ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: มกราคม 09, 2012, 06:55:22 pm »

เพื่อนเป็นคนละเอียดอ่อน ถนอมของใช้ครับ ผมว่าเพื่อนมีระเบียบในการทาน
ส่วนผมกินมุมมาม น้ำกระเด็นนี่ อ่อนเลยครับ ปัดชามแตกนี่ประจำ ดังนั้นบ้านผมมีแต่ชามพลาสติก อิอิ
เดี๋ยวนี้ก็ไม่ค่อยแล้วล่ะครับ บ่อยครั้งต้องเร่งรีบ ความละเอียดหายไปเยอะ ผมก็ใช้ชามพลาสติกครับกันพลาดทั้งถ้วยและชาม


ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 08, 2012, 09:50:19 pm »

ถ้าทานเตี๋ยว ผมถนัดตะเกียบมากก่านะใช้ช้อนแล้วน้ำกระเด็น55+ :06:

เพื่อนเป็นคนละเอียดอ่อน ถนอมของใช้ครับ ผมว่าเพื่อนมีระเบียบในการทาน
ส่วนผมกินมุมมาม น้ำกระเด็นนี่ อ่อนเลยครับ ปัดชามแตกนี่ประจำ ดังนั้นบ้านผมมีแต่ชามพลาสติก อิอิ
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: มกราคม 08, 2012, 09:47:00 pm »

ถ้าทานเตี๋ยว ผมถนัดตะเกียบมากก่านะใช้ช้อนแล้วน้ำกระเด็น55+ :06:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 08, 2012, 09:42:40 pm »

 :14: ผมจับตะเกียบทานอาหารทานข้าว ทานก๋วยเตี๋ยวไม่ถนัดทุกทีครับ
ช้อนส้อมนี่สะดวกสุดแล้วครับ55
ขอบคุณครับพี่หนุ่มสำหรับความรู้เรื่องตะเกียบ :13:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 08, 2012, 09:20:09 am »

วัฒนธรรม “ตะเกียบ” ของชาวจีน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
5 มกราคม 2555 14:29 น.    

      เวลาที่เรากินก๋วยเตี๋ยว บะหมี่เกี๊ยว หรืออาหารจำพวกติ่มซำ โดยเฉพาะไปกินที่ร้านอาหารจีน ส่วนใหญ่ก็จะมีตะเกียบวางคู่เคียงมาให้ได้ใช้กัน แล้วรู้หรือไม่ว่า “ตะเกียบ”นั้นมีความเป็นมาอย่างยาวนาน และยังมีวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับตะเกียบอีกมากมายที่เกิดขึ้นจากชาวจีน
       
       ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าจีนเริ่มใช้ตะเกียบจริงจังตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ก็ยอมรับกันโดยทั่วว่า ชาวจีนเริ่มใช้ตะเกียบกินข้าวกันอย่างแพร่หลายในหลังยุคราชวงศ์ฮั่น (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 3) และวัฒนธรรมการใช้ตะเกียบนี้ยังแพร่หลายไปยังอีกหลายประเทศ ทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม ซึ่งก็มีการดัดแปลงและพัฒนาจนกลายเป็นวัฒนธรรมการกินประจำชาติของตนเองไปด้วย
       
       ในส่วนของวัฒนธรรมการใช้ตะเกียบ รวมถึงข้อห้ามต่างๆ ก็มีอยู่หลายข้อ อาทิ
       
       - การถือตะเกียบที่ถูกต้อง จะต้องถือตะเกียบไว้ตรงง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ให้อีกสามนิ้วที่เหลือคอยประคองตัวตะเกียบไว้ และต้องถือให้เสมอกัน เมื่ออิ่มแล้วต้องวางตะเกียบขวางไว้กลางชามข้าวเสมอ
       
       - ห้ามใช้ตะเกียบข้างเดียวเสียบแทงลงในอาหาร ถือว่าเป็นการเหยียดหยามน้ำใจกัน ไม่ต่างอะไรจากการชูนิ้วกลางให้ของฝรั่ง
       
       - ห้ามปักตะเกียบไว้ในชามข้าว เพราะดูเหมือนปักธูปในกระถางไหว้คนตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าตักข้าวให้คนอื่นแล้วปักตะเกียบไว้ในชามข้าวส่งให้ จะถือว่าเป็นการสาปแช่ง
       
       - ห้ามวางตะเกียบเปะปะ จะต้องวางให้เป็นระเบียบเสมอกันทั้งคู่ การวางตะเกียบไม่เสมอกัน ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง คนจีนถือคำว่า “ชางฉางเหลียงต่วน” ความหมายตามตัวอักษรนั้น หมายถึง สามยาวสองสั้น คำนี้ คนจีนมักหมายถึง ความตาย หรือความวิบัติฉิบหาย ดังนั้นการวางตะเกียบที่ทำให้เหมือนมีแท่งไม้สั้น ๆ ยาว ๆ จึงไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง ห้ามทำเช่นนี้เด็ดขาด
       
       - ห้ามใช้ตะเกียบชี้หน้าผู้อื่น หรือถือไว้ในลักษณะที่ให้นิ้วชี้ ชี้คนอื่นที่อยู่ร่วมโต๊ะ แต่การใช้นิ้วชี้ผู้อื่นคนไทยก็ถือว่า ไม่สุภาพเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เฉพาะแต่คนจีนเท่านั้น
       
       - ห้าม อม ดูด หรือ เลียตะเกียบ กิริยานี้เป็นเรื่องที่เสียมารยาทอย่างยิ่ง ถ้ายิ่งดูดจนเกิดเสียงดังด้วยแล้ว ถือเป็นกิริยาที่ขาดการอบรมที่ดี
       
       - ห้ามใช้ตะเกียบเคาะถ้วยชาม เพราะมีแต่ขอทานเท่านั้นที่จะเคาะถ้วยชาม ปากก็ร้องขอความเมตตา เพื่อชวนให้เวทนาสงสาร เรียกร้องความสนใจให้บริจาคทาน
       
       - ห้ามใช้ตะเกียบวนไปมาบนโต๊ะอาหาร โดยไม่รู้ว่าจะคีบอาหารชนิดใด ถือว่าเป็นกิริยาที่ควรหลีกเลี่ยง ควรใช้ตะเกียบคีบอาหารที่ต้องการนั้นทันที
       
       - ห้ามใช้ตะเกียบคุ้ยหาอาหาร การกระทำเช่นนี้เปรียบเหมือน พวกโจรสลัดขุดสุสาน เพื่อหาสมบัติที่ต้องการ ถือเป็นกิริยาที่น่ารังเกียจ

-http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000000459-


.