ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2011, 10:16:05 am »

“ลองสังเกตดูนะโยม ถ้าปีไหนยอดงวงช้างชี้ตรงแน่วขึ้นไป จะเห็นว่าปีนั้นน้ำจะมาก ถ้ายอดงวงช้างม้วนลงมา ระดับน้ำก็จะน้อย”

“ชาวบ้านเขาไม่เชื่อ เขาบอกว่า อย่าไปงมงายอะไรมาก”


ปรากฏเหตุการณ์ที่ไม่น่าเกิดขึ้นคือ มีต้นโป๊ยเซียนอายุเก่าแก่ต้นหนึ่ง ขนาดใหญ่มาก ชาวบ้านจะตัดทิ้ง ท่านบอกว่าไม่ควรตัด และเตือนว่า ถ้าทำลายไปจะทำให้เกิดเหตุเภทภัย แต่ชาวบ้านก็ตัดต้นไม้นั้น หลังจากนั้นมา คนที่ตัดก็เสียชีวิต

“ชาวบ้านเขาไม่เชื่อ เขาบอกว่า อย่าไปงมงายอะไรมาก”

สัตว์โลกตายเป็นไปตามกรรมอ่า  ไม่ใช่เพราะตัดต้นไม้อ่า

นั่นตือ ไม่รู้จักกรรม ไม่รู้เหตุของกรรม และไม่รู้จักผลของกรรมอ่า

งมงาย เลอะเทอะจริงๆอ่า

 :25: :25: :25:






ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2011, 10:10:32 am »

 :25: :25: :25:


“ชาวบ้านเขาไม่เชื่อ เขาบอกว่า อย่าไปงมงายอะไรมาก”
ชาวบ้านสอนพระอ่า
เชื่อชาวบ้านไว้มั่งนะครับ

ขนาดรังนกนางแอ่น อยู่สูงน๊า
ยังรักษาตัวเองไม่รอดเลยอ่า
ต้องไปจมน้ำอยู่ในขวด กิกิ

 :25: :25: :25:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2011, 08:39:49 am »



“พระในวัดยังออกไปบิณฑบาตไม่ได้” พระเทพหัสดินบอก

พระเทพหัสดิน กนฺตวีโร วัดครุธาราม หมู่ 5 ตำบลสระบัว อ.พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บอกถึงการประกอบศาสนกิจว่าไม่สามารถทำได้ครบ 4 ประการ ดังพุทธบัญญัติ เพราะว่าน้ำท่วมวัดระดับ น้ำสูงเกินกว่าจะเดินออกไปไหนมาไหนได้ และไม่มีเรือ

“น้ำมาตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมแล้ว ช่วงแรก ๆ ยังพอบิณฑบาตได้ แต่หลังวันที่ 7 ตุลาคม น้ำมาเร็วและแรงมาก ข้าวของท่วมจมไปหมดใน วัดระดับน้ำสูงประมาณ 2.50 เมตร ชาวบ้านบางบ้านต้องอาศัยอยู่บนหลังคา บางบ้านก็เข้ามาอยู่ในวัด”

พระภิกษุสงฆ์ในวัดมีอยู่ 5 รูป รวมชาวบ้านที่มาอาศัยอีกกว่า 20 คน ทำให้อาหารการกินต่างๆ ต้องเพิ่มปริมาณ แต่เมื่อพระสงฆ์บิณฑบาตไม่ได้ ก็ต้องอาศัยญาติโยมบ้านใกล้เรือนเคียง และที่มาอาศัยวัดเอื้อเจือจานกันไปวันๆ พอประทังชีวิต

สิ่งที่ขาดแคลน “อาหารการกิน น้ำดื่ม ยาสีฟัน สบู่ เราเหลือน้อยเต็มที่แล้ว”

เมื่อถามถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าไปช่วยเหลือ พระเทพหัสดินบอกว่า ยังไม่เห็นมีหน่วยงานไหนเข้ามาถึง ระหว่างนี้ก็ต้องช่วยเหลือกันเองไปตามมีตามเกิด

สาเหตุที่กระแสน้ำมาแรง และยังมาเร็วกว่าทุกๆ ปี พระเทพหัสดินบอกว่า น่าจะเป็นอาเพศ พลางแจกแจงรายละเอียดว่า เมื่อสองปีที่แล้วท่านได้ไปสวดมนต์ที่วัดแห่งหนึ่ง อยู่ในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการสวดเพื่อสยบภัยพิบัติ

ปรากฏเหตุการณ์ที่ไม่น่าเกิดขึ้นคือ มีต้นโป๊ยเซียนอายุเก่าแก่ต้นหนึ่ง ขนาดใหญ่มาก ชาวบ้านจะตัดทิ้ง ท่านบอกว่าไม่ควรตัด และเตือนว่า ถ้าทำลายไปจะทำให้เกิดเหตุเภทภัย แต่ชาวบ้านก็ตัดต้นไม้นั้น หลังจากนั้นมา คนที่ตัดก็เสียชีวิต

“ชาวบ้านเขาไม่เชื่อ เขาบอกว่า อย่าไปงมงายอะไรมาก”

พระเทพหัสดินบอกว่า เหตุร้ายหลังจากตัดต้นไม้ นอกจากคนตัดต้นไม้จะเสียชีวิตแล้ว ยังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมหนักอย่างที่เป็นอยู่

ทรรศนะของพระเทพหัสดิน ต่างจากทรรศนะของพระเกียรติศักดิ์ ติยธมฺโม อย่างสิ้นเชิง

พระเกียรติศักดิ์ ติยธมฺโม วัดบางซ้ายนอก หมู่ 8 ตำบลเต่าเล่า อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาบอกว่า วัดบางซ้ายนอกเป็นวัดเดียวในย่านตลาดบางซ้าย ที่น้ำไม่ท่วมขัง ทั้งนี้เพราะความสามัคคีของชาวบ้าน พระ เณร ร่วมแรงร่วมใจกันกู้วิกฤติ

“ตอนนี้ เรากำลังสูบน้ำออกจากแนวคันกั้นน้ำของวัด เราต้องพยายามเอาน้ำออกไปเรื่อยๆ ไม่ให้ท่วมวัดได้ เพื่อกันเอาไว้ทำพิธีให้ชาวบ้าน” พระเกียรติศักดิ์บอก

เมื่อถามถึงการป้องกันน้ำ ท่านฉายภาพกว้างของวัดให้เห็นว่า วัดอยู่ใกล้กับประตูน้ำบางชัน และตลาดบางซ้าย ทุกปีเมื่อหน้าน้ำหลากวัดจะเปิดให้ชาวบ้านเข้ามาอาศัย และให้ชาวบ้านถิ่นวัดอื่นๆ เข้ามาประกอบพิธีทางศาสนา เช่น เผาศพ

“นี่ก็เพิ่งเผาไป 2 ศพ เหลืออีกศพหนึ่งยังเผาไม่ได้ เพราะเจ้าภาพไม่พร้อม”

ส่วนการกั้นน้ำ “วัดเราอยู่ใกล้ประตูน้ำ น้ำขึ้น น้ำลง เราจะเห็นได้ง่าย ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่เปิดประตู จะมีผลต่อระดับน้ำที่จะเข้ามาในวัดด้วยขณะนี้ที่วัดก็กำลังช่วยกันก่อกำแพงหนีน้ำอยู่ พร้อมทั้งล้อมกระสอบทรายไว้ให้แน่นหนาด้วย เราต้องป้องกันไว้ให้ได้ ถ้าพลาดพังขึ้นมาเราจะกู้ไม่ไหว”

นอกจากแรงงานแรงใจชาวบ้าน พระเกียรติศักดิ์บอกว่า ทางวัดจ่ายเงินค่าป้องกันน้ำไปหลายแสนบาทแล้ว ความมั่นใจว่าจะต้องกันน้ำท่วมได้นั้น ท่านบอกว่า ทางวัดมีประสบการณ์ทุกปี ดังนั้น เมื่อใกล้ฤดูน้ำหลาก ก็จะเตรียมกระสอบทรายไว้แต่เนิ่นๆ

“ปีก่อนๆ อย่างปี พ.ศ.2549 เราต้องใช้กระสอบทรายประมาณ 7,000 ใบ แต่ปีนี้น้ำมาเร็วมาก อาตมาอยู่ใกล้ชลประทาน อยู่ใกล้ประตูน้ำเห็นระดับน้ำแล้วคิดว่าอย่างไรน้ำต้องท่วมแน่ จึงเตรียมความพร้อมเอาไว้ก่อน”

ด้วยตระหนักดีว่า ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย

ระดับน้ำแต่ละปีจะมากหรือน้อย พระเกียรติศักดิ์บอกว่า “อาตมาสังเกตจากรังนกกระจาบ แต่ละปีมันจะมาทำรังหน้าวัด ถ้าปีไหนน้ำมาก นกกระจาบจะทำรังสูง บางทีมันไปทำถึงยอดไม้เลย ถ้าปีไหนระดับน้ำต่ำ มันจะทำรังอยู่ในระดับต่ำลงมา”

นอกจากรังนกกระจาบแล้ว ท่านยังดูยอดต้นงวงช้าง

“ลองสังเกตดูนะโยม ถ้าปีไหนยอดงวงช้างชี้ตรงแน่วขึ้นไป จะเห็นว่าปีนั้นน้ำจะมาก ถ้ายอดงวงช้างม้วนลงมา ระดับน้ำก็จะน้อย”

ด้วยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เฝ้าสังเกตสั่งสมมาแต่บรรพกาล ทั้งการเฝ้าสังเกตระดับรังนกกระจาบและยอดงวงช้าง ทำให้พระเกียรติศักดิ์ประเมินสถานการณ์ในแต่ละปีได้

หลังจากนั้นก็เตรียมการ วัสดุสำคัญที่สุดในการเตรียมการก็คือกระสอบทราย “ทุกปีจะต้องใช้กระสอบทรายประมาณ 5-7,000 ใบปีนี้ คาดว่าจะใช้ปริมาณมาก แต่เตรียมไว้ได้แค่ประมาณ 3,000 ใบเท่านั้น น้ำก็มาแล้ว น้ำปีนี้มาเร็วมาก”

เพราะมาตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาฯ  ปกติปีก่อนๆ  น้ำจะมาบางซ้าย ช่วงสารทไทย ประมาณสารทไทยน้ำจะลงทุ่งบางซ้าย เราเตรียมตัวรับกันทุกปี แต่ปีนี้รับแทบไม่ทัน นี่ถ้าไม่มีการเตรียมการเอาไว้ก่อน คงรับมือยากเหมือนกัน”

สาเหตุที่น้ำมาเร็ว พระเกียรติศักดิ์บอกว่า  “น่าจะมาจากระบบระบายน้ำของกรมชลประทาน บางทีเกาะเกี่ยวกับเรื่องชาวนา ชาวบ้านมีทั้งทำนาปีและนาปรัง ถ้าปล่อยน้ำลงมามาก อาจเกรงว่าน้ำจะไม่พอทำนาปรัง”

เรื่องการระบายน้ำ “อาตมาอยู่ใกล้ประตูน้ำ บางทีก็แปลกใจเหมือนกันกับการเปิด-ปิดประตูน้ำ บางช่วงน้ำท่วมขังจนเน่า ปลาตายลอยขึ้นมาแล้ว ชลประทานก็ยังไม่เปิด ความจริงน่าจะมีการทยอยเปิดน้ำไปบ้าง ไม่ให้เกิดการท่วมขังเน่าเสีย อาตมาไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงจะเปิดประตูน้ำก็ต่อเมื่อรับไม่ไหวจริงๆ เท่านั้น ทำไมไม่ทยอยเปิดน้ำระบายออกไปก่อน เมื่อฝนตกชุก ให้น้ำออกไปบ้าง”

บางปี... “โทร.ไปบอกเจ้าหน้าที่เปิดประตูน้ำว่า น้ำเน่าแล้ว ทำไมไม่เปิดประตูน้ำให้ชาวบ้าน เขาก็ไม่เปิด เขาบอกว่า โครงการไม่อนุญาตให้เปิด จะเปิดได้ก็ต้องได้รับอนุญาตก่อน”

การเปิด-ปิดประตูน้ำ เป็นหน้าที่ของฝ่ายชลประทาน ทำอย่างไรเหมาะ ทำอย่างไรควร การตัดสินใจของกรมชลประทานเป็นอย่างไรนั้น ปัจจุบันดูเหมือนไม่สำคัญเท่ากับคำอธิบายให้ชาวบ้านได้กระจ่างใจ ว่าทำไมถึงต้องทำอย่างนั้น

สำหรับการรับบริจาคของวัดบางซ้ายนอก ถ้าเป็นอาหาร พระอาจารย์เกียรติศักดิ์บอกว่า ทางวัดจะแบ่งไปให้วัดพรหมนิมิต ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ 10 ตำบลเต่าเล่า อยู่ลึกเข้าไปในท้องทุ่ง ถูกตัดขาดจากผู้คนมาหลายวันแล้ว วัดแห่งนี้มีพระประมาณ 10 รูป ปัจจุบันรวมกันอยู่ที่ศาลา

“วัดพรหมนิมิตไม่มีเรือ เข้าออกทางบกไม่ได้ ข้าวของที่ทางวัดอาตมาได้มา บางครั้งก็ส่งต่อไปให้วัดพรหมนิมิตเลย” พระเกียรติศักดิ์บอก

พระภิกษุสงฆ์ในวัดต่างๆ ที่น้ำท่วมขัง ยังมีวัดอื่นๆ อีกมากที่รอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐและเอกชนเข้าไปช่วยเหลือ แม้จะมีหน่วยงานไม่น้อย แต่ก็ไม่อาจมากพอกับความต้องการได้โดยง่าย

ระหว่างรอคอย คงต้องภาวนา “อัตตา หิ อัตโน นาโถ” ไปพลางๆ ก่อนอย่างน่าเห็นใจ.

http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/210151