ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 26, 2011, 05:43:32 am »



“การเป็นคนที่มีคุณภาพ” กับสังฆราชาฯ ชกจูร์ ลิงปะ แห่งเนปาล

    เมื่อไม่นานมานี้ มีการจัดบรรยายธรรมหัวข้อ “โพธิจิต หนทางสู่การตรัสรู้”  โดย สมเด็จพักชก รินโปเช (Phakchok Rinpoche) สังฆราชาแห่งสายปฏิบัติชกจูร์ ลิงปะ (Chok Gyur Lingpa Lineage) แห่งนิกายญิงมาปะ (Nyingma School of Early Translation) ซึ่งเป็นนิกายโบราณของพุทธศาสนาวัชรยาน ท่านสืบเชื้อสายมาจาก ชกลิง ริมโปเช (His Eminence Chokling Rinpoche) และ ดีเชน ปาลดรอน (Dechen Paldron) ที่ประเทศเนปาล และได้เดินทางเผยแผ่พุทธศาสนาในหลายๆ ประเทศ ซึ่งมีเอกลักษณ์ในการถ่ายทอดคำสอนคือ ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย สอดแทรกอารมณ์ขัน ด้วยท่านเป็นชาวเนปาลการบรรยายจึงใช้ภาษาอังกฤษและแปลเป็นภาษาไทยโดย ภิกษุณีธัมมนันทา แห่งวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม


    สำหรับการบรรยายธรรม ท่านได้พูดถึงเรื่อง “การเป็นคนที่มีคุณภาพ” ซึ่งอธิบายไว้ว่า สิ่งแรกเลยที่ต้องทำ คือการเป็นผู้ให้ ไม่ได้หมายถึงการให้เฉพาะวัตถุทานเท่านั้น แต่รวมถึงการให้คำปรึกษา การให้เวลาทั้งแก่ครอบครัว เพื่อน หรือคนรอบข้าง โดยที่ไม่หวังผลตอบแทน ท่านยังได้เล่าต่อว่า “เมื่อก่อนเราเป็นคนขี้โมโห และมีความคิดอยากแก้แค้น แต่ตอนนี้สามารถจัดการความรู้สึกของตัวเองได้โดยใช้ความอดทน จนเอาชนะความโมโหของตนเองได้ เพราะฉะนั้นเราเชื่อว่าทุกคนสามารถใช้ความอดทนระงับความโกรธได้ เพราะความโกรธไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา หรือไม่ได้ทำให้คนอื่นมีความสุขมากขึ้น ทั้งยังเป็นการทำร้ายตัวเองด้วย”

    นอกจากการเป็นผู้ให้และมีความอดทนแล้ว การเป็นคนที่มีความสมบูรณ์จะต้องขยันไม่ขี้เกียจ เพราะถ้ามัวแต่ไหว้พระขอพรช่วยให้ประสบความสำเร็จ แต่ไม่ลงมือทำ พระก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้  และท่านยังเน้นว่า “ในความขยันหมั่นเพียรของเรานั้นให้ตั้งใจอยู่ในความคิดที่เป็นกุศล ตั้งใจเป็นกุศล เพื่อประโยชน์ของตัวเอง และประโยชน์ของผู้อื่น”

    อีกทั้งต้องฝึกจิตให้มีสมาธิ ไม่วอกแวก “ สมัยที่ยังเด็ก เราเป็นคนใจดีที่มีความอดทน  มีความขยันหมั่นเพียร มีวินัย แต่ซนเหมือนลิงไม่มีสมาธิ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำคือ การฝึกสมาธิ  ฝึกคิดและมองปัญหาได้หลายทิศทาง โดยใช้ปัญญาของพุทธะทำความเข้าใจเรื่องราวรอบข้างได้ รวมไปถึงต้องมีความกรุณาต่อคนอื่นด้วย

    ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานั้น ต้องหมั่นตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ ว่าเรามีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ ถ้ามีครบไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใดก็จะเป็นคนที่สมบูรณ์ นี่คือบางส่วนจากการบรรยายธรรม “โพธิจิต หนทางสู่การตรัสรู้” จากพระอาจารย์ชื่อดัง หนึ่งในการบรรยายธรรม
โครงการปฏิบัติธรรมนำสมัย
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 10:15:05 pm »

 ชีวืตไก่ น่าสงสาร อ่า
บาปกรรม บาปกรรม

 :30: :30: :30:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 06:34:14 pm »



ส่องโลกพระพุทธศาสนาในเมืองจีน กับพระมหาสมบูรณ์ วุฑฒิกโร
และ อาจารย์เศรษฐพงษ์ จงสงวน

     “พระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นนิกายใดก็ตามจะมีหลักการพื้นฐานที่เหมือนกันอย่างหนึ่งก็คือว่า มีเป้าหมายเดียวกัน ต้องการสอนให้มนุษย์ในโลกนี้รู้จักปัญหาความทุกข์ของตนเองว่า คืออะไร รู้จักชีวิตของตนเองก่อน”

     พระมหาสมบูรณ์ วุฑฒิกโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม รองคณะบดีบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวในงานเสวนาพิเศษหัวข้อ “เอกลักษณ์พุทธศาสนาแบบจีน” ของโครงการ “เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ” โดยมีอาจารย์เศรษฐพงษ์  จงสงวน นักค้นคว้าด้านวัฒนธรรมจีนร่วมเสวนา

     พระมหาสมบูรณ์ อธิบายให้ฟังว่า พระพุทธศาสนาที่เราได้ยินกันในปัจจุบันนี้ก็ล้วนเกิดขึ้นจากเหตุผลต่างๆ นาๆมักจะมีประเพณีที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ยังมีหลักพื้นฐานที่เหมือนกันก็คือ “ต้องการสอนให้มนุษย์ทุกคนในโลกนี้รู้จักกับปัญหาความทุกข์ว่าคืออะไร ทำไมเราถึงมีความทุกข์ และเราจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร”

     ด้านอาจารย์เศรษฐพงษ์ จงสงวน ได้เล่าถึงวิวัฒนาการพุทธศาสนาในจีน 3 ยุคไว้ว่า ยุคที่หนึ่งเป็นยุคที่คนจีนยังไม่รู้จักพุทธศาสนา คือในช่วงราชวงศ์ฮั่นจนถึงสามก๊ก พุทธศาสนาที่เข้าไปในช่วงแรกนั้นยังคงต้องอาศัยวัฒนธรรมจีนเดิม หรือความเชื่อของคนจีนเป็นพื้นฐาน แต่ต่อมาในช่วงราชวงศ์ฮั่นความเชื่ออย่างนี้เริ่มจะรวมกันเป็นความเชื่อลักษณะเป็นกลุ่มก้อน คนจีนในยุคแรกเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าเป็นเทพเจ้าจากอินเดียขณะที่มีพระที่บวชอยู่ในประเทศอินเดียบอกว่า

     “พระพุทธเจ้านั้นเป็นศาสดาเป็นผู้ค้นพบพระธรรม ไม่ใช่เป็นเทพเจ้าอย่างที่ท่านเข้าใจ”

     จนกระทั่งมาถึงยุคหลังสามก๊กก็ปรากฏว่าเริ่มมีพระที่มาเผยแพร่พระธรรมแต่ก็ มีจำนวนไม่มากนักพอเวลาผ่านมาไม่นานก็เริ่มมีพระเข้ามาเผยแพร่พระธรรมมาก ขึ้นเรื่อยๆ

     “พอมาถึงยุคที่สองเป็นยุคที่พระพุทธศาสนาเริ่มวางรากฐานลงไป ตั้งแต่ราชวงศ์จิ้นก็เริ่มมีการแปลคัมภีร์และก็เริ่มพยายามที่จะทำความเข้าใจในเรื่องของธรรมะมากขึ้น คนจีนเริ่มศึกษาและออกบวชเป็นพระในประเทศจีน”

     อาจารย์เศรษฐพงษ์  จงสงวน อธิบายอีกว่า ในประเทศจีนมีวัดที่เก่าแก่มีอายุกว่า 2000 ปี วัดนี้ถือเป็นวัดพุทธศาสนาแห่งแรกในประเทศจีน นั่นก็คือ “วัดม้าขาว” ซึ่งในปัจจุบันวัดม้าขาวนี้ก็ตั้งอยู่ที่เมือง    ล๊กเอี๋ยง หรือ ลั่วหยาง วัดม้าขาวนี้ได้มีการบูรณะกันอยู่หลายครั้งหลายคราว

จนมาถึงยุคที่สาม ตั้งแต่ปลายของยุคราชวงศ์เหนือใต้จนถึงยุคหลังจะเห็นว่าคนจีนมีการมองพุทธศาสนาใหม่ แต่ก็ยังคงมีคำถามว่า “พระพุทธศาสนาให้ประโยชน์อะไรไหม” และแล้วก็ได้คำตอบที่ว่า พระพุทธศาสนานั้นได้ให้ประโยชน์ ก็คือพระพุทธศาสนาสั่งสอนให้ประชาชนคนเป็นคนดี มีศีลธรรม และที่สำคัญพระไม่มีลักษณะที่ดื้อต่อการปกครอง

     ในตอนสุดท้าย อาจารย์เศรษฐพงษ์  จงสงวน ทิ้งท้ายว่า พระพุทธศาสนาไม่ว่าศาสนาใดก็ตามจะแตกต่างกันแค่เปลือกนอกผิวเผินเท่านั้นในรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณี แต่สาระสำคัญที่มีร่วมกันของพระพุทธศาสนาในทุกๆยุค ทุกๆราชวงศ์นั้นก็คือ

     “เพื่อที่จะบอกมวลมนุษย์ทั้งหลายให้รู้ว่าชีวิตของเขาเป็นทุกข์อย่างไร มีปัญหาความทุกข์อย่างไร แล้วเราจะหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างไร จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร”

จากการฟังการเสวนาธรรมในหัวข้อเรื่อง “เอกลักษณ์พุทธศาสนาแบบจีน” แล้วก็ได้ความรู้และได้ข้อคิดที่เราทุกคนสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

     “เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ” เป็นโครงการปฏิบัติธรรมนำสมัยซึ่งจัดโดย บมจ.ซีพีออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย ดำเนินโครงการมาเป็นเวลากว่า 15 ปี เพื่อให้พนักงานและประชาชนทั้งในแถบสีลม บริเวณใกล้เคียง ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมทำวัตร สวดมนต์ ฟังธรรม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในทุกๆ วันศุกร์ เวลา 11.30-13.25 น. ชั้น 11 ซีพี ทาวเวอร์

 :13: :http://cpall.co.th/contentlv3.aspx?mnu=th&ctlv1=4&ctlv2=367403ec-de46-4230-8267-8f0349285fe8&ctlv3=051a370a-0711-4a2e-8746-fac1344151a9&ctst=False