ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 31, 2011, 12:43:07 am »

ในพระพุทธศาสนา..
ถ้ามีครูบาก็เชื่อ คำครูบานำทางก่อนครับในการเริ่มต้น
จากนั้นค่อยศึกษาพระไตรปิฎกเป็นลำดับขั้น จะทำให้รักษาศรัทธาได้ง่าย
แล้วถึงยึดตาม เชื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนึ่งเดียว
ส่วนผู้ที่เลือกปฏิบัติแบบเรียบง่ายก็ตามสะดวกแก่ตน อย่าถือเป็นหนัก จะปฏิบัติยากครับ
ในมุมความคิดผมนะ  เพราะ จริงๆก็ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบครับ พระไตยปฏิกก็สังคยานาหลายครั้งเช่นกัน
เราเชื่อเพียง คำจากพระพุทธเจ้าตรัสสอนเท่านั้นครับ

อนุโมทนาครับ
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 30, 2011, 08:15:53 am »

เรื่องภิกษุแจกของที่ไม่ควรแจก
             [๒๙๒] สมัยนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นในอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่งไม่ห่างจาก
พระนครสาวัตถี เป็นผู้จัดเสนาสนะแก่ภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมเดินทางย่อม
ลำบาก ภิกษุเหล่านั้นจึงปรึกษากันว่าท่านทั้งหลาย บัดนี้พวกเรา จัดเสนาสนะ
แก่ภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมเดินทาง ย่อมลำบาก เราตกลงจะมอบเสนาสนะ
ของสงฆ์ทั้งหมดแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เราจักใช้สอยเสนาสนะของเธอ ภิกษุเหล่านั้นได้
มอบหมายเสนาสนะของสงฆ์ทุกๆ อย่าง แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุอาคันตุกะได้กล่าว
คำนี้กะภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย โปรดจัดเสนาสนะให้พวกผม ภิกษุเจ้าถิ่น
ตอบว่า เสนาสนะของสงฆ์ไม่มี ขอรับ พวกผมมอบแก่ภิกษุรูปหนึ่งหมดแล้ว
             ท่านอาคันตุกะ ก็พวกท่านแจกจ่ายเสนาสนะของสงฆ์หรือ ขอรับ
             เจ้าถิ่น เป็นเช่นนั้น ขอรับ
             บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ
จึงได้แจกจ่ายเสนาสนะของสงฆ์เล่า จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุแจก
จ่ายเสนาสนะของสงฆ์ จริงหรือ
             ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ของที่ไม่ควรแจก ๕ หมวด
             พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ
เหล่านั้น จึงแจกจ่ายเสนาสนะของสงฆ์เล่า การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแจกจ่าย ๕ หมวดนี้อันภิกษุ
ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้สงฆ์คณะหรือบุคคล แจกจ่ายไปแล้วก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย
รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
             ของไม่ควรแจกจ่าย ๕ หมวด อะไรบ้าง คืออาราม พื้นที่อาราม นี้เป็นของ
ที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๑ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้
แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
             วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๒ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี
บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใด
แจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
             เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๓ สงฆ์ก็ดี คณะ
ก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใด
แจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
             หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน
นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่าย หมวดที่ ๔ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่าย
ให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
             เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน เครื่องไม้
เครื่องดิน นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่าย หมวดที่ ๕ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควร
แจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแจกจ่ายมี ๕ หมวดนี้แล สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี
บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใด
แจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย

  เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  บรรทัดที่ ๒๕๓๗ - ๒๕๗๘.  หน้าที่  ๑๐๕ - ๑๐๗.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=2537&Z=2578&pagebreak=0