ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2011, 09:40:08 pm »

สมัครใจแยกกันอยู่แล้วยังต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกหรือไม่/มังกรซ่อนกาย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
2 ธันวาคม 2554 06:17 น.



วัตถุประสงค์ของการ สมรสโดยหลักแล้วเพื่อให้ชายหญิงที่สมรสกันได้อยู่กินกันฉันสามีภริยาและช่วย เหลือ อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน แต่ถ้าในกรณีที่อยู่ด้วยกันไม่ได้เพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง จนต้องแยกกันอยู่แล้ว ปัญหาที่ตามมาก็คือ หน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันนั้นจะแยกไปด้วยหรือไม่ มีข้อเท็จจริงที่นำมาให้ท่านทั้งหลายได้ศึกษากัน คือ

นางกุหลาบเดิมเป็นลูกแม่ค้าขายอาหารอยู่ในค่ายทหาร พบรักกับนายร้อยจำปา ในปี 2520 ต่อมาในปี 2522 ทั้งสองได้แต่งงาน และจดทะเบียนสมรสกัน หลังจากสมรสกันแล้ว 2 ปี นายร้อยจำปาให้นางกุหลาบเป็นแม่บ้านดูแลความเรียบร้อยภายในบ้าน และเลี้ยงดูบุตร ส่วนนายร้อยจำปาได้ไปปฏิบัติราชการอยู่ตามหน่วยราชการของกองทัพตามต่าง จังหวัด รายได้ที่อุปการะเลี้ยงดู ครอบครัวมาจากรายได้ของ นายร้อยจำปาแต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คนที่เกิดในปี 2521 และ 2522 เดิมนายร้อยจำปาจะนำเงินเดือนทั้งหมดส่งให้นางกุหลาบเป็นผู้เก็บไว้ใช้จ่าย ในครอบครัว โดยตนเองจะใช้เงินเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนตัว และจะกลับมาดูแลครอบครัวเป็นประจำทุกสัปดาห์

จนถึงปี 2544 นายร้อยจำปาได้เลื่อนยศเป็นพันโทจำปา ซึ่งในระหว่างนั้นพันโทจำปาได้รู้จักกับนางหงษ์ นักธุรกิจที่ดินทำให้พันโทจำปาแอบอยู่กินกับนางหงษ์อีกบ้านหนึ่ง ในต่างจังหวัด และเริ่มที่จะส่งเงินไปให้นางกุหลาบน้อยลง ในที่สุดนางกุหลาบทราบเรื่อง ทั้งสองจึงมีปากเสียงกัน และพันโทจำปาได้ทำร้ายร่างกายนางกุหลาบ หลังจากนั้นในปี 2545 ทั้งสองฝ่ายก็แยกกันอยู่คนละบ้าน โดยพันโทจำปา ส่งเงินเป็นค่าเลี้ยงดูให้นางกุหลาบถึงปี 2550 ซึ่งเป็นปีที่พันโทจำปาเกษียณอายุราชการ และหลังจากนั้นก็ไม่ส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูนางกุหลาบอีกเลย

ในปี 2551 นางกุหลาบจึงได้ฟ้องพันโทจำปาว่าทิ้งร้างนางกุหลาบไป ไม่ได้กลับมาอยู่กินกันฉันสามีภริยากันอีก และไม่ให้ความช่วยเหลือส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูนางกุหลาบเช่นที่เคยปฏิบัติ ทำให้นางกุหลาบได้รับความลำบาก และเดือดร้อนต่อการดำรงชีวิต เพราะไม่มีรายได้ ไม่มีโอกาสหางานทำ เนื่องจากอายุมากและไม่มีวิชาความรู้ใด ๆ ทั้งยังไม่มีเงินทุนที่จะไปประกอบอาชีพส่วนตัว พันโทจำปามีเงินบำนาญไม่ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาท สามารถที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูนางกุหลาบได้ ขอให้พันโทจำปาส่งเงินเป็นค่าเลี้ยงดูเดือนละ 10,000 บาท

พันโทจำปาให้การว่า ตนกับนางกุหลาบยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันตามกฎหมาย แต่บุตรทั้งสองบรรลุนิติภาวะ ทำงาน มีรายได้สามารถเลี้ยงดูนางกุหลาบที่เป็นมารดาได้อย่างดี ตนเองกับนางกุหลาบสมัครใจแยกกันอยู่ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน ตนเองไม่มีหน้าที่จะต้องให้ความอุปการะเลี้ยงดูนางกุหลาบอีก ตนเองมีภาระหนี้เป็นค่าผ่อนส่งรถยนต์ หนี้ค่าบ้านที่กู้มาเพื่อนำไปซื้อบ้านอยู่อาศัยหลังจากแยกกันอยู่ นางกุหลาบไม่เดือดร้อนเพราะมีบุตรทั้งสองอุปการะเลี้ยงดูอยู่ นางกุหลายไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากตนอีก

ตามข้อเท็จจริงที่กล่าวมานี้ศาลจะพิจารณาคดีนี้อย่างไรนั้น มีประเด็นที่ต้องวินิฉัยประการแรกว่า นางกุหลาบ มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากพันโทจำปาหรือไม่ ซึ่งกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1461 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถ และฐานะของตน และตามมาตรา 1598/38 ที่บัญญัติว่า ค่า อุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ เมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้ได้เพียงใดก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์แห่งกรณี จึงเป็นบทบัญญัติเพื่อให้ความคุ้มครองแก่สามีหรือภริยาให้ฝ่ายที่มีฐานะดี ช่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดูตามฐานะและความสามารถ ถ้า ฝ่ายหนึ่งมีความสามารถที่จะอุปการะเลี้ยงดูแล้วไม่อุปการะเลี้ยงดู อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1516 (6) แต่ถ้าไม่ประสงค์จะฟ้องหย่า ก็ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 1598/38 ในเมื่ออีกฝ่ายที่ควรได้รับไม่ได้รับการเลี้ยงดูตามอัตภาพ หาใช่เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นเมื่อฟ้องหย่าตามที่พันโทจำปาโต้แย้ง

ส่วนที่อ้างว่าได้แยกกันอยู่กับนางกุหลาบตั้งแต่ปี 2545 จึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันนั้น เห็นว่า หลังจากจดทะเบียนสมรสทั้งสองอยู่กินด้วยกันที่บ้านพันโทจำปา แม้พันโทจำปาไปรับราชการต่างจังหวัดก็กลับมาบ้านดังกล่าวที่นางกุหลาบอยู่ กับบุตร นางกุหลาบเป็นแม่บ้านไม่มีรายได้เหตุที่สมัครใจแยกกันอยู่ตั้งแต่ปี 2545 ก็เนื่องจากพันโทจำปาทำร้ายร่างกายนางกุหลาบ ที่ สำคัญไปอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นฉันภริยาตลอดมา การสมัครใจแยกกันอยู่จึงมิใช่ความผิดของนางกุหลาบ และนางกุหลาบไม่มีอาชีพหรือรายได้พันโทจำปาอุปการะเลี้ยงดูนางกุหลาบตลอดมา และอยู่ในฐานะที่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้จึงมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู นางกุหลาบ นางกุหลาบเป็นฝ่ายที่มีความสามารถและฐานะด้อยกว่าและแยกไปอยู่โดยสุจริตจึง ชอบที่จะได้รับการช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจากพันโทจำปา นางกุหลาบจึงย่อมมีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้

ปัญหาว่าพันโทจำปาต้องชำระค่าอุปการะ เลี้ยงดูเพียงใด เห็นว่าพันโทจำปามีรายได้จากบำนาญในอัตราเดือนละ 23,000 บาท และมีหนี้หลายจำนวนที่จะต้องผ่อนชำระแม้จะแยกไปอยู่กับหญิงอื่น พันโทจำปาก็ยังมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูนางกุหลาบซึ่ง เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมาย

เมื่อคำนึงถึงความสามารถของพันโทจำปาและพฤติการณ์ที่มีภาระหนี้ตลอด จนฐานะของนางกุหลาบผู้รับซึ่งไม่มีรายได้และอาชีพกำหนดให้พันโทจำปาจ่ายค่า อุปการะเลี้ยงดูนางกุหลาบในอัตราเดือนละ 3,500 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป โดยไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดจนกว่านางกุหลาบหรือพันโทจำปาจะถึงแก่ความตาย หรือความเป็นสามีภริยาได้สิ้นสุดลง (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 4959/2552)

-hiddendragon2552@gmail.com-


-http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000152857-


http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000152857
.