านกล่าวว่าภพ เพราะวางทักษิณาไว้บนมือของปฏิคคาหก. เจตนาในอาวัชชนะ ๑ หรือในชวนะ ๖ ชื่อว่ากรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร. เจตนาในชวนะที่ ๗ เป็นภพ.
               อนึ่ง เจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นภพ, ชื่อว่าการประมวลมาเป็นสังขาร เพราะสัมปยุตด้วยเจตนานั้น.
               บทว่า นิกนฺติ ตณฺหา - ความใคร่เป็นตัณหา.
               ความว่า ความใคร่ ความปรารถนาในอุบัติภพอันเป็นผลของผู้ทำกรรม ชื่อว่าตัณหา.
               บทว่า อุปคมนํ อุปาทานํ - ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน.
               ความว่า การเข้าถึง คือ ความถือมั่นอันเป็นปัจจัยแห่งกรรมภพเป็นไปแล้วว่า เมื่อทำกรรมนี้จักสำเร็จความประสงค์ ดังนี้ก็ดี เราทำกรรมนี้แล้วจักได้เสวยกรรมในฐานะโน้น ดังนี้ก็ดี อัตตาคือตัวตน ขาดสูญ ขาดสูญด้วยดีแล้วก็ดี มีความสุขปราศจากความเดือดร้อนก็ดี บำเพ็ญศีลพรตได้โดยสะดวกก็ดี นี้ชื่อว่าอุปาทาน.
               บทว่า เจตนา ภโว - เจตนาเป็นภพ ได้แก่เจตนาดังกล่าวแล้ว ในที่สุดแห่งการประมวลมา ชื่อว่าภพ.
               บทว่า ปุริมกมฺมภวสฺมึ - ในกรรมภพก่อน ได้แก่ เมื่อทำกรรมภพไว้ในอดีตชาติ ธรรมเหล่านี้เป็นไปแล้ว.
               บทว่า อิธ ปฏิสนฺธิยา ปจฺจยา - ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในภพนี้ ได้แก่ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในปัจจุบัน.
               บทว่า อิธ ปฏิสนฺธิ วิญฺญาณํ - ปฏิสนธิเป็นวิญญาณในภพนี้ ได้แก่วิญญาณ ที่ท่านกล่าวว่าเป็นปฏิสนธิ เพราะภพปัจจุบันเกิดด้วยสามารถแห่งการสืบต่อกันในระหว่างภพนั้น ชื่อว่าวิญญาณ.
               บทว่า โอกฺกนฺติ นามรูปํ - ความก้าวลงเป็นนามรูป ได้แก่ ความก้าวลงในครรภ์แห่งรูปธรรมและอรูปธรรม ดุจมาแล้วเข้าไป นี้ชื่อว่านามรูป.
               บทว่า ปสาโท อายตนํ - ประสาทคือความผ่องใส เป็นอายตนะ ได้แก่ ความที่รูปผ่องใส นี้เป็นอายตนะ. ท่านทำเป็นเอกวจนะโดยถือเอาชาติ.
               ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงอายตนะ ๕ มีจักขุเป็นต้น.
               พึงทราบว่า แม้มนายตนะ ท่านก็กล่าวด้วยคำว่า ปสาทะ เพราะมนายตนะเป็นวิบากในที่นี้โดยพระบาลีว่า๑- ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺต, ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐํ - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร, ก็จิตนั้นแลเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา ดังนี้.
               ในพระบาลีนี้ ท่านประสงค์เอาภวังคจิต, และเพราะจิตนั้นผ่องใสด้วยความไม่มีสิ่งปฏิกูลด้วยกิเลส,
____________________________
๑- องฺ. เอก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๕๐

               บทว่า ผุฏฺโฐ ผสฺโส - ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ได้แก่ ส่วนที่ถูกต้องกระทบ เกิดอารมณ์ นี้ชื่อว่าผัสสะ.
               บทว่า เวทยิตํ เวทนา - การเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ได้แก่ การเสวยวิบากเกิดร่วมกับผัสสะ ด้วยปฏิสนธิวิญญาณก็ดี ด้วยสฬายตนะเป็นปัจจัยก็ดี นี้ชื่อว่าเวทนา.
               บทว่า อิธุปปตฺติภวสฺมึ ปุเรกตสฺส กมฺมสฺส ปจฺจยา - ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้.
               ความว่า ธรรมทั้งหลายย่อมเป็นไปด้วยปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในอดีตชาติ อันเป็นวิบากภพในปัจจุบัน.
               บทว่า อิธ ปริปกฺกตฺตา อายตนานํ - เพราะอายตนะทั้งหลายในภพนี้แก่รอบ ท่านแสดงโมหะเป็นต้นในการทำกรรมของผู้มีอายตนะแก่รอบ.
               บทว่า อายตึ ปฏิสนฺธิยา คือ เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในอนาคต.
               บทมีอาทิว่า อายตึ ปฏิสนฺธิ วิญฺญาณํ - ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว.
               ท่านถือเอาอาการ ๒๐ เหล่านี้ด้วยองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เป็นอย่างไร?
               ท่านกล่าวธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้โดยสรุปว่า อวิชฺชา สงฺขารา ดังนี้ว่าเป็นเหตุในอดีต.
               ก็เพราะไม่รู้แจ้งจึงสะดุ้ง, สะดุ้งแล้วย่อมถือมั่น, เพราะการถือมั่นของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ, ฉะนั้นจึงเป็นอันท่านถือเอาแม้ตัณหาอุปาทานและภพ ด้วยการถือเอาธรรมทั้งสอง คืออวิชชาและสังขารเหล่านั้นด้วย.
               ท่านกล่าวถึงวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะและเวทนา ในปัจจุบันโดยสรุป.
               ท่านกล่าวตัณหา อุปาทานและภพว่าเป็นเหตุในปัจจุบัน โดยสรุป,
               ก็เมื่อถือเอาภพแล้วก็เป็นอันถือเอาสังขารทั้งหลายอันเป็นส่วนเบื้องต้นของภพนั้นหรือสัมปยุตด้วยภพนั้น.
               อนึ่ง สังขารทั้งหลายสัมปยุตด้วยภพนั้น ด้วยการถือตัณหาและอุปาทาน.
               อีกอย่างหนึ่ง ท่านถือเอาตัณหาที่คนลุ่มหลงทำกรรมว่า เป็นอวิชชา. ท่านกล่าวธรรมทั้ง ๒ ว่า ชาติชรามรณะในอนาคตโดยสรุป,
               ก็ด้วยการถือเอาชาติชรามรณะนั่นแล จึงเป็นอันท่านถือผลในอนาคต ๕ มีวิญญาณเป็นต้นนั่นเอง.
               เป็นอันท่านถือเอาอาการ ๒๐ ด้วยองค์ ๑๒ แห่งปฏิจจสมุปบาทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ชาติชรามรณานิ ด้วยประการฉะนี้
                                   อตีเต เหตุโย ปญฺจ อิทานิ ผลปญฺจกํ
                                   อิทานิ เหตุโย ปญฺจ อายตึ ผลปญฺจกํ.
                         อาการ ๒๐ แห่งปัจจยาการ คือ ธรรมเป็นอดีตเหตุ ๕ อย่าง
                         ธรรมเป็นปัจจุบันผล ๕ อย่าง ธรรมเป็นปัจจุบันเหตุ ๕ อย่าง
                         ธรรมเป็นอนาคตผล ๕ อย่าง.
               ท่านกล่าวความแห่งคาถานั้นไว้แล้ว,
               บทว่า อิติเม แยกบทเป็น อิติ เม. ปาฐะว่า อิติ อิเม.
               บทว่า จตุสงฺเขเป - มีสังเขป ๔ ได้แก่ มีกอง ๔.
                         ธรรมเป็นเหตุ ๕ อย่างในอดีต เรียกว่าเหตุสังเขป อย่างหนึ่ง.
                         ธรรมเป็นผล ๕ อย่างในปัจจุบัน เรียกว่าผลสังเขป อย่างหนึ่ง.
                         ธรรมเป็นเหตุ ๕ อย่างในปัจจุบัน เรียกว่าเหตุสังเขป อย่างหนึ่ง.
                         ธรรมเป็นผล ๕ อย่างในอนาคต เรียกว่าผลสังเขป อย่างหนึ่ง.
               บทว่า ตโย อทฺเธ ได้แก่ ในกาล ๓.
               อดีตกาล พึงทราบด้วยสามารถปัญจกะ คือ ธรรมหมวด ๕#- ที่ ๑, ปัจจุบันกาลพึงทราบด้วยสามารถปัญจกะที่ ๒ ที่ ๓, อนาคตกาลพึงทราบด้วยสามารถปัญจกะที่ ๔.
____________________________
#- ธรรมหมวด ๕ นี้ คือ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน กรรมภพ.

               บทว่า ติสนฺธึ - สนธิ ๓ ชื่อว่าติสันธิ เพราะอรรถว่ามีปฏิสนธิ ๓, ซึ่งปฏิสนธิ ๓ นั้น.
               อธิบายว่า เหตุผลสนธิอย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่งเหตุอดีตและผลปัจจุบัน, ผลเหตุสนธิอย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่งผลปัจจุบันและเหตุอนาคต, เหตุผลสนธิอย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่งเหตุปัจจุบันและผลอนาคต.
               แต่ด้วยสามารถมาแล้วโดยสรุปใน ปฏิจฺจสมุปฺปาทปาลิ มีดังนี้
               อวิชชา สังขารา เป็นสังเขปที่ ๑.
               วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะและเวทนา เป็นสังเขปที่ ๒.
               ตัณหา อุปาทาน ภพ เป็นสังเขปที่ ๓,
               ชาติ ชรามรณะ เป็นสังเขปที่ ๔.
               องค์ ๒ คือ อวิชชาและสังขาร เป็นอดีตกาล,
               ธรรม ๘ มีวิญญาณเป็นต้น มีภพเป็นที่สุด เป็นปัจจุบันกาล,
               องค์ ๒ คือ ชาติและชรามรณะ เป็นอนาคตกาล,
               เหตุผลสนธิอย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่งสังขารและวิญญาณ, ผลเหตุสนธิอย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่งเวทนาและตัณหา, เหตุผลสนธิอย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่งภพและชาติ.
               บทว่า วีสติยา อากาเรหิ - อาการ ๒๐ ได้แก่ โดยส่วน ๒๐.
               พึงเชื่อมความว่า พระโยคาวจรย่อมรู้ปฏิจจสมุปบาทมีสังเขป ๔ กาล ๓ สนธิ ๓ ด้วยอาการ ๒๐ ดังนี้.
               ชานาตีติ สุตานุสาเรน ภาวนารมฺภญาเณน ชานาติ ฯ
               บทว่า ชานาติ ได้แก่ ย่อมรู้ด้วยญาณ คือการเริ่มภาวนาโดยทำนองเดียวกับสุตะ - การฟัง.
               บทว่า ปสฺสติ ได้แก่ ย่อมเห็นสิ่งที่รู้แล้วด้วยญาณดุจเห็นด้วยตา และทำให้ถูกต้องแล้วดุจมะขามป้อมบนฝ่ามือ.
               บทว่า อญฺญาติ - ย่อมรู้ทั่ว ได้แก่ ทำอาเสวนะโดยอาการที่เห็นแล้ว ชื่อว่าย่อมรู้ด้วยญาณ. ความแห่งศัพท์ว่า มริยาทะ ในที่นี้คืออาการ.
               บทว่า ปฏิวิชฺฌติ - ย่อมแทงตลอด ได้แก่ ให้ถึงความสำเร็จด้วยการบำเพ็ญภาวนา ชื่อว่าทำการแทงตลอดด้วยญาณ.
               อีกอย่างหนึ่ง ย่อมรู้ด้วยสามารถแห่งลักษณะ, ย่อมเห็นด้วยสามารถเป็นไปกับด้วยกิจ, ย่อมรู้ทั่วด้วยสามารถแห่งอาการปรากฏ, ย่อมแทงตลอดด้วยสามารถแห่งปทัฏฐาน
               ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาโท พึงทราบว่า ได้แก่ธรรมเป็นปัจจัย.
               บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา ธมฺมา ได้แก่ ธรรมอันเกิดขึ้นด้วยปัจจัยนั้นๆ.
               หากถามว่า รู้ได้อย่างไร?
               แก้ว่า ด้วยพระพุทธพจน์. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเทศนาสูตรที่บัณฑิตกำหนดด้วยปฏิจจสมุปปาทะและปฏิจจสมุปปันนธรรมว่า
                         กตโม จ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท, ฯเปฯ อยํ
                         วุจฺจติ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปปาโท.๒-
                                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน?
                         เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ, พระตถาคตทรง
                         อุบัติก็ตาม ยังไม่ทรงอุบัติก็ตาม ธาตุนั้นเป็นธรรมฐิติ -
                         ยังตั้งอยู่โดยธรรมดา เป็นธรรมนิยาม - ความแน่นอน
                         อยู่โดยธรรมดา เป็นอิทัปปัจจยตา - ความอาศัยกันเกิด
                         ขึ้นยังคงมีอยู่, พระตถาคตตรัสรู้บรรลุธรรมนั้น, ครั้น
                         ตรัสรู้แล้ว บรรลุแล้ว ทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ
                         ทรงตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงทำให้ง่าย ตรัสว่า
                         พวกเธอจงเห็น ดังนี้.
                                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมี
                         ชราและมรณะ, เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯลฯ เพราะ
                         อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร. พระตถาคตอุบัติก็ตาม ยัง
                         ไม่อุบัติก็ตาม ฯลฯ ย่อมทำให้ง่าย ตรัสว่า พวกเธอจงเห็น
                         ดังนี้.
                                   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึง
                         มีสังขาร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล ความ
                         จริงแท้แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่น ชื่อว่าความที่สิ่งนี้เป็น
                         ปัจจัยของสิ่งนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท.
____________________________
๒- สํ. นิ. เล่ม ๑๖/ข้อ ๖๑

               พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ จึงตรัสว่า ธรรมเป็นปัจจัยนั่นแล ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท โดยไวพจน์มีคำว่า ตถตา - ความเป็นของจริงแท้เป็นต้น. เพราะฉะนั้น ปฏิจจสมุปบาท๓- จึงมีการเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายมีชราและมรณะเป็นต้นเป็นลักษณะ, มีการผูกพันอยู่กับทุกข์เป็นรส, มีการเดินผิดทางเป็นอาการปรากฏ, มีปัจจัยพิเศษของตนเป็นปทัฏฐาน เพราะแม้ตนเองก็มีปัจจัย.
____________________________
๓- มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
    ๑. ชรามรณาทีนํ ปจฺจยลกฺขโณ
    ๒. ทุกฺขานุพนฺธนรโส
    ๓. กุมฺมคฺคปจฺจุปฏฺฐาโน
    ๔. สยมฺปิ สปจฺจยตฺตา อตฺตโน วิเสสปฺปจฺจยปทฏฺฐาโน.

               บทว่า อุปฺปาทา วา อนุปฺปาทา วา ได้แก่ เมื่ออุบัติก็ตาม เมื่อไม่อุบัติก็ตาม.
               อธิบายว่า เมื่อพระตถาคต แม้อุบัติแล้ว แม้ยังไม่อุบัติแล้ว ดังนี้.
               บทว่า ฐิตา ว สา ธาตุ ได้แก่ สภาพของปัจจัยนั้นยังตั้งอยู่.
               อธิบายว่า ในกาลไหนๆ จะไม่มีปัจจัยของชาติชราและมรณะหามิได้เลย.
               บทว่า ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา อิทปฺปจฺจยตา - มีชาติเป็นปัจจัยนั่นเอง. ธรรมเกิดขึ้นเพราะปัจจัยกล่าวคือชราและมรณะ ย่อมตั้งอยู่ได้ เพราะอาศัยธรรมนั้น เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชาติเป็นปัจจัย ย่อมกำหนดธรรมคือชราและมรณะ, เพราะฉะนั้น ชาติ ท่านกล่าวว่า ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา ดังนี้.
               ชาตินั่นแลเป็นปัจจัยของชราและมรณะนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อิทปฺปจฺจโย, อิทปฺปจฺจโย นั่นแล ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา.
               บทว่า ตํ คือ ปัจจัยนั้น.
               บทว่า อภิสมฺพุชฺฌติ คือ ย่อมตรัสรู้ด้วยญาณ.
               บทว่า อภิสเมติ คือ ย่อมบรรลุด้วยญาณ.
               บทว่า อาจิกฺขติ คือ ย่อมกล่าว.
               บทว่า เทเสติ คือ ย่อมแสดง.
               บทว่า ปญฺญาเปติ คือ ย่อมให้รู้.
               บทว่า ปฏฺฐเปติ คือ ย่อมตั้งอยู่ในหัวข้อคือญาณ.
               บทว่า วิวรติ คือ ย่อมทรงเปิดเผยแสดง.
               บทว่า วิภชติ คือ ย่อมทรงจำแนก.
               บทว่า อุตฺตานีกโรติ คือ ย่อมทำให้ปรากฏ.
               บทว่า อิติ โข คือ ด้วยประการฉะนี้แล.
               บทว่า ยา ตตฺร ได้แก่ ความเป็นของจริงแท้แน่นอนไม่แปรผัน ในบทมีอาทิว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณํ. เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ.
               ปฏิจจสมุปบาทนี้นั้น ท่านกล่าวว่า ตถตา - ความจริงแท้ เพราะธรรมนั้นๆ เกิดโดยไม่หย่อนไม่ยิ่งด้วยปัจจัยนั้นๆ,
               ท่านกล่าว อวิตถตา - ความแน่นอน เพราะไม่มี ความไม่เกิดแห่งธรรมที่เกิดจากธรรมนั้น แม้ครู่เดียวในปัจจัยที่เข้าถึงความพร้อมเพรียง,
               ท่านกล่าวว่า อนญฺญถตา - ความไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีธรรมอื่นเกิดขึ้นด้วยปัจจัยแห่งธรรมอื่น,
               ท่านกล่าวว่า อิทปฺปจฺจยตา - ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมนี้ เพราะเป็นปัจจัยแก่ชราและมรณะเป็นต้นเหล่านี้ หรือเพราะเป็นที่รวมปัจจัย.
               ในบทนั้นมีอธิบายคำดังต่อไปนี้
               ปัจจัยแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยา, อิทปฺปจฺจยา นั้นแล ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา.
               อีกอย่างหนึ่ง การรวม อิทปฺปจฺจยา ทั้งหลายชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา. แต่ในที่นี้ พึงทราบลักษณะโดยอรรถแห่งศัพท์.

               จบอรรถกถาธรรมฐิติญาณนิทเทส               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา ธรรมฐิติญาณนิทเทส จบ.
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 07:52:04 pm »


อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
มหาวรรค ๑. ญาณกถา
ธรรมฐิติญาณนิทเทส


               อรรถกถาธรรมฐิติญาณนิทเทส               
               [๙๔] พึงทราบวินิจฉัยในธรรมฐิติญาณนิทเทสดังต่อไปนี้
               ในบทมีอาทิว่า อวิชฺชา สงฺขารานํ อุปฺปาทฏฺฐิติ - อวิชชาเป็นเหตุเกิดแห่งสังขารทั้งหลาย มีอธิบายดังนี้.
               ชื่อว่าฐิติ เพราะอรรถว่าอวิชชาเป็นเหตุตั้งสังขาร.
               ฐิตินั้นคืออะไร? คือ อวิชชา. เพราะว่า อวิชชานั้นเป็นที่ตั้ง คือเป็นเหตุแห่งการเกิดสังขารทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า อุปฺปาทฏฺฐิติ - เป็นเหตุเกิด.
               ชื่อว่า ปวตฺตฏฺฐิติ - เป็นเหตุให้เป็นไป เพราะอรรถว่าเป็นเหตุแห่งความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว.
               อธิบายว่า จริงอยู่ อานุภาพของกิจย่อมมีในขณะชนกปัจจัยเกิดนั่นเองโดยแท้, แต่เพราะความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลายอันชนกปัจจัยนั้นให้เกิด จึงชื่อว่าเป็นเหตุ แม้แห่งความเป็นไปในขณะของตน. อีกอย่างหนึ่ง เป็นเหตุแห่งความเป็นไปด้วยอำนาจสันตติ.
               อนึ่ง บทว่า ปวตฺตํ นี้เป็นภาววจนะลงในนปุงสกลิงค์, เพราะฉะนั้น ปวตฺตํ จึงเป็นอันเดียวกันโดยอรรถว่า ปวตฺติ - ความเป็นไป. แต่เพราะปวัตติศัพท์ปรากฏแล้ว ท่านจึงอธิบายประกอบด้วยบทว่า ปวตฺตํ นั้น.
               ฐิติศัพท์ในความเป็น ไม่มีในที่นี้ เพราะ ฐิติศัพท์ แม้ในภาวะก็สำเร็จได้.
               เพื่อแสดงว่า ฐิติศัพท์เป็นไปในความว่า เหตุ ท่านจึงกล่าวว่า นิมิตฺตฏฺฐิติ.
               อธิบายว่า ฐิติเป็นเครื่องหมายคือเป็นเหตุ. ไม่ใช่เพียงเป็นเครื่องหมายอย่างเดียว ที่แท้พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงความเป็นผู้สามารถในปัจจัยว่า ย่อมประมวลมา ย่อมพยายามเป็น ดุจมีความขวนขวายในการให้เกิดสังขาร จึงกล่าวว่า อายูหนฏฺฐิติ. อธิบายว่า ฐิติเป็นเหตุประมวลมา.
               เพราะอวิชชาให้สังขารเกิดขึ้น ชื่อว่าประกอบในความเกิด. อธิบายว่า พยายาม,
               อวิชชาให้สังขารเป็นไป ชื่อว่าพัวพันในความเป็นไป. อธิบายว่า ผูกพัน.
               ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สญฺโญคฏฺฐิติ - เป็นเหตุประกอบไว้. ปลิโพธฏฺฐิติ - เป็นเหตุพัวพัน. อธิบายว่า เป็นเหตุประกอบ เป็นเหตุกังวล.
               เพราะอวิชชาให้สังขารเกิด ชื่อว่าสมุทัย เพราะอรรถว่าเป็นมูลเหตุแห่งความเกิดและความเป็นไป.
               ชื่อว่า สมุทยฐิติ เพราะเป็นเหตุให้เกิด. อธิบายว่า เป็นมูลเหตุ.
               อวิชชาแล ท่านกล่าวว่า เหตฏฺฐิติ - เป็นเหตุเดิม, ปจฺจยฏฺฐิติ - เป็นเหตุอาศัยเป็นไป เพราะเป็นเหตุเกิดในความเกิดของสังขาร, เพราะเป็นปัจจัยอุปถัมภ์ในความเป็นไป.
               อธิบายว่า ฐิติเป็นเหตุเดิม, ฐิติเป็นเหตุอาศัยเป็นไป ท่านกล่าวชนกปัจจัยเป็นเหตุ, อุปถัมภกปัจจัยเป็นเครื่องอาศัย.
               แม้ในบทที่เหลือก็พึงประกอบอย่างนี้.
               ในบทนี้ว่า ภโว ชาติยา ชาติ ชรามรณสฺส - ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ, ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ.
               ท่านกล่าวถึงบทที่ประกอบด้วยสามารถความเกิดว่า อุปฺปาทฏฺฐิติ สญฺโญคฏฺฐติ เหตฏฺฐิติ โดยปริยาย ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ทั้งหลายมีชาติชราและมรณะ.
               แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาความในบทนี้ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า อุปฺปาทาย ฐิติ อุปฺปาทฏฺฐิติ - เหตุแห่งความเกิด ชื่อว่าอุปปาทัฏฐิติ - เป็นเหตุเกิด.
               บทว่า อวิชฺชา ปจฺจโย - อวิชชาเป็นปัจจัย. ท่านกล่าวเพ่งความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารทั้งหลาย.
               อีกอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงการกำหนดอวิชชานั้นเป็นปัจจัย เพราะความที่แม้อวิชชาก็เกิดเพราะปัจจัย ท่านจึงกล่าวว่า อุโภเปเต ธมฺมา ปจฺจยสมุปฺปนฺนาติ ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺญา - ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ธรรมแม้ทั้งสองอย่างนี้ก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย.
               แม้ในบทที่เหลือก็พึงประกอบอย่างนี้.
               ส่วนบทว่า ชาติ ปจฺจโย, ชรามรณํ ปจฺจยสมุปฺปนฺนํ - ชาติเป็นปัจจัย, ชราและมรณะต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ท่านกล่าวไว้โดยปริยาย.
               บทว่า อตีตมฺปิ อทฺธานํ ได้แก่ กาลที่ล่วงไปแล้ว.
               บทว่า อนาคตมฺปิ อทฺธานํ ได้แก่ กาลที่ยังไม่มาถึง.
               แม้ในบททั้งสองก็เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ คือใช้อายตนิบาตว่า สิ้น.
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 07:19:53 pm »

อนุโมทนาค่ะ พี่แป๋ม

 :13:

ป.ล. ภาพประกอบภาพแรกสวยงามมากค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 05:26:23 pm »


                   

ธรรมฐิติญาณนิทเทส
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ ข้อ [๙๔] ถึง [๙๘]
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

             [๙๔] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณอย่างไร ปัญญา
ในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นเหตุเกิด เป็นเหตุให้เป็นไป เป็นเหตุ
เครื่องหมาย เป็นเหตุประมวลมา เป็นเหตุประกอบไว้ เป็นเหตุพัวพัน
เป็นเหตุให้เกิด เป็นเหตุเดิม และเป็นเหตุอาศัยไปแห่งสังขาร ด้วยอาการ ๙
ประการ
อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้
ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
             ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี
อวิชชาเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งสังขารด้วยอาการ ๙ ประการ
ประการนี้ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้
ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
             ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัย
เป็นไปแห่งวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไป
แห่งนามรูป ... นามรูปเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งสฬายตนะ
... สฬายตนะเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งผัสสะ ... ผัสสะ
เป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งเวทนา ... เวทนาเป็นเหตุเกิด
... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งตัณหา ... ตัณหาเป็นเหตุเกิด ... และ
เป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งอุปาทาน ... อุปาทานเป็นเหตุเกิด ... และ
เป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งภพ ...  ภพเป็นเหตุเกิด ... และเหตุอาศัยเป็นไปแห่ง
ชาติ ... ชาติเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งชราและมรณะ ...

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็นเหตุ
เกิด เป็นเหตุให้เป็นไป เป็นเครื่องหมาย เป็นเหตุประมวลมา เป็นเหตุประกอบ
ไว้ เป็นเหตุพัวพัน เป็นเหตุให้เกิด เป็นเหตุเดิม และเป็นเหตุอาศัยเป็นไป
แห่งชราและมรณะ ด้วยอาการ ๙ ประการนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะ
เกิดแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ

             [๙๕] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุ
เกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
             ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี
อวิชชาเป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุ
ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
             ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเกิดขึ้นแต่เหตุ
... วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเกิดขึ้นแต่เหตุ ... นามรูปเป็นเหตุ สฬายตนะ
เกิดขึ้นแต่เหตุ ... สฬายตนะเป็นเหตุ ผัสสะเกิดขึ้นแต่เหตุ ... ผัสสะเป็น
เหตุ เวทนาเกิดขึ้นแต่เหตุ ... เวทนาเป็นเหตุ ตัณหาเกิดขึ้นแต่เหตุ ... ตัณหา
เป็นเหตุ อุปาทานเกิดขึ้นแต่เหตุ ... อุปาทานเป็นเหตุ ภพเกิดขึ้นแต่เหตุ ...
ภพเป็นเหตุ ชาติเกิดขึ้นแต่เหตุ ... ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นแต่เหตุ
แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุ ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
             ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็น
เหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นแต่เหตุ แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุ ดังนี้
เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

             [๙๖] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขาร
อาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรม
ฐิติญาณ ฯ
             ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี
อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัย
ปัจจัย
เกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
             ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารอาศัยปัจจัยเป็นไป วิญญาณอาศัย
สังขารเกิดขึ้น วิญญาณอาศัยปัจจัยเป็นไป นามรูปอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นามรูป
อาศัยปัจจัยเป็นไป สฬายตนะอาศัยนามรูปเกิดขึ้น สฬายตนะอาศัยปัจจัยเป็นไป
ผัสสะอาศัยสฬายตนะเกิดขึ้น ผัสสะอาศัยปัจจัยเป็นไป เวทนาอาศัยผัสสะเกิด
ขึ้น เวทนาอาศัยปัจจัยเป็นไป ตัณหาอาศัยเวทนาเกิดขึ้น ตัณหาอาศัยปัจจัยเป็นไป
อุปาทานอาศัยตัณหาเกิดขึ้น อุปาทานอาศัยปัจจัยเป็นไป ภพอาศัยอุปาทานเกิดขึ้น
ภพอาศัยปัจจัยเป็นไป ชาติอาศัยภพเกิดขึ้น ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและ
มรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็น
ธรรมฐิติญาณ ฯ
             ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติ
อาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัย
ปัจจัย
เกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

             [๙๗] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้น
เพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
             ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้น
เพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
             ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัย นามรูปเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดขึ้น
เพราะปัจจัย ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดขึ้นเพราะปัจจัย อุปาทานเป็นปัจจัย
ภพเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ภพเป็นปัจจัย ชาติเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ชาติเป็นปัจจัย
ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย
ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
             ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติ
เป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้น
เพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

             [๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น
สังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์ เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้
ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ

ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา
ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย
ในภพนี้สุดรอบ
ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
ในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็น
อายตนะ
ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประ-
*การในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
*โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ

                          

 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๑๑๓๐ - ๑๒๑๘.  หน้าที่  ๔๖ - ๕๐.
 :http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=1130&Z=1218&pagebreak=0