ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 31, 2011, 01:45:10 pm »

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก
๑๐๐. กำลัง ๗ ประการ
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้ คือ
              ๑. กำลังคือความเชื่อ (สัทธาพละ)                   ๒. กำลังคือความเพียร (วิริยพละ)
              ๓. กำลังคือความละอายต่อบาป (หิริพละ)             ๔. กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป (โอตตัปปพละ)
              ๕. กำลังคือสติความระลึกได้ (สติพละ)               ๖. กำลังคือความตั้งใจมั่น (สมาธิพละ)
              ๗. กำลังคือปัญญา (ปัญญาพละ)
              ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้แล."
สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๓/๒

๑๐๑. คำอธิบายกำลัง ๗ ประการ
              (๑)"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเชื่อ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีศรัทธาเชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า พระผู้มีพระภาคนั้น
              ๑. เป็นพระอรหันต์ (ผู้ไกลจากกิเลส)                 ๒. เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
              ๓. เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ     ๔. เป็นผู้เสด็จไปดี
              ๕. เป็นผู้รู้จักโลก                                           ๖. เป็นผู้ฝึกคนที่ควรฝึกอย่างเยี่ยม
              ๗. เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์                  ๘. เป็นผู้ตื่น (รวมทั้งปลุกผู้อื่นให้ตื่น)
              ๙. เป็นผู้มีโชค (เพราะทำเหตุที่จะให้เกิดโชคไว้)
              นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเชื่อ."

              (๒) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเพียร เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ตั้งความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม (ธรรมฝ่ายชั่ว) เพื่อทำให้กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี) สมบูรณ์ เป็นผู้ลงแรงบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเพียร."

              (๓) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความละอายต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกไปพระธรรมวินัย เป็นผู้มีความละอาย คือละอายต่อกายทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางกาย) วจีทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางวาจา) มโนทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางใจ) ละอายต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความละอายต่อบาป."

              (๔) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเกรงกลัว คือเกรงกลัวต่อกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป."

             (๕) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความระลึกได้ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะอันยอดเยี่ยม ย่อมระลึกได้ ย่อมนึกออกถึงสิ่งที่กระทำไว้นานแล้ว ถึงถ้อยคำที่พูดไว้นานแล้วได้. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความระลึกได้."

              (๖) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความตั้งใจมั่น เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม (ความในอารมณ์ที่น่าใคร่) สงัดจากอกุศลธรรมเข้าสู่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความตั้งใจมั่น."

              (๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือปัญญา เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยปัญญา เห็นความเกิดความดับ เป็นปัญญาอันประเสริฐ ชำแรกกิเลสได้ ทำให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือปัญญา."
๒๓/๓,๔

๑๐๒. มารย่อมข่มเหงและไม่ข่มเหงคนเช่นไร
              "ผู้มักเห็นว่าสวยงาม ไม่สำรวมอินทรีย์ (คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่รู้ประมาณในการบริโภค เกียจคร้าน มีความเพียรเลว มารย่อมข่มเหงผู้นั้นแหละ เหมือนลมทำลายต้นไม้ที่ไม่แข็งแรงฉะนั้น."
              "ผู้ไม่มักเห็นว่าสวยงาม สำรวมอินทรีย์ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) รู้ประมาณในการบริโภค มีศรัทธา ปรารภความเพียร มารย่อมไม่ข่มเหงผู้นั้น เหมือนลมไม่ทำลายภูเขาอันล้วนด้วยศิลาฉะนั้น."
ธรรมบท ๒๕/๑๖

๑๐๓. กาสาวพัสตร์ กับกิเลสอันเปรียบน้ำฝาด
              "ผู้ใดยังไม่ปราศจากสาวะ (กิเลสอันเปรียบเหมือนน้ำฝาด) ปราศจากทมะ (ความข่มใจ) และสัจจะ (ความจริงใจ) มานุ่งห่มกาสาวพัสตร์ ผู้นั้นหาสมควรนุ่งห่มกาสาวพัสตร์ไม่"
              "แต่ฝู้ใดคายกิเลสที่เปรียบเหมือนน้ำฝาดได้แล้ว ตั้งมั่นดีในศีล ประกอบด้วยทมะ (ความข่มใจ) และสัจจะ(ความจริงใจ) ผู้นั้นแล ย่อมสมควรนุ่งห่มกาสาวพัสตร์."
ธรรมบท ๒๕/๑๖

๑๐๔. จะบรรลุสิ่งเป็นสาระก็ด้วยเข้าใจสาระ
              "ผู้เห็นในสิ่งไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ เห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ มีความดำริผิดเป็นทางไป ย่อมไม่ได้บรรลุสิ่งที่เป็นสาระ."
              "ผู้รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็นสาระ สิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ มีความดำริชอบเป็นทางไป
ย่อมบรรลุสิ่งเป็นสาระได้."

๑๐๕. ฝนรั่งรดที่เทียบด้วยราคะ (ความติดใจ)
              "เรือนที่มุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ฉันใด จิตที่อบรมไม่ดี ราคะ(ความติดใจ) ก็รั่วรดได้ฉันนั้น."
              "เรือนที่มุงดีแล้ว ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ฉันใด จิตที่อบรมดีแล้ว ราคะ (ความติดใจ) ก็รั่วรดไม่ได้ฉันนั้น."
ธรรมบท ๒๕/๑๖

๑๐๖. ผู้เศร้าโศก กับ ผู้บันเทิงในปัจจุบันและอนาคต
              "คนทำความชั่ว ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง คือเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก เขาย่อมเศร้าโศกเดือดร้อน เพราะเห็นการกระทำอันเศร้าหมองของตน."
              "คนทำบุญ ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง คือบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้วก็บันเทิง เพราะเห็นความบริสุทธิ์แห่งการกระทำของตน."
ธรรมบท ๒๕/๑๖

๑๐๗. พูดมากไม่ทำ กับ พูดน้อยแต่ทำ
              "คนที่พูดถ้อยคำมีประโยชน์ แม้มาก แต่เป็นผู้ประมาท ไม่ทำตามถ้อยคำนั้น ผู้นั้นย่อมไม่ได้มีส่วนแห่งคุณธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ เหมือนคนเลี้ยงโค นับโคให้ผู้อื่น แต่ไม่มีส่วนแห่งน้ำนมโคฉะนั้น. คนที่พูดถ้อยคำมีประโยชน์ แม้น้อย แต่ประพฤติตามธรรม ละราคะ โทสะ และ โมหะ ได้ รู้อยู่โดยชอบ มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ไม่ถือมั่นในโลกนี้ หรือโลกอื่น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ."
ธรรมบท ๒๕/๑๗

๑๐๘. ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย
              "ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย, ผู้ไม่ประมาท ชื่อว่าไม่ตาย ผู้ประมาทย่อมเหมือนคนตายแล้ว. บัณฑิตทราบข้อความนี้โดยพิเศษแล้ว ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ยินดีในธรรมที่เป็นที่เที่ยวไป (แห่งจิต) ของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท. ผู้นั้นมีความเพ่ง ทำความพียรติดต่อ มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็นผู้ฉลาด ย่อมได้บรรลุพระนิพพาน อันปลอดโปร่งจากโยคะ (คือกิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในความเวียนว่ายตายเกิด)."
ธรรมบท ๒๕/๑๘

๑๐๙. ยศเจริญแก่คนเช่นไร
              "ยศย่อมเจริญแก่คนที่มีความหมั่น. มีสติ, มีการงานสะอาด, ใคร่ครวญแล้วจึงทำ, สำรวมระวังครองชีวิตอยู่โดยธรรม และเป็นผู้ไม่ประมาท."
ธรรมบท ๒๕/๑๘

๑๑๐. เกาะชนิดไหนน้ำไม่ท่วม
              "ห้วงน้ำย่อมไม่ท่วมทับเกาะใด ผู้มีปัญญาพึงสร้างเกาะ (ที่พึ่ง) นั้นขึ้น ด้วยคุณธรรมคือความหมั่น, ความไม่ประมาท, ความสำรวมระวัง และความรู้จักข่มใจ."
ธรรมบท ๒๕/๑๘

๑๑๑. คนพาล กับ คนมีปัญญา
              "คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาทเนืองนิตย์ ส่วนผู้มีปัญญา ย่อมประกอบเนือง ๆ แต่ความไม่ประมาท เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐฉะนั้น."
ธรรมบท ๒๕/๑๘

อรรถกถา
๑. ในที่ใดสอนให้มีความเชื่อ ในที่นั้นจะสอนให้มีปัญญากำกับอยู่ด้วยเสมอ ในที่นี้สอนเรื่องความเชื่อไว้เป็นข้อแรก สอนเรื่องปัญญาไว้ข้อสุดท้าย
๒. คำอธิบายฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ ที่เป็นพระพุทธภาษิต มีอย่างพิสดารในสุภสูตร พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๙ หน้า ๒๕๙ ซึ่งจะคัดมาแปลไว้เฉพาะเรื่องข้างหน้า
๓. เป็นการเล่นถ้อยคำ ในบาลีว่า กาสาวะ (ผ้าย้อมน้ำฝาด หรือกาสาวพัสตร์) นั้น จะควรก็เฉพาะแก่ผู้ปราศจากกสาวะ (กิเลสอันเปรียบเหมือนน้ำฝาด) เท่านั้น
๔. คำว่า ราคะ ถ้าแปลว่า ความกำหนัด จะหมายความแคบเฉพาะในกามารมณ์ แต่ในความหมายที่กว้าง ความติดอกติดใจในสิ่งใด ๆ ก็ตาม ที่มีลักษณะเหมือนจิตใจถูกสีย้อม ก็เป็นราคะทั้งสิ้น.
ราคะมี ๓ อย่าง ติดใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นกามราคะ ติดใจในรูปฌาน เป็นรูปราคะ ติดใจในอรูปฌาน เป็นอรูปราคะ


สารบัญเต็ม
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
สุชีพ ปุญญานุภาพ จัดทำ
ย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี 45  เล่ม

- http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/189/index.htm
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 31, 2011, 12:25:04 pm »


                         

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก

๘๔. ศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ
              ในธรรมเหล่านั้น ศีลวิบัติเป็นไฉน ? ความก้าวล่วง (วิติกกมะ) ทางกาย ความก้าวล่วงทางวาจา ความก้าวล่วงทั้งทางกาย และทางวาจา. นี้เรียกว่าศีลวิบัติ. แม้ความเป็นผู้ทุศีล ทุกอย่าง ก็ชื่อว่า ศีลวิบัติ

              ในธรรมเหล่านั้น ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน ? ความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มี, การบริจาคไม่มี, การบูชาไม่มี, ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่ว ไม่มี, โลกนี้ไม่มี, โลกหน้าไม่มี, มารดาไม่มี, สัตว์โอปปาติกะไม่ มี, สมณพราหมณ์ที่ประพฤติชอบปฏิบัติชอบ ซึ่งรู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบถึงโลกนี้ โลกหน้า ไม่มี. นี้เรียกว่าทิฏฐิวิบัติ. แม้มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) ทุกอย่าง ก็ชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ.

๘๕. ศีลสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา
              ในธรรมเหล่านั้น ศีลสัมปทาเป็นไฉน ? ความไม่ก้าวล่วงทางกาย ความไม่ก้าวล่วงทางวาจา ความไม่ก้าวล่วงทั้งกายและวาจา. นี้เรียกว่าศีลสัมปทา. แม้ความสำรวมในศีลทุกอย่าง ก็ชื่อว่าศีลสัมปทา.

              ในธรรมเหล่านั้น ทิฏฐิสัมปทาเป็นไฉน ? ปัญญาอย่างนี้ว่า ทานมี, การบริจาคมี, การบูชามี, ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วมี, โลกนี้มี, มารดามี, บิดามี, สัตว์โอปปาติกะมี, สมณพราหมณ์ที่ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งรู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบถึงโลกนี้ โลกหน้า มี. นี้เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา แม้สัมมาทิฏฐิทุกอย่าง ก็เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา.
อภิธัมมปิฎก สังคณี ๓๔/๓๓๖

๘๖. ธรรมที่มีอารมณ์และไม่มีอารมณ์
              ธรรมที่มีอารมณ์เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ , วิบากในภูมิ, กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ ๓. ธรรมเหล่านี้มีอารมณ์.
              ธรรมที่ไม่มีอารมณ์เป็นไฉน ? รูป นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่มีอารมณ์.
๓๔/๓๓๖

๘๗. ธรรมที่เป็นจิตและไม่ใช่จิต
              ธรรมที่เป็นจิตเป็นไฉน? จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา) โสตวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู) ฆานวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก) ชิวหาวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น) กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย) มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ). ธรรมเหล่านี้ เป็นจิต.

              ธรรมที่ไม่ใช่จิตเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ (กองเวทนา) สัญญาขันธ์ (กองสัญญา) สังขารขันธ์ (กองสังขาร) รูป และ นิพพาน ธรรมเหล่านี้ ไม่ใช่จิต.
๓๔/๓๖๗

๘๘. ธรรมที่เป็นเจตสิกและไม่ใช่เจตสิก
              ธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ . ธรรมเหล่านี้ เป็นเจตสิก.
              ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิกเป็นไฉน ? จิต, รูป, นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่ใช่เจตสิก.

๘๙. ธรรมที่ประกอบและไม่ประกอบกับจิต
              ธรรมที่ประกอบจิต (จิตตสัมปยุต) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์. ธรรมเหล่านี้ประกอบกับจิต.
              ธรรมที่ไม่ประกอบกับจิต (จิตตวิปปยุต) เป็นไฉน? รูป นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่ประกอบกับจิต. จิตไม่ควรกล่าว ทั้งว่าประกอบกับจิต ทั้งว่าไม่ประกอบกับจิต.
๓๔/๓๖๗

๙๐. ธรรมที่ระคนและไม่ระคนกับจิต
              ธรรมที่ระคนกับจิต (จิตตสังสัฏฐะ) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์. ธรรมเหล่านี้ ระคนกับจิต.
              ธรรที่ไม่ระคนกับจิต (จิตตวิสังสัฏฐะ) เป็นไฉน? รูป นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่ระคนกับจิต. จิตไม่ควรกล่าว ทั้งว่าระคนกับจิต ทั้งว่าไม่ระคนกับจิต.
๓๔/๓๖๗

๙๑. ธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
              ธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นไฉน? เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์. กายวิญญัติ (ความไหวกาย) วจีวิญญัติ (ความไหวหรือการเปล่งวาจา). รูปอย่างอื่น ซึ่งเกิดจากจิต ซึ่งมีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน, อายตนะ คือรูป. อายตนะคือเสียง. อายตนะคือกลิ่น. อายตนะคือรส. อายตนะคือโผฏฐัพพะ, ธาตุอากาศ, ธาตุน้ำ, ความเบาแห่งรูป, ความอ่อนสลวยแห่งรูป, ความควรแก่การงานแห่งรูป, ความเติบโตแห่งรูป, ความสืบต่อแห่งรูป, อาหารที่เป็นคำ ๆ๑๐ (อาหารธรรมดาของกาย) ธรรมเหล่านี้ มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

              ธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน (โน จิตตสมุฏฐาน)เป็นไฉน? จิต, รูปที่เหลือ (จากที่กล่าวไว้ข้างต้น คือรูปที่มิได้เกิดจากจิต), นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
๓๔/๓๖๗

๙๒. ธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตและไม่เกิดพร้อมกับจิต
              ธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต (จิตตสหภู) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ. ธรรมเหล่านี้ เกิดพร้อมกับจิต.
              ธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต (โน จิตตสหภู) เป็นไฉน? จิต (หมายถึงจิตดวงอื่น), รูปที่เหลือ (คือที่มิใช่เกิดจากจิต), นิพพาน, ธรรมเหล่านี้ ไม่เกิดพร้อมกับจิต.
๓๔/๓๖๘

๙๓. ธรรมที่หมุนเวียนไปตามจิตและไม่หมุนเวียนไปตามจิต
              ธรรมที่หมุนเวียนไปตามจิต(จิตตานุปริวัตตี) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, กายวิญญัติ, วจีวิญญัติ. ธรรมเหล่านี้ หมุนเวียนไปตามจิต.
              ธรรมที่ไม่หมุนเวียนไปตามจิต (โน จิตตานุปริวัตตี) เป็นไฉน? จิต, รูปที่เหลือ (คือที่มิใช่เกิดจากจิต), นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่หมุนเวียนไปตามจิต.
๓๔/๓๖๘

๙๔. ธรรมที่เป็นไปในภายในและภายนอก๑๑
              ธรรมที่เป็นไปในภายในเป็นไฉน? จักขายตนะ (ที่ต่อคือตา), โสตายนตะ (ที่ต่อคือหู), ฆานาจนนะ (ที่ต่อคือจมูก), ชิวหายตนะ(ที่ต่อคือลิ้น), กายายตนะ (ที่ต่อคือกาย), มนายตนะ (ที่ต่อคือใจ), ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในภายใน.
              ธรรมที่เป็นไปในภายนอกเป็นไฉน? รูปายตนะ (อายตนะ หรือที่ต่อคือรูป), สัททายตนะ (ที่ต่อคือเสียง), คันธายตนะ (ที่ต่อคือกลิ่น) รสายตนะ (ที่ต่อคือรส). โผฏฐัพพายตนะ (ที่ต่อคือโผฏฐัพพะ), ธัมมาจนะ (ที่ต่อคือธรรม). ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในภายนอก.
๓๔/๓๖๙

๙๕. ธรรมที่เป็นกุศล
              ธรรมที่เป็นกุศลเป็นไฉน? รากเหง้าของกุศล ๓ อย่าง คือความไม่โลภ ความไม่โกรธ๑๒ ความไม่หลง, กองแห่งเวทนา กองแห่งสัญญา กองแห่งสังขาร กองแห่งวิญญาณ ที่ประกอบด้วยรากเหง้าของกุศล.

๙๖. ธรรมที่เป็นอกุศล
              ธรรมที่เป็นอกุศลเป็นไฉน? รากเหง้าของอกุศล ๓ อย่าง คือความโลภ ความโกรธ๑๓ ความหลงและกิเลส ที่มีเนื้อความเป็นอันเดียวกับรากเหง้าของอกุศลนั้น, กองเวทนา, กองสัญญา, กองสังขาร, กองวิญญาณ ที่ประกอบด้วยรากเหง้าของอกุศลนั้น, การกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ ที่เกิดขึ้นจากรากเหง้าของอกุศลนั้น. ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล.

๙๗. ธรรมที่เป็นอัพยากฤต๑๔
              ธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นไฉน? วิบาก(ผล) ของธรรมที่เป็นกุศล อกุศล ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, และธรรมเหล่าใดที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากของกรรม, รูปทุกชนิด และธาตุที่เป็นอสังขตะ(ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง). ธรรมเหล่านี้ เป็นอัพยากฤต.
๓๔/๒๕๙

๙๘. ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
              "ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว จะพูดก็ตาม จะทำก็ตาม ความทุกข์ย่อมติดตามไป เพราะเหตุนั้น เหมือนล้อเกวียนตามรอยเท้าโคฉะนั้น."
              "ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าใจผ่องใสแล้ว จะพูดก็ตาม จะทำก็ตาม ความสุขย่อมติดตามไป เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาตามตัวฉะนั้น."
๒๕/๑๕

๙๙. เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
              "ผู้ผูกเวรว่า เขาด่าเรา เขาทำร้ายเรา เขาชนะเรา เขาลักของของเราไป เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ."
              "ผู้ไม่ผูกเวรว่า เขาด่าเรา เขาทำร้ายเรา เขาชนะเรา เขาลักของของเราไป เวรของผู้นั้นย่อมระงับ."
              "เวรในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวรเลยในกาลไหน ๆ แต่ระงับด้วยการไม่จองเวรต่างหาก ธรรมนี้ เป็นของเก่า."
              "คนอื่นย่อมไม่รู้ด้วยหรอกว่า พวกเราย่อมย่อยยับกันลงไปในการจองเวรกันนี้เอง. ในคนหล่านั้น ผู้ใดรู้ได้ แต่นั้น ความหมายมั่น จองเวรของเขาย่อมระงับไป."
๒๕/๑๕

                       

อรรถกถา
๑. ความก้าวล่วง คือประพฤติผิด หรือล่วงละเมิดข้อห้าม หรือศีลธรรม
๒. คือสัตว์ที่เกิดก็เติบโตขึ้นทันที เช่น เทพ และสัตว์นรก
๓. คำว่า สัมปทา แปลว่า ความถึงพร้อมหรือความสมบูรณ์ ตรงกันข้ามกับความวิบัติหรือความบกพร่องวิปริต
๔. ภูมิ ๔ คือ กามาวจรภูมิ (ภูมิที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม) รูปาวจรภูมิ (ภูมิที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป หรือรูปฌาน) อรูปาวจรภูมิ (ภูมิที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป หรืออรูปฌาน) โลกุตตรภูมิ (ภูมิที่ข้ามพ้นจากโลก)
๕. วิบาก คือจิตที่เป็นผลมาจากเหตุในกาลก่อน. โดยอธิบายว่า จิตมี ๔ ชนิด คือที่เป็นกุศล (ฝ่ายดี), เป็นอกุศล (ฝ่ายชั่ว), วิบาก (ฝ่ายผล), กริยา (ฝ่ายอาการ).

๖. กิริยาอัพยากฤติในภูมิ ๓ คือเว้นโลกุตตรภูมิ
๗. เวทนา คือความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข, สัญญา คือความจำได้ เช่น จำสี จำเสียง, สังขาร คือความคิด หรือเจตนาที่ดีบ้าง ชั่วบ้าง
๘. อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ มี ๒ ประเภท คือที่ต่อภายใน ได้แก่ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ, กับที่ต่อภายนอก ได้แก่รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, ธรรมที่คู่กับที่ต่อภายในเป็นคู่ ๆ
๙. โผฏฐัพพะ สิ่งที่มาถูกต้องกาย
๑๐. กวฬิงการาหาร อาหารที่ทำให้เป็นคำ ๆ หมายถึงอาหารที่กินได้ ยังมีอาหารประเภทอื่นอีก เช่น ผัสสาหาร อาหารคือสัมผัส มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือความจงใจ หรือตั้งใจ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ

๑๑. ในภาษาศาสนา ชี้ไปถึงอาตนะภายใน อาตนะภายนอก ซึ่งคู่กัน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอายตนะภายใน. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมะ เป็นอายตนะภายนอก คำว่า โผฏฐัพพะ หมายถึงสิ่งที่ถูกต้องได้ ธรรมะ หมายถึงเรื่องที่รู้ได้ด้วยใจ
๑๒. แปลเอาความจากคำบาลีว่า อโทสะ
๑๓. แปลเอาความจากคำบาลีว่า โทสะ แท้จริง คำว่า โกธะ(ความโกรธ) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) บางคราวก็แสดงไว้เป็นคำใช้แทนกัน บางคำก็แสดงว่าต่างกัน โดยอธิบายว่า ความคิดประทุษร้าย (โทสะ) มีความโกรธ (โกธะ) เป็นสมุฏฐาน. แต่แปลจับใจความในที่นี้ใช้แทนกัน เพื่อให้สั้น ๆ ในภาษาไทย
๑๔. อัพยากฤต คือที่พระพุทธเจ้าไม่พยากรณ์ ว่าดี หรือชั่ว ได้แก่เป็นกลาง ๆ




:https://sites.google.com/site/cosmosthai/a12
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 11:46:31 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม^^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 10:09:25 pm »


๗๕. เครื่องนำความอาฆาตออก ๑๐ อย่าง

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องนำความอาฆาตออก ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ

              ๑. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?

              ๒. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?

              ๓. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?

              ๔. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก ที่พอใจของเรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?

              ๕. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก ที่พอใจของเรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?

              ๖. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศแก่คนที่รัก ที่พอใจของเรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?

              ๗. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาได้บำเพ็ญประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?

              ๘. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขากำลังบำเพ็ญประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?

              ๙. บุคคลย่อมนำความอาฆาตออก ด้วยคิดอย่างนี้ว่า เขาจักบำเพ็ญประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา จะไม่ให้เป็นอย่างนั้น จะได้แต่ที่ไหน?

              ๑๐. บุคคลย่อมไม่โกรธ ในฐานะอันไม่สมควร

         "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องนำความอาฆาตออก ๑๐ อย่างนี้เหล่านี้แล."



ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๖๑

http://www.phrabuddhasasana.com/ps/index.php?option=com_content&task=view&id=228&Itemid=47
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 09:45:21 pm »

         

       ๗๔. ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๑๐ อย่าง

            "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ

๑. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขาได้ประพฤติ สิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา"
๒. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขากำลังประพฤติ สิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา"
๓. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขาจักประพฤติ สิ่งที่เป็นความพินาศแก่เรา"
๔. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศ แก่คนที่รัก
ที่พอใจของเรา"
๕. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศ แก่คนที่รัก
ที่พอใจของเรา"
๖. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นความพินาศ แก่คนที่รัก
ที่พอใจของเรา"
๗. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขาได้บำเพ็ญประโยชน์ แก่คนที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็น
ที่พอใจของเรา"
๘. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขากำลังบำเพ็ญประโยชน์ แก่คนที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็น
ที่พอใจของเรา"
๙. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า "เขาจักบำเพ็ญประโยชน์ แก่คนที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็น
ที่พอใจของเรา"
๑๐. บุคคลย่อมโกรธ ในฐานะที่ไม่สมควร

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๑๐ อย่างเหล่านี้แล."

ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๖
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 09:23:05 pm »



สิ่งที่ขอร้องหรือปรารถนาให้เป็นไปอย่างใจไม่ได้

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ อย่างเหล่านี้ อันสมณะ หรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกไม่พึงได้ คือ

              ๑. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าได้แก่เลย
              ๒. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าได้เจ็บไข้เลย
              ๓. ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าได้ตายเลย
              ๔. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าได้สิ้นไปเลย
              ๕. ขอสิ่งที่มีความพินาศไปเป็นธรรมดา อย่าได้พินาศไปเลย

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อสิ่งที่มีความแก่, ความเจ็บ, ความตาย, ความสิ้นไป, ความพินาศไปเป็นธรรมดา แก่, เจ็บไข้, ตาย สิ้นไป, พินาศไปแล้ว ย่อมไม่พิจารณาอย่างนี้ว่า "มิใช่เราคนเดียวที่มีสิ่งซึ่งมีความแก่, ความเจ็บไข้, ความตาย, ความสิ้นไป, ความพินาศไปเป็นธรรมดา อันแก่, เจ็บไข้, ตาย, สิ้นไป, พินาศไป แท้จริงสัตว์ทั้งหลายที่มีการมา การไป การตาย การเกิดทั้งหมด ก็มีสิ่งซึ่งมีความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความสิ้นไป ความพินาศไปเป็นธรรมดา อันแก่ เจ็บไข้ ตาย สิ้นไป พินาศไป เช่นเดียวกัน ก็ถ้าเมื่อสิ่งซึ่งมีความแก่ ฯลฯ มีความพินาศไปเป็นธรรมดา แก่แล้ว ฯลฯ พินาศไปแล้ว ฯลฯ เราจะพึงเศร้าโศก ลำบากใจ บ่นเพ้อ ตีอก คร่ำครวญ หลงใหล แม้อาหารของเราก็จะไม่ทำความพอใจให้ (รับประทานข้าวไม่ลง) แม้ความเป็นผู้มีผิวพรรณทรามก็จะก้าวลงในกาย แม้การงานก็จะไม่ดำเนินไป แม้ศัตรูก็จะดีใจ แม้มิตรก็จะเสียใจ, เมื่อสิ่งซึ่งมีความแก่ ฯลฯ ความพินาศไปเป็นธรรมดา แก่ ฯลฯ พินาศไปแล้ว เขาก็จะเศร้าโศก ลำบากใจ บ่นเพ้อ ตีอก คร่ำครวญ หลงใหล บุถุชนผู้มิได้สดับนี้ เรากล่าวว่า ถูกลูกศร คือความโศกอันมีพิษแทงเอาแล้ว ย่อมทำตัวเองให้เดือดร้อน.

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยาสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เมื่อสิ่งที่มีความแก่ ฯลฯ ความพินาศไปเป็นธรรมดา แก่แล้ว ฯลฯ พินาศไปแล้ว ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า "มิใช่เราคนเดียวที่มีสิ่งซึ่งมีความแก่ ฯลฯ ความพินาศไปเป็นธรรมดา อันแก่ ฯลฯ พินาศไป แท้จริงสัตว์ทั้งหลายที่มีการมา การไป การตาย การเกิดทั้งหมด ก็มีสิ่งซึ่งมีความแก่ ฯลฯ ความพินาศไปเป็นธรรมดา อันแก่ ฯลฯ พินาศไปเช่นเดียวกัน ก็ถ้าเมื่อสิ่งซึ่งมีความแก่ ฯลฯ ความพินาศไปเป็นธรรมดา แก่แล้ว ฯลฯ พินาศไปแล้ว เราจะพึงเศร้าโศก ลำบากใจ บ่นเพ้อ ตีอก คร่ำครวญ หลงใหล แม้อาหารของเราก็จะไม่ทำความพอใจให้ (รับประทานข้าวไม่ลง) แม้ความเป็นผู้มีผิวพรรณทรามก็จะก้าวลงในกาย แม้การงานก็จะไม่ดำเนินไป แม้ศัตรูก็จะดีใจ แม้มิตรก็จะเสียใจ, เมื่อสิ่งซึ่งมีความแก่ ฯลฯ ความพินาศไปเป็นธรรมดา แก่แล้ว ฯลฯ พินาศไปแล้ว เขาก็จะไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่บ่นเพ้อ ไม่ตีอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงใหล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนี้ เรากล่าวว่า ถอนเสียได้ซึ่งลูกศรคือความโศกอันมีพิษที่บุถุชนผู้มิได้สดับถูกแทงแล้ว ทำตนเองให้เดือดร้อน ส่วนอริยสาวก เป็นผู้ไม่เศร้าโศก เป็นผู้ปราศจากลูกศร ย่อมทำตัวเองให้สงบระงับ.
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ อย่างเหล่านี้แล อันสมณะ หรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกไม่พึงได้."


ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๕๙

๑. คำว่า อริยสาวก ในที่นี้ หมายเพียงผู้เป็นสาวก หรือศิษย์ของพระอริยเจ้า หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้นับถือศาสนาของพระอริยะ

*********************************************

             [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้ว
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง
ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต ฯ
             [๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็น
จริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต ฯ
             [๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุซ่องเสพเมตตาจิต แม้ชั่วการเพียงลัด
นิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ
พระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะ
กล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ
             [๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ
เดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ
พระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าว
ไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ
             [๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุใส่ใจเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียง
ลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอน
ของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะ
กล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ
             [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนอกุศล ที่เป็นไป
ในฝักฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรม
เกิดหลังเทียว ฯ
             [๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนกุศล ที่เป็นไปใน
ฝักฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมเกิด
หลังเทียว ฯ
             [๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป
เหมือนความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลประมาทแล้ว อกุศลธรรมที่
ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ
             [๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็น
เหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป
เหมือนความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ
             [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป
เหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเกียจคร้านแล้ว
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ

จบวรรคที่ ๖
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=210&Z=246