ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Uzumaki Naruto
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 03:00:57 pm »



วันนี้จะอธิบายถึงวิธีกลั่นกรองธรรมออกจากโลก หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าวิจัยธรรมให้ออกจากโลก ให้เห็นธรรมเป็นธรรม เห็นโลกเป็นโลก กรองเอาของเลวออกให้เหลือแต่ของดี ของอย่างหยาบเราไม่ต้องการแล้วก็กรองออกเสีย เก็บไว้แต่ของละเอียด เหมือนกับน้ำที่มันขุ่น เรากรองเอาแต่ของขุ่นออก เก็บของใสๆ ไว้ใช้บริโภค    
          
      คนเราเกิดขึ้นมาในโลกนี้แล้วก็ปะปนอยู่กับโลก วุ่นวายอยู่กับโลก เห็นเรื่องของโลก ได้ผ่านได้ประสบพบเหตุการณ์มาแล้วทุกอย่างทุกประการ ผู้ที่ปฏิบัติศีลธรรมทั้งหลายล้วนแล้วแต่เบื่อเรื่องโลก เห็นโทษของเรื่องโลกของเรื่องวัฏสงสาร จึงได้พากันพยายามมาปฏิบัติทางด้านศีลธรรม เพื่อกลั่นกรองเอาธรรมะออกมาจากโลกอันนี้ ในทางพุทธศาสนาเครื่องกลั่นกรองนี้พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา เครื่องกลั่นกรองมี ๓ อย่างนี้เท่านั้น
      
      ศีล เป็นเครื่องกลั่นกรองอย่างหยาบก็จริงอยู่ แต่ถ้าหากไม่มีศีลเป็นเครื่องกรองเสียแล้ว เราก็ไม่รู้จักว่าคนเรามีเรื่องของโลกปะปนอยู่มากน้อยเท่าใด คำว่า สัตว์โลก แปลว่า ผู้ยังข้องยังติดอยู่กับโลก คนเรามันยังติดอยู่กับโลก พอใจยินดีกับโลก ท่านจึงเรียกว่าสัตว์ มนุษย์คือสัตว์ประเภทหนึ่ง สัตว์โลกเมื่อเกิดขึ้นมาตามธรรมดาสามัญทั่วไปย่อมเห็นแก่ตัว เอาแต่ความสุขส่วนตัวเป็นพื้น การเห็นแก่ตนนั่นแหละเป็นวิสัยของสามัญสัตว์ทั่วไป หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่าเป็นเรื่องของโลก
      
      สัตว์ทุกประเภทเมื่อเห็นแก่ตัวแล้ว ก็จะต้องขวนขวายแสวงหาแต่ความสุขเพื่อตัวฝ่ายเดียว การขวนขวาย หาความสุขเพื่อตัวฝ่ายเดียวนั้น ก็จะต้องเป็นเรื่องกระทบ กระเทือนเบียดเบียนถึงคนอื่นหรือสัตว์อื่น ให้ได้รับความ ทุกข์เดือดร้อน นี่เป็นวิสัยของโลก มันเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดกาล
      
      ถ้าหากว่าเราเห็นเรื่องการเบียดเบียน หรือการเห็นแก่ตัวเป็นเรื่องทำลายความสุขของคนอื่น เป็นเครื่องทำความเดือดร้อนให้กับคนอื่นหรือสัตว์ตัวอื่น เราจึงหันมารักษาศีล คือหาเครื่องกรองเพื่อให้เห็นว่าการทำเช่นนั้นมันไม่ดี มันเป็นเรื่องนำมาซึ่งความทุกข์เดือดร้อนให้แก่คนอื่นและสัตว์ตัวอื่น ตัวอย่างเช่นงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
      
      ตามปกติคนเรามีนิสัยชอบกินเนื้อเขาเป็นพื้น เห็นเนื้อเขาก็น้ำลายพุ่งออกมาเลยไม่ว่าเนื้ออะไรทั้งหมด มันติดนิสัยกินเนื้อเขาเอามาเป็นอาหารเอามาบำรุงร่างกายของตัว อันนี้เรียกว่าเห็นแก่ตัว
      
      ถ้าหากผู้ใดรู้เรื่องหมด เห็นโทษ เห็นภัยอย่างนี้แล้วหันมาพยายามรักษาศีล คือ งดเว้นการฆ่าสัตว์ ถึงแม้จิตใจมันยังชอบหรือยังอยากอยู่ก็ตาม แต่กายและวาจาไม่กระทำ คือกายไม่ไปฆ่าหรือวาจาไม่บังคับให้เขาฆ่า งดเว้นเพียงข้อเดียวเท่านั้น ธรรมะก็ปรากฏขึ้นมาแล้วในกายในวาจาของคนคนนั้น คือไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น นี่มันกรองได้อย่างนี้
      
      หากใจยังคิดนึกอยู่ท่านก็ไม่ได้ปรับโทษว่าเป็นการล่วงละเมิดศีลข้อ ๑ คือฆ่าสัตว์ เพราะกายและวาจางดได้ไม่ยอมทำ เนื่องจากกลัวศีลจะขาด แต่ใจยังรักษาไม่ได้ เท่านี้ก็เป็นการกรองออกมาจากโลก ไม่เป็นโลกแล้ว มีธรรมขึ้นมาแล้ว แต่ธรรมตอนนี้ยังไม่ทันบริสุทธิ์ ธรรมยังเศร้าหมองยังไม่ทันผ่องใสเต็มที่ เปรียบเหมือนกับทองคำที่เขาหล่อหลอมแล้ว ไล่ขี้มันออกแล้วเป็นทองบริสุทธิ์ก็จริง แต่ยังไม่ได้ทำรูปพรรณให้เป็นเครื่องใช้ มันยังไม่สวยสดงดงามพอจะเป็นเครื่องประตับตกแต่งได้ ศีลก็ขนาดนั้นเหมือนกัน สำหรับข้อแรกเราก็พอจะเห็นการกลั่นกรองออกมาได้แล้ว
      
      ข้อที่สอง งดเว้นเสียจากการลักขโมยฉ้อโกงของของคนอื่น เอามาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน คนเราเมื่อเห็นแก่ตัวแล้วก็ต้องแสวงหา ทีแรกก็นำมาค้าขายแลกเปลี่ยน หาผลกำไรเป็นธรรมดา เมื่อหาผลหากำไรได้ไม่พอใจ เพราะความโลภมันแทรกซึมอยู่มาก ก็จะมีการละโมบ ฉ้อโกง หรือเห็นของที่เขาทอดทิ้งไว้ไม่เห็นเจ้าของ ก็จะหยิบฉวยเอาไปเป็นของตน นี่เป็นโลกมันแทรกซึมอยู่กับธรรมอย่างนี้ ถ้าหากว่าเรามาสมาทานศีล หรือตั้งใจงดเว้นศีลข้อที่สอง คือไม่ลักขโมยฉ้อโกงของเขา ถ้าใจมันยังอยากอยู่แต่เรากลัวศีลจะขาด เราก็พยายามไม่ฉ้อโกงไม่ขโมยของเขา อันนี้ก็เรียกว่าเรากรองจากโลกออกมาแล้ว จะปรากฏขึ้นมาแก่ใจของตนว่า ธรรมะของเราปรากฏขึ้นแล้ว
      
      ส่วนข้ออื่นๆ เช่นการประพฤติผิดมิจฉาจาร กล่าวมุสาวาจา ดื่มสุราเมรัย หรือศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ถ้าจะไล่เป็นข้อๆ ไปแล้วก็ยืดยาว เพียง ๒ ข้อนี่ก็แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า การกลั่นกรองธรรมะออกมาจากโลกกรองได้ด้วยวิธีนี้ คือกรองด้วยการรักษาศีล
      
      (อ่านต่อตอนหน้า)

 :07: