ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2011, 08:33:29 pm »

 :30: :30: :30:

แบบนั้น มิจฉาทิฎฐิ อย่างแรง
ปูทางไปนรกให้ลูกซะแล้ว

นั่นสอนลูกให้เป็นเศรษฐี แล้วลงนรก น่ะครับ

แต่ถ้า แบบนี้ สอนลูก ให้เป็นมนุษย์กะเค้าซะที
แล้วลูก ก็ไม่ลงนรกด้วย อ่า

กรรมบถ ๑๐ ประการ
๑. ไม่ฆ่าสัตว์ หรือไม่ทรมานสัตว์ให้ได้รับความลำบาก
๒. ไม่ลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาไม่ให้ด้วยความเต็มใจ
๓. ไม่ทำชู้ในบุตรภรรยาและสามีของผู้อื่น
๔. ไม่พูดจาที่ไม่ตรงความเป็นจริง
๕. ไม่พูดวาจาหยาบคายให้สะเทือนใจผู้รับฟัง
๖. ไม่พูดส่อเสียดยุให้รำตำให้รั่ว ทำให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน
๗. ไม่พูดจาเพ้อเจ้อเหลวไหล
๘. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของเขาไม่ยกให้
๙. ไม่คิดประทุษร้ายใคร คือไม่จองล้างจองผลาญเพื่อทำร้ายใคร
๑๐. เชื่อพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านด้วยดี

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2011, 10:58:53 pm »

10 เทคนิคปูเส้นทางสู่การเป็น "เศรษฐี" ให้ลูก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
4 ตุลาคม 2554 12:16 น.

ท่ามกลางยุคสมัยที่ข้าวของราคาสูง และเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ เรื่องการใช้เงินเป็นสิ่งที่หลาย ๆ บ้านควรให้ความสำคัญ ซึ่งไม่เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่เท่านั้น การร่วมกันวางแผนการเงินและแผนการใช้ชีวิตอย่างถูกที่ถูกทางให้แก่ลูก คือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
       
       วันนี้ทีมงาน Life & Family มีเทคนิคดี ๆ ในการปูเส้นทางสู่การเป็นเศรษฐีให้ลูกจากคุณสุวภา เจริญยิ่ง ผู้ทำงานในแวดวงการเงินมากว่า 25 ปี กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) และผู้เขียนหนังสือ "มีลูกกี่คนก็รวยได้ ถ้าใช้เงินเป็น" มาฝากกัน ส่วนจะมีเทคนิคอะไรบ้างนั้น ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลยครับ
       
       1. จุดประกายให้ลูกได้เรียนรู้เรื่องการประหยัดควบคู่ไปกับการปลูกฝังนิสัยรักการออมตั้งแต่ยังเล็ก
       
       คุณพ่อคุณแม่อาจยกตัวอย่างชีวิตของบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นเศรษฐีมาเล่าให้ลูกฟัง เพราะหลาย ๆ คนไม่ได้ร่ำรวยมาตั้งแต่เกิด แต่การประหยัด และรู้จักใช้เงินต่างหากคือเคล็ดลับที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ จากนั้นสอนให้ลูกน้อยรู้จักนำเงินค่าขนมที่เหลือไปหยอดกระปุกทุก ๆ วันอย่างสม่ำเสมอ
       
       2. หมั่นเติมเต็มความรู้ด้วยการให้การศึกษาที่ดีที่สุดแก่ลูก ควบคู่กับการสร้างวินัยการเรียน
       
       ในวัยเด็ก คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องสร้างกรอบทางวินัยให้แก่ลูก เช่น เวลาใดควรเป็นเวลาที่ลูกจะทำการบ้าน และเวลาใดที่พ่อแม่จะอนุญาตให้ลูกเล่น เพื่อให้เขาได้มีวินัย และตระหนักถึงหน้าที่ แต่พอโตขึ้นก็ค่อย ๆ ขยายกรอบ และปล่อยให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเองบ้าง
       
       3. พ่อแม่ต้องสร้างบรรยากาศให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ หรือเลือกในสิ่งที่ลูกถนัด และรักที่จะทำด้วยตัวเอง
       
       พยายามสอนให้เจ้าตัวเล็กกล้าเลือก และกล้าตัดสินใจ ไม่ว่าจะการใช้ชีวิต รวมไปถึงเรื่องการเรียน โดยคุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่ช่วยลูกค้นหาความชอบ และศักยภาพในตัวเอง พร้อมกับสนับสนุนให้เขาทำสิ่งนั้นได้ดี
       
       4. พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อชี้นำทางที่ดีให้แก่ลูก
       
       พ่อแม่คือต้นแบบของลูก ต้นแบบที่จะกระตุ้นให้เจ้าหนูรู้จักใช้เงิน ไม่ฟุ้งเฟ้อ ก็คือตัวอย่างใกล้ตัว ๆ จากคุณนี่เอง เช่น เห็นข้อดีข้อเสียของการซื้อของควบคู่ไปด้วยว่าอะไรควรซื้อ อะไรไม่ควรซื้อ หรือเมื่อซื้อมาแล้วควรใช้มันอย่างคุ้มค่าที่สุด

       5. ส่งเสริมให้ลูกรักการอ่าน โดยเปิดกว้างให้ลูกได้อ่านหนังสือทุกประเภทที่มีประโยชน์
       
       การสนับสนุนให้ลูกอ่านหนังสือที่ดีมีประโยชน์ เป็นการเปิดโลกทัศน์ของเขาให้กว้างไกลมากยิ่งขึ้น สามารถนำไปต่อยอดสู่ความสำเร็จในชีวิตได้
       
       6. ให้ลูกเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตัวเองและรักตัวเอง
       
       ถ้าลูกช่วยเหลือตัวเองไม่เป็น และทนความลำบากไม่ได้ หนทางสู่ความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะการเงินย่อมเป็นไปได้ยากตามไปด้วย
       
       7. สอนให้ลูกเข้าใจว่า ทุกชีวิตมีต้นทุนทั้งนั้น ดังคำที่ว่า ต้นทุนชีวิต ต้นทุนการเงิน
       
       พยายามปลูกฝังให้ลูกรู้ว่า ทุกคนมีต้นทุน แม้กระทั่งเวลาก็คือต้นทุน ดังนั้น ความโชคดี ความสำเร็จ ความร่ำรวย บางครั้งต้องแลกมากับความพยายามที่สูง ซึ่งความพยายามนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ฉะนั้นการบริหารเวลา และใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ในแต่ละวันต่างหากคือตัวเสริมต้นทุนในชีวิต
       
       8. สอนให้ลูกรู้จัก คำว่าหน้าที่ และความรับผิดชอบไม่ว่าจะเรื่องในบ้าน เช่น การใช้จ่ายเงิน รวมไปถึงเรื่องการเรียน เพื่อที่เวลาโตขึ้นจะได้ดูแลตัวเอง และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมต่อไปได้อย่างมีความสุข รวมไปถึงวินัยในการใช้จ่ายอย่างรู้คุณค่า
       
       9. ให้ลูกรู้จักเรียนรู้ที่จะใช้เงิน เข้าใจถึงคำว่า ถูก-แพง โดยให้ความสำคัญกับความจำเป็น และประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก เพราะถ้าราคาถูกแต่ใช้ไม่คุ้มเมื่อเทียบกับสินค้าราคาแพงก็ควรพิจารณาให้ดี ดังนั้นการสอนให้ลูกใช้เงินอย่างรู้คุณค่า ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ค่าของเงินในรูปแบบมูลค่าอย่างเดียว แต่ควรเน้นเรื่องสำนึกของคุณค่า ก็จะทำให้เด็กสำนึกในเรื่องอื่น ๆ ด้วย
       
       10. ช่วยให้ลูกวางเป้าหมาย และกำหนด เป้าหมายในชีวิตของเขาว่าแต่ละช่วงชีวิตควรทำอะไรบ้าง โดยให้ลูกมีส่วนในการเลือกชีวิตของตัวเอง ส่วนคุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่คุย และให้ลูกได้รู้จักคิด และค้นหาความชอบในตัวเอง
       
       หากทำได้ตามเทคนิคข้างต้น ทีมงานเชื่อว่า ความเป็น "หนูน้อยร้อยล้าน" ย่อมไม่ไกลเกินเอื้อม

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000126074

.