ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 31, 2011, 12:46:16 am »


             

ปราณปรัชญา
เรียงร้อย ถ้อยคำ ตำนาน กำเนิดปราณ
Prann Philology
        By Jiradaj Meemalai
                 
        [ ปราณ ] ส. [ ป.ปาณ ] น. หมายถึงลมหายใจ, ชีวิต อาจแสดงออกตามลักษณะของลม (ปราณ) อันมีความเกี่ยวเนื่องกับชีวิต, และเมื่อใดที่เราต้องการศึกษาความสัมพันธ์อันเป็นปัจจัยในการแสดงตัวของลม (ปราณ) เราก็มีความจำเป็นในการศึกษาพื้นที่ว่าง (SPACE)

        ลม (ปราณ) มีความสำคัญอันเกี่ยวเนื่องกับชีวิต ทั้งทางชีวภาพและกายภาพ ทั้งยังมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ และกายภาพ อย่างกว้างและอย่างลึก, ทั้งกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม

        หากแต่ตัวตนของลม (ปราณ) กลับเป็นสิ่งที่จับต้องมิได้ แลเห็นมิได้ ยินเสียงมิได้ ไร้รส ไร้กลิ่น เพียงเผยตัวเองผ่านสิ่งที่มีปฎิสัมพันธ์กันในสิ่งแวดล้อม

        เราอาจกล่าวได้ว่า ลม (ปราณ) มีลักษณะอันเป็นนามธรรม ที่มีความสำคัญลำดับต้น ๆ ในการดำรงชีวิตของสรรพสิ่ง ในสากลจักรวาล และเป็นลมหายใจของจักรวาล ดังที่ ANAXIMANDER1. นักปราชญ์ลัทธิ MILESIAN ของกรีก กล่าวว่า "PMEUMA" คือลมหายใจของจักรวาล และจักรวาลเป็นระบบองค์รวมและหล่อเลี้ยงด้วยอากาศธาตุ อย่างขาดเสียมิได้.
                                   
        ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา (AMERICAN NATIVE) แสดงภาพลักษณะแห่งนามธรรมของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ของลม (ปราณ) ผ่านคำกล่าวเชิงปัญญาที่ว่า "ร่างกายของฉันคืออะไร ? แขน-ขา-ตา-หู หรือส่วนต่าง ๆ - ถ้าฉันขาดแขน-ขา ฉันก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าฉันขาดอากาศ (บริสุทธิ์) แม้เพียงไม่กี่นาที ฉันตาย !

        คนในยุคบุพกาล ได้สอนให้เรารู้ถึงความหมายอันลุ่มลึก ของสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ และสามารถแสดงภาพของสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรม ด้วยวิธี (มรรค) อันหลากหลาย.

        และถึงแม้ด้วยเหตุปัจจัยบางประการจะทำให้เราเหล่ามนุษย์ปุถุชน มิสามารถเข้าถึงองค์ญาณ ความรู้เชิงนามธรรม หรือแม้แต่ปัญญาของนักวิทยาศาสตร์จะสำเนียกไปถึงได้ เราก็ยังไม่สามารถปฏิเสธความหมายและคุณลักษณ์ทางนามธรรมได้ โดยสิ้นเชิง.
                                         
        พุทธศาสนาในธิเบต ลัทธิตันตระ (TANTRA)2. ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องของลม (ปราณ) เอาไว้อย่างน่าสนใจ ในหนังสือชื่อ THE TIBETIAN BOOK OF THE DEAD รจนาโดยท่าน ยังเจนกาเวย์โลโดร ซึ่งเป็นพระนิกาย เกลุกปะ เมื่อราว 200 ปีมาแล้ว กล่าวว่า

        'ลม (ปราณ) หรืออากาศธาตุมีความสำคัญต่อผู้รู้แจ้งในการเตรียมตัวเข้าสู่พระอริยมรรค ด้วยการกำหนดลมปราณ, การปฏิบัติอนุตตรโยคตันตระ พระโยคาวจร อาจทำลมที่หยาบและละเอียดให้สลายตัว กลายเป็นลมอย่างละเอียดยื่งขึ้น ชนิดที่คงไว้ ณ ดวงหทัย.

        ในร่างกายเรานั้นมีช่องว่าง (SPACE) อยู่ถึง 7 หมื่น 2 พันช่อง ที่ลมจะสามารถเคลื่อนไหวไปสู่ เมื่อตอนตาย ลมที่เป็นฐานของจิตสำนึก (วิญญาณขันธ์) ก็จะสลายตัวไปตามช่องต่าง ๆ.

        สภาพความตาย เกิดขึ้นตอน กองลมต่าง ๆ แปรสภาพ, ช่องต่าง ๆ ก็แปรสภาพ อันเป็นสัญญาณทางรูปธรรม และเมื่อลมสลายตัว จะสูญสมรรถภาพที่จะเป็นฐานให้กับวิญญาณขันธ์ และจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ทางด้านประสบการณ์ของจิต อันเป็นสัญญาณทางนามธรรม.

        ความตายจะเริ่มขึ้นเมื่อกองลมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับแต่ละธาตุทั้ง 4 เริ่มสลายตัวตามลำดับ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม.'
                     
        ส่วนในคัมภีร์ 'I CHING' ของเต๋า ก็ได้เอ่ยถึงลม (ปราณ) ในฐานะเป็นพลังขับเคลื่อนของจักรวาล โดยเรียกพลังแห่งปราณนั้นว่า 'CHE' ฉี', ฉี' สามารถแสดงออกให้เห็นอย่างชัดขึ้น โดยผ่านขบวนท่าทางอันเคลื่อนไหว (เลื่อนไหล) ของ 'TAI CHE' กล่าวคือ การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสัมพันธ์กับลม (ปราณ) ในทางปฏิบัติของ 'TAI CHE' จะมีแต่การกระทำ แต่ไม่มีผู้กระทำ หมายความว่า เรา มิได้เป็นผู้ขับเคลื่อนเรือนร่าง ขับย้าย โยกเอียงเปลี่ยนท่า หากแต่พลัง CHE' เป็นตัวขับเคลื่อนทั้งหลายทั้งสิ้นนั้น โดยร่างกายของเราเป็นเพียงทางผ่านของพลัง CHE' ทั้งภายในและภายนอกอย่างสัมพันธ์กัน.

        พลังของ ฉี' ผ่านเข้าสู่ร่างกายของเราจากปลายจมูกสัมผัส ในขณะเริ่มแรกเคลื่อนไหวจนจบ, หยุดขบวนท่าด้วย ถ่ายพลังฉี ออกจากร่างกายผ่านปลายจมูกสัมผัส แต่ในขณะแห่งการเคลื่อนไหลทั้งหลายนั้น เป็นไปตามคุณลักษณะของฉี.

        พลังของ ฉี', เป็นสิ่งที่ไม่มีต้น, ไม่มีปลาย เข้าและออก ผ่านและไหลไปตามพื้นที่ว่าง (SPACE) ตามจังหวะแห่งการคลายตัวและหดตัว สำเนียกเป็นดั่งบทเพลงของจักรวาล ซึ่งขับบรรเลง เสียงเพลงแห่งลมหายใจ.
                                               
        ณ ที่แห่งนี้ บทเพลงแห่งไพรพฤกษ์ขยับไหว แกว่งไกว ตามสายลม กำเนิดสรรพเสียงของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ และในท่วงทำนองอันเอื่อยไหล, รินเรียบ, เงียบสงบนั้น ก็มิได้หมายความว่า บทเพลงบรรเลงสิ้นลง หากแต่เป็นทำนองขยับ เพื่อตอบรับการโหมโรงอีกเพลา.

        ปราณ, บทเพลงที่ไม่มีต้น-ไม่มีปลาย ขยับเคลื่อนเลื่อนไหวไปตามจังหวะจักรวาล.
        บรรณสารอ้างอิง
        1 : THE TAO OF PHYSICS, โดย FRIJOF CAPPA (CHAPTER 1 : MODERN PHYSIC P.25)
        2 : THE TIBETIAN BOOK OF THE DEAD แปลโดย ส. ศิวลักษณ์ (ขยายความนอกเหนือพระนิพนธ์ P.71)

    หมายเหตุ LOGO ประกอบทั้งหมดโดยคุณจิระเดช มีมาลัย แห่ง Jidaj Studio 
:http://www.reocities.com/SunsetStrip/Studio/1727/prnphilo.htm