ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2011, 10:04:31 am »

ธรรมทานอ่ะจ๊ะ  เป็นมหากุศล
เลิศกว่าทานปรมัตถ์บารมีของพระเวสสันดร
เลิศกว่าปัญญญาบารมีของพระมโหสถ
เลิศกว่ากระต่ายที่สละชีวิตอ่า (ที่ไม่ใช่กระต่ายเกเรเหมือนสมาชิกบางคน)

 :25: :25: :25:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2011, 08:58:38 am »


แล้ววันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาเป็นวัน ’ออกพรรษา“ ก็เวียนมาถึงอีกครั้งในวันที่ 12 ต.ค. นี้ โดยวันออกพรรษาหรือวัน “ปวารณาออกพรรษา” เป็นหนึ่งในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท เป็นวันที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษา ซึ่งนี่เป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ แต่ออกพรรษาก็เกี่ยวข้องกับชาวพุทธทั่วไปด้วย...
   
ทั้งนี้ วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนแต่อดีตกาลจะเข้าวัดบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ และถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน หรือแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยก็นิยมทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า “ตักบาตรเทโว” หรือ “ตักบาตรเทโวโรหนะ” เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติ กล่าวคือ ในวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์
   
นอกจากนี้ ช่วงเวลาหลังวันออกพรรษา ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12  ชาวพุทธยังถือเป็นเวลากฐินกาล หรือ “ทอดกฐิน” ตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ก็เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนจะร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปี ณ วัดต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง
   
ทว่าปีนี้...ก็อย่างที่เห็นและเป็นอยู่ น้ำท่วมใหญ่ในหลายสิบจังหวัด วัดวาอารามจมอยู่ใต้น้ำมากมาย พระสงฆ์องค์เจ้าเดือดร้อนจำนวนมาก คนไทยก็ทุกข์สาหัสกันกลาดเกลื่อน ซึ่งสภาพการณ์เป็นเช่นนี้...สำหรับชาวพุทธที่ไม่ประสบภัยน้ำท่วม ควรทำบุญออกพรรษาแบบไหนจึงเหมาะสม???
   
กับปุจฉาข้อนี้ ทาง พระเทพวิสุทธิกวี เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย บอกว่า...เทศกาลวันออกพรรษาสิ่งที่พุทธศาสนิกชนพึงกระทำคือการทำบุญ-ตักบาตรเทโว แต่ในปีนี้เป็นกรณีพิเศษ
   
“ประชาชน และพระสงฆ์ ต่างประสบความเดือดร้อนจากน้ำท่วม จึงอยากจะขอเชิญชวนให้อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายต่างช่วยกันคนละไม้คนละมือ ทำบุญตักบาตรด้วยข้าวสารอาหารแห้งเพื่อรักษาประเพณีทางศาสนาให้คงอยู่ และนำเครื่องอุปโภคบริโภคออกมาช่วยกันบริจาคให้ผู้เดือดร้อน
   
อยากให้ทุกคนช่วยกันซับน้ำตา สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นขณะนี้นั้นหนักหนาสาหัสมาก ไม่มีอะไรดีไปกว่าการแบ่งปันน้ำใจซึ่งกันและกัน คนไทยเราอยู่รอดกันมาได้เพราะความมีน้ำใจ ความเอื้ออารี ช่วยเหลือกัน ทุกคนคือคนไทย พี่น้องกัน ใครมีกำลังทรัพย์ก็ช่วยทรัพย์ ใครมีของก็ช่วยบริจาคของ ใครมีแรงก็ช่วยแรง...“ …พระเทพวิสุทธิกวี แนะเรื่อง ’การทำบุญในยุคน้ำท่วมใหญ่“
     
ด้าน พระพิศาลธรรมพาที หรือ พระพยอม กัลยาโณ แห่งวัดสวนแก้ว บอกว่า...ปีนี้น้ำท่วมมาก ประชาชนและวัดเป็นจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน ทางวัดสวนแก้วก็จะมอบเงินช่วยเหลือให้ครอบครัวเกษตรกรชาวสวนชาวไร่ที่เดือดร้อนเพราะน้ำท่วมครอบครัวละ 10,000 บาท จำนวน  30 ครอบครัว โดยมีเงื่อนไขให้ส่งคนในครอบครัว 1  คนมาช่วยทำงานให้วัด ปลูกกล้วยปลูกผักปลูกหญ้า 1 เดือน มีที่อยู่ที่กินให้เรียบร้อย ซึ่งได้ไอเดียมาจากบริษัทซึ่งหยุดทำงานเพราะน้ำท่วม จึงส่งพนักงานมาช่วยทำงานให้วัดโดยจ่ายเงินเดือนให้ปกติ
   
“ออกพรรษานี้ อาตมาขอความร่วมมือวัดทุกวัดที่ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมช่วยบิณฑบาตข้าวสารอาหารแห้งเพื่อช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ส่วนวัดที่ถูกน้ำท่วมก็ขอฝากประชาชนช่วยกันดูแล”
   
หลังออกพรรษาก็ถึงเทศกาลทอดกฐิน ปีนี้วัดถูกน้ำท่วมจำนวนมาก การทอดกฐินและทอดผ้าป่าของญาติโยมจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวัดมาก ซึ่งอยากให้สำรวจความต้องการของวัด ต้องคุยกับทางวัดว่าต้องการอะไรเป็นพิเศษเพื่อจัดหาของที่ถูกกับความต้องการ ความจำเป็น กฐินที่ท่านทั้งหลายทำไปนั้นจะได้เกิดเป็นมหากุศลจริง ๆ เพราะนำไปช่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และบำรุงศาสนาได้อย่างแท้จริง
   
พระพยอมกล่าวอีกว่า...สิ่งสำคัญในตอนนี้คือ ข้าวสาร อาหารแห้ง เชื่อว่าพระหลาย ๆ วัดคงไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ไปอีกระยะหนึ่ง ที่สำคัญชาวบ้านในพื้นที่ก็ยากลำบาก ขาดเสบียงอาหารไม่ต่างกัน เพราะหายไปกับน้ำหมดแล้ว ดังนั้นกฐินในปีนี้ญาติโยมต้องนึกไปถึงปีหน้าเลย กฐินที่ท่านทำจะได้เกิดประโยชน์กับพระและวัดจริง ๆ เรียกว่าเป็นคุณจริง ๆ การจะได้บุญได้กุศลอย่างแท้จริง ไม่ใช่เอะอะทำอะไรก็บอกว่านี่เป็นมหาบุญ มหาทาน แต่ทำไปโดยไม่คิดใคร่ครวญ ไม่รอบคอบ อย่างนี้ประโยชน์ก็ไม่เกิด
   
“พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนให้ทานเก่งใช่ว่าต้องสรรเสริญ แต่ควรสรรเสริญคนที่ทำทานโดยคิดใคร่ครวญดีแล้วเพราะจะเกิดประโยชน์แก่ผู้รับมากกว่า ฉะนั้น การทำบุญ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ในปีนี้ก็ต้องสำรวจความจำเป็นของวัด มิฉะนั้นก็จะเป็นแค่พิธีกรรมเท่านั้น ไม่สามารถช่วยรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป...” ...พระพยอมกล่าว พร้อมทั้งระบุด้วยว่า...วัดกับชาวบ้านต้องร่วมแรงร่วมใจ แบ่งปัน พึ่งพาช่วยเหลือกันและกันยามเดือดร้อน ก็จะเกิดความสามัคคีปรองดอง ได้พึ่งพาอาศัยในการทำสิ่งดีงามกันต่อไป
   
นี่ก็เป็นวิสัชนา ’ทำบุญทำกุศลเทศกาลออกพรรษา“ ปีนี้
   
ในยุคที่หันไปทางไหนก็เจอ ’น้ำท่วม...น้ำท่วม...น้ำท่วม“.

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=23&contentID=168945