ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: magicmo
« เมื่อ: มกราคม 21, 2012, 12:42:25 pm »

  thanks you หลายๆคับ 
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 12:24:37 am »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่สาว
ข้อความโดย: เลดี้เบื๊อก
« เมื่อ: มกราคม 09, 2011, 09:30:36 pm »

   
บอกขุมทรัพย์..
   
   นิธีนํ ว ปวตฺตารํ
   ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
   นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ
   ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
   ตาทิสํ ภชมานสฺส
   เสยฺโย โหติ น ปาปิโย . . . ฯ ๗๖ ฯ
   
   ถ้าพบนักปราชญ์ ที่คอยว่ากล่าวตักเตือนชี้ข้อบกพร่อง
   เสมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้ ควรคบหาบัณฑิตเช่นนั้น
   เพราะเมื่อคบหาคนเช่นนั้น จะมีแต่ความเจริญไม่มีความเสื่อม
   
   Should one see a wise man,
   Who, like a revealer of treasures,
   Points out faults and reproves,
   Let one associate with such a one,
   Well is it, not ill, to associate with such a one.

   จงยอมตนให้...
   
   โอวเทยฺยานุสาเสยฺย
   อสพฺภา จ นิวารเย
   สตํ หิ โส ปิโย โหติ
   อสตํ โหติ อปฺปิโย . . . ฯ ๗๗ ฯ
   
   จงยอมตนให้บัณฑิตตักเตือนพร่ำสอน
   และกีดกันจากความชั่ว
   คนที่คอยสั่งสอนเช่นนี้
   คนดีรัก แต่คนชั่วเกลียด
   
   Let him admonish, exhort,
   And shield from wrong.
   Truly, pleasing is he to the good,
   Displeasing is he to the bad.

   ไม่พึงคบ...
   
   น ภเช ปาปเก มิตฺเต
   น ภเช ปุริสาธเม
   ภเชถ มิตฺเต กลฺยาเณ
   ภเชถ ปุริสุตฺตเม . . . ฯ ๗๘ ฯ
   
   ไม่พึงคบมิตรชั่ว
   ไม่พึงคบคนเลวทราม
   พึงคบกัลยาณมิตร
   พึงคบคนที่ดีเยี่ยม
   
   Associate not with evil friends;
   Associate not with mean men;
   Associate with good friends;
   Associate with noble men.

   ผู้ดื่มรสพระ...
   
   ธมฺมปีติ สุขํ เสติ
   วิปฺปสนฺเนน เจตสา
   อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม
   สทา รมติ ปญฺฑิโต . . . ฯ ๗๙ ฯ
   
   ผู้ดื่มรสพระธรรม มีใจสงบ
   ย่อมอยู่เป็นสุข
   บัณฑิตย่อมยินดีในธรรม
   ที่พระอริยเจ้าแสดงไว้เสมอ
   
   He who imbibes the Dharma
   Lives happily with the mind at rest.
   The wise man ever delights
   In the Dharma revealed by the Noble.

   ชาวนาไขน้ำ...
   
   อุทฺกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา
   อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ
   ทารุํ นมยนฺติ ตจฺฉกา
   อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา . . . ฯ ๘๐ ฯ
   
   ชาวนาไขน้ำเข้านา
   ช่างศรดัดลูกศร
   ช่างไม้ถากไม้
   บัณฑิตฝึกตนเอง
   
   Irrigators lead water;
   Fletchers fashion shafts;
   Carpenters bend wood;
   The wise tame themselves.

   ขุนเขาไม่...
   
   เสโล ยถา เอกฆโน
   วาเตน น สมีรติ
   เอวํ นินฺทาปสํสาสุ
   น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา . . . ฯ ๘๑ ฯ
   
   ขุนเขาไม่สะเทือนเพราะแรงลมฉันใด
   บัณฑิตก็ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาหรือสรรเสริญฉันนั้น
   
   Even as a solid rock
   Is not shaken by the wind.
   So do the wise remain unmoved
   By praise or blame.

   ห้วงน้ำลึก...
   
   ยถาปิ รหโท คมฺภีโร
   วิปฺปสนฺโน อนาวิโล
   เอวํ ธมฺมานิ สุตฺวาน
   วิปฺปสีทนฺติ ปณฺฑิตา . . . ฯ ๘๒ ฯ
   
   ห้วงน้ำลึก ใสสะอาดสงบฉันใด
   บัณฑิตฟังธรรมแล้วย่อมมีจิตใจสงบฉันนั้น
   
   Just as a lake, deep, clear, and still
   Even so, on hearing the Dharma,
   The wise become exceedingly peaceful.

   สัตบุรุษยอม...
   
   สพฺพตฺถ เว สปฺปุริสา จชนฺติ
   น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต
   สุเขน ผุฏฐา อถวา ทุกฺเขน
   น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ . . . ฯ ๘๓ ฯ
   
   สัตบุรุษ ยอมเสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
   ไม่มัวพร่ำเพ้อ แต่เรื่องกามคุณ
   ไม่ว่าได้รับสุขหรือทุกข์
   บัณฑิตไม่แสดงอาการยินดียินร้าย (เกินกว่าเหตุ)
   
   The good renounce everything
   And do not speak hankering after desires.
   Touched by sorrow or happiness,
   The wise become neither elated nor depressed.

   ไม่ควรทำชั่ว...
   
   น อตฺตเหตุ น ปรสฺส เหตุ
   น ปุตฺตมิจฺเฉ น ธนํ น รฏฺฐํ
   น อิจฺเฉยฺย อธมฺเมน สมิทฺธิมตฺตโน
   ส สีลวา ปญฺญวา ธมฺมิโก สิยา . . . ฯ ๘๔ ฯ
   
   ไม่ควรทำชั่วเพราะเห็นแก่ตัว หรือคนอื่น
   ไม่ควรปรารถนาบุตร ทรัพย์ รัฐ หรือความสำเร็จ
   แก่ตนโดยทางที่ไม่ชอบธรรม
   ควรมีศีล มีปัญญา มั่นอยู่ในธรรม
   
   Neither for one's own nor another's sake
   Should one commit any wrong,
   Nor, by unjust means, should one desire
   Sons, wealth, state or one's own success.
   He should be virtuous, wise and righteous.

   น้อยคนจัก..
   
   อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ
   เย ชนา ปารคามิโน
   อถายํ อิตรา ปชา
   ตีรเมวานุธาวติ . . . ฯ ๘๕ ฯ
   
   ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย
   น้อยคนนักจักข้ามฝั่งไปได้
   ส่วนคนนอกนี้
   ก็ได้แต่วิ่งเลียบเลาะริมฝั่ง
   
   Few are there among men
   Who go to the further shore,
   The rest of this mankind
   Only run up and down the hither bank.

   ย่อมข้ามฝั่ง..
   
   เย จ โข สมฺมทกฺขาเต
   ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
   เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ
   มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ . . . ฯ ๘๖ ฯ
   
   ผู้ประพฤติตามคำสั่งสอนที่ตรัสดีแล้ว
   ย่อมข้ามอาณาจักรพญามาร
   ที่ข้ามได้แสนยาก
   ไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง (คือพระนิพพาน)
   
   Those who conform to the Dharma
   That has been well expounded -
   Those are they who will reach the Beyond,
   Crossing the realm of death, so hard to cross.

   ละธรรมดำ..
   
   กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาเย
   สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต
   โอกา อโนกมาคมฺม
   วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ . . . ฯ ๘๗ ฯ
   
   บัณฑิตพึงละธรรมดำ (บาป)
   สร้างสมธรรมขาว (บุญ)
   เมื่อละบ้านเรือนมาถือเพศบรรพชิตแล้ว
   ก็ควรยินดีในความสงัดวิเวก
   ซึ่งยากที่คนธรรมดาจะยินดีได้
   
   Coming from home to the homeless,
   The wise man should abadon dark state
   And cultivate the bright.
   He should seek great delight in solitude,
   So hard to enjoy.

   ละกามคุณ..
   
   ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย
   หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน
   ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ
   จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต . . . ฯ ๘๘ ฯ
   
   บัณฑิตพึงละกามคุณ
   สลัดอาลัยหมดสิ้น
   ทำตนให้บริสุทธิ์
   ปราศจากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต
   
   Given up sensual pleasures,
   With no attachment,
   The wise man should cleanse himself
   Of the impurities of the mind.

   ท่านที่อบรม...
   
   เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ
   สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ
   อาทานปฏินิสฺสคฺเค
   อนุปาทาย เย รตา
   ขีณาสวา ชุติมนฺโต
   เต โลเก ปรินิพฺพุตา . . . ฯ ๘๙ ฯ
   
   ท่านที่อบรมจิตใจเป็นอย่างดี
   ในคุณธรรมที่จะนำไปสู่การตรัสรู้
   ไม่ยึดมั่น ยินดีในความปล่อยวาง
   ท่านเหล่านั้น เป็นพระอรหันต์ สงบ สว่าง
   เข้าถึงพระนิพพานแล้วในโลกนี้
   
   Whose minds are well perfected
   In the Factors of Enlightenment,
   Who without clinging, delight in detachment -
   They, the corruption-free, radient ones,
   Have attained Nibbana in the Here-and-Now.
   
http://board.srthinth.info/DhammaPhatha06.html
http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=2185.0