ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2011, 09:25:17 am »แบบฝึกหัดที่ 4
จิตต์ตั้งที่จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกในวงกลม นึกให้เป็นจอโทรทัศน์ แล้วนึกให้เห็นส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.ที่ตามีประสาท เรียกว่าจักษุประสาท เป็นส่วนรูป มีวิญญาณที่ส่วนนามซ้อนอยู่ เรียกว่าจักษุวิญญาณ มีหน้าที่เห็นสิ่งต่างๆ
2.ที่หูมีประสาท เรียกว่าโสตประสาท เป็นส่วนรูป มีวิญญาณเป็นส่วนนามซ้อนอยู่ เรียกว่าโสตวิญญาณ มีหน้าที่ให้ได้ยินเสียงทั้งปวง
3.ที่จมูกมีประสาท เรียกว่าฆานประสาท เป็นส่วนรูป มีวิญญาณเป็นส่วนนามซ้อนอยู่ เรียกว่าฆานวิญญาณ มีหน้าที่ดมและรู้กลิ่นทั้งปวง
4.ที่ลิ้นมีประสาท เรียกว่าชิวหาประสาท เป็นส่วนรูปมีวิญญาณเป็นส่วนนามซ้อนอยู่ เรียกว่าชิวหาวิญญาณ มีหน้าที่รับรู้ รสอาหารทั้งปวง
5.ที่กายมีประสาท เรียกว่ากายประสาท เป็นส่วนรูปแผ่ซ้อนอยู่ทั่วกาย มีวิญญาณเป็นส่วนนามซ้อนกายประสาทอยู่ เรียกว่ากายวิญญาณ มีหน้าที่รับ และรู้สิ่งต่างๆที่มากระทบถูกต้องกาย
6.ที่ก้อนเนื้อหทัยวัตถุมีประสาท เรียกว่ามโน เป็นส่วนรูป มีวิญญาณเป็นส่วนนามแผ่ซ้อนอยู่ เรียกมโนวิญญาณมีหน้าที่รับรู้จากวิญญาณทั้ง 5 ที่กล่าวมาแล้วรับช่วงต่อจากวิญญาณที่จุดศูนย์กลางก้อนมันสมอง ภายในกะโหลกศีรษะแล้วส่งต่อให้จิตต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดศูนย์กลางภายในก้อนวัตถุ มโนนั้น
7.ก้อนมันสมองในกะโหลกศีรษะ มีวิญญาณแผ่ซ่อนอยู่ เรียกว่า ปัญจทวารชวนจิตต์มีหน้าที่รับรู้จากวิญญาณ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วส่งต่อให้มโนวิญญาณ ส่งต่อให้จิตอีกช่วงหนึ่ง มีหน้าที่รับรู้จากจิตต์สั่งผ่านมโน ให้ตาดูสิ่งต่างๆ หูฟังเสียงต่างๆจมูกดมกลิ่นต่างๆ ลิ้นลิ้มรสต่างๆ กายสัมผัสหยิบจับสิ่งต่างๆ
8.จิตต์ที่เป็นตัวประธาน เรียกว่า วิบากจิตต์ จิตต์นี้นำให้เราเกิดมาเป็นคนในชาตินี้ การที่เราเกิดมาเป็นคนในชาตินั้นก็เพราะชาติก่อน เราไม่ประพฤติผิดกฎแห่งสังคม ถ้าชาตินี้ไม่ประพฤติผิดต่อกฎแห่งสังคมอีก จิตต์ก็จะมีสภาพเป็นคนไปตลอดชาตินี้ และอาจเกิดเป็นคนในชาติต่อไปอีก ถ้าประพฤติผิดต่อกฎแห่งสังคมแล้ว จิตต์ก็เปลี่ยนสภาพไปเป็นอย่างอื่นตามอำนาจของกฎแห่งกรรมคือการกระทำผิดแห่งกฎนั้น จิตต์ที่เปลี่ยนสภาพไปนี้ ก็จะนำให้ไปเกิดเป็นอะไรอย่างไร ตามกำลังของกรรมนั้นเช่นเกิดเป็นสัตว์ดุร้าย ให้คนคอยฆ่าเมื่อพบเห็น หรือแม้ว่าเกิดมาเป็นคนอีก มีอายุสั้นตายเสียในท้องบ้าง ออกมาอายุไม่เท่าไรตายก็มี เหล่านี้เป็นตัวอย่าง เพราะฉะนั้นต้องพยายามฝึกหัดให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า กระทำผิดกฎแห่งสังคมข้อใด แค่ไหน เพียงไร ตายแล้วจะไปเกิดเป็นอะไร อย่างไร ที่ไหน นานเท่าใด ถ้าไม่กระทำผิดกฎแห่งสังคม และรักษากฎแห่งสังคมให้บริบูรณ์แล้ว ตายแล้วจะไปเกิดเป็นอะไร ที่ไหน อย่างไร
แบบฝึกหัดที่5
เมื่อฝึกหัดตามแบบฝึกหัดที่ 4 เห็น รู้ ดีแล้ว พึงฝึกหัดตามแบบฝึกหัดที่ 5 ต่อไป ดังนี้
1.เมื่อตั้งจิตต์ที่จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกในวงกลมนึกให้เห็นเป็นโทรทัศน์ได้ตามที่ต้องการแล้ว นึกให้เห็นกายของผู้ฝึกปรากฏในจอโทรทัศน์นั้น เมื่อเห็นแล้วนึกให้เห็นกายของผู้ฝึกเคยนอนหลับแล้วฝันไปเห็นอะไร ที่ไหนนั้น ออกจากกายที่ฝึกหัดไปที่ใดที่หนึ่ง ตามแต่ผู้ฝึกจะนึกไป ตามความสะดวกของผู้ฝึก เมื่อกายฝันนี้ไปดูอะไร ที่ไหน เห็นอย่างไรบันทึกไว้เป็นแบบฝึกหัดตรวจสอบดูว่า เห็นจริงหรือไม่ อย่างไร ถ้าไม่จริงหรือคลาดเคลื่อนไป เพราะเหตุใด แล้วฝึกหัดต่อไปให้ชำนาญ เห็นได้ตามจริง เห็นได้ทุกเวลาที่ต้องการเห็น ผู้ฝึกจะอยู่ที่ใด นั่ง นอน ยืน เดิน อยู่อย่างไรก็ตาม ก็ย่อมเห็นได้เมื่อกำหนด เมื่อต้องการเห็น
2. จิตต์กำหนดนึกเห็น กายภูต 4 กาย ออกจากกายของผู้ฝึก มานั่งข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง ระยะมือเอื้อมถึง จิตต์เห็นได้ในจอโทรทัศน์นั้น กายนี้มีลักษณะเหมือนผู้ฝึกจิตต์ สีกายต่างกัน กายข้างหน้า สีชมพู ข้างหลังสีขาว ข้างขวาสีฟ้า ข้างซ้ายสีเหลือง เมื่อเห็นกายทั้ง 4 นี้ กายใดไม่ผ่องใส เช่น ดำ หมอกมัว อย่างไร พึงนึกให้ศูนย์วงแหวนมีจุดกลางศูนย์วงแหวนนั้น เส้นวงรัศมี 4 เซนติเมตร 4 วง ซ้อนกันประทับลงที่สะดือของกายภูตนั้น จุดศูนย์กลางวงแหวนตรงจุดกลางสะดือพอดีแล้ว จิตต์นึกให้ศูนย์วงแหวนเอาสีดำหมอกมัวนั้นออกจากกายภูตนั้นจนกว่าจะผ่องใส เมื่อกายภูตทั้งสี่นี้ผ่องใสแล้ว จิตต์นึกให้สี่กายนี้ซ้อนกันรวมเป็น 1 แล้ว นึกเอากายนี้เป็นกายฝันไปดูอะไรที่ไหน เช่นเดียวกันกับข้อ 1 ในแบบฝึกหัดที่ 5 นี้
การที่ให้กระทำดังที่กล่าวนี้ ก็เพราะว่า ถ้ากายภูตนี้ดำหรือหมอกมัวจะเป็นเหตุเห็นอะไรไม่ตรงกับสิ่งที่เป็นจริงได้
3. พึงศึกษาให้รู้ว่า คนที่ตายแล้วถูกเชิญมาเพื่อถ่ายภาพนั้น คือ กายภูตตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2 แบบฝึกหัดที่ 5 นี้ไม่ใช่กายวิญญาณตามที่รู้กันทั่วไป เพราะกายวิญญาณเป็นนาม กล้องเป็สภาพรูป จึงไม่สามารถถ่ายภาพวิญญาณได้
คนที่ยังไม่ตาย เราอาจเชิญมาเพื่อถ่ายภายกายภูตหรือกายฝันได้ ในเมื่อกล้องนั้นมีลักษณะเป็นพิเศษกว่ากล้องธรรมดา
4. เมื่อจิตต์กำหนดเห็นกายของผู้ฝึก ตั้งอยู่ในจอโทรทัศน์แล้ว จิตต์กำหนดให้เห็นกายชีวิตซ้อนกายของผู้ฝึกจิตต์อยู่ กายชีวิตนี้เป็นสีเขียวใบไม้ สีอ่อนแก่ไม่แน่ ต้องแล้วแต่ว่าผู้ฝึกจิตต์จะมีโรคภัยอะไรหรือไม่ มีอายุมากน้อยเท่าใด ฉะนั้นเมื่อกำหนดเห็นมีสีดำ หรือหมอกมัวที่กายชีวิตนั้นถึงกำหนดให้ศูนย์วงแหวน เหมือนที่กล่าวแล้วในข้อ 2 แบบฝึกหัดที่ 5 นี้ 9 วงซ้อนกัน ประทับที่สะดือของกายชีวิตนี้ จุดกลางศูนย์วงแหวนตรงศูนย์กลางสะดือพอดี จิตต์นึกให้ศูนย์วงแหวนหมุนเอาสีดำหมอกมัวออกจากกายชีวิตนี้ออกให้หมดพึงรู้ว่า กายชีวิตนี้ ถ้าดับหรือสลายจากกายเมื่อใด คนเราก็ตาย ถ้ากายชีวิตยังอยู่ คนเราก็จะไม่ตายไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุใด ๆ
แบบฝึกหัดที่ 6
1.เมื่อนึกให้เห็นจุดตัดเครื่องหมายบวก ในวงกลมเป็นจอโทรทัศน์ขนาดตามที่ต้องการใสสว่างดีแล้ว นึกให้เห็นกายเนื้อของผู้ฝึกหัดปรากฏในจอโทรทัศน์นั้น แล้วฝึกให้เห็นกายประสาท ซ้อนกายเนื้อของผู้ฝึกหัด กายประสาทนี้เป็นสีฟ้า สีอ่อนหรือสีแก่ไม่แน่ ต้องแล้วแต่ผู้ฝึกจิตต์จะมีโรคภัยอะไรหรือไม่ มีอายุมากน้อยเท่าใด ฉะนั้น เมื่อเห็นกายประสาทนี้ มีสีดำหรือหมอกมัวแทรกซ้อนอยู่ พึงนึกเอาศูนย์วงแหวนเหมือนข้อ ๒ ในแบบฝึกหัดที่ ๕ จำนวน ๑๐๐ วงซ้อนกัน จุดกลางในศูนย์วงแหวนประทับจุดศูนย์กลางปุ่มสะดือของกายประสาทพอดี จิตต์สำนึกให้จุดศูนย์วงแหวนนี้ หมุนเอาสีดำหมอกมัวออกจากกายประสาทให้หมด
2.จิตต์กำหนดให้กาย และจอโทรทัศน์หายว่างไปคงเหลือแต่จุดเส้นตัดในเครื่องหมายบวก ใสสว่าง จิตต์กำหนดนิ่งอยู่ที่จุดเส้นตัดนั้น จะเกิดความผ่องใสยิ่งขึ้น มีอาการขนลุกชูชัน มีอาการกายเบา เหมือนดังลอยอยู่ในอากาศ มีความสุขอันเกิดจากสมาธิ มีจิตต์เป็นหนึ่ง เพราะจิตต์ตั้งมั่นที่จุดเส้นตัดแห่งเครื่องหมายบวกนี้
3.พึงฝึกจิตต์ให้บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งขึ้น โดยจิตต์กำหนดนิ่งที่จุดเส้นตัด เครื่องหมายบวก นึกให้ความรู้สึกที่มีขนลุกชูชัน กายเบาเหมือนว่าลอยอยู่ในอากาศนั้นหายไป คงเหลือแต่ความสุข และจิตต์เป็นหนึ่ง เพราะจิตต์ตั้งมั่นที่จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกในวงกลมนั้น
4.พึงฝึกจิตต์ให้บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งขึ้น โดยจิตต์วางเฉยในความสุข คงเหลือแต่จิตต์เป็นหนึ่ง เพราะตั้งมั่นที่จุดเส้นตัดในเครื่องหมายบวกในวงกลมนั้น และจิตต์หยุดนิ่งเฉยจิตต์ถึงความบริสุทธิ์ผ่องใสที่สุดเป็นสัมมาสมาธิ
แบบฝึกหัดที่ ๖ ข้อ ๑.๒.๓. นี้ จะฝึกหัดต่อท้ายแบบฝึกหัดที่ ๓ ก็ได้
หมายเหตุ
การฝึกหัดแต่ละแบบแต่ละข้อ พึงฝึกหัดให้ชำนาญไปตามลำดับทุกแบบทุกข้อ ดังนี้
1.จิตต์จะกำหนดจุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกในวงกลมเมื่อใดก็ได้
2.จิตต์จะกำหนดให้เห็นเป็นจอโทรทัศน์ ก็เป็นได้ตามคามต้องการ สว่างแจ่มใสไม่มีหมอกมัว
3.จิตต์จะกำหนดดูอะไรสิ่งใดก็เห็นชัด รู้ชัดตามความเป็นจริง
4.เมื่อจะดูอะไรสิ่งใดก็เห็นได้ทันที
5.เมื่อเห็นสิ่งใดแล้ว หรือไม่ต้องการเห็นสิ่งใด ก็นึกให้หายไปได้ทันที
6.เมื่อแบบฝึกหัดแบบใด ข้อใดก็ตาม เมื่อเลิกฝึกหัดแล้ว นึกถึงแบบนั้น ข้อนั้นก็ยังจำได้ รู้เหตุผล ในสิ่งที่รู้เห็นมานานแล้ว
7.วงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ เซนติเมตร มีจุดศูนย์ที่กล่าวนั้น ให้สมมุติเรียกว่าศูนย์จุดดับนี้ มีประโยชน์ในการดับสิ่งต่างๆ ที่มารบกวน หรือบดบังแสงสว่างของเรา ถ้าสิ่งที่จะดับนั้น มีกำลังมาก พึงใช้ศูนย์จุดดับเป็นจำนวนมากเท่ากันไปดับ ถ้ามีสิ่งไม่ดีในตัวเรา มีโรคภัยในตัวเราก็ดับออกไป หรือกายไปจากตัวเราให้หมด ไม่เหลือหลงอยู่
8.เมื่อจิตต์ดูสิ่งใด เห็นสิ่งใด อย่าเอาตาไปช่วยดู เพราะจะทำให้ประสาทเครียด และทำให้เห็นภาพเลือนลางหลอกหลอนลวงให้เห็นผิดไปต่างๆได้
9.ขณะที่ผู้ฝึกหัดจิตต์ ฝึกหัดแบบใดแบบหนึ่งอยู่ก็ตามขณะนั้น ผู้ฝึกหัด จะพูด บอก ตอบ สอบถาม ผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยไม่ต้องหยุดการฝึกหัด เว้นแต่แบบที่ ๖ ข้อ ๒-๓-๔ จะนึกให้เห็นอะไร จะพูดอะไรไม่ได้ เพราะต้องการให้จิตต์ว่าง หยุดนิ่ง บริสุทธิ์ขึ้นตามลำดับ ถึงที่สุด
จบภาคว่าด้วยการฝึกจิตต์ให้เป็นสัมมาสมาธิ
(ภาคว่าด้วยการฝึกวิปัสสนากำจัดความโง่ให้หมดไปมีต่อ)
ขอบพระคุณที่มา http://www.2013.ob.tc/6.html
จิตต์ตั้งที่จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกในวงกลม นึกให้เป็นจอโทรทัศน์ แล้วนึกให้เห็นส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.ที่ตามีประสาท เรียกว่าจักษุประสาท เป็นส่วนรูป มีวิญญาณที่ส่วนนามซ้อนอยู่ เรียกว่าจักษุวิญญาณ มีหน้าที่เห็นสิ่งต่างๆ
2.ที่หูมีประสาท เรียกว่าโสตประสาท เป็นส่วนรูป มีวิญญาณเป็นส่วนนามซ้อนอยู่ เรียกว่าโสตวิญญาณ มีหน้าที่ให้ได้ยินเสียงทั้งปวง
3.ที่จมูกมีประสาท เรียกว่าฆานประสาท เป็นส่วนรูป มีวิญญาณเป็นส่วนนามซ้อนอยู่ เรียกว่าฆานวิญญาณ มีหน้าที่ดมและรู้กลิ่นทั้งปวง
4.ที่ลิ้นมีประสาท เรียกว่าชิวหาประสาท เป็นส่วนรูปมีวิญญาณเป็นส่วนนามซ้อนอยู่ เรียกว่าชิวหาวิญญาณ มีหน้าที่รับรู้ รสอาหารทั้งปวง
5.ที่กายมีประสาท เรียกว่ากายประสาท เป็นส่วนรูปแผ่ซ้อนอยู่ทั่วกาย มีวิญญาณเป็นส่วนนามซ้อนกายประสาทอยู่ เรียกว่ากายวิญญาณ มีหน้าที่รับ และรู้สิ่งต่างๆที่มากระทบถูกต้องกาย
6.ที่ก้อนเนื้อหทัยวัตถุมีประสาท เรียกว่ามโน เป็นส่วนรูป มีวิญญาณเป็นส่วนนามแผ่ซ้อนอยู่ เรียกมโนวิญญาณมีหน้าที่รับรู้จากวิญญาณทั้ง 5 ที่กล่าวมาแล้วรับช่วงต่อจากวิญญาณที่จุดศูนย์กลางก้อนมันสมอง ภายในกะโหลกศีรษะแล้วส่งต่อให้จิตต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดศูนย์กลางภายในก้อนวัตถุ มโนนั้น
7.ก้อนมันสมองในกะโหลกศีรษะ มีวิญญาณแผ่ซ่อนอยู่ เรียกว่า ปัญจทวารชวนจิตต์มีหน้าที่รับรู้จากวิญญาณ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วส่งต่อให้มโนวิญญาณ ส่งต่อให้จิตอีกช่วงหนึ่ง มีหน้าที่รับรู้จากจิตต์สั่งผ่านมโน ให้ตาดูสิ่งต่างๆ หูฟังเสียงต่างๆจมูกดมกลิ่นต่างๆ ลิ้นลิ้มรสต่างๆ กายสัมผัสหยิบจับสิ่งต่างๆ
8.จิตต์ที่เป็นตัวประธาน เรียกว่า วิบากจิตต์ จิตต์นี้นำให้เราเกิดมาเป็นคนในชาตินี้ การที่เราเกิดมาเป็นคนในชาตินั้นก็เพราะชาติก่อน เราไม่ประพฤติผิดกฎแห่งสังคม ถ้าชาตินี้ไม่ประพฤติผิดต่อกฎแห่งสังคมอีก จิตต์ก็จะมีสภาพเป็นคนไปตลอดชาตินี้ และอาจเกิดเป็นคนในชาติต่อไปอีก ถ้าประพฤติผิดต่อกฎแห่งสังคมแล้ว จิตต์ก็เปลี่ยนสภาพไปเป็นอย่างอื่นตามอำนาจของกฎแห่งกรรมคือการกระทำผิดแห่งกฎนั้น จิตต์ที่เปลี่ยนสภาพไปนี้ ก็จะนำให้ไปเกิดเป็นอะไรอย่างไร ตามกำลังของกรรมนั้นเช่นเกิดเป็นสัตว์ดุร้าย ให้คนคอยฆ่าเมื่อพบเห็น หรือแม้ว่าเกิดมาเป็นคนอีก มีอายุสั้นตายเสียในท้องบ้าง ออกมาอายุไม่เท่าไรตายก็มี เหล่านี้เป็นตัวอย่าง เพราะฉะนั้นต้องพยายามฝึกหัดให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า กระทำผิดกฎแห่งสังคมข้อใด แค่ไหน เพียงไร ตายแล้วจะไปเกิดเป็นอะไร อย่างไร ที่ไหน นานเท่าใด ถ้าไม่กระทำผิดกฎแห่งสังคม และรักษากฎแห่งสังคมให้บริบูรณ์แล้ว ตายแล้วจะไปเกิดเป็นอะไร ที่ไหน อย่างไร
แบบฝึกหัดที่5
เมื่อฝึกหัดตามแบบฝึกหัดที่ 4 เห็น รู้ ดีแล้ว พึงฝึกหัดตามแบบฝึกหัดที่ 5 ต่อไป ดังนี้
1.เมื่อตั้งจิตต์ที่จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกในวงกลมนึกให้เห็นเป็นโทรทัศน์ได้ตามที่ต้องการแล้ว นึกให้เห็นกายของผู้ฝึกปรากฏในจอโทรทัศน์นั้น เมื่อเห็นแล้วนึกให้เห็นกายของผู้ฝึกเคยนอนหลับแล้วฝันไปเห็นอะไร ที่ไหนนั้น ออกจากกายที่ฝึกหัดไปที่ใดที่หนึ่ง ตามแต่ผู้ฝึกจะนึกไป ตามความสะดวกของผู้ฝึก เมื่อกายฝันนี้ไปดูอะไร ที่ไหน เห็นอย่างไรบันทึกไว้เป็นแบบฝึกหัดตรวจสอบดูว่า เห็นจริงหรือไม่ อย่างไร ถ้าไม่จริงหรือคลาดเคลื่อนไป เพราะเหตุใด แล้วฝึกหัดต่อไปให้ชำนาญ เห็นได้ตามจริง เห็นได้ทุกเวลาที่ต้องการเห็น ผู้ฝึกจะอยู่ที่ใด นั่ง นอน ยืน เดิน อยู่อย่างไรก็ตาม ก็ย่อมเห็นได้เมื่อกำหนด เมื่อต้องการเห็น
2. จิตต์กำหนดนึกเห็น กายภูต 4 กาย ออกจากกายของผู้ฝึก มานั่งข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง ระยะมือเอื้อมถึง จิตต์เห็นได้ในจอโทรทัศน์นั้น กายนี้มีลักษณะเหมือนผู้ฝึกจิตต์ สีกายต่างกัน กายข้างหน้า สีชมพู ข้างหลังสีขาว ข้างขวาสีฟ้า ข้างซ้ายสีเหลือง เมื่อเห็นกายทั้ง 4 นี้ กายใดไม่ผ่องใส เช่น ดำ หมอกมัว อย่างไร พึงนึกให้ศูนย์วงแหวนมีจุดกลางศูนย์วงแหวนนั้น เส้นวงรัศมี 4 เซนติเมตร 4 วง ซ้อนกันประทับลงที่สะดือของกายภูตนั้น จุดศูนย์กลางวงแหวนตรงจุดกลางสะดือพอดีแล้ว จิตต์นึกให้ศูนย์วงแหวนเอาสีดำหมอกมัวนั้นออกจากกายภูตนั้นจนกว่าจะผ่องใส เมื่อกายภูตทั้งสี่นี้ผ่องใสแล้ว จิตต์นึกให้สี่กายนี้ซ้อนกันรวมเป็น 1 แล้ว นึกเอากายนี้เป็นกายฝันไปดูอะไรที่ไหน เช่นเดียวกันกับข้อ 1 ในแบบฝึกหัดที่ 5 นี้
การที่ให้กระทำดังที่กล่าวนี้ ก็เพราะว่า ถ้ากายภูตนี้ดำหรือหมอกมัวจะเป็นเหตุเห็นอะไรไม่ตรงกับสิ่งที่เป็นจริงได้
3. พึงศึกษาให้รู้ว่า คนที่ตายแล้วถูกเชิญมาเพื่อถ่ายภาพนั้น คือ กายภูตตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2 แบบฝึกหัดที่ 5 นี้ไม่ใช่กายวิญญาณตามที่รู้กันทั่วไป เพราะกายวิญญาณเป็นนาม กล้องเป็สภาพรูป จึงไม่สามารถถ่ายภาพวิญญาณได้
คนที่ยังไม่ตาย เราอาจเชิญมาเพื่อถ่ายภายกายภูตหรือกายฝันได้ ในเมื่อกล้องนั้นมีลักษณะเป็นพิเศษกว่ากล้องธรรมดา
4. เมื่อจิตต์กำหนดเห็นกายของผู้ฝึก ตั้งอยู่ในจอโทรทัศน์แล้ว จิตต์กำหนดให้เห็นกายชีวิตซ้อนกายของผู้ฝึกจิตต์อยู่ กายชีวิตนี้เป็นสีเขียวใบไม้ สีอ่อนแก่ไม่แน่ ต้องแล้วแต่ว่าผู้ฝึกจิตต์จะมีโรคภัยอะไรหรือไม่ มีอายุมากน้อยเท่าใด ฉะนั้นเมื่อกำหนดเห็นมีสีดำ หรือหมอกมัวที่กายชีวิตนั้นถึงกำหนดให้ศูนย์วงแหวน เหมือนที่กล่าวแล้วในข้อ 2 แบบฝึกหัดที่ 5 นี้ 9 วงซ้อนกัน ประทับที่สะดือของกายชีวิตนี้ จุดกลางศูนย์วงแหวนตรงศูนย์กลางสะดือพอดี จิตต์นึกให้ศูนย์วงแหวนหมุนเอาสีดำหมอกมัวออกจากกายชีวิตนี้ออกให้หมดพึงรู้ว่า กายชีวิตนี้ ถ้าดับหรือสลายจากกายเมื่อใด คนเราก็ตาย ถ้ากายชีวิตยังอยู่ คนเราก็จะไม่ตายไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุใด ๆ
แบบฝึกหัดที่ 6
1.เมื่อนึกให้เห็นจุดตัดเครื่องหมายบวก ในวงกลมเป็นจอโทรทัศน์ขนาดตามที่ต้องการใสสว่างดีแล้ว นึกให้เห็นกายเนื้อของผู้ฝึกหัดปรากฏในจอโทรทัศน์นั้น แล้วฝึกให้เห็นกายประสาท ซ้อนกายเนื้อของผู้ฝึกหัด กายประสาทนี้เป็นสีฟ้า สีอ่อนหรือสีแก่ไม่แน่ ต้องแล้วแต่ผู้ฝึกจิตต์จะมีโรคภัยอะไรหรือไม่ มีอายุมากน้อยเท่าใด ฉะนั้น เมื่อเห็นกายประสาทนี้ มีสีดำหรือหมอกมัวแทรกซ้อนอยู่ พึงนึกเอาศูนย์วงแหวนเหมือนข้อ ๒ ในแบบฝึกหัดที่ ๕ จำนวน ๑๐๐ วงซ้อนกัน จุดกลางในศูนย์วงแหวนประทับจุดศูนย์กลางปุ่มสะดือของกายประสาทพอดี จิตต์สำนึกให้จุดศูนย์วงแหวนนี้ หมุนเอาสีดำหมอกมัวออกจากกายประสาทให้หมด
2.จิตต์กำหนดให้กาย และจอโทรทัศน์หายว่างไปคงเหลือแต่จุดเส้นตัดในเครื่องหมายบวก ใสสว่าง จิตต์กำหนดนิ่งอยู่ที่จุดเส้นตัดนั้น จะเกิดความผ่องใสยิ่งขึ้น มีอาการขนลุกชูชัน มีอาการกายเบา เหมือนดังลอยอยู่ในอากาศ มีความสุขอันเกิดจากสมาธิ มีจิตต์เป็นหนึ่ง เพราะจิตต์ตั้งมั่นที่จุดเส้นตัดแห่งเครื่องหมายบวกนี้
3.พึงฝึกจิตต์ให้บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งขึ้น โดยจิตต์กำหนดนิ่งที่จุดเส้นตัด เครื่องหมายบวก นึกให้ความรู้สึกที่มีขนลุกชูชัน กายเบาเหมือนว่าลอยอยู่ในอากาศนั้นหายไป คงเหลือแต่ความสุข และจิตต์เป็นหนึ่ง เพราะจิตต์ตั้งมั่นที่จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกในวงกลมนั้น
4.พึงฝึกจิตต์ให้บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งขึ้น โดยจิตต์วางเฉยในความสุข คงเหลือแต่จิตต์เป็นหนึ่ง เพราะตั้งมั่นที่จุดเส้นตัดในเครื่องหมายบวกในวงกลมนั้น และจิตต์หยุดนิ่งเฉยจิตต์ถึงความบริสุทธิ์ผ่องใสที่สุดเป็นสัมมาสมาธิ
แบบฝึกหัดที่ ๖ ข้อ ๑.๒.๓. นี้ จะฝึกหัดต่อท้ายแบบฝึกหัดที่ ๓ ก็ได้
หมายเหตุ
การฝึกหัดแต่ละแบบแต่ละข้อ พึงฝึกหัดให้ชำนาญไปตามลำดับทุกแบบทุกข้อ ดังนี้
1.จิตต์จะกำหนดจุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกในวงกลมเมื่อใดก็ได้
2.จิตต์จะกำหนดให้เห็นเป็นจอโทรทัศน์ ก็เป็นได้ตามคามต้องการ สว่างแจ่มใสไม่มีหมอกมัว
3.จิตต์จะกำหนดดูอะไรสิ่งใดก็เห็นชัด รู้ชัดตามความเป็นจริง
4.เมื่อจะดูอะไรสิ่งใดก็เห็นได้ทันที
5.เมื่อเห็นสิ่งใดแล้ว หรือไม่ต้องการเห็นสิ่งใด ก็นึกให้หายไปได้ทันที
6.เมื่อแบบฝึกหัดแบบใด ข้อใดก็ตาม เมื่อเลิกฝึกหัดแล้ว นึกถึงแบบนั้น ข้อนั้นก็ยังจำได้ รู้เหตุผล ในสิ่งที่รู้เห็นมานานแล้ว
7.วงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ เซนติเมตร มีจุดศูนย์ที่กล่าวนั้น ให้สมมุติเรียกว่าศูนย์จุดดับนี้ มีประโยชน์ในการดับสิ่งต่างๆ ที่มารบกวน หรือบดบังแสงสว่างของเรา ถ้าสิ่งที่จะดับนั้น มีกำลังมาก พึงใช้ศูนย์จุดดับเป็นจำนวนมากเท่ากันไปดับ ถ้ามีสิ่งไม่ดีในตัวเรา มีโรคภัยในตัวเราก็ดับออกไป หรือกายไปจากตัวเราให้หมด ไม่เหลือหลงอยู่
8.เมื่อจิตต์ดูสิ่งใด เห็นสิ่งใด อย่าเอาตาไปช่วยดู เพราะจะทำให้ประสาทเครียด และทำให้เห็นภาพเลือนลางหลอกหลอนลวงให้เห็นผิดไปต่างๆได้
9.ขณะที่ผู้ฝึกหัดจิตต์ ฝึกหัดแบบใดแบบหนึ่งอยู่ก็ตามขณะนั้น ผู้ฝึกหัด จะพูด บอก ตอบ สอบถาม ผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยไม่ต้องหยุดการฝึกหัด เว้นแต่แบบที่ ๖ ข้อ ๒-๓-๔ จะนึกให้เห็นอะไร จะพูดอะไรไม่ได้ เพราะต้องการให้จิตต์ว่าง หยุดนิ่ง บริสุทธิ์ขึ้นตามลำดับ ถึงที่สุด
จบภาคว่าด้วยการฝึกจิตต์ให้เป็นสัมมาสมาธิ
(ภาคว่าด้วยการฝึกวิปัสสนากำจัดความโง่ให้หมดไปมีต่อ)
ขอบพระคุณที่มา http://www.2013.ob.tc/6.html