ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2011, 09:06:33 am »

<a href="http://www.youtube.com/v/YTfpneBfKyc" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://www.youtube.com/v/YTfpneBfKyc</a>

  เมื่อเล่าจื๊อเหนื่อยหน่ายสังคมและลาออกจากราชการแล้ว ได้ใช้ควายคู่ชีพเป็นพาหนะท่องเที่ยวไปสอนคนยังที่ต่างๆ  วันหนึ่งได้พบกับขงจื๊อซึ่งเป็นนักปราชญ์จีนคนสำคัญอีกคน ทั้งสองได้สนทนาเชิงปุจฉาวิสัชนาธรรมแก่กัน โดยเล่าจื๊อได้แนะนำนักปราชญ์หนุ่มให้ระมัดระวังอย่าทะเยอทะยานมากนัก ดังตัวอย่างข้อความที่สนทนาโต้ตอบกันต่อไปนี้

          ขงจื๊อบอกเล่าจื๊อด้วยความเคารพว่า ปรารถนาที่จะแสดงคารวะต่อท่านนักปราชญ์ทั้งผู้ใหญ่ในอดีต เล่าจื๊อตอบว่า คนที่ท่านจะแสดงคารวะเหล่านั้นไม่มีชีวิตเหลืออยู่แล้ว เหลือแต่เถ้าและกระดูก เลิกคิดเสียเถิดอย่าปรารภกระนั้นเลย

          ขงจื๊อถามถึงเรื่องเต๋าว่า ศึกษามาก็มากแล้ว ไม่เคยรู้ว่าอะไรคือเต๋า เล่าจื๊อกลับตอบเป็นทำนองย้อนถามว่า ถ้าเต๋าเข้ามาอยู่ที่ตัวคนได้ ใครเล่าจะไม่ปรารถนาเต๋า ทำไมท่านจึงไม่หาเต๋ามาอยู่กับตัวเล่า

          ขงจื๊อกลับไป พวกศิษย์ถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง ขงจื๊อตอบว่า "นกบินอย่างไรข้าพเจ้าก็เคยรู้ ปลาว่ายน้ำอย่างไร สัตว์อื่นวิ่งอย่างไรก็รู้ และรู้ถึงว่าจะจับสัตว์นั้นได้อย่างไร สัตว์บางชนิดต้องใช้บ่วงจับ บางชนิดต้องใช้เหยื่อจับ อีกหลายชนิดต้องใช้ธนู แต่เดี๋ยวนี้มีสัตว์อีกชนิดหนึ่ง คือ มังกร ข้าพเจ้าบอกไม่ได้ว่ามันเลื้อยขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้าได้อย่างไร ไม่รู้ว่ามันผ่านก้อนเมฆหรือผ่านขึ้นไปบนสวรรค์ด้วยวิธีไหน วันนี้ข้าพเจ้าได้พบกับท่านเล่าจื๊อพบแล้วก็ทำให้ปลงใจว่า ท่านเล่าจื๊อ  "เป็นมังกร"  ซึ่งยากที่จะเข้าใจ

          เล่าจื๊อเป็นเหมือนมังกรที่น่ากลัว และเหนือกว่าที่ใครจะเข้าใจ เป็นผู้ใฝ่ฝัน แสวงหาความจริงของโลก นิยมการดำเนินชีวิตตามธรรมชาติ ใครทำผิดทำถูก เล่าจื๊อเห็นว่าธรรมชาติลงโทษและให้คุณเอง เล่าจื๊อมองเห็นโลกเป็นบ่วง เหนื่อยหน่ายโลก เล่าจื๊อบอกว่าปล่อยให้โลกเป็นไปตามทางของมัน โลกก็จะสุขสบายเอง เล่าจื๊อจึงปรากฏแก่ขงจื๊อเหมือนคนที่ฝันถึงโลกอื่น โผผินอยู่ในระหว่างก้อนเมฆแห่งความคิดฝันของตนเอง ส่วนขงจื๊อก็คงจะปรากฏแก่เล่าจื๊อเหมือนคนเจ้ากี้เจ้าการที่วุ่นวายในเรื่องราวของคนอื่น บุรุษผู้มีอิทธิพลมากที่สุดของของจีนทั้งสองนี้แตกต่างกันอย่างแท้จริงในวิธีการ ที่จะแก้ไขปัญหาโลกปัญหาสังคม ด้วยวิธีการของตนเอง พูดง่ายๆ ขงจื๊อหนักไปในทางโลก ต้องการอยู่ในโลก ส่วนเล่าจื๊อสอนหนักไปในทางธรรม ต้องการออกนอกโลก แม้จะแตกต่างกันในวิธีการและพฤติกรรม แต่ก็มีเป้าหมายตรงกัน นั้นก็คือ ความสันติสุขของปวงมนุษยชาติ โดยเฉพาะผืนแผ่นดินใหญ่จีน

          เล่าจื๊อบำเพ็ญตนเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ชอบความเรียบง่าย ชอบความสงบสงัด ความไม่วุ่นวาย พอใจความถ่อมตัว มุ่งรักษาความดี และช่วยทำประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยเมตตาจิต ลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเล่าจื๊อ ดังที่ปรากฏในคัมภีร์ เต้า เตก เกง ว่า


          "หมู่ชนทั้งหลายเป็นผู้มีความสุข ข้าพเจ้าเป็นคนชอบสงัด ชอบอยู่แต่ลำพัง จงติเตียน ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าไม่ต้องการความสุขเช่นหมู่ชนทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นคนโง่คนขลาด ข้าพเจ้าเป็นคนแตกต่างจากผู้มีความสุขทั้งหลาย ข้าพเจ้าจากคนทั้งหลายมาเพื่อแสวงหาเต๋า (สภาพอันเป็นไปตามธรรมชาติ)"

           "ชาวโลกทั้งปวงกล่าวว่าข้าพเจ้าเป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าหาได้เป็นดังคำกล่าวของคนทั้งหลายไม่ แต่ข้าพเจ้ามีสมบัติอันเป็นแก้ว 3 ประการในตัวข้าพเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าพยายามให้เกิดมีขึ้นในตนเสมอ และคนทั้งหลายควรดูแลและรักษาไว้ให้ดี สมบัติ 3 อย่างนั้น คือ ความเมตตากรุณา ความกระเหม็ดกระแหม่ และความอ่อนน้อมถ่อมตน"

          "ถ้อยคำของข้าพเจ้าง่ายที่จะรู้ ง่ายแก่การปฏิบัติ แต่ไม่มีใครสามารถรู้และปฏิบัติได้ เพราะว่าคนทั้งหลายไม่รู้จักธรรมชาติ และไม่รู้จักข้าพเจ้าด้วย"

          ลักษณะอันเป็นคุณธรรม 3 ประการ คือ ความเมตตากรุณา ความกระเหม็ดกระแหม่ และความอ่อนน้อมถ่อมตน ถือว่าเป็นแก้ว 3 ประการภายในตัวของเล่าจื๊อ

          เล่าจื๊อมีอายุยืนยาว อาจจะมีอายุยืนยาวกว่า 160 ปี ก็ได้ ปราชญ์บางคนกล่าวว่ามากกว่า 200 ปี ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าเล่าจื๊อปฏิบัติเข้าถึงเต๋า ผู้เข้าถึงเต๋าจะมีอายุยืนหรือไม่ตาย หรือถ้าตายร่างกายก็จะไม่เปื่อยเน่า เล่าจื๊อได้ใช้ควายคู่ชีพเป็นพาหนะเดินทางหนีจากผืนแผ่นดินใหญ่ไปเรื่อยๆ มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันตก เมื่อไปถึงพรมแดนที่ผ่านเข้าออกนายด่านผู้กำกับทางผ่านเข้าออกอยู่จำเล่าจื๊อได้ จึงได้ขอร้องเล่าจื๊อว่าก่อนจะจากไปขอให้ช่วยชี้แจงเรื่องปรัชญาแห่งชีวิตที่ได้ผ่านมา บันทึกไว้เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง เล่าจื๊อยินยอมให้ทำบันทึกคำสอนของตนไว้ให้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องหลักเกี่ยวกับสากลโลก ธรรมชาติและชีวิต ให้ชื่อว่า  "เต้า-เตก-เกง" (Tao-Teh-Ching) เป็นคำประมาณ 5,500 คำ พวกศิษย์ได้รวบรวมขึ้นเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งภายหลังกลายเป็นคัมภีร์สำคัญของศาสนาเต๋า

          ตั้งแต่ขึ้นหลังควายจากไปคราวนั้นแล้ว เล่าจื๊อก็สาบสูญไปไม่ได้กลับมาให้ใครเห็นหน้าอีก

          เนื่องจากชีวิตบั้นปลายของเล่าจื๊อเป็นชีวิตที่สงบสงัด แสวงหาธรรม หาความกลมกลืนกับธรรมชาติ ผู้นับถือลัทธิเล่าจื๊อในสมัยต่อมาจึงบำเพ็ญตนเป็นนักบวช อาศัยอยู่ตามภูผาป่าไม้ บำเพ็ญตนเป็นผู้เสียสละความวุ่นวายทั้งหลายในโลกเป็นเต้าสือ มีความเป็นอยู่ตามภาวะของธรรมชาติ

          ชาวจีนนับถือเล่าจื๊อว่าเป็นมหาปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของจีน ได้สร้างปูชนียวัตถุเป็นอนุสรณ์สถานที่ระลึกที่บูชาขึ้น ณ หมู่บ้านจูเหยน อันเป็นถิ่นกำเนิดของเล่าจื๊อ ยิ่งนานวันคำสอนของเล่าจื๊อก็ยิ่งแพร่หลายกลายเป็นฐานใจของชาวจีน พระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่งของจีนที่ขึ้นเสวยราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1193-1231 ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกายกย่องเล่าจื๊อ       ขึ้นเป็นปฐมจักรพรรดิ

http://main.dou.us/view_content.php?s_id=177&page=3