ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 17, 2011, 08:34:50 am »24 วินัยกรรม
1.อุโบสถกรรม เป็นวินัยกรรมอย่างหนึ่งที่ทรงบัญญัติให้ภิกษุทำทุกกึ่งเดือน จะละเว้นมิได้ โดยประสงค์ให้ชำระตนให้บริสุทธิ์ไม่ให้มีอาบัติโทษติดตัวประการหนึ่ง เพื่อให้รู้จักพระวินัยส่วนสำคัญที่ทรงบัญญัติไว้ จะได้ประพฤติตนถูกต้องดีประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง เพื่อความสามัคคีแห่งสงฆ์ ทรงกำหนดองค์แห่งความพร้อมพรั่งของอุโบสถไว้ 4 ประการ คือ ดิถีที่ 14-15 หรือวันสามัคคีวันใดวันหนึ่งเป็นองค์ที่ 1 ภิกษุครบจำนวนควรทำสังฆอุโบสถ หรือคระอุโบสถได้ นั่งชุมนุมไม่ละหัตถบาสกันในสีมาเดียวกันเป็นองค์ที่ 2 อาบัติที่เป็นสภาค คือ มีวัตถุเสมอกัน ไม่มีแก่สงฆ์เป็นองค์ที่ 3 และวัชชนียบุคคล 21 ไม่มีหัตถบาสเป็นองค์ที่ 4 อุโบสถพร้อมพรั่งด้วยองค์ 4 ประการนี้ จึงควรทำอุโบสถกรรม ควรกล่าวว่า ปตตกลบ ได้ฯ ในบรรดาวัชชนียบุคคล 21 นั้น เมื่อคนอันสงฆ์ยกวัตร์ 3 จำพวกอยู่ในหัตถบาส สงฆ์ทำอุโบสถต้องอาบัติปาจิตตีย์ คนนอกนั้นอยู่ในหัตถบาส สงฆ์ทำอุโบสถต้องทุกกฏฯ
ก่อนจะทำอุโบสถ พึงทำบุพพกิจบุพพกรณ์ก่อน ถ้าภิกษุหนุ่มไม่เป็นไข้ให้ภิกษุหนุ่มทำ หรือมีสามเณรหรือคนวัด ก็ให้สามเณรหรือคนวัดทำก็ได้
ภิกษุใดรู้อุโบสถ 9 อุโบสถกรรม 4 ปาฏิโมกข์ 2 ปาฏิโมกขุเทศ 9 หรือ 5 ภิกษุนั้นชื่อว่า ผู้ฉลาด ควรสวดปาฏิโมกข์ได้.
ภิกษุอยู่องค์เดียว พึงทำบุพพกิจบุพพกรณ์ไว้รอภิกษุอื่นจนหมดเวลา เห็นไม่มาแล้วพึงอธิษฐานว่า อชช เม อุโปสโถ ปณณรโส ถ้าเป็นวัน 14 ค่ำก็เปลี่ยน ปณณรโส เป็น จาตุททโส
ภิกษุอยู่ 2 รูป พึงทำกิจทั้งปวงไว้รอภิกษุอื่นอีก เมื่อหมดเวลาแล้วไม่มีภิกษุอื่นมา พึงแสดงอาบัติแล้วบอกบริสุทธิ์แก่กันและกันว่า ปริสุทโธ อหั อาวุโส ปริสุทโธติ มํ ธาเรหิ ผู้อ่อนพรรษากว่าพึงว่า ปริสุทโธ อหํ ภนเต ปริสุทโธติ นั ธาเรถ.
ภิกษุอยู่ด้วยกัน 3 รูป พึงทำบุพพกิจบุพพกรณ์ไว้รอภิกษุอื่น เห็นว่าไม่มีมาแน่แล้ว พึงประชุมกัน ภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่งพึงตั้งคณะญัติว่า สุณนตุ เม ภนเต อายส มนตา อชชุโปสโถ ปณณรโส ยทายสมนตานํ ปตตกลลํ มยํ อญญํมญญํ ปาริสุทธิ อุโปสถํ กเรยยาม แล้วพึงบอกบริสุทธิ์ซึ่งกันและกัน คำบอกบริสุทธิ์เหมือนกล่าวแล้วข้างบนนั้นพึงใช้เฉพาะบทหลัง เปลี่ยนแต่คำ ภนเต เป็น อาวุโส ตามสมควรแก่ความเป็นผู้แก่อ่อนเท่านั้น
ภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป พึงสวดปาฏิโมกข์ เมื่อไม่มีอันตรายพึงสวดจนจบ ถ้ามีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง พึงสวดย่อได้ อุเทศที่ยังไม่ได้สวด พึงประกาศด้วยสุตบท.
อันตรายแห่งอุโบสถอันเป็นเหตุให้สวดปาฏิโมกข์ย่อได้ มี 10 อย่างคือ 1. ราชนตราโย พระราชาเสด็จมา 2. โจรนตราโย โจรมาปล้น 3.อคคยนตราโย ไฟไหม้ 4. อุทกนตราโย น้ำท่วม 5. มนุส สนตราโย มนุษย์มามาก 6. อมนุสสนตราโย ผีเข้าภิกษุ 7. พาลนตราโย สัตว์ร้ายมา 8. สิรึสปนตราโย งูเลื้อยมาในที่ชุมนุม 9. ชีวิตนตราโย อันตรายแห่งชีวิต 10. พหมจรยนตราโย อันตรายแห่งพรหมจรรย์ เมื่ออันตราย10 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งมีมา ถึงสวดปาฏิโมกข์ย่อตั้งแต่อุเทศที่ 2 เป็นต้นไป อันตรายมีมาในเวลากำลังสวดอุเทศใดค้างอยู่พึงประกาศด้วยสุตบท แต่อุเทศนั้นไป นิททานุเทศสวด ยังไม่จบอย่าพึงประกาศด้วยสุตบท ไม่มีอันตรายพึงสวดโดยพิสดารจนจบ
อุทเทศแห่งปาฏิโมกข์ 9 คือ นิทานุเทศ 1 ปาราชิกุทเทศ 1 สังฆาทิเสสสุทเทศ 1 อนิยตุทเทศ 1 นิสสัคคียุทเทศ 1 ปาจิจจิยุทเทศ 1 ปาฏิเทศนียุทเทศ 1 เสขิยุทเทศ 1 สมถุทเทศ 1 ปาฏิโมกขุทเทศ 5 นั้นรวมตั้งแต่ อนิยต ถึงเสขิยวัตร เข้ากันเรียกว่า วิตถาการุทเทศ จึงมีอุเทศเพียง 5 ประการ อุดทศนี้สำหรับกำหนดในการสวดย่อในเมื่อมีอันตราย ที่นิยมใช้กันอยู่กำหนดด้วยอุเทศ 9 ประการ สะดวกในการใช้ประกาศด้วยสุตบท.
สุตบทนั้น คือ ประกาศว่า อุเทศนอกจากที่ สุตา ดข อายสมนเตหิ จตตาดร ปาราชิกา ธมมา ฯลฯ สุตา โข อายสมนเตหิ สตตาธิกรณสมถา ธมมา เอตุตกนตสส ภควโต สุตตาคตํ สุตตปริยาปนนํ อนวฑฒมาสํ อุทเทสํ อาคจฉติ ตตถ สพเพเหว สมคเคหิ สมโมทนาเนหิ สิกขิตพพํ.
2.ปวารณากรรม เป็นวินัยกรรมอย่างหนึ่ง ทรงบัญญัติให้ทำในวันสิ้นสุดแห่งการจำพรรษา ด้วยจุดประสงค์คล้ายอุโบสถกรรม และทรงอนุญาตให้ทำแทนอุโบสถในวันนั้นด้วยบุพพกิจ บุพพกรณ์ลักษณะ 4 และวันประชุมทำปวารณากรรม ก็เหมือนอุโบสถกรรมทุกประการ.
ภิกษุหนึ่งรูปพึงอธิษฐานว่า อชช เม ปาวรณาปณณรสี อธิฏฐามิ ภิกษุ 2 รูป พึงปวารณากันและกันทีเดียว ไม่ต้องตั้งญัตติ ภิกษุ 3-4 รูป พึงตั้งคณะญัตติว่า สุณนตุ เม ภนเต อายสมนโต อชชปวารณา ปณณรสี ยทา ยสมนตานํ ปตตกลลํ มยํ อญญมญญํ ปวาเรยยาม แล้วพึงปวารณากันและกัน ถ้ามีภิกษุตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป พึงทำสังฆปวารณา ตั้งญัตติว่า สุณาตุ เม ภนเต สงโฆ อชช ปวารณา ปณณรสี ยทิ สงฆสส ปตตกลลํ สงโฆ ปวารยย แล้วพึงปวารณาตนต่อสงฆ์ที่ละรูปตามลำดับพรรษา ถ้าระบุประการให้เปลี่ยนตอนท้ายเป็นดังนี้ ถ้าปวารณา 3 หน พึงว่า เตวาจิกํ ปวาเรยย ถ้าปวารณา 2 หน พึงว่า เทววสจิกํ ปวาเรยย ถ้าปวารณาหนเดียว พึงว่า สมานวสสิกํ ปวาเรยย
คำปวารณาต่อสงฆ์ว่า สงฆม ภนเต ปวาเรมิ ทิฏเฐน วา สุเตน วา ปริสงกาย วา วทนตุ มํ อายสมน โต อนุกมปํ อุปาทาย ปสสนโต ปฏิกกริสสามิ ภิกษุอ่อนกว่าพึงเปลี่ยน อาวุโส เป็น ภนเต
คำปวารณาตนต่อคณะว่า อหํ อาวุโส อายสมนเต ปวารามิ ฯลฯ วทนตุ มํ อายสมนโต อนุกมปํ อุปาทาย ปสสนโต ปฏิกกริสสามิ ภิกษุผู้อ่อนกว่าพึงเปลี่ยน อาวุโส เป็น ภนเต ถ้า 2 รูปจึงเปลี่ยน อายสมนเต เป็น อายสมนตํ เปลี่ยน อายสมนโต เป็น อายสมา
3. จีวรกรรม ไตรจีวร คือผ้าสังฆาฏิ 1 ผ้าอุตตราสงฆ์ 1 ผ้าอันตรวาสก 1 ต้องตัดเย็บทำให้ถูกตามลักษณะให้ได้ประมาณ และย้อมสีให้ได้สี ทำพินทุกัปปะ แล้วจึงอธิษฐาน จะไม่ตัดไม่ควร เพราะทรงห้ามไว้ว่า อย่าทรงผ้าที่ไม่ได้ตัด ภิกษุใดทรง ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ.
วิธีตัดผ้านั้น ทรงวางแบบไว้ในคัมภีร์ขันธกะ จะแสดงแบบจีวร 5 ขัณฑ์ เป็นตัวอย่าง ขัณฑ์หนึ่งๆ แบ่งออกเป็น 2 ท่อนๆ ยาวเรียกว่า มณฑล ท่อนสั้นเรียกว่าอัฑฒมณฑล แผ่นผ้าเล็กยาวตามมณฑล ขัณฑ์กลางเรียกว่า วิวัฏฏะ แผ่นผ้าเล็กสั้นตามอัฑฒมณฑล ขัณฑ์กลางเรียกว่า อนุวิวัฏฏะ แผ่นเล็กในระหว่างมณฑลกับอัฑฒมณฑลเรียกว่า อัฑฒกุสิ แผ่นเล็กยาวตามมณฑลเรียก กุสิ อัฑฒมณฑลที่ถูกคือในเวลาห่มเรียกว่า คเวยยกะ อัฑฒมณฑลที่ถูกแข้งในเวลาห่มเรียกว่า ชังเฆยยกะ อัฑฒมณฑลที่ถูกมือในเวลาห่มเรียกว่า พาหันตะ แผ่นผ้าทาบริมโดยรอบเรียกว่า อนุวาต ทรงอนุญาตให้มีลูกดุม รังดุมติดที่มุมชายล่างกันผ้าเลิกและที่ผูกคอกันผ้าหลุด.
ประมาณกว้างยาวตามขนาดของผู้ใช้ แต่ต้องไม่เท่าหรือเกินสุคตจีวร สุคตจีวรนั้นกว้าง 6 คืบ ยาว 9 คืบ โดยคืบพระสุคต ถ้าตัดผ้าขัณฑ์ 5 ขัณฑ์ หนึ่งๆ กว้าง 24 นิ้ว ขัณฑ์ 7 ขัณฑ์ละ 17 นิ้ว 1 กระเบียด ขัณฑ์ 9 ขัณฑ์ละ13 นิ้ว 2 กระเบียด ขัณฑ์11 ขัณฑ์ละ11นิ้ว อนุวาต6 นิ้ว เมื่อประกอบกันเข้าแล้ว เป็นจีวรกว้าง 3 ศอก 1 คืบ ยาว 5 ศอก 2 กระเบียด โดยวัฑฒกีประมาณคือ นิ้ว คืบ ศอก ช่างไม้ เป็นประมาณที่พอดี พึงตัดจีวรตามแบบนี้.
สุคตประมาณนั้นคือ 5 กระเบียดครึ่ง เป็น 1 นิ้วพระสุคต 12 นิ้วเป็น 1 คืบ 2 คืบ เป็น 1 ศอก เมื่อเทียบกับวัฑฒกีประมาณเป็นดังนี้ 16 นิ้ว 1 กระเบียด ช่างไม้เป็น 1 คืบพระสุคต จีวรที่ตัดตามแบบข้างบนนี้จึงเล็กกว่าสุคตจีวร
ในผ้า 3 ผืนนี้ ทรงอนุญาตให้ทำผ้าสังฆาฏิ 2 ชั้น อุตตราสงค์ 1 ชั้น อันตรวาสก 1 ชั้น สำหรับผู้ใหม่ ถ้าเป็นผ้าเก่า ทรงอนุญาต ผ้าสังฆาฏิ 3 ชั้น 4 ชั้น ผ้าอุตตราสงค์ 2 ชั้น ผ้าอันตรวาสก 2 ชั้น ถ้าเป็นผ้าบังสกุลทรงอนุญาตให้ทำได้ตามต้องการ จะกี่ชั้นก็ได้ แล้วแต่จะพึงอุตสาหะ
:http://www.84000.org/supatipanno/dham3.html
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ