ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2010, 03:00:18 am »

ขอบคุณมากครับพี่โอ
กลัวแต่ก็ชอบอ่านครับ :38:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2010, 11:38:34 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่โอ
ขอบคุณมากมายสำหรับบทความธรรมะและคติสอนใจครับพี่
ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2010, 11:30:15 pm »





ความทุกข์ในมหานรก          

          ความทุกข์เป็นของสากลที่ทุกคนต้องประสบ เพราะเรายังไม่หมดกิเลส แต่ถ้าหากเป็นความทุกข์ในมหานรกแล้ว เชื่อมั่นได้เลยว่า ไม่มีใครอยากสัมผัส เพราะที่ตรงนั้นจะไม่มีเวลาว่างเว้นจากการทัณฑ์ทรมานเลย เมื่อไปเกิดเป็นสัตวนรก วินาทีแรกที่ไปเกิดในมหานรก เหล่านายนิรยบาลที่เกิดด้วยอำนาจกรรม จะปรากฏกาย แล้วทำการลงโทษสัตว์นรกทันที โดยไม่มีการถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ เป็นสิ่งที่น่าขนพองสยองเกล้าเป็นที่สุด ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเล่าให้กับเหล่าภิกษุฟังใน พาลบัณฑิตสูตร ว่า
       
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้น ประพฤติทุจริต ทางกาย ทางวาจา ทางใจ เมื่อเขาตายไปย่อมเข้าถึง
          อบาย ทุคติ วินิบาต นรก สถานที่เหล่านี้ เป็นดินแดนที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ น่าพอใจอะไรเลย เป็นทุกข์
          โดยส่วนเดียว แม้จะเปรียบเทียบอุปมาถึงความทุกข์ในนรก ก็มิใช่สิ่งที่จะทำได้โดยง่าย"

         
          พระภิกษุรูปหนึ่งจึงทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "พระองค์พอจะอุปมาความทุกข์ในนรก ให้ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบบ้างได้ไหม พระเจ้าข้า" พระพุทธองค์ทรงรับคำ แล้วอธิบายให้ฟังว่า
         
                "เปรียบเสมือนพวกราชบุรุษจับโจรมาได้ โจรนี้คิดร้ายต่อราชบัลลังก์ พอจับได้แล้ว ตอนเช้าก็นำมาให้
          พระราชาพร้อมกับกราบทูลถึงพฤติกรรมของโจรนั้นว่า โจรผู้นี้ คิดร้าย ก่อกบฏ  ขอพระองค์ได้ทรงลงโทษ
          ตามพระราชหฤทัยเถิด พระราชาทรงรับสั่งว่า ให้เอาหอก 100 เล่ม แทงโจรนี้ให้ทั่วตัว พวกราชบุรุษก็ทำตาม
          บัญชา พอถึงกลางวันพระราชาตรัสถามว่า โจรกบฏคนนั้นน่ะ ตายแล้วหรือยัง เมื่อได้รับคำตอบว่ายัง ก็รับสั่งให้
          เอาหอกมาแทงเพิ่มอีก 100 เล่ม พวกราชบุรุษก็ทำตาม พอตกเย็นยังไม่ตายอีก จึงให้เอาหอกไปแทงเพิ่มอีก
          100 เล่ม รวมเป็น 300 เล่ม โจรก็ยังไม่ตายอยู่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โจรโดนหอกแทงมากถึง 300 เล่ม จะ
          เจ็บปวดทรมานมากแค่ไหน"


          พวกภิกษุกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพียงแค่หอกเล่มเดียว ก็เป็นทุกข์มากแล้ว จะกล่าวไปไยกับหอกถึง 300 เล่ม"
           พระบรมศาสดาตรัสต่อว่า
                    "ความทุกข์จากการถูกหอกแทง 300 เล่ม เมื่อเทียบกับทุกข์ในมหานรกแล้ว เทียบกันไม่ได้เลย
          ทุกข์ในนรกเจ็บปวดทรมานมากกว่าเป็นร้อยเป็นพันเท่า ความทุกข์ของคนที่ถูกหอก 300 เล่มแทง มีปริมาณ
          ความเจ็บปวดเหมือนก้อนหินเล็กๆ ก้อนหนึ่ง แต่ทุกข์ในมหานรกมีปริมาณมากเหมือนเขาพระสุเมรุทีเดียว"


          จากพระดำรัสนี้ เราจะเห็นได้ว่า การเสวยวิบากกรรมในนรกนั้น เป็นทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพียงไร ทุกข์ในเมืองมนุษย์เทียบเท่าไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นอย่ากระทำการใดๆ ที่เสี่ยงต่อการถูกทรมานในมหานรกนี้เลย



ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=98&page=4

:07: :07: :07: