ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวมีขีดกลาง | จัดย่อหน้าอิสระ จัดย่อหน้าชิดซ้าย จัดย่อหน้ากึ่งกลาง จัดย่อหน้าชิดขวา
ใส่แฟลช ใส่รูป ใส่ไฮเปอร์ลิ้งค์ ใส่อีเมล์ ใส่ลิ้งค์ FTP | ตัวเรืองแสง ตัวมีเงา ตัวอักษรวิ่ง | ตัวยก ตัวห้อย ตัวพิมพ์ดีด | ใส่ตาราง ใส่โค้ด ใส่การอ้างถึงคำพูด | Insert Unordered List Insert Ordered List เส้นขวาง Insert Progress Bar | Remove Formatting Toggle View
Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2011, 02:50:07 pm »


                       
พระไตรปิฎกเป็นพุทธพจน์มากน้อยเพียงใด

ถ้าจะถามว่าพระไตรปิฎกเป็นพระพุทธพจน์มากน้อยเพียงใด ตอบได้ทันที (เช่นเดียวกับกรณีพระอภิธรรมปิฎก) ว่า พระไตรปิฎกไม่ใช่พระพุทธพจน์ทั้งหมด แต่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

ผู้ศึกษาย่อมทราบดีว่าพระไตรปิฎกมิใช่ "คำพูด" ของพระพุทธเจ้าทั้งหมด มีหลายสูตรที่เป็นเทศนาของพระเถระผู้ใหญ่บางรูป บางส่วนเป็นภาษิตของเทวดาที่พระพุทธเจ้าทรงรับรองว่าเป็นสุภาษิต เฉพาะสูตรในทีฆนิกาย 34 สูตร มีสูตรที่เป็น "คำพูด" ของสาวกไม่น้อยกว่า 5 สูตร ไม่จำต้องพูดถึงนิกายอื่นๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก

แม้พระสูตรซึ่งเป็นเทศนาของพระพุทธเจ้าเอง ก็มีถ้อยคำของผู้รวบรวมประหัว ประท้ายด้วย เช่น พระสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ใคร ที่ไหน มีเนื้อหาว่าอย่างไร หลังจากแสดงธรรมจบแล้วได้ผลอย่างไร ส่วนที่ถือว่าเป็น "คำพูด" ของพระองค์ก็คือตรงที่เนื้อหาสาระของพระสูตร แม้กระนั้นก็ตามก็เป็นการ quote ข้อความซึ่งผู้ที่ "โควต" อาจจำมาผิดพลาดจากที่ตรัสจริงๆ ก็ได้ แต่ "สาระ" ยังคงอยู่ครบ เฉพาะพระอภิธรรมปิฎกนั้น หลักฐานแบ่งชัดแล้วว่ามิใช่ "คำพูด" ของพระพุทธเจ้า

ถ้าคำว่า "พระพุทธพจน์" หมายถึง "คำพูดจริงๆ" ของพระพุทธเจ้า พระไตรปิฎกก็มิใช่พระพุทธพจน์ทั้งหมดดังกล่าวมา แต่ถ้าหมายถึงว่า เป็น "คำสอน" ของพระพุทธองค์หรือไม่ ไม่น่าจะมีเหตุผลใดที่จะปฏิเสธว่าไม่ใช่ เพราะวิธีตัดสินพระพุทธเจ้าทรงวางหลักการตัดสินพระธรรมวินัย 8 ประการไว้แล้ว

หลักตัดสินพระธรรมวินัย 8 ประการคือ
ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ

1. วิราคะ ความคลายกำหนัด, ไม่ติดพัน มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ การเสริมให้ติด
2. วิสังโยค ความหมดเครื่องผูกรัด, ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัดหรือประกอบทุกข์
3. อปจยะ ความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส
4. อัปปิจฉตา ความมักน้อย มิใช่เพื่อความมักมาก
5. สันตุฎฐี ความสันโดษ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ
6. ปวิเวก ความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่
7. วิริยารัมภะ การประกอบความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน
8. สุภรตา ความเป็นคนเลี้ยงง่าย มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก

ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ (คำสอนของพระศาสดา)
ตรงข้ามจากนี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุสาสน์

แสง จันทร์งาม ให้เหตุผลที่พระไตรปิฎกยังคงเป็นพระพุทธพจน์ไว้ 4 ประการดังนี้
1. ตามธรรมเนียมอินเดียนั้น การถ่ายทอดเรื่องราวทางศาสนาด้วยปาก มิใช่ทำอย่างสุกเอาเผากิน แต่กระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง และด้วยความเคารพอย่างสูง มิให้ข้อความใดๆ ผิดแผกไปจากเดิม ไม่เฉพาะข้อความเท่านั้นที่ต้องระมัดระวัง แม้การออกเสียงคำต่างๆ ก็ต้องให้ถูกต้องตามอักขร-ฐานกรณ์อย่างเคร่งครัด ต้องจำได้ขึ้นใจอย่างถูกต้องทั้ง "อรรถ" และ "พยัญชนะ" เฉพาะอย่างยิ่งในศาสนาฮินดูนั้น การออกเสียงคำว่า "โอม" คำเดียวอาจารย์อาจใช้เวลาหลายวันในการสอนศิษย์ให้ว่าได้ถูกต้อง วิธีการศึกษาทางพุทธศาสนาซึ่งได้รับอิทธิพลจากธรรมเนียมพราหมณ์ ก็คงจะเอาใจใส่ในการศึกษาถ่ายทอดอย่างระมัดระวังเช่นกัน

2. ข้อที่ว่าอาจารย์บางท่านอาจแทรกมติของตนลงในสูตรบางสูตร แล้วอ้างว่าเป็นพุทธพจน์นั้นอาจเป็นไปได้ แต่คงมีน้อยที่สุด เพราะพระสาวกผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ย่อมมีความเคารพบูชาในคำสอนดั้งเดิมอย่างสูง ไม่กล้าอ้างคำพูดของตนว่าเป็นพุทธพจน์ ไม่กล้าถอนพุทธพจน์ดั้งเดิม ดังเราจะเห็นได้ว่า พระสูตรส่วนมากมีสาระสำคัญหรือเนื้อหาแท้ๆ เพียงเล็กน้อย แต่มีคำบรรยายซ้ำๆ ซากๆ มากมาย ตามสำนวนนิยมสมัยนั้น พระสูตรที่มีความยาว 3-4 หน้า ถ้าจะสรุปเอาเฉพาะเนื้อหาแท้ๆ จะเหลือเพียงครึ่งหน้าเท่านั้น แม้กระนั้น พระอาจารย์ทั้งหลายก็ไม่กล้าตัดทอนคงจำสืบๆ กันมาอย่างนั้นด้วยความเคารพ [๔]

( 8 ) ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 ประการ
1. ธรรม (คำสอน) เหล่าใดเป็นไปเพื่อคลายกำหนัด (วิราคาย)
2. เพื่อหมดเครื่องผูกรัด (วิสํโยคาย)
3. เพื่อไม่พอกพูนกิเลส (อปจยาย)
4. เพื่อความมักน้อย (อปฺปิจฺฉตาย)
5. เพื่อความสันโดษ (สนฺตุฏฺฐิยา)
6. เพื่อความสงัด (ปวิเวกาย)
7. เพื่อปรารถนาความเพียร (วิริยารมฺภาย)
8. เพื่อเป็นคนเลี้ยงง่าย (สุภรตาย)
คำสอนเหล่านั้นพึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ 

(9) พระนามของพระตถาคต
พระพุทธเจ้าตรัสว่า คำเหล่านี้ก็เป็นพระนามของพระตถาคต คือ สมณะ (ผู้สงบ)
พราหมณ์ (ผู้ลอยปาบ) เวทคู (ผู้จบพระเวท)
ภิสักกะ (หมอ) นิมมล (บริสุทธิ์) วิมละ (บริสุทธิ์) ญาณี (ผู้ทรงญาณ) วิมุตตะ (ผู้พ้นแล้ว) [๔๖]

ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ที่มา :: หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 29
ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมาสน์ โดย ไต้ ตามทาง

: http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5399&postdays=0&postorder=asc&start=0&sid=e8dc05a2398f0502553e36e4ff5c47ba
:http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2009/01/Y7403301/Y7403301.html