ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2011, 06:09:15 pm »




คั ม ภี ร์ อ ภิ ธั ม มั ต ถ สั ง ค ห ะ
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

อภิธรรม ๗ คัมภีร์นี้ ถ้าจะเรียนกันโดยลำดับให้ครบถ้วนก็จะต้อง
ใช้เวลานาน เพราะมี เนื้อความ ที่สลับซับซ้อนพิสดารมาก
ฉะนั้น ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปอยู่ในขนาดพันปี
ได้มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อท่าน อนุรุทธะ
ได้ประมวล เนื้อความ ของ พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ นี้
มาแต่งไว้โดยย่นย่อ เรียกว่า “ คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ”
แปลว่า สงเคราะห์ คือ สรุปความแห่งอภิธรรม ยกเป็นสี่หัวข้อ คือ
๑. จิต   ๒. เจตสิก   ๓. รูป   ๔. นิพพาน

ท่านแต่งเป็นคาถาสลับร้อยแก้วแบ่งออกเป็น ๙ ปริจเฉท
คือ ๙ ตอน เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ไม่โตมาก
คัมภีร์ " อภิธัมมัตถสังคหะ " นี้เป็นที่นิยมกันมาก
เมื่อเรียนตามคัมภีร์นี้แล้ว ไปจับดู " อภิธรรม ๗ คัมภีร์ "
ก็จะเข้าใจโดยง่ายโดยตลอด เป็นการเรียนลัด
พิจารณาดูตามหัวข้อที่ท่านวางไว้เป็นสี่นี้ตามความเข้าใจ

จิตนี้เป็นตัวยืน โดยปกติจิตก็มีดวงเดียว จิตจะเป็นต่างๆ
ก็เพราะมีเจตสิก แปลว่ามีธรรมที่มีในใจ
มีเจตสิกอย่างไร จิตก็เป็นอย่างนั้น เจตสิกเป็นสิ่งที่ผสมอยู่ในจิต
เทียบเหมือนดั่งว่าน้ำกับสีที่ผสมอยู่ในน้ำ น้ำโดยปกติก็เป็นอย่างเดียว
แต่เมื่อใส่สีลงไปในน้ำ
จึงเป็นน้ำสีนั้น น้ำสีนี้

ฉะนั้นพระอภิธรรมที่แจกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวง ก็ด้วยอำนาจของเจตสิกนี้เอง
ยกเจตสิกออกแล้ว จิตก็เป็นดวงเดียวท่านั้น แจกออกไปเป็นอย่างไรมิได้

แต่ว่าทั้งจิตและเจตสิกก็อาศัยอยู่กับรูป รูปที่อาศัยของจิตและเจตสิก
จะเทียบก็เหมือนอย่างว่าน้ำที่อาศัยอยู่ในขวดน้ำ

ถ้าหากว่ารูปตกทำลาย จิตก็สิ้นที่อาศัย
เหมือนอย่างว่าขวดน้ำแตก น้ำก็หมดที่อาศัย
และนิพพานนั้นก็เป็นธรรมที่สุดในเมื่อจิตได้ปฏิบัติจิตสูงขึ้นโดยลำดับ

เบื้องต้นก็เป็น กามวจรจิต จิตที่ท่องเที่ยวไปหรือหยั่งลงในกาม
เป็น รูปาวจรจิต จิตที่หยั่งลงในรูปหรือรูปฌาน
อรูปวจรจิต จิตที่หยั่งลงในอรูปฌาณ
โลกุตตรจิต จิตที่เป็นโลกุตตรคือมรรคผล ก็บรรลุนิพพานเป็นที่สุด
เพราะฉะนั้น จึงประมวลหัวข้อเป็น จิต เจตสิก รูป นิพพาน
แล้วก็จัดธรรมะในอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นั้น เข้าในหัวข้อทั้งสี่นี้

ทั้ง ๗ คัมภีร์นี้เราเรียกย่อกันว่า สัง, วิ, ธา, ปุ, กะ, ยะ, ปะ
คือเอาอักษรต้นที่เรียกว่าเป็นหัวใจพระอภิธรรม
เหมือนอย่าง จิต เจตสิก รูป นิพพาน เรียกว่า จิ, เจ, รุ, นิ
หรืออริยสัจ ก็เรียกว่า ทุ, ส, นิ, ม คือเอาอักษรแรก


ความจริงนั้นเพื่อกำหนดง่าย เมื่อจำได้เพียงเท่านี้ก็เป็นว่าเพียงพอ
แต่ก็มาเรียกกันว่าหัวใจ เราก็ใช้เขียนลงในเหรียญในเครื่องรางต่างๆ
วัตถุประสงค์ในทีแรก ก็เพื่อจะเป็นเครื่องกำหนดง่ายๆเท่านั้น

" คัมภีร์อภิธรรม " ตลอดจน " อภิธัมมัตถสังคหะ " ตกมาถึงเมืองไทย
ก็มาใช้เกี่ยวกับงานศพเป็นพื้น เช่นว่า สวดศพตอนกลางคืนก็สวด
อภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้เอง และเมื่อเวลาที่จะบังสุกุลหรือจะสดับปรณ์
มีสวดมาติกา ก็คือว่ายกเอา “ มาติกา ” คือ แม่บท
จากคัมภีร์ที่หนึ่งมาสวดตอนที่หนึ่ง ขึ้นต้นว่า กุสลา ธมฺมา เป็นต้น

และ " คัมถีร์อภิธัมมัตถสังคหะ " นั้น ท่านแต่งเป็นคาถา ก็นำมาสวด
เป็น สรภัญญะ ในการงานศพอีกเหมือนกัน คือ ถ้าไม่สวด
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ก็สวดอภิธัมมัตถสังคหะ เป็นสรภัญญะ



:http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539343921&Ntype=38