ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Uzumaki Naruto
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2011, 01:24:28 am »



      ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุบวชมาใหม่องค์หนึ่งเห็นพระวินัยเป็นข้อบังคับมากมายเหลือเกิน จะกระดิกตัวก็ไม่ได้ ทำอะไรก็มีแต่ผิดพระวินัยทั้งนั้น เลยกลัวพระวินัย บอกว่าอยู่ไม่ได้ จะสึก พระพุทธองค์ทรงเรียกมาไต่ถาม ทำไมจึงจะสึก พระภิกษุก็กราบทูลตามความเข้าใจของตนว่า พระวินัยมากเหลือเกินกระดิกตัวก็ไม่ได้ มีแต่อาบัติ อลัชชี มีแต่โทษ ผิดศีลทั้งนั้น ข้าพระองค์อยู่ไม่ได้ปฏิบัติไม่ไหวเสียแล้ว
      
      พระพุทธองค์ตรัสว่า ถ้ามันมากก็อย่าเอามันมากนัก ให้ระวังรักษาจิตอันเดียว ไม่ต้องไปรักษาอะไรมากมาย สำรวจรักษาจิตอันเดียว พระภิกษุองค์นั้นชอบใจ ตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ต่อมาได้บรรลุมรรคผลนิพพาน นี่แสดงถึงว่า เมื่อสำรวจรักษาจิตแล้วศีลจึงค่อยบริสุทธิ์หมดจด
      
      พระพุทธองค์ตรัสเทศนาไว้ว่า
      
      มโน ปุพฺพํคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีใจคือมโน เป็นหัวหน้า   
      
      มโนเสฏฐา มโนมยา ใจเป็นของประเสริฐ สำเร็จแล้วโดยใจ
      
      มนสาเจ ปสนฺเนน ภาสติวา กโลติวา จะพูดจะกล่าวคำใดต้องออกจากใจ
      
      มนสาเจปสนฺเนน ใจเป็นของประเสริฐสูงสุด
      
      ด้วยประการอย่างนี้ พระองค์จึงทรงสอนให้อบรมใจ คือฝึกหัดทำสมาธิ เป็นการกลั่นกรองธรรมออกมาจากโลกขั้นที่ ๒ ขั้นนี้ถึงแม้บริสุทธิ์แล้วอาจจะเศร้าหมองอีกก็ได้ นักภาวนาทั้งหลายจะรู้ได้ด้วยตนเอง เช่น เรานั่งภาวนาทำสมาธิในครั้งนี้แหละ เมื่อเข้าถึงเอกัคคตาจิต จิตใจใสสะอาดหมดจด ความอยาก ความทะเยอทะยาน ความเกียจคร้านหายไปจะเห็นได้เอง พอออกจากภาวนาแล้วโลกเข้ามาแทรกซึมอีก ความอยากความทะเยอทะยานดิ้นรนวิ่งเข้ามาประดังรอบด้านทำให้จิตมัวหมอง อันนี้เรียกว่า โลกมันแทรกเข้ามาหาธรรม เหตุนั้นขั้นนี้ก็ยังไม่บริสุทธิ์เต็มที่
      
      ท่านจึงให้ใช้วิธีกลั่นกรองที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีกเป็นขั้นที่ ๓ คือกลั่นกรองด้วย “ปัญญา” ใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ที่อื่นใด ท่านให้พิจารณาสังขารหรือขันธโลกนี้แหละ โลกอันกว้างศอกยาววาหนาคืบหนึ่งของเรานี่แหละ ให้ปรารภ ลงตรงนี้ เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย พอตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่างเดียว ความทะเยอทะยานดิ้นรนกระเสือกกระสนอะไรต่างๆ ความเหน็ดเหนื่อยขี้เกียจขี้คร้านสารพัด สิ่งทั้งปวงเรื่องทั้งหลายนั้นเป็นของมีประจำอยู่ในโลก ไม่ได้เป็นของใครโดยเฉพาะ เรื่องทั้งหลายนั้นเป็นต้นเหตุให้เกิดความชั่วทุจริต เราเห็นพิษสงของมันอย่างนั้นแล้วจึงพยายามละถอน
      
      ขณะใดที่อารมณ์ต่างๆ ทางโลกเกิดขึ้นมาก็เพ่งพิจารณา ให้เห็นโทษเห็นภัยอยู่อย่างนั้น ปัญญาตรงนั้นจะชัดเจนเข้ามาในใจแนบเนียนอยู่กับจิตกับใจอยู่ตลอดกาลเวลา มีความอยากทะเยอทะยานขึ้นในขณะไหน ปัญญาตัวนั้นคอยกำกับชัดอยู่กับจิตอันนั้น รู้เห็นทันทีอยู่ตลอดกาลเวลา ความทะเยอทะยานและ ความดิ้นรนอันนั้นก็หายไป ฝึกหัดอยู่อย่างนี้เรื่อยไป นานๆหนักเข้าอารมณ์ต่างๆ ไม่เกิดเพราะเห็นตามเป็นจริง นี่เป็นการใช้ปัญญากลั่นกรองละเอียดเข้าไปอีก ต้องกรองแล้วกรองเล่า ปัญญาจึงเป็นของประเสริฐที่ทุกคนปรารถนา เพราะปัญญานี้สามารถจะทำให้เกิดความบริสุทธิ์หมดจดได้
      
      พุทธภาษิตที่ท่านตรัสว่า ปญฺญาย ปริสุทฺธติ เพราะปัญญาอย่างเดียวจึงบริสุทธิ์ ศีลก็ยังไม่ทัน บริสุทธิ์ สมาธิก็ยังบริสุทธิ์เต็มที่ไม่ได้ตลอดไปดังอธิบายมาแล้ว การกรองขั้นละเอียดด้วยปัญญา จึงค่อยทำให้บริสุทธิ์ได้เต็มที่และถาวร
      
      จะเห็นว่าเราจะเลือกเอาการกลั่นกรองโดยวิธีใดวิธีหนึ่งไม่ได้ ต้องผสมกันผนวกเข้าด้วยกันจึงจะได้ผลเต็มที่ เพราะเหตุว่าการกรองทั้ง ๓ ขั้นเกี่ยวข้องอาศัยกันอยู่ ปัญญาจะเกิดขึ้นก็เพราะสมาธิหนักแน่น สมาธิที่จะหนักแน่นได้ก็เพราะมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน สมาธิก็ต้องอาศัยปัญญาคอยช่วยด้วยเหมือนกัน ต้องมีอุบายแยบคายสำหรับที่จะชำระจิตใจ ของตนให้จิตปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวงลงได้ และศีลจะบริสุทธิ์ ได้เพราะปัญญาเห็นชัดตามเป็นจริงคือ เห็นโทษเห็นภัยในการที่ไม่รักษาศีล เมื่อเห็นโทษแล้วจึงรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้ ไม่ใช่คุมให้รักษาหรือบังคับให้รักษาแบบนั้นรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ถ้าไม่เห็นชัดด้วยตนเองแล้วรักษาให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย ปัญญาเป็นยาดำแทรกไปได้ทุกแห่ง คือในศีลในสมาธิ นี่มันผนวกกันอย่างนี้
      
      ฉะนั้น ธรรมเทศนาที่แสดงในวันนี้ ถ้าหากพากันมาพิจารณาโดยนัยที่ว่านี้แล้ว จึงเป็นสิ่งที่ไม่น่าน้อยอกน้อยใจและไม่น่าเสียใจว่าเราไม่ได้มีธรรมะ หรือเราไม่ได้เห็นธรรมะหรือว่าเราไม่ได้บวชไม่ได้ปฏิบัติ อย่าไปเข้าใจเช่นนั้น เป็นการเข้าใจผิดหมด   
      
      แท้ที่จริงธรรมะคือตัวของเรานี้ทุกคนก็มีแล้วครบมูลบริบูรณ์ทุกอย่าง แต่เราไม่ได้สร้างสมอบรมให้เห็นธรรมะที่มันมีในตนของตน ธรรมะแทรกอยู่ในขันธโลกอันนี้ หากใช้อุบายปัญญาพิจารณากลั่นกรองด้วยวิธี ๓ อย่างมีศีล สมาธิ ปัญญา ดังอธิบายแล้ว ธรรมะก็จะปรากฏในตัวของตนๆ ก็จะได้ความอบอุ่นขึ้นมาในใจของตนว่า อ้อ! ธรรมะมีอยู่ที่นี่เอง ไม่ได้มีอยู่ที่อื่น เวลานี้ได้เห็นธรรมะ เรามีธรรมะแล้ว ธรรมะอันนี้ ถ้าโลกมันยังแทรกซึมเข้ามาได้อยู่ เราก็พยายามกำจัดให้มันค่อยหายไปหมดไปโดยไม่ประมาท จนกระทั่งใสสะอาด ให้เหลือแต่ธรรมะล้วนๆ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายที่ท่าน บรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว ธรรมะของท่านบริสุทธิ์หมดจด นั่นแหละคือสิ่งที่เราปรารถนา

 :07: