ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 15, 2011, 09:15:12 am »



บทธรรมบรรยายที่ ๙ - ๑๖
ของ
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
9 อุปสันตบุคคล
สิ่งอันใดหรืออารมณ์อันใดที่ได้ยึดไว้แล้ว จับต้องแล้ว ถือมั่นแล้ว ด้วยอำนาจ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ อันมีอยู่ในสันดาน สิ่งอันนี้ หรืออารมณ์อันนี้ ท่านพึงสละละวางเสีย พึงปลดเปลื้องเสียพึงละเสียพึงบรรเทาเสีย พึงกระทำให้มีที่สุด พึงให้ถึงซึ่งอันเกิดตามไม่ได้ มา เต วิชชตุ กิญจนํ เครื่องกังวลคือราคะ โทษะ โมหะ และทิฏฐิ กังวลคือกิเลสและทุจริตอย่าให้มีในสันดาน ยํ ปุพเพ ตํ วิโสเสหิ สิ่งใดมีในภายก่อน ท่านจงยังสิ่งนั้นให้เหือดแห้ง ปจฉา เต มาหุ กิญจนํ กังวลในภายหลัง อย่าให้มีในสันดาน มชเฌ เจ โน คเหสสสิ ท่านอย่าได้ถือเอา ณ ท่ามกลาง อุปสนโต จริสสสิ ท่านก็จักเป็นคนสงบระงับแล้ว เที่ยวอยู่

10 กุมารกสสัป เทวตาปุจฉิตปัญหาพยากรณ์
ปัญหาว่า มีจอมปลวกแห่งหนึ่ง กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นเปลว ฯลฯ พราหมณ์สั่งให้ศิษย์ชื่อสุเมธขุดด้วยศัสตรา สิ่งนั้นได้แก่อะไร?
พระตรัสพยากรณ์ว่า จอมปลวกได้แก่ร่างกายอันเจือด้วยสมภธาตุของมารดาบิดา และมหาภูตธาตุทั้ง 4 จึงเกิดมีขึ้นได้ กลางคืนเป็นควันหมายถึงการตริตรึกนึกคิดของบุคคล พราหมณ์ได้แก่ ตถาคตสุเมธได้แก่ภิกษุผู้มีปัญญาดีในพระธรรมวินัยนี้ การขุดหมายถึงความเพียร ศัสตราหมายถึงอริยปัญญาณอันสามารถประหารกิเลสฉะนี้แลฯ

11 เหตุเกิดความเพียร
เมื่อความเพียรจะเกิดขึ้น ก็เพราะสังเวควัตถุเบื้องต้น 8 ประการคือ ชาติทุกข์ 1 ชราทุกข์ 1 พยาธิทุกข์ 1 มรณทุกข์ 1 อบายทุกข์ 1 อนาคตทุกข์ 1 อาหารคเวสิทุกข์ 1

12 ภัทเทกรัตตสูตร
สมัยสมเด็จพระผู้มีภาคเจ้าเสด็จประทับที่พระเชตวนาราม กรุงสาวัตถี ได้ตรัสภัทเทกรัตตนสูตรแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งล่วงไปแล้วมาตามไม่ควรหวังสิ่งซึ่งยังมาไม่ถึง เพราะว่าสิ่งใดล่วงพ้นไปแล้วสิ่งนั้นอันเราละเสียแล้ว อนึ่งสิ่งใดซึ่งไม่มาถึงเล่า สิ่งนั้นก็ยังไม่มาถึง เพราะฉะนั้นผู้มีปัญญาจึงไม่ควรให้สิ่งซึ่งล่วงไปแล้วมาตาม ไม่ควรหวังสิ่งซึ่งไม่มาถึง ก็ผู้มีปัญญาได้มาเห็นธรรม ซึ่งเป็นปัจจุบันเกิดขึ้นจำเพาะหน้าแจ้งชัดอยู่ในที่นั้นๆ ความเห็นแจ้งธรรม ซึ่งเป็นปัจจุบันของท่านนั้นไม่ง่อนแง่น ไม่กำเริบด้วยดี ผู้มีปัญญาอันมาได้ความเห็นแจ้งในธรรมซึ่งปัจจุบันอันไม่ง่อนแง่นและไม่กำเริบด้วยดีแล้ว ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนืองๆ ความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อนอันผู้มีปัญญาควรรีบทำเสียในวันนี้ทีเดียว ใครจะพึงรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าสู้ความหน่วงเหนี่ยว ความผูกพันธ์กับด้วยมฤตยูความตายซึ่งมีเสนาใหญ่นั้นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน อันผู้มีปัญญาควรทำเสียในวันนี้ทีเดียว นักปราชญ์ผู้สงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีปัญญาซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ไม่เกียจคร้านขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างนี้ ผู้นั้นแลว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญดังนี้ เมื่อตรัสอุเทศนี้จบแล้ว จึงตรัสวิภังค์ต่อไปว่า

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลให้สิ่งซึ่งล่วงไปแล้วมาตามอยู่ไฉน? บุคคลมาคิดว่า กาลล่วงไปแล้วเมื่อก่อน เราได้เป็นผู้มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว นำความเพลิดเพลินในขันธ์มีรูปขันธ์เป็นต้น ซึ่งล่วงไปแล้วนั้น มาตามอยู่ ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ชื่อว่าบุคคลให้สิ่งซึ่งล่วงไปแล้ว มาตามอยู่ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลไม่ให้สิ่งซึ่งล่วงไปแล้ว มาตามอยู่เป็นไฉน? เล่า บุคคลมาคิดว่า ณ กาลไกลล่วงไปแล้วเราได้เป็นผู้มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างนี้ๆ แล้วไม่นำความเพลิดเพลินในขันธ์ มีรูปขันธ์เป็นต้น ซึ่งล่วงไปแล้วนั้นมาตาม อยู่ ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แลชื่อว่าบุคคลไม่ให้สิ่งล่วงไปแล้วมาตามอยู่ เบื้องหน้าก็ไม่ปรารถนาไม่ให้มาตามอยู่ และปัจจุบันก็ไม่ให้มาตามอยู่ ไม่ถือว่าเราว่าเขา ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นอยู่ในธรรมทั้งหลาย พระอริยสาวกและสัตบุรุษท่านไม่ตามเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตัวตนบ้าง ไม่ตามเห็นตัวตนว่ามีรูป เวทนา สังขาร วิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณในตัวตนบ้าง ไม่ตามเห็นตัวตนในรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้และ ชื่อว่า บุคคลไม่ง่อนแง่นอยู่ในธรรมทั้งหลาย ซึ่งเกิดขึ้นจำเพาะหน้าฉะนี้แล

13 พหุเวทนิยสูตร
สูตรนี้ว่าด้วยเวทนา เวทนา 2 นั้นคือ เวทนาทางกายอย่าง 1 เวทนาทางจิตอย่าง 1 เวทนา 3 นั้น คือ สุข 1 ทุกข์ 1 อุเบกขา 1 เวทนา 5 นั้นคือ สุขเวทนา 1 ทุกข์เวทนา1 โสมนัสสเวทนา 1 โทมนัสสเวทนา 1 อุเบกขาเวทนา 1 เวทนท 6 อย่างนับตามทวาร 6 เวทนา 18 เวทนา36 เวทนา 108

14 พึงเป็นคนมีสติ
อย่าถือมั่นกังวลในโลกทั้งปวง ความเสื่อมปัญญา นักปราชญ์ท่านติเตียน ความเจริญปัญญา เลิศกว่าความเจริญทั้งปวง

15 อนุตตริยะ 6
พระผู้มีพระภาค ตรัสเทศนาแก่ภิกษุทั้งหลายว่ากิจทั้งหลายไม่มีกิจอื่นยิ่งขึ้นไปกว่าสิ่งเหล่านี้คือ ความเห็น 1 ความฟัง 1 ความได้ศรัทธา 1 ความศึกษา 1 ความบำเรอปฏิบัติ 1 ความระลึก 1

16 อปัณณกธรรม
ความสำรวมอินทรีย์ 6 ไม่ดูด้วยนิมิต ไม่ดูด้วยอนุพยัญชนะ ให้ดูด้วยอสุภนิมิต ความรู้ประมาณในโภชนะและชาคริยานุโยค ความพากเพียรอย่างผู้ตื่นอยู่ โดยกำหนดเวลาไว้ดังนี้ ตั้งแต่อรุณขึ้นไปตลอดถึงพลบค่ำเวลา 1 ตั้งแต่ย่ำค่ำไปจนถึงหนึ่งยามเวลา 1 ยามกลางตั้งแต่ 4 ทุ่ม นอนจนถึง 8ทุ่มลุกขึ้น - ตั้งแต่ยามกลางล่วงไปแล้ว จนตลอดอรุณขึ้นมาใหม่เวลา 1 เวลาเป็นที่ชำระจิตให้บริสุทธ์ เป็น 3 เวลาฉะนี้ ให้ผู้ประกอบความเพียรทำอย่างนี้จึงชื่อว่าชาคริยานุโยค
ธรรม 3 ประการจะให้กำจัดเสียซึ่งอาสวะเรียกว่าอปัณณกธรรม ผู้ปฏิบัติตามชื่อว่าทำความเพียรไม่ผิด
ดังนี้