ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 10:28:10 pm »

ขอบคุณนะค่ะคุณหนุ่ม  :46:

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 10:07:33 pm »

ไปบอก ลาตาย อ่า

หลายๆคนก็จะดี ดีใจ ไม่เสียมรรยาท ด้วยอ่า

 :25: :25: :25:

สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ

ควรรู้แก่ใจตนเองนะครับ

ชีวิตคนเราสั้นจริงๆ  อยากให้น้องต๊ะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม

ด้วยความเป็นห่วง
พี่หนุ่ม

.

ขอบคุณครับ คุณพี่หนุ่ม ที่แสดงธรรมคู่ปรับให้น้องต๊ะฟัง

สิ่งที่ควร และสิ่งที่ไม่ควร
น้องต๊ะเคยเรียนมาแย้ว

 :02: :02: :02:


ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 09:18:29 am »

ไปบอก ลาตาย อ่า

หลายๆคนก็จะดี ดีใจ ไม่เสียมรรยาท ด้วยอ่า

 :25: :25: :25:

สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ

ควรรู้แก่ใจตนเองนะครับ

ชีวิตคนเราสั้นจริงๆ  อยากให้น้องต๊ะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม

ด้วยความเป็นห่วง
พี่หนุ่ม

.
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 09:13:55 am »

ไปบอก ลาตาย อ่า

หลายๆคนก็จะดี ดีใจ ไม่เสียมรรยาท ด้วยอ่า

 :25: :25: :25:

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 09:00:39 pm »

 :13: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม อ่านแล้วได้แง่คิดมากครับ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 08:22:28 pm »

ศิลปะการตัดบท-ยุติ-หลีกเลี่ยง-บอกลา โดยไม่เสียมารยาท! 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
21 กันยายน 2554 11:56 น.

By Lady Manager
       
       เมื่อยามต้องสังสรรค์พบปะผู้คน หรือแม้กระทั่งเจอเพื่อนเก่าระหว่างเดินอยู่กลางถนน เมื่อหยุดทักพูดคุยกันพอหอมปากหอมคอแล้ว ยามถึงคราจะเอ่ยคำลา หลายคนอึดอัดใจ ไม่รู้จะพูดตัดบท หรือปิดท้ายบทสนทนาอย่างไรให้ดูดี และมีมารยาท
       
       โอกาสนี้เราจึงขอนำเสนอศิลปะการเอ่ยคำอำลาจาก 7 สถานการณ์ใกล้ตัว มาเสนอไว้เป็นแนวทาง ให้คุณๆ ได้นำไปปรับใช้ เพื่อให้การบอกลา หรือยุติบทสนทนาของคุณ ไม่ทำร้ายจิตใจผู้ฟัง แถมยังช่วยให้คุณดูดีมีมารยาท สร้างความประทับใจให้กับใครต่อใครได้อีกต่างหาก

   
       สถานการณ์1 : รับประทานอาหารกับเพื่อน
       
       “หากคุณมีนัดรับประทานอาหารกับเพื่อน แล้วปรากฎว่ามีธุระด่วนต้องรีบไป แต่มันคือ หน้าที่ของคุณต้องร่วมรับประทานอาหารกับเพื่อนอย่างยิ้มแย้มก่อน” K. Cooper Ray ผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทแห่งเว็บไซต์ SocialPrimer ให้คำแนะนำ ถึงมารยาทในการรับประทานอาหารกับเพื่อน ว่าหากไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย เมื่อนัดแนะกับเพื่อนแล้วคุณก็ควรทานอาหารด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมานั่งหน้าเซ็งเหมือนอยากจะขอตัวกลับอยู่ตลอดเวลา
       
       กระทั่งกินอาหารกันจนอิ่มหนำนั่นหล่ะคือ โอกาสดีที่คุณจะสามารถแสดงทีท่าขอตัวกลับได้ และสิ่งหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เพื่อนเห็นว่า คุณอยากจะลุกจากโต๊ะอาหารแล้วคือ การที่คุณหยิบกระเป๋าสตางค์ออกมา พร้อมวางแผนการชำระเงิน ซึ่งช่วงเวลาทองที่คุณทำท่าหยิบเงินในกระเป๋าสตางนี่แหละคือจังหวะเหมาะที่คุณจะพูดคุย และบอกเหตุผลในการที่คุณต้องรีบกลับ
       
       "การให้เหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมคุณต้องรีบกลับคือสิ่งที่ดีที่สุด” ผู้เชี่ยวชาญ Ray ระบุ พร้อมแนะนำว่า ช่วงเวลาเหมาะที่สุดที่คุณจะหยิบกระเป๋าสตางค์ออกมาเป็นเวลาที่พนักงานเสิร์ฟเข้ามาถามว่าจะรับขนมหวาน หรือเครื่องดื่มชนิดใดเพิ่มเติมหรือไม่ เมื่อปฏิเสธที่จะรับขนมและเครื่องดื่มเพิ่มแล้ว คุณก็หยิบกระเป๋าสตางค์ออกมาได้เลย ทั้งแนบเนียนและจริงใจแบบนี้ รับรองเพื่อนสาวไม่มีเคืองแน่

   
       สถานการณ์2 : เป็นผู้นำการประชุม
       
       "ความผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดคือ ไม่มีการกำหนดวาระการประชุมเอาไว้อย่างเคร่งครัด” Dorothea Johnson ผู้ก่อตั้งสถาบันอบรมด้านมารยาท และการสื่อสารแห่งเมือง Washington ระบุ
       
       เป็นที่ทราบกันดี ว่าการประชุมแบบไม่มีกรอบเวลากำหนด ต้องนั่งประชุมไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าจะจบสิ้นเวลาใด มันน่าอึดอัดใจขนาดไหน ฉะนั้นผู้เชี่ยวชาญ Johnson จึงแนะว่า ก่อนเริ่มประชุมควรมีการกำหนดกรอบเวลาในการประชุมให้ชัดเจน เช่น หากคุณเป็นผู้นำการประชุม ก็ควรจะบอกกับผู้ร่วมประชุมด้วยน้ำเสียงที่เป็นกันเองว่า
       
       ‘ขณะนี้เวลา 16.00 น. เป็นเวลาที่เราเริ่มประชุม และจะสิ้นสุดการประชุมในเวลา 17.00 น. หลังเสร็จสิ้นการประชุมแล้วเชิญรับประทานอาหารว่างที่จัดเตรียมไว้ด้วยนะคะ’
       
       ทว่าหากเกินระยะเวลาที่กำหนดมานานมากแล้ว แต่การประชุมยังไม่มีทีท่าว่าจะได้ข้อสรุปหรือสิ้นสุดเสียที ก็ต้องถึงคราวขอยุติการประชุมอย่างมีมารยาท
       
       “ก่อนจะขอเลื่อนการประชุมไปทำการประชุมต่อในครั้งหน้า ควรมีการสอบถามก่อนว่าผู้เข้าร่วมประชุมมีข้อข้องใจในประเด็นที่ได้คุยกันจบไปแล้วหรือไม่ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า ทุกคนในที่ประชุมเข้าใจตรงกันแล้ว และเมื่อมาสานต่อการประชุมในครั้งหน้าจะได้ราบรื่น” Johnson แนะนำ
       
       และแน่นอน หลังทำความเข้าใจตรงกันแล้ว เพื่อเป็นมารยาทที่งดงาม อย่าลืมเอ่ยคำลาที่มีมารยาทเพิ่มเติมไปอีกนิดว่า ‘ดิฉันขอขอบคุณสำหรับการประชุมที่มีประสิทธิผลในครั้งนี้ ขอบคุณที่ทุกคนร่วมมือเป็นอย่างดีนะคะ’

   
       สถานการณ์3 : พบเพื่อนไม่สนิทในงานเลี้ยง
       
       มันคงจะดีไม่น้อย ถ้าคุณบังเอิญไปเจอเพื่อนที่ไม่สนิทนักในงานเลี้ยง แล้วคุณจะรู้ได้ว่า เมื่อพูดคุยกันแล้ว จังหวะไหนที่คุณควรจะเอ่ยคำร่ำลา หรือเมื่อไหร่ที่เพื่อนของคุณเริ่มไม่อยากสนทนาแล้ว หากดึงดันชวนเขาคุยต่อ แทนที่สัมพันธ์จะแน่นแฟ้นขึ้น คุณอาจถูกตีตัวออกห่าง กลายเป็นคนน่ารำคาญในสายตาของอีกฝ่ายก็เป็นได้
       
       Cooper Ray ผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทแห่งเว็บไซต์ SocialPrimer แนะนำว่า “หากคุณเรียนรู้ที่จะพูดคุยอย่างพอเหมาะ และบอกลาได้อย่างมีมารยาท คุณจะกลายเป็นคนที่วางตัวดี และประสบความสำเร็จในการเข้าสังคม
       
       และการที่จะรู้ได้ว่า ความพอเหมาะอยู่ตรงไหนก็คือ การที่คุณจะต้องหมั่นสังเกตผู้ร่วมสนทนาให้ดี คู่สนทนาของคุณดูกระวนกระวายใจมั้ย? แววตาของเขาดูกำลังลำบากใจหรือเปล่า? ถ้าคู่สนทนามองลงมาต่ำกว่าไหล่ของคุณ (เริ่มไม่มองหน้าคุณ) นั่นเป็นนัยแล้วล่ะว่า คู่สนทนาของคุณต้องการจะยุติบทสนทนา ดังนั้นคุณควรรีบเอ่ยคำอำลาแบบมีมารยาทปิดท้าย
       
       เช่น ‘ดีใจมากค่ะที่ได้พบกัน หวังว่าคงได้เจอกันอีกเร็วๆ นี้นะคะ’
       
       นอกจากนั้นหากคุณอยู่ในมุมที่สะดวกจะหยิบเครื่องดื่ม อย่าลืมหยิบแก้วให้คู่สนทนา แล้วดื่มร่วมกันเพื่อเป็นการอำลาแบบมีมิตรภาพอีกสักหน่อย

   
       สถานการณ์4 : ตัดบท-บอกลาเพื่อนขาเม้าท์
       
       เมื่อคุณต้องเจอกับเพื่อนร่วมงานช่างเม้าท์ ชวนคุยนู้นคุยนี่ ทั้งเรื่องละครหลังข่าว หมาที่บ้านบ้า -แมวที่บ้านป่วย ...มากมายไปหมด
       
       มันก็ดีหรอกนะที่จะได้สานสัมพันธ์ด้วยการพูดคุยกันอย่างออกรส แต่ถ้าคุณบังเอิญมีงานต้องรีบทำ จะมัวมาเม้าท์มอยอยู่คงไม่ไหว เดี๋ยวงานไม่เสร็จกันพอดี ครั้นจะบอกลาตัดบท ก็กลัวเพื่อนจะเคือง
       Patricia Rossi ผู้สอนด้านมารยาทการสื่อสาร และผู้เขียนหนังสือ Everyday Etiquette แนะนำคำพูดที่จะช่วยให้คุณเลี่ยงการพูดคุย และล่ำลาได้อย่างไม่น่าเกลียด เช่น
       
       ‘จริงๆ อยากรู้เรื่องนี้ต่อนะ แต่ตอนนี้ต้องรีบกลับไปทำงานก่อน ไว้หลังเลิกงานมาคุยกันต่อนะ’
       
       แต่หากเพื่อนของคุณกำลังอยู่ในสภาวะเศร้าโศกเสียใจ เช่นโดนเจ้านายตำหนิ แล้วอยากปรึกษา ปรับทุกข์กับคุณเดี๋ยวนั้น การปฏิเสธที่จะพูดคุยกับเพื่อน อาจดูเป็นเรื่องที่ทำร้ายจิตใจเพื่อนมากเกินไป เราแนะนำให้คุณปลอบโยนสั้นๆ สักเล็กน้อย ก่อนพูดให้เธออดทน แล้วใช้ประโยคชักชวนในทำนองที่ว่า มื้อกลางวัน หรือช่วงเย็นหลังเลิกงาน ค่อยมาพูดคุยกันแบบเต็มๆ ดีกว่า

   
       สถานการณ์5 : บอกลาคู่เดทที่คุณไม่ประทับใจ
       
       เมื่ออกเดทกับหนุ่มครั้งแรก แล้วคุณต้องพบกับสภาวะความอึดอัดใจ คุยโทรศัพท์-บีบีคุยกันก็โอเค
       
       แต่พอมาเที่ยวด้วยกันแล้วไม่ใช่สเปก มันน่าอึดอัดไปหมด แต่จะปฎิเสธอย่างไร จะลุกจากโต๊ะอาหาร หรือออกจากโรงหนังทันทีก็ใช่ที่
       
       สำหรับสถานการณ์นี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทแห่งเว็บไซต์ SocialPrimer แนะนำว่า หากคุณเริ่มรู้สึกอึดอัดใจ อยากขอตัวกลับแล้ว แต่ไม่อยากให้ดูน่าเกลียด หรือทำให้คู่เดทเสียหน้าจนเกินไป ควรเลือกใช้คำพูดในทำนองที่ว่า
       
       ‘พรุ่งนี้ฉันมีประชุมเช้าน่ะคะ’ พูดประโยคสั้นแค่นี้ อีกฝ่ายก็น่าจะเข้าใจแล้วล่ะว่าคุณหมายถึงขอตัว อยากกลับบ้านเต็มที

   
       สถานการณ์6 : ร่วมงานเลี้ยงกับผู้อาวุโส
       
       เมื่อคุณถูกเชิญให้ไปร่วมรับประทานอาหาร, งานเลี้ยงของญาติผู้ใหญ่ หรือผู้มีอาวุโส สิ่งสำคัญยิ่งคือ การกำหนดกรอบเวลาในการเดินทางกลับไว้ให้ชัดเจน เพราะถือเป็นอีกมารยาทสำคัญที่จะทำให้การไปรับประทานอาหารของคุณไม่เป็นการรบกวนท่านมากเกินไป .... จะมาทานชิลล์ๆ นั่งยาวๆ แบบไปกินเลี้ยงบ้านเพื่อนคงไม่เหมาะนัก
       
       ดังนั้นควรกำหนดเวลาให้ชัดเจนสักหน่อย เช่น หากคุณคิดว่าจะอยู่ร่วมรับประทานอาหาร และร่วมดื่มอีกเล็กน้อย ตั้งใจว่าจะออกจากงานในเวลา 22.00 น. คุณก็ควรจะแจ้งกับเจ้าภาพเอาไว้อย่างนั้น
       
       และเมื่อถึงเวลาต้องขอตัวกลับอย่าลืมกล่าวร่ำลากันตามธรรมเนียม เช่น หญิงไทยเราก็ต้องยกมือไหว้สวัสดี พร้อมกับขอบคุณและกล่าวชื่นชมการต้อนรับของท่านผู้ใหญ่ เช่น ‘มื้อนี้เป็นอาหารที่อร่อยมาก ดิฉันรู้สึกอบอุ่นมากค่ะ’

   
       สถานการณ์7 : พบอดีตเพื่อนร่วมงาน
       
       หากบังเอิญคุณเจอกับเพื่อนร่วมงานที่บริษัทเก่าระหว่างเดินอยู่ริมถนนที่ไหนสักแห่ง การจะแกล้งทำเป็นมองไม่เห็น เดินเลยผ่านไปอาจเป็นเรื่องที่ไม่ดีนัก เพราะเพื่อนถึงแม้จะห่างกันไปก็ยังเป็นเพื่อนกันได้ ไม่เห็นต้องเลิกคบเพื่อนเมื่อยามเปลี่ยนงานซักหน่อย
       
       ดังนั้นยิ้มกว้างทักทายไปเลยค่ะ และข้อสำคัญคือ คุณต้องหยุดเดิน แล้วสนทนากับเพื่อนสักครู่ เพื่อเป็นการแสดงให้อดีตเพื่อนร่วมงานรับรู้ ว่าคุณให้ความสำคัญ และตั้งใจจะทักทายเขาด้วยใจจริง
       
       ทว่าบทสนทนาที่คุณจะซักถาม ไม่ควรเป็นเรื่องยืดยาวเกินไป ที่สำคัญ ควรเป็นคำถามง่ายๆ ที่ผู้ถูกถามไม่จำเป็นต้องใช้เวลาคิดนานนัก อาจเป็นคำถามสั้นๆ เช่น สบายดีหรือเปล่า ตอนนี้ทำงานที่ไหนแล้ว.... รับรู้แค่ชื่อบริษัท หรือสารทุกข์สุขดิบเล็กๆ น้อยๆ แล้วเอ่ยคำร่ำลาสั้นๆ เช่น
       
       ‘มีโอกาสคงได้พบกันอีกนะ’ เท่านี้ก็เพียงพอต่อการสร้างมิตรภาพที่ดีให้ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของอดีตเพื่อนร่วมงาน ซึ่งนานๆ จะเจอกันสักทีแล้วล่ะ
       
       เรียบเรียงจากวูเมนเดย์ดอทคอม

http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9540000120224


.