ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 09:34:33 am »บาลีแห่งบทที่แสดงอนัตตานี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ท่านไม่ใช้ คำว่า สังขาร
ทั้งหลาย เหมือนใน ๒ ข้อแรก แต่ท่านใช้คำว่า ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา
นี้ย่อมแสดงว่า ขอบเขต แห่งสิ่งที่เป็น อนัตตา นี้ กว้าง กว่า ขอบเขตแห่ง
สิ่งที่ไม่เที่ยง และ เป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ ได้แก่ สังขารทั้งปวง
ส่วนสิ่งที่เป็นอนัตตานี้ หมายถึง ทุกสิ่ง ทั้งที่เป็นสังขาร และไม่ใช่สังขาร
สิ่งที่ไม่ใช่สังขาร คือ สิ่งที่ตรงข้ามจากสังขาร โดยประการทั้งปวง ได้แก่
วิสังขาร ซึ่งโดยเฉพาะ ได้แก่ สภาวะ ที่เรียกว่า นิพพาน คือ สภาวะพิเศษ
อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ปรุงแต่ง อยู่นอกอำนาจ หรือ
นอกขอบเขต ของการปรุง แต่ถึงอย่างนั้น สภาวะนั้น ก็เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน
ของมันเอง หรือ ของใคร คงให้เรียกแต่ว่า วิสังขาร หรือ นิพพาน หรือ
สิ่งที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ดังนี้เป็นต้น ไปตามเรื่องของมัน อย่าได้เข้าใจว่า
เมื่อสังขาร เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนแล้ว สิ่งที่ตรงกันข้าม คือ วิสังขาร ก็จะเป็น
ตัวตน ดังนี้เลย ทั้งนี้เพราะเหตุใด ทั้งนี้ เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่า เป็นตัว
ตนนั้น เป็นเพียงของลมๆ แล้งๆ ที่เกิดขึ้นเพราะอวิชชา และอุปาทานทั้งนั้น
ลักษณะทั้ง ๓ นี้ ท่านเรียกว่า ธรรมฐีติ เป็นของที่ตั้งอยู่เองตามธรรมชาติ
เพราะฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้ในธรรมนิยามสูตร เป็นใจความว่า ตถาคต จะ
เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม สังขารทั้งปวง ก็เป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา อยู่เช่นนั้นเสมอไป นี้เป็นเครื่องแสดงว่า กฏอันเกี่ยวกับ สัจธรรม นั้น
ไม่เนื่องด้วย พระพุทธเจ้า โดยตรง แต่เป็น เรื่องของธรรมชาติ โดยเฉพาะ
พระพุทธเจ้า เป็นแต่เพียง ผู้ทราบกฏ อันนี้ และ ทราบหนทางที่ถูกต้อง ที่
พึงจะปฏิบัติ ต่อสิ่งเหล่านั้น ในลักษณะ ที่จะไม่ทำให้ เกิดความทุกข์ขึ้น
สามัญญลักษณะทั้ง ๓ นี้ ก็เหมือนกัน เป็นสิ่งที่ พระองค์ ทรงมองเห็นถึง
ที่สุด จนนำมาใช้ เป็นประโยชน์ เพื่อกำจัดความทุกข์ และก็ต้องใช้ได้ตลอด
ไป คือว่า พระพุทธเจ้า จะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้น ก็ตาม เช่นเดียวกัน ผู้ปฏิบัติ
จะต้องสนใจ ในความจริงข้อนี้ ให้มาก
อีกอย่างหนึ่ง ได้ตรัสไว้ในคัมภีร์ ขุททกนิกายว่า เมื่อมีปัญญาเห็นว่า
สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา แล้ว ก็จะเกิด
ความเบื่อหน่าย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ คือสิ่งที่ไม่เที่ยง แต่ตนสำคัญผิดว่า
เที่ยง คือสิ่งที่แท้จริงเป็นทุกข์ แต่ตนสำคัญผิดว่า เป็นสุข และสิ่งซึ่ง
เป็นอนัตตา แต่ตนสำคัญผิดว่า เป็นอัตตา เมื่อมีปัญญา ถึงขนาดนี้ ตัว
ปัญญานั่นเอง เป็นทางแห่ง ความหมดจด จากทุกข์ กล่าวคือ นิพพาน
ทั้งหมดนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า เรื่องอันเกี่ยวกับ ไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ
นี้ เป็นใจความสำคัญ เพราะ เป็นเรื่องแสดงให้เห็น ความทุกข์ แล้วนำมาซึ่ง
ทางแห่งความดับทุกข์ และเป็นเรื่องซึ่ง ทรง ย้ำมากที่สุด ทรงสั่งสอนมาก
ที่สุด กว่าเรื่องทั้งหลาย ควรที่จะ ได้รับการสนใจ เป็นพิเศษ
จบตอนที่ ๑ หมวดธรรมะประเภททฤษฎีฝ่ายทุกข์
คัดจาก หนังสือ ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี หรือ ธรรมวิภาค นวกภูมิ
คำบรรยายธรรมะ ของ พุทธทาสภิกขุ ในพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐
พิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
Credit by :http://www.buddhadasa.com/rightstudydham/triluk.html
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ทั้งหลาย เหมือนใน ๒ ข้อแรก แต่ท่านใช้คำว่า ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา
นี้ย่อมแสดงว่า ขอบเขต แห่งสิ่งที่เป็น อนัตตา นี้ กว้าง กว่า ขอบเขตแห่ง
สิ่งที่ไม่เที่ยง และ เป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ ได้แก่ สังขารทั้งปวง
ส่วนสิ่งที่เป็นอนัตตานี้ หมายถึง ทุกสิ่ง ทั้งที่เป็นสังขาร และไม่ใช่สังขาร
สิ่งที่ไม่ใช่สังขาร คือ สิ่งที่ตรงข้ามจากสังขาร โดยประการทั้งปวง ได้แก่
วิสังขาร ซึ่งโดยเฉพาะ ได้แก่ สภาวะ ที่เรียกว่า นิพพาน คือ สภาวะพิเศษ
อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ปรุงแต่ง อยู่นอกอำนาจ หรือ
นอกขอบเขต ของการปรุง แต่ถึงอย่างนั้น สภาวะนั้น ก็เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน
ของมันเอง หรือ ของใคร คงให้เรียกแต่ว่า วิสังขาร หรือ นิพพาน หรือ
สิ่งที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ดังนี้เป็นต้น ไปตามเรื่องของมัน อย่าได้เข้าใจว่า
เมื่อสังขาร เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนแล้ว สิ่งที่ตรงกันข้าม คือ วิสังขาร ก็จะเป็น
ตัวตน ดังนี้เลย ทั้งนี้เพราะเหตุใด ทั้งนี้ เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่า เป็นตัว
ตนนั้น เป็นเพียงของลมๆ แล้งๆ ที่เกิดขึ้นเพราะอวิชชา และอุปาทานทั้งนั้น
ลักษณะทั้ง ๓ นี้ ท่านเรียกว่า ธรรมฐีติ เป็นของที่ตั้งอยู่เองตามธรรมชาติ
เพราะฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้ในธรรมนิยามสูตร เป็นใจความว่า ตถาคต จะ
เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม สังขารทั้งปวง ก็เป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา อยู่เช่นนั้นเสมอไป นี้เป็นเครื่องแสดงว่า กฏอันเกี่ยวกับ สัจธรรม นั้น
ไม่เนื่องด้วย พระพุทธเจ้า โดยตรง แต่เป็น เรื่องของธรรมชาติ โดยเฉพาะ
พระพุทธเจ้า เป็นแต่เพียง ผู้ทราบกฏ อันนี้ และ ทราบหนทางที่ถูกต้อง ที่
พึงจะปฏิบัติ ต่อสิ่งเหล่านั้น ในลักษณะ ที่จะไม่ทำให้ เกิดความทุกข์ขึ้น
สามัญญลักษณะทั้ง ๓ นี้ ก็เหมือนกัน เป็นสิ่งที่ พระองค์ ทรงมองเห็นถึง
ที่สุด จนนำมาใช้ เป็นประโยชน์ เพื่อกำจัดความทุกข์ และก็ต้องใช้ได้ตลอด
ไป คือว่า พระพุทธเจ้า จะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้น ก็ตาม เช่นเดียวกัน ผู้ปฏิบัติ
จะต้องสนใจ ในความจริงข้อนี้ ให้มาก
อีกอย่างหนึ่ง ได้ตรัสไว้ในคัมภีร์ ขุททกนิกายว่า เมื่อมีปัญญาเห็นว่า
สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา แล้ว ก็จะเกิด
ความเบื่อหน่าย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ คือสิ่งที่ไม่เที่ยง แต่ตนสำคัญผิดว่า
เที่ยง คือสิ่งที่แท้จริงเป็นทุกข์ แต่ตนสำคัญผิดว่า เป็นสุข และสิ่งซึ่ง
เป็นอนัตตา แต่ตนสำคัญผิดว่า เป็นอัตตา เมื่อมีปัญญา ถึงขนาดนี้ ตัว
ปัญญานั่นเอง เป็นทางแห่ง ความหมดจด จากทุกข์ กล่าวคือ นิพพาน
ทั้งหมดนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า เรื่องอันเกี่ยวกับ ไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ
นี้ เป็นใจความสำคัญ เพราะ เป็นเรื่องแสดงให้เห็น ความทุกข์ แล้วนำมาซึ่ง
ทางแห่งความดับทุกข์ และเป็นเรื่องซึ่ง ทรง ย้ำมากที่สุด ทรงสั่งสอนมาก
ที่สุด กว่าเรื่องทั้งหลาย ควรที่จะ ได้รับการสนใจ เป็นพิเศษ
จบตอนที่ ๑ หมวดธรรมะประเภททฤษฎีฝ่ายทุกข์
คัดจาก หนังสือ ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี หรือ ธรรมวิภาค นวกภูมิ
คำบรรยายธรรมะ ของ พุทธทาสภิกขุ ในพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐
พิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
Credit by :http://www.buddhadasa.com/rightstudydham/triluk.html
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ