ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2011, 05:33:50 pm »




มองออกไปไกลๆ เห็นแต่ทิวไม้ลิบ ๆ ต่ำลงไปมีแต่ความเวิ้งว้าง
สงัดและวังเวง
จนได้ยินเสียงของความเงียบ แล้วจิตก็เริ่มนิ่ง เริ่มสงบ
นี่กระมังที่ว่า สิ่งแวดล้อมกำหนดจิต
ขณะเดียวกัน เมื่อจิตสงบ มันก็สามารถกำหนดสิ่งแวดล้อมได้ด้วย
          การที่จิตผมระส่ำระสายหวั่นไหวเมื่อแรกนั้น แสดงว่าสิ่งแวดล้อม
กำลังกำหนดจิตผมอยู่ฝ่ายเดียว



จิตผมตกอยู่ใต้อำนาจความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติแวดล้อมที่ข่มให้ผมกลัว
กระทั่งระส่ำระสายหวั่นไหว ผมกลัวอะไรหรือ ตอบว่าผมกลัวการอยู่คนเดียว

กลัวอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากสิ่งแวดล้อมที่ผมไม่รู้ไม่คุ้นชินกับมัน
กลัวสัตว์ร้าย กลัวคนร้าย กลัวงู กลัวเสืออะไรไปตามเรื่อง สรุป ก็คือ กลัวตาย


       
ครั้นจิตเริ่มสงบลง นี่ก็อีก มันสงบได้อย่างไรเล่า ผมเฝ้าใคร่ครวญดู
จึงเริ่มรู้ว่า ด้วยผมกำลังคุ้นชินกับมันนั่นเอง
ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่คงสงบอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ตั้งแต่ต้นจนถึงบัดนี้
          ไม้ใหญ่ก็ยังโอนเอนไหวลม ขอบฟ้าเวิ้งว้างก็ยังคงเวิ้งว้างอยู่อย่างนั้น
เปลี่ยนไปแต่แสงแดดที่ค่อยคล้ำมัวสลัวลง และกับจิตผมนั่นเองที่มันเปลี่ยนไป
เปลี่ยนจากความระส่ำระสายหวั่นไหวมาเป็นความสงบ จิตเริ่มสงบไปกับความสงัดนั้น
          ความเงียบ และความคิดอันกึกก้องอยู่ในจิตผมนี่เอง ที่มันกำลังคุยอยู่

       
เมื่อถึงตรงนี้ผมจึงเริ่มเข้าใจว่า ต้นไม้พูดได้ ก้อนหินพูดได้อย่างไร
          ก็จิตเรานี่เอง ที่คิดอะไรอยู่ ธรรมชาติแวดล้อมนั่นแหละ ที่มัน
กำลังกำหนดและกระทำต่อจิตอยู่
          เราไม่สามารถคิดอะไรได้เองลอย ๆ โดยปราศจากฐานที่ตั้งของความคิด
          มันต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งประกอบความคิดเราอยู่เสมอ
          การได้มีโอกาสลิ้มรส
กระบวนการทางจิตเหล่านี้มีคุณมหาศาลต่อผม และยังส่งผลมาจนวันนี้



วันที่อะไร ๆ มันดูสับสนวุ่นวาย เต็มอยู่ด้วยการโฆษณาแข่งขัน แต่งถ้อยแต่งจริต
มากพิษมากภัยที่ทำให้จิตเราเตลิดเพริดไปได้ง่าย ๆ ทุกวัน
          ทำอย่างไรเราจึงจะสงบนิ่งอยู่ได้ ในท่ามกลางความผันแปรเหล่านี้
          นี่แหละเป็น เคล็ด
          ถ้าเราสงบนิ่งไม่ได้ จิตเราจะถูกกำหนดโดยสภาพแวดล้อมที่พัลวันวุ่นวายอยู่นี้

นั้นก็คือ เราจะตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา เป็นเหยื่อของค่านิยม
เราจะฟุ่มเฟือย เราจะลอยไปลอยมากับกิเลสมายาสารพัน



แต่ถ้าเราสามารถสงบนิ่งได้ จิตเราก็จะเป็นฝ่ายกำหนดบ้างละ
เราจะรู้จักเลือกสรรต่อการที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสรรพสิ่งสารพันเหล่านี้
เราจะรู้วิธีที่จะจัดการกับมันตามความเหมาะสมกับประโยชน์ในทุกเรื่อง
ตรงนี้กระมัง ที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับจิต
ในลักษณะที่เขาเรียกว่าเป็น วิภาษวิธี คือ
การต่างกำหนดซึ่งกันและกัน ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับจิต ในอัตราที่เหมาะสม
         
ก่อนอื่นใดทั้งหมด มันต้องเริ่มต้นที่...
เราต้องหัดเป็นอยู่เรียบ ๆ เงียบ ๆ ง่าย ๆ ด้วยตัวคนเดียว..โดย...
ไม่รู้สึกเงียบเหงา ว้าเหว่ เปล่าเปลี่ยว ให้ได้เสียก่อน
       
ผมว่า บุคคลเป็นฉันใด ประเทศชาติบ้านเมืองก็เป็นฉันนั้น
คือ ถ้ามันเป็นตัวของตัวเอง(อิสระ)ไม่ได้ มันก็ต้องเป็นทาสเขาร่ำไป

- เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์



นำมาแบ่งปันโดย...
ขมค่ะ
-:http://www.sookjai.com/index.php?topic=2026.40
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2011, 05:30:05 pm »



                          อเนกชาติสํสารํ       สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
                            คหการกํ คเวสนฺโต       ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
                            คหการก ทิฏฺโฐสิ       ปุน เคหํ น กาหสิ
                            สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา       คหกูฏํ วิสงฺขตํ
                            วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ       ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.

                            เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยว
                            ไปสู่สงสาร มีชาติเป็นอเนก ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์๑-
                             แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่านแล้ว, ท่านจะทำเรือน
                            อีกไม่ได้, ซี่โครงทุกซี่๒- ของท่านเราหักเสียแล้ว
                            ยอดเรือน เราก็รื้อเสียแล้ว, จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่อง
                            ปรุงแต่งแล้ว, เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว.

>>> อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ชราวรรคที่ ๑๑
๘. เรื่องปฐมโพธิกาล [๑๒๕]
- ทรงกำจัดมารแล้วเปล่งอุทาน
---------------------------------------------------------------------------



อเนกชาติ…
- เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

บทสวดมนต์แปล ฉบับสวนโมกข์ ที่ผมติดใจอยู่จนวันนี้บทหนึ่ง
ขึ้นต้นว่า...
          อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง…
แปลว่า เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้ท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ
           ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง
แปลว่า การเกิดทุกคราว เป็นทุกข์ร่ำไป

          ในบทสวดนี้ท่านพูดถึงการ แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน
คือตัณหาผู้สร้างภพ และในที่สุดก็ว่า
          นี่แน่ะนายช่างปลูกเรือน เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป
          โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว
จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรจะปรุงแต่งไม่ได้
อีกต่อไป

         
ความนี้ไพเราะนัก เพราะจิตที่ไม่ปรุงแต่งไปตามอำนาจของตัณหา
ก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของกิเลส          
เมื่อไม่มีตัณหา ก็ไม่มีภพ คือไม่มีการเกิดขึ้นซึ่งความทุกข์



จิตเช่นนี้แหละ คือ ปัญญา ปัญญาที่รู้เท่าทันต่อทุกสรรพสิ่งในทุกสภาพ   
เมื่อควบคู่กับสติ ปัญญาจะไม่ทำให้เรา
ตกเป็นทาสของมายาทั้งปวง
อันแวดล้อมเราอยู่นี้ได้อีกต่อไป

เมื่ออยู่สวนโมกข์นั้น หลังจากบิณฑบาต ผมจะไปนั่งสวดมนต์ทำวัตรเช้า
บนศาลาโรงธรรมพร้อมกับพระรูปอื่น ๆ บทที่สวด มีทั้งบาลี และบทแปล
และการที่ต้องสวดบทแปลควบคู่ไปทีละวรรคนี้เอง จึงเป็นโอกาสดีให้ได้ขบคิด
และทำความเข้าใจในข้อธรรมนั้น ๆ ไปด้วย

          การได้อยู่คนเดียวเงียบ ๆ ก็ยิ่งช่วยให้เราได้เรียนรู้ เรื่องของจิตตัวเอง มากขึ้น
      เพราะการเรียนรู้และการปฏิบัติธรรมนั้นไม่มีเรื่องอื่น
นอกจากเรื่องของจิตตัวเดียว จิตของตัวเองนี่แหละ

          ไม่ใช่เรื่องของกระบวนการ จิตศาสตร์ หรือ จิต ในความหมายทั่วไป
          หากมุ่งลงมาที่จิตของตัวเองเท่านั้น ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้

          ที่สวนโมกข์นั้น มีคำพูดกันว่า ต้นไม้พูดได้ ก้อนหินพูดได้
คือ ไม้ทุกต้น หินทุกก้อน จะคุยกับเราได้ทันทีที่จิตเราสงบได้เท่ามัน
          ผมเคยขึ้นไปนั่งบนเนินเขา และเคยขึ้นไปค้างคืนอยู่คนเดียวบนยอดเขานางเอน
ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับสวนโมกข์นั้น
          เมื่อเริ่มแรก
สังเกตดู จิตผมระส่ำระสายและหวั่นไหวมาก มันเปล่าเปลี่ยวและวังเวง