ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2011, 04:39:59 pm »

 :25: ปรับภาพแย้วววววววว
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 02:54:39 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 22, 2010, 03:56:42 pm »




วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อ่านหนังสือของดร. วรภัทร ภู่เจริญ
Learn How to Learn และ Dialogue

ตอนแรก ๆ ที่ผมรู้จักต่าย (คือใครมาคบกับเรา เราพากันเรียกชื่อเล่นของกันและกัน แล้วก็พลอยตัดคำนำหน้าออกไป ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ พี่ป้า ดร. อะไรต่ออะไรออกไปด้วย) ผมไม่ค่อยกล้า แต่ต่ายเป็นคนพูดเร็ว เห็นชัด ๆ ว่ากระทิงเปลี่ยว ก่อนหน้านั้นเขาก็คบกับณัฐหลานชายผมมาพอสมควรแล้ว ก็ได้กิตติศัพท์ผ่านมาทางณัฐอีกทางหนึ่ง ปีใหม่ปีแรกที่ต่ายขึ้นมาหาผม แม้บุคลิกจะนอบน้อมให้เกียรติผม แต่ผมกลายเป็นผู้ฟังต่ายพูดเสียส่วนใหญ่ ปีแรก เราเจอกันสั้น ๆ แล้วต่ายก็ไปต่อ

ปีที่สอง ต่ายมายาวเลย หลายวัน การพูดและการฟังได้ดุลยิ่งขึ้น ไม่ขาดดุลมากมายอย่างคราวก่อน (เป็นปีใหม่ปีนี้เองน่ะครับ) ต่ายเข้าร่วมเวิร์คชอบด้วย และได้เชิญให้เขาเข้ามาร่วมเป็นกระบวนกร และวิทยากร ก็ได้สดับความคิดเห็นของเขา และมีกิจกรรมเบญจขันธ์มาฝากด้วย ไม่เลวเลย

หนังสือก่อนหน้านี้ สารภาพว่า ไม่ค่อยได้อ่านของเขา แต่ตั้งแต่เล่ม Learn How to Learn ขอโทษนะ ผมเอาหนังสือของต่ายไว้ในห้องน้ำข้างล่าง เลยได้อ่าน บางทีมันยากอยู่เหมือนกัน ที่ระดับอาจารย์จะมาอ่านหนังสือของกันและกัน หากเราควรฝึกความอ่อนน้อม และเปิดใจ พร้อมจะเรียนจากคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ผมก็เลยได้อ่านงานเขียนของต่าย ทีละหน้าสองหน้า (คือผมไม่ใช่คนท้องผูกน่ะครับ) ดีครับหนังสือเล่มนี้ งานของต่ายสั้น ๆ เรียบง่าย ตรงประเด็นตามบุคลิกของกระทิง ประเด็นคม ๆ เข้าเป้า ไม่เสียเวลา มีความลุ่มลึกในเนื้อหาด้วยครับ ที่เขียนอย่างนี้ จะหาทางเอาหนังสือมาช่วยขายที่ห้องนั่งเล่น เดี๋ยวจะให้ใครติดต่อไปที่อริยชนดีไหมครับต่าย?

Dialogue เป็นเล่มที่ตามมาอย่างรวดเร็ว เรียกว่าเสือปืนไวน่ะครับ ผมว่าเล่มนี้ใช้ได้เลย ผมอยากแนะนำให้คนทั้งประเทศอ่าน โดยเฉพาะผู้บริหาร และถ้าไม่มีเวลาให้เอาไปทิ้งไว้ในห้องน้ำ อย่างที่ผมทำก็ได้ครับ รับรองไม่ผิดหวัง มีคนพูดเรื่อง Dialogue กันมาก อย่างสับสนปนเป ส่วนเล่มนี้ของต่ายนั้น หนึ่ง ไม่สับสน สอง ตรงไปตรงมา สาม อุดมด้วยปัญญา ลุ่มลึก ผมชอบการประเมินผลไดอะล็อคที่ต่ายพูดถึงไว้ในหนังสือเล่มนี้ ผู้บริหารทุกคนควรอ่านอย่างยิ่งครับ ไดอะล็อคประเมินผลได้ไหม? ๕๕๕๕ ติดตามอ่านกันเอาเองก็แล้วกันครับ

เมื่อวาน ผมก็คุยกับคนอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นสมาชิกหิงห้อยออนไลน์กับเพื่อน ๆ ของเขา คือ จี ยุ้ย และมน พวกเขาอยู่ในค่ายมวย(ที่จริงคือสำนักเรียน)ของต่าย หรืออาจารย์ วรภัทร ภู่เจริญ พวกเขาคุยให้ฟังว่า ต่ายว่า กระบวนการเรียนรู้(ของใหญ่) ทำไมต้องร้องไห้ด้วยล่ะ สุ้มเสียงของน้อง ๆ ที่เล่า เหมือนว่า ต่ายจะไม่เห็นด้วย กับกิจกรรมที่ทำให้ร้องไห้ ยุ้ยเองก็ตอบได้ดีกับคำถามนี้ คือหนึ่ง ยุ้ยไม่เห็นว่า การร้องไห้เป็นอาการเศร้าโศกแบบไม่สามารถควบคุมตนเองได้ หรือเป็นอาการอ่อนแออย่างถึงที่สุด หากเป็นปิติอันเกิดจากการค้นพบอะไรบางอย่างในโลกภายในมากกว่า ต่ายเคยพูดกับพวกเขาว่า ทำไมต้องค้นอะไรไปลึก ๆ มากมายด้วย (อันนั้นอาจจะพูดมานานแล้ว ตอนนี้ ต่ายก็อาจจะไปไกลเกินจุดนี้แล้วก็ได้ แต่น่าสังเกตคือ ครูศิษย์มีโอกาสคุยกันจริง ๆ ลึก ๆ มากน้อยแค่ไหน?) ครับ มันก็พอดีมาตรงกับที่ดา(สุชาดา) เขียนไว้ในกระทู้ที่ยกมานี้ คือเราจะค้นลงไปลึกแค่ไหน เราจะพร้อมไหมกับการค้นลงไป แน่นอนหากเราพร้อมกับการค้นลงไป กับการเผชิญกับตัวตนของเรา ซึ่งอาจจะมีอะไรติดลบ  ๆ มากมายด้วย มันก็อาจไม่ได้ช่วยอะไรเรา ดาเลยมาถึงข้อสรุปของนักไต่ลวด แต่นักไต่ลวดมีไม้ยาวช่วยทำสมดุล ระหว่าง การค้นลึกลงไป กับการใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบันขณะ แต่น่าสงสัยไม้ยาวนั้นเล่าจะเป็นอะไรได้

หล่อเลี้ยงความสุขและการตื่นรู้

ผมนึกถึง “ความสุข” การหล่อเลี้ยงความสุข

เล่าเรื่องว่า ชีวิต หรือจิตใจของเรา ก็คือสวน(เอามาจากสู่ชีวิตอันอุดมของติช นัท ฮันห์-ซึ่งอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ว่าเป็นหนังสือที่ดีที่สุดของท่าน) เราจะรดน้ำพรวนดินเอาใจใส่กับต้นไม้อะไร ก็จะทำให้ต้นไม้พันธุ์ไม้นั้น ๆ งอกงาม หากเราดำรงอยู่กับปัจจุบัน ให้ความใส่ใจกับพันธุ์ไม้ดี ๆ ในสวนของเรา ผมนึกถึงย้ง สมาชิกหิงห้อยออนไลน์คนใหม่ของเรา มาจากกลุ่มกิ่งมะกอก หนึ่งในทีมของคุณมาติน่า ย้งบอกว่า บางทีก็มีความสุขกับชีวิต บางทีก็ตกไปในห้วงสับสนจนไม่รู้ว่าตัวเองคือใคร ตอนนี้ ผมขอแนะนำว่า ให้ค่อย ๆ หล่อเลี้ยง “ความสุข” นี้เอาไว้ สุขอย่างตื่นรู้ สุขโดยไม่ต้องเสพ หากดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะนั้น ๆ และได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่

เมื่อสั่งสมความสุขและการตื่นรู้ขึ้นมาได้อย่างพอเพียง เราก็จะไปดู เข้าไปดู อาจารย์สุลักษณ์ใช้คำว่า “ล้วงลึก” เข้าไป ในจิตใจ ในอดีต ในความทุกข์เดิม ๆ ของเรา เพื่อจะไป “คลายปม” “เยียวยาปมในอดีต” ที่มีต่อเรื่องราวต่าง ๆ แต่ตรงนั้น เราต้องมี “ความสุข” เพียงพอ ฝึกฝนความตื่นรู้ในปัจจุบันขณะเพียงพอเสียก่อน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าพร้อมหรือไม่ ครับ ไม่ต้องห่วง ถึงเวลาเราก็รู้เอง


ถอนตัวจากข้อสรุปในอดีต

เมื่อเราพร้อมแล้ว เราก็สามารถเข้าไปทำงานกับตัวเองได้ ด้วยกระบวนการ ถอนตัวจากข้อสรุปในอดีต ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า มันสร้างขึ้นมาอย่างไร เจ้าอาการเข้าไปสรุปเหตุการณ์ในอดีตนี้น่ะ มาดูกัน

เมื่อเราเจอเหตุการณ์เรามักจะสรุปมัน ให้ความหมายมัน แล้วสิ่งที่เราสรุปนั่นแหละ สิ่งที่เราให้ความหมายนั่นแหละได้มาเกาะกุมความคิด ทัศนคติ ความเชื่อ เราให้ชื่อกระบวนการสรุปนี้ว่า sum over history หรือการเข้าไปสรุปประวัติความเป็นมา ของเรา

การกลับไปมองประวัติในอดีตขอบตัวตนของเรานี้สำคัญมาก เมื่อเราคลายออกจากการสรุป ประวัติศาสตร์ เราก็เป็นอ ิสระจาก "การสรุป" นั้น ๆ แล้วฉับพลัน เราก็เห็นความเป็นไปได้อีกมากหลาย เราเห็นโอกาสการตีความอีกเอนกอนันต์ ความเป็นไปได้เหล่านั้น ได้ให้โอกาสอันยิ่งใหญ่แก่ชีวิตของเราอีกครั้งหนึ่ง  เช่นนี้แหละ อันนี้แหละที่เป็นตัวอย่างว่า เราไปแก้ไขอดีตได้

เราไปเยียวยาอดีตได้
เราไปเปลี่ยนอดีตได้
เราไปเปลี่ยนกรรม หรือแก้กรรมในอดีตได้
วิเศษยิ่งนักใช่ไหม?

Ref: www.wongnamcha.com


http://www.managerroom.com/forums/forum_posts.asp?TID=7270&PN=1


บอร์ด อาจารย์ วรภัทร

http://www.managerroom.com/forums/default.asp