ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 18, 2011, 08:32:01 pm »

พระอภิธรรมมีลักษณะพิเศษ ประกอบด้วยทฤษฎี และกฎเกณฑ์ทางสภาวธรรมอย่างพิสดาร เป็นวิทยาศาสตร์ทั้งด้านนามและด้านรูป และเป็นอภิปรัชญา ซึ่งไม่มีในคัมภีร์ของศาสนาอื่นใด พระอภิธรรม จึงต้องศึกษาด้วยการถ่ายทอดทำความเข้าใจเป็นพิเศษจากอาจารย์ ก็ผู้ที่จำทรงในพระอภิธรรมได้ ข้าพเจ้ารับรองได้ว่า ผู้นั้นจะไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ จักทวีศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น บัดนี้ วงการปริยัติศึกษาของเรา ได้สนใจเล่าเรียนพระอภิธรรมแพร่หลาย จึงนับเป็นลาภอันประเสริฐแห่งพุทธบริษัทผู้ใคร่ในการศึกษาทั้งหลายโดยแท้



พระอภิธรรม มีทฤษฎีอะไรอ่า
ทฤษฎี คืออะไรอ่า

เห็นยังไง จึงไปเห็นว่า อภิธรรมคือทฤษฎี อ่า

ทฤษฎี ไม่ใช่สัจธรรมอ่า







ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 18, 2011, 11:40:01 am »


ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพระอภิธรรม ๔ สมัย
เสถียร โพธินันทะ

พระอภิธรรมปิฎก อันเป็นปิฎกสุขุมคัมภีรภาพที่สุดของพระพุทธศาสนา เราควรจะทราบถึงการพัฒนาแห่งพระอภิธรรมในประวัติศาสตร์ ตามมติของข้าพเจ้าขอแบ่งระยะกาลความเป็นมาแห่งพระอภิธรรมออกเป็น ๔ สมัย ดังต่อไปนี้

1. สมัยพระอภิธรรมรวมอยู่ในฐานะพระสูตร
สมัยนี้เป็นสมัยที่พระอภิธรรม ยังมิได้แยกตัวออกมาเป็นเอกเทศ ยังรวมตัวอยู่ในพระสูตร และยังมิได้ถูกเรียกว่าอภิธรรม ซึ่งพูดให้ถูกแล้วก็คือพระสูตรนี่เอง แต่เป็นพระสูตร ซึ่งมีเค้าโครงของพระอภิธรรม อาทิเช่น มหาสติปัฏฐานสูตร สังคีติสูตร ทสุตตรสูตร มหาเวทัลลสูตร จุลเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร ฯลฯ ซึ่งปรากฏในบาลีทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย และเนื้อธรรมบางหมวดในบาลีสังยุตตนิกาย และอังคุตตรนิกาย แน่นอนเหลือเกิน ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดพระอภิธรรม เช่นในกรณีที่ทรงแสดงอุทเทสแห่งพระธรรม ครั้นแล้วทรงขยายความออกให้พิสดารเป็นนิเทส ทั้งนี้เพื่อให้เนื้อธรรมละเอียดกระจ่างชัดแก่พระสาวก ซึ่งเป็นเรื่องมีมากมายทั่วไปในพระบาลี และเป็นสาวกภาษิตก็มาก

ในมหาสติปัฏฐานสูตรแห่งบาลีทีฆนิกาย มหาวรรค พระบรมศาสคาตรัสกระจายหมวดธรรมแต่ละหมวดของสติปัฏฐานทั้ง ๔ เช่น ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทรงจำแนกลักษณะของจิตไว้ ๑๖ อย่าง คือ สราคจิต วีตราคจิต สโทสจิต วีตโทสจิต สโมหจิต วีตโมหจิต ขังขิตตจิต วิกขิตตจิต มหัคคตจิต อมหัคคตจิต สอุตตรจิต อนุตตรจิต. สมาหิตจิต อสมาหิตจิต วิมุตตจิต อวิมุตตจิต ซึ่งทำให้นึกถึงการจัดแบ่งประเภทจิต ในพระอภิธรรมปิฎกว่า จะมีเค้ามาจากพระสูตรนี้

อนึ่ง ในสังคีติสูตร แห่งบาลีทีฆนิกายปาฏิกวรรค เป็นภาษิตของพระสารีบุตรธรรมเสนาบดี อธิบายลักษณะหมวดธรรมตั้งแต่ หมวดหนึ่งถึงหมวดสิบ ในหมวดสามว่าด้วยรูปสังคหะ พระสารีบุตรแสดงว่า “รูปสังคหะ ๓ ประการนั้น เป็นไฉน? คือ สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป ได้แก่รูปที่เห็นได้กระทบได้, อนิทัสสนสัปปฎิฆรูป ได้แก่รูปที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป ได้แก่รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้” อย่างนี้มีเค้าเป็นพระอภิธรรมชัด ๆ

๒. สมัยพระอภิธรรมเป็นนิเทสของพระสูตร
สมัยนี้ อันที่จริงก็มีมาพร้อมด้วยสมัยแรก แต่เนื่องจากมีลักษณะต่างกันๆอยู่บ้าง จึงแยกเป็นหัวข้ออีกส่วนหนึ่ง ก่อนจะอธิบาย จะต้องวินิจฉัยคำ ๒ คำ ว่าได้แก่อะไร คือคำว่า อภิธมฺเม อภิวินเย ๒ คำนี้มีปรากฏทั้งในพระสูตรและพระวินัยหลายแห่ง เช่นในกินติสูตรแห่งพระบาลีมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ มีคำว่า อภิธมฺเม คัมภีร์อรรถกถาแก้ว่า ได้แก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่วนภิกษุคณะอภิธรรมิกะนั้น จำทรงแต่เฉพาะ ที่เป็นแก่นธรรมล้วน ๆ ในพระสูตร ซึ่งพระสาวกนำมาปุจฉาวิสัชนาแล้วรวบรวมขึ้นไว้ พูดง่าย ๆ คือพระสูตร เป็นเรื่องราวของบุคคลาธิษฐานเจือธรรมาธิษฐาน ส่วนพระอภิธรรมนั้นเป็นธรรมาธิษฐานล้วน อภิธมฺเม ในสมัยนี้มีตัวอย่างให้เห็นได้ คือ คัมภีร์มหานิทเทส จุลนิทเทส และปฏิสัมภิทามัคค์ทั้ง ๓ คัมภีร์ได้แยกตัวออกจากพระสูตร สงเคราะห์เข้าใน ขุททกนิกาย คัมภีรมหานิทเทส จุลนิทเทส แต่งอธิบายธรรมะในสุตตนิบาต ตอนอัฏฐวัคคิกะ กับตอนปรายวรรค ส่วนคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์อธิบาย ปรมัตถธรรมที่สุขุมมาก ในฝ่ายสันสกฤต นิกายสรวาสติวาท ก็มี อภิธฺมเม รูปเค้าเดียวกัน คือคัมภีร์อธิธรรมสังคีติบรรยายปาทศาสตร์ ของพระสารีบุตร และคัมภีร์อภิธรรมสกันธปาทศาสตร์ ของพระโมคคลลานะ ที่ว่าเหมือนกันก็คือ คัมภีร์ทั้งสองมีลีลาแก้พระสูตรอีกทีหนึ่ง

ส่วน อภิวินเย หรืออภิวินัย ก็ได้แก่การปุจฉาวิสัชนา อธิบายอรรถะแห่งพระวินัย ถ้าจะชี้ก็ขอชี้คัมภีร์มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ และคัมภีร์บริวาร มหาวิภังค์ และคัมภีร์วิภังค์ ยังเจือพระพุทธพจน์ กับถ้อยคำของพระสาวกสาวิกา อธิบายพระพุทธพจน์อีกต่อหนึ่ง ส่วนคัมภีร์บริวาร เป็นประชุมอธิบายข้อความสำหรับวินิจฉัยพระวินัย ตั้งเป็นรูปกระทู้แล้วอธิบายมีลักษณะเป็นอภิวินัยอย่างสมบูรณ์ .

๓. สมัยแยกจากพระสูตรเป็นอีกปิฏกหนึ่ง
แม้ อภิธมฺเม อภิวินเย จะมีมาสมัยเดียวกันก็จริง แต่เนื่องด้วยเรื่องของวินัยเป็นระเบียบแบบแผนกำหนดไว้ ไม่สู้จะมีปัญหาที่ต้องขบให้พิสดาร ผิดกับความคิด และทัศนะทางธรรม ซึ่งมีอาณาบริเวณแห่งจินตนาการกว้างขวางมาก ตามความรู้ความเข้าใจของบุคคล ฉะนั้นเรื่อง อภิธมฺเม จึงพัฒนาไปไกลกว่าเรื่อง อภิวินเย ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑-๓ พระสาวกได้รวบรวมข้ออภิปรายธรรมนิเทสต่าง ๆ จัดขึ้นเป็นปิฎกที่สามคือ อภิธรรมปิฎก ต่างคณะต่างรวบรวม ฉะนั้น พระอภิธรรมปิฎกของนิกายต่าง ๆ จึงหาเหมือนกันไม่ แต่ปัจจุบันนี้ อภิธรรมปิฎกยังคงมีเหลืออยู่ ๓ นิกาย ที่เรียกได้ว่าพอแก่การศึกษา คือพระอภิธรรมปิฎกฝ่ายบาลีของนิกายเถรวาทหนึ่ง พระอภิธรรมปิฎกฝ่ายสันสกฤต ของนิกายสรวาสติวาทหนึ่ง และพระอภิธรรมปิฎกของลัทธิมหายานหนึ่ง สำหรับฝ่ายเถรวาทมีสมบูรณ์กว่าเพื่อน คือมีพร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และโยชนา ฝ่ายสันสกฤตอันดับสองก็แปลสู่จีนพากย์เป็นส่วนมาก ฝ่ายสันสกฤตอันดับสองก็แปลรักษาไว้ในจีนพากย์ไว้ได้มาก แต่พระอภิธรรมของลัทธิมหายานเป็นของกำเนิดขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๕ ล่วงแล้ว และไม่จัดเป็นปิฎก เพิ่งมาจัดขึ้นต่อภายหลังอีกนานเรียกกันว่า “ศาสตร์” (หลุง) เป็นรจนาของคณาจารย์ต่าง ๆ แห่งมหายาน มีพระนาคารชุน, พระอสังคะ, พระวสุพันธุ เป็นอาทิ ฉะนั้น ถ้าจะว่าไปแล้วก็เหลือพระอภิธรรมปิฎก ๒ นิกายเท่านั้น คือนิกายเถรวาทกับนิกายสรวาสติวาท ที่จัดได้ว่าเป็นของเก่าสืบมาแต่สมัยที่สอง

๔ สมัยรวบรวมสารัตถะแห่งพระอภิธรรม
จำเดิมนับแต่มีพระอภิธรรมขึ้นเป็นเอกเทศ รวมเป็นพระไตรปิฎกโดยสมบูรณ์แล้ว พัฒนาการแห่งความคิดในหลักธรรมก็ยิ่งเจริญไปไกล คณาจารย์ฝ่ายอภิธรรมิกะได้ขยายแนวอธิบายสภาวธรรมตามทัศนะของท่านให้พิสดารกว้างขวาง และมีการโต้แย้งมติในระหว่างคณาจารย์ด้วยกัน ละเอียดซับซ้อนออกไปเรื่อย ๆ จึงเป็นการยากแก่นักศึกษาที่มีเวลาจำกัด ในการซึบซาบพระอภิธรรมได้ ฉะนั้น จึงมีคณาจารย์ที่เล็งเห็นความลำบากในเรื่องนี้ ได้เก็บเอาสารัตถะสำคัญแห่งพระอภิธรรมปิฎก ออกมาเรียบเรียงใหม่ให้ย่นย่อ เพื่อเป็นอุปกรณ์พาให้นักศึกษาเข้าถึงปิฎกนี้โดยง่าย คัมภีร์ประเภทนี้มักแต่งเป็นคาถาอันไพเราะสะดวกแก่การท่องจำ และมีคำอธิบายคาถากำกับด้วยเป็นร้อยแก้ว บางทีก็รจนาเป็นความเรียงแก้พระพุทธพจน์บทใดบทหนึ่ง ในนิกายเถรวาท คัมภีร์ประเภทนี้มีชื่อโด่งดังมาก เห็นจะเป็น “วิสุทธิมัคค์ปกรณ์พิเศษ” ของพระพุทธโฆษะ “อภิธัมมาวตาร” ของพระพุทธทัตตะ และ “อภิธัมมัตถสังคหะ” ของพระอนุรุธาจารย์ ในฝ่ายนิกายสรวาสติวาทก็มี “สังยกตาภิธรรมหฤทัย” ของพระธรรมตฺร “อภิธรรมโกศะ” ของพระวสุพันธุ เป็นต้น

ต่อมานักศึกษาปกรณ์เหล่านี้ ยังเห็นว่าบางตอนท่านกล่าวไว้รวบรัด ยากที่จะเข้าใจ จึงเกิดมีคันถรจนาจารย์อีกพวกหนึ่ง แต่งขยายอรรถที่ลี้ลับในปกรณ์ดังกล่าวออกมาอีก

พระอภิธรรมมีลักษณะพิเศษ ประกอบด้วยทฤษฎี และกฎเกณฑ์ทางสภาวธรรมอย่างพิสดาร เป็นวิทยาศาสตร์ทั้งด้านนามและด้านรูป และเป็นอภิปรัชญา ซึ่งไม่มีในคัมภีร์ของศาสนาอื่นใด พระอภิธรรม จึงต้องศึกษาด้วยการถ่ายทอดทำความเข้าใจเป็นพิเศษจากอาจารย์ ก็ผู้ที่จำทรงในพระอภิธรรมได้ ข้าพเจ้ารับรองได้ว่า ผู้นั้นจะไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ จักทวีศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น บัดนี้ วงการปริยัติศึกษาของเรา ได้สนใจเล่าเรียนพระอภิธรรมแพร่หลาย จึงนับเป็นลาภอันประเสริฐแห่งพุทธบริษัทผู้ใคร่ในการศึกษาทั้งหลายโดยแท้

ข้อมูลจาก  หนังสือ  คดีธรรม-คดีโลก :  เสถียร  โพธินันทะ
:http://www.dharma-gateway.com/ubasok-preach-index-page.htm