บทธรรมบรรยายที่ ๑๗ - ๒๑
ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
๑๗ อริยทรัพย์สัทธา 1 หิริ 1 โอตตัปปะ 1 พาหุสัจจะ 1 วิริยะ 1 สติ 1 ปัญญา 1
18 ธรรมเป็นเหตุเจริญเจโตวิมุติก: ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี อันนี้เป็นไปเพื่อความแก่กล้า แห่ง
เจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้าฯ
ข: ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยธรรม เครื่องสำรวมคือ
ปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และที่เที่ยวไปอันสมควรอยู่เป็นนิตย์ เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อยโดยปกติ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาทั้งหลาย ธรรมอันนี้เป็นไปด้วยดี เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้าฯ
ค.ภิกษุเป็นผู้
พากเพียรหมั่น ไม่ทอดธุระในการกุศล ธรรมอันนี้เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติ
ฆ. ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา
อันเห็นยังความเสื่อม และความดับของสังขารทั้งหลายเป็นปัญญาอย่างประเสริฐ อาจ
แทงกิเลสได้โดยไม่เหลือ เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่ง
เจโตวิมุตติ19 สัลเลขกถาถ้อยคำเครื่องขัดเกลากิเลส 10 ประการคือ เจรจาถึง
ความมักน้อย 1 เจรจาถึงความ
สันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ 1 เจรจาถึง
ความสงัด 1 เจรจาถึงความ
ไม่ระคนด้วยหมู่ 1 เจรจาถึงความ
ปรารภซึ่งความเพียร 1 เจรจาถึง
ศีลความสำรวมกายวาจา 1 เจรจาถึง
สมาธิ ความที่จิต
ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว 1 เจรจาถึง
ปัญญาความรู้ทั่วถึง 1 เจรจาถึง
วิมุตติความพ้นวิเศษ 1 เจรจาถึง
วิมุตติญาณทัสสนะปัญญาที่รู้เห็นในวิมุตติ 1 รวมเป็น 10 ประการ
20 วิธีถ่ายถอนกิเลสพึงเจริญอสุภภาวนา เพื่อละราคะเสีย พึงเจริญเมตตา เพื่อละพยาบาทเสีย พึงเจริญอาปานานสติเพื่อเข้าไปตัดวิตกเสีย พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อถอนอัสมิมานะเสีย อนัตตาสัญญา ก็พึงเห็นพึงตั้งใจไว้ด้วยดี ความถอนอัสมิมานะขึ้นเสียได้ เป็นปรินิพพานในทิฏฐธรรมภพปัจจุบันนี้ทีเดียว21 พหุธาตุกสูตรณ กาลใด
ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ เป็นผู้ฉลาดในอายตนะ เป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปาทธรรม เป็นแดนอาศัยเกิดขึ้นพร้อม เป็นผู้ฉลาดในฐานะ - อฐานะ คือ สิ่งที่เป็นได้ เป็นไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาดอย่างนี้ นักปราชญ์เรียกว่าเป็นปัณฑิต
ผู้มีปัญญาไต่สวน
ธาตุ 18 คือ จักขุ 1 รูปธาตุ 1 จักขุวิญญาณ ธาตุ 1 โสตธาตุ 1 โสตวิญญาณธาตุ 1 ฆานธาตุ 1 คันธธาตุ 1 ฆานวิญญาณธาตุ 1 ชิวหาธาตุ 1 รสธาตุ 1 ชิวหาวิญญาณธาตุ 1 กายธาตุ 1 โผฏฐัพพธาตุ 1 กายวิญญาณธาตุ 1 มโนธาตุ 1 วาโยธาตุ 1 วิญญาณธาตุ 1
ธาตุ 6 คือ ปฐวีธาตุ 1 อาโปธาตุ 1 เตโชธาตุ 1 วาโยธาตุ 1 อากาศธาตุ 1 วิญญาณธาตุ 1
ธาตุ 6 อื่นอีกคือ สุขธาตุ ธาตุคือสุข 1 ทุกข์ธาตุ ธาตุคือทุกข์1 โสมนัสสธาตุ ธาตุคือผู้มีใจดี 1 โทมนัสสธาตุ ธาตุคือผู้มีใจชั่ว 1 อุเบกขาธาตุ 1 อวิชชาธาตุ 1
ธาตุเหล่านี้คือ กามธาตุ ธาตุคือกาม 1 เนกขัมมธาตุ ธาตุคือความออกไปจากกาม 1 พยาบาทธาตุ ธาตุคือพยาบาท 1 อพยาบาทธาตุ ธาตุคือความไม่พยาบาท 1 วิหิสํธาตุคือความเบียดเบียน 1 อวิหิสํธาตุ ธาตุคือความไม่เบียดเบียน 1 รวมเป็น 6 ประการ
ธาตุ 3 เหล่านี้คือ กามธาตุ ธาตุคือกาม 1 รูปธาตุ ธาตุคือรูป1 อรูปธาตุ ธาตุคืออรูป 1ฯ
ธาตุ 2 เหล่านี้คือ สังขตธาตุ ธาตุอันปัจจัยตกแต่ง 1 อสังขตธาตุ ธาตุอันเป็นปัจจัยไม่ตกแต่ง 1 ฯ
ก็อายตนะทั้งหลายที่เป็นภายใน 6 ที่เป็นภายนอก 6 เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปาทธรรมอันมีอวิชชาเป็นต้น ไปจนถึง สงขิตเตน ปญจุปาทาน ขนธาปิ ทุกขา นั้น ย่อมรู้ชัดว่า บุคคลได้บรรลุพระโสดาบันแล้วเป็นคนไม่ถือมั่น ปุถุชนย่อมถือมั่นในสังขาร ถือว่าตัวตนเราเขาว่าเที่ยงแท้ธรรมปริยายนี้ชื่อ พหุธาตุกสูตร ว่าด้วยธาตุมาก เรียกว่า จตุปริวัฏฏ์ เวียนรอบ 4 บ้าง ว่า ธัมมาทาสา แว่นส่องธรรมบ้าง ว่า มตกุนกุภิ กลองอมฤตเภรีบ้าง ว่า อนุตตรสงคามวิชย เครื่องชนะสงครามอันเยี่ยมบ้าง