ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2011, 10:15:38 am »เรื่องจริต ๖ โดย หลวงปู่ตื้อ
หลวงปู่ตื้อท่านเมตตามาสอนต่อ เรื่องจริต ๖ มีความสำคัญดังนี้
๑. การโมโหจนลืมตัวนั้นโง่หรือฉลาด
เบียดเบียนตนเอง ทำร้ายตนเองหรือเปล่า เมื่อรู้ว่าโง่แล้ว ทีหลังอย่าทำ
ให้คิดไว้เสมอว่า กรรมใครกรรมมัน กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ
หากเราไม่เคยทำกรรมนี้ไว้ก่อนในอดีต วิบากกรรมนี้ก็ไม่เกิดขึ้นกับเราในปัจจุบัน
หากพวกเจ้าเข้าใจ กฎของกรรมอันเป็นอริยสัจขั้นสูง ซึ่งเที่ยงเสมอ
และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย ก็จงหยุดต่อกรรมลงแค่นี้
ยอมรับนับถือกฎของกรรม สร้างอโหสิกรรมให้เกิดขึ้นในจิต สร้างอภัยทานให้เกิดในจิต "
๒. " อยากไปพระนิพพาน ก็ต้องไม่ติดอะไรทั้งนั้น ดี-เลว, ติดสี, ติดรส,
ติดสถานที่, ติดร่างกายของครูบาอาจารย์ ซึ่งไม่เที่ยงทั้งสิ้น
อะไรที่เข้ามากระทบทางทวารทั้ง ๖ หรืออายตนะ ๖ ต้องวางให้ได้ รู้อารมณ์ตามจริต
ที่เกิดให้ได้ ศึกษากรรมฐาน แก้ให้ดีๆ ต้องคล่องจริงๆ จึงจะชนะอารมณ์ตามจริตได้ "
๓. '' ขี้เกียจเป็นอารมณ์หลง เมื่อรู้แล้วว่ามันไม่ดี ก็จงอย่าทำจิตให้อยู่ในอารมณ์ขี้เกียจซิ
การตำหนิกรรมผู้อื่น เท่ากับเราไปยึด เอากรรมของเขามาไว้ที่ใจเราแทน
เราว่าเขาขี้เกียจ ก็หมายความว่าเราไปยึดเอาตัวขี้เกียจของเขามาไว้ที่จิตของเรา
หรือเอาอุปาทานของเขามาเป็นอุปทานของเรา เหมือนในกรณีเรื่องคนจับปลาสวาย
เราไปว่าเขาบ้า เราเลยไปเอาความบ้าจากเขามาไว้ที่ใจเรา
เราไปว่าเขาทะลึ่ง เราก็ไปเอาความทะลึ่งของเขามาไว้ที่ใจเรา การตำหนิกรรมให้ผลอย่างนี้''
๔. '' คนขี้เกียจ ทำงานใดๆ ก็ไม่สำเร็จ ปฏิบัติธรรมใดๆ ก็ไม่สำเร็จ
คนจะไปนิพพานนั้นขี้เกียจไม่ได้ แม้เห็นคนอื่นเขาขี้เกียจ แล้วนึกตำหนิกรรม
ของเขา
ก็เท่ากับไปยกเอาความขี้เกียจเขามาไว้ในจิตของเรา เพราะเห็นอารมณ์หลง (โมหะ) เป็นของดี
ยกตัวอย่าง เช่น เห็นถังขยะเต็ม แต่ผู้มีหน้าที่ไม่ยกไปเททิ้ง เดินผ่านครั้งใด
พอเห็นจิตก็นึกตำหนิกรรมของเขาว่าขี้เกียจ (แม้พระวินัย หากพระเห็นของสงฆ์
ชำรุด หรือใช้ของสงฆ์ แล้วทิ้ง ไม่เก็บเข้าที่ เดินผ่าน ๑ ครั้ง เห็นแล้วไม่ซ่อมแซม
หรือบอกให้ผู้อื่นที่มีหน้าที่มาซ่อม เดินผ่านทุกครั้งหากยังวางเฉย จะถูกปรับ
อาบัติทุกครั้งที่เดินผ่านแล้วเห็น ยิ่งไปตำหนิกรรมเข้าด้วย ก็จะมีผลเหมือนกับ
พวกเจ้านี่แหละ) เหตุผลเพราะเดินผ่านครั้งใด อารมณ์ปฏิฆะก็เกิดเมื่อนั้น
เป็นขี้เกียจบวกขี้เกียจ อารมณ์ก็ยิ่งเกิด จิตก็ยิ่งเศร้าหมอง แล้วขาดทุนหรือ
ได้กำไรล่ะ "
๕. " การเลิกคิดเลิกทำอีก ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ต้องยกกรรมฐานแก้จริตขี้นมา
แก้ จึงจะแก้ปัญหาได้ ถ้าไม่คล่องก็เห็นจะแก้ไม่ได้ จริต ๖ ก็กินจิตไปจนตาย
พระนิพพานก็หวังไม่ได้ "
คำขอขมาพระรัตนตรัย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ
(ถ้าหลายคนว่า.....ขะมะตุ โน ภันเต, ฯลฯ....
ขะมะตุ โน ภันเต , อุกาสะ ขะมามะ ภันเต ฯ )
หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ
พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้
ก็ดี ด้วยทางกายหรือวาจาก็ดี และด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จ-
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ ฯ
จากหนังสือสวดมนต์แปล
วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
-http://board.palungjit.com/f8/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1-123492.html-
หลวงปู่ตื้อท่านเมตตามาสอนต่อ เรื่องจริต ๖ มีความสำคัญดังนี้
๑. การโมโหจนลืมตัวนั้นโง่หรือฉลาด
เบียดเบียนตนเอง ทำร้ายตนเองหรือเปล่า เมื่อรู้ว่าโง่แล้ว ทีหลังอย่าทำ
ให้คิดไว้เสมอว่า กรรมใครกรรมมัน กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ
หากเราไม่เคยทำกรรมนี้ไว้ก่อนในอดีต วิบากกรรมนี้ก็ไม่เกิดขึ้นกับเราในปัจจุบัน
หากพวกเจ้าเข้าใจ กฎของกรรมอันเป็นอริยสัจขั้นสูง ซึ่งเที่ยงเสมอ
และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย ก็จงหยุดต่อกรรมลงแค่นี้
ยอมรับนับถือกฎของกรรม สร้างอโหสิกรรมให้เกิดขึ้นในจิต สร้างอภัยทานให้เกิดในจิต "
๒. " อยากไปพระนิพพาน ก็ต้องไม่ติดอะไรทั้งนั้น ดี-เลว, ติดสี, ติดรส,
ติดสถานที่, ติดร่างกายของครูบาอาจารย์ ซึ่งไม่เที่ยงทั้งสิ้น
อะไรที่เข้ามากระทบทางทวารทั้ง ๖ หรืออายตนะ ๖ ต้องวางให้ได้ รู้อารมณ์ตามจริต
ที่เกิดให้ได้ ศึกษากรรมฐาน แก้ให้ดีๆ ต้องคล่องจริงๆ จึงจะชนะอารมณ์ตามจริตได้ "
๓. '' ขี้เกียจเป็นอารมณ์หลง เมื่อรู้แล้วว่ามันไม่ดี ก็จงอย่าทำจิตให้อยู่ในอารมณ์ขี้เกียจซิ
การตำหนิกรรมผู้อื่น เท่ากับเราไปยึด เอากรรมของเขามาไว้ที่ใจเราแทน
เราว่าเขาขี้เกียจ ก็หมายความว่าเราไปยึดเอาตัวขี้เกียจของเขามาไว้ที่จิตของเรา
หรือเอาอุปาทานของเขามาเป็นอุปทานของเรา เหมือนในกรณีเรื่องคนจับปลาสวาย
เราไปว่าเขาบ้า เราเลยไปเอาความบ้าจากเขามาไว้ที่ใจเรา
เราไปว่าเขาทะลึ่ง เราก็ไปเอาความทะลึ่งของเขามาไว้ที่ใจเรา การตำหนิกรรมให้ผลอย่างนี้''
๔. '' คนขี้เกียจ ทำงานใดๆ ก็ไม่สำเร็จ ปฏิบัติธรรมใดๆ ก็ไม่สำเร็จ
คนจะไปนิพพานนั้นขี้เกียจไม่ได้ แม้เห็นคนอื่นเขาขี้เกียจ แล้วนึกตำหนิกรรม
ของเขา
ก็เท่ากับไปยกเอาความขี้เกียจเขามาไว้ในจิตของเรา เพราะเห็นอารมณ์หลง (โมหะ) เป็นของดี
ยกตัวอย่าง เช่น เห็นถังขยะเต็ม แต่ผู้มีหน้าที่ไม่ยกไปเททิ้ง เดินผ่านครั้งใด
พอเห็นจิตก็นึกตำหนิกรรมของเขาว่าขี้เกียจ (แม้พระวินัย หากพระเห็นของสงฆ์
ชำรุด หรือใช้ของสงฆ์ แล้วทิ้ง ไม่เก็บเข้าที่ เดินผ่าน ๑ ครั้ง เห็นแล้วไม่ซ่อมแซม
หรือบอกให้ผู้อื่นที่มีหน้าที่มาซ่อม เดินผ่านทุกครั้งหากยังวางเฉย จะถูกปรับ
อาบัติทุกครั้งที่เดินผ่านแล้วเห็น ยิ่งไปตำหนิกรรมเข้าด้วย ก็จะมีผลเหมือนกับ
พวกเจ้านี่แหละ) เหตุผลเพราะเดินผ่านครั้งใด อารมณ์ปฏิฆะก็เกิดเมื่อนั้น
เป็นขี้เกียจบวกขี้เกียจ อารมณ์ก็ยิ่งเกิด จิตก็ยิ่งเศร้าหมอง แล้วขาดทุนหรือ
ได้กำไรล่ะ "
๕. " การเลิกคิดเลิกทำอีก ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ต้องยกกรรมฐานแก้จริตขี้นมา
แก้ จึงจะแก้ปัญหาได้ ถ้าไม่คล่องก็เห็นจะแก้ไม่ได้ จริต ๖ ก็กินจิตไปจนตาย
พระนิพพานก็หวังไม่ได้ "
คำขอขมาพระรัตนตรัย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ
(ถ้าหลายคนว่า.....ขะมะตุ โน ภันเต, ฯลฯ....
ขะมะตุ โน ภันเต , อุกาสะ ขะมามะ ภันเต ฯ )
หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ
พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้
ก็ดี ด้วยทางกายหรือวาจาก็ดี และด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จ-
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ ฯ
จากหนังสือสวดมนต์แปล
วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
-http://board.palungjit.com/f8/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1-123492.html-