ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2012, 07:03:52 am »

ความรู้เบื้องต้นที่ช่างภาพควรรู้ เกี่ยวกับ Memory Card



ABOUT MEMORY (FOTOINFO)
บทความโดย คุณ พัลลภ/

แน่ นอนว่าอุปกรณ์อย่างหนึ่งของการถ่ายภาพ สำหรับช่างภาพที่ขาดไม่ได้ นั่นก็คือ Memory Card หรือการ์ดบันทึกภาพ เพราะถ้าหากขาดเจ้าการ์ดบันทึกภาพนี้แล้ว ก็เหมือนกับกล้องถ่ายรูปแบบฟิล์มที่ไม่ได้ใส่ฟิล์ม การถ่ายภาพก็คงจะถ่ายไม่ได้ แม้ว่าจะมีกล้องราคาหรูเลิศขนาดไหนก็ตาม

ด้วยความที่มันสำคัญ ดังนั้นวันนี้จึงขอนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องน่ารู้ที่คนมักเข้าใจผิด เกี่ยวกับเจ้าการ์ดบันทึกความจำตัวนี้ มานำเสนอกัน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการ์ดบันทึกภาพ

การ์ดบันทึกภาพ มีชื่อรุ่นของมันที่เรียกกันว่า การ์ด SD ซึ่งมี 3 รูปแบบด้วยกัน คือ การ์ด SD ความจุมาตรฐาน , SDHC หรือ High-Capacity, SDXC หรือ eXtended-capacity ซึ่งการ์ดแต่ละตัวจะมีการบ่งบอกความเร็วของการ์ด คือ Class ซึ่งความเร็วเหล่านี้จะมีประโยชน์ในการอ่านข้อมูลในการ์ด เป็นจำนวน MB ต่อวินาที สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน ดังนี้

Class 2 มีความเร็วในการอ่านข้อมูล 2MB/วินาที

Class 4 มีความเร็วในการอ่านข้อมูล 4MB/วินาที

Class 6 มีความเร็วในการอ่านข้อมูล 6MB/วินาที

Class 10 มีความเร็วในการอ่านข้อมูล 10MB/วินาที

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการ์ด SD คุณภาพดีแค่ไหนก็ตาม หากคุณภาพของกล้องกับคอมพิวเตอร์ไม่สามารถรองรับการ์ด SD ได้ ก็คงไม่มีประโยชน์อะไร



ส่วนของกล้องบันทึกภาพ การที่มีคุณภาพการ์ด SD เร็วมาก ๆ ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ความเร็วในการถ่ายภาพต่อ 1 ชัตเตอร์เพิ่มขึ้น แต่อาจจะทำให้การโอนภาพจากกล้อง สู่ การ์ด SD ไวขึ้นต่างหาก ซึ่งถ้าอยากให้การถ่ายภาพต่อเนื่องเร็วขึ้น จะเป็นที่คุณภาพกล้องที่ต้องล้ำสมัยมากกว่า

ส่วนของคอมพิวเตอร์ การที่มีการ์ด SD ความเร็วสูง จะช่วยให้ถ่ายข้อมูลภาพลงคอมพิวเตอร์ได้เร็วขึ้น ทว่าก็ต้องดูที่ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ด้วย หากเป็น USB 1.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ล้าหลัง การที่ส่งข้อมูลจากการ์ด SD ได้อย่างรวดเร็ว แต่ฝ่ายรับอย่าง USB มีศักยภาพรับได้ช้า ก็ถือว่าถ่ายโอนภาพได้ช้าอยู่ดี

คำแนะนำในการใช้การ์ดบันทึกภาพ



1. ฟอร์แม็ตการ์ดด้วยกล้อง ฟอร์แม็ตการ์ดด้วยกล้องถ่ายภาพ ดีกว่าการฟอร์แม็ตโดยใช้คอมพิวเตอร์ เนื่องจากจะทำให้การ์ดทำความรู้จักการทำงานของกล้องโดยอัตโนมัติ

2. รู้ความจุของการ์ด การรู้ความจุของการ์ด จะทำให้สามารถคำนวนได้ว่า การ์ดอันหนึ่ง สามารถถ่ายภาพได้ประมาณกี่ภาพ แม้ว่าในกล้องจะมีการบอกอยู่แล้วว่า สามารถถ่ายภาพที่เหลือได้กี่ภาพ

3. สามารถกู้ไฟล์ภาพจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ หลายคนอาจจะตกใจ เมื่อเผลอลบภาพในกล้องไปโดยบังเอิญ โดยคิดว่า ภาพนั้นคงหายไปแล้ว แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า ในคอมพิวเตอร์ก็มีโปรแกรมกู้ภาพเช่นกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อทราบว่าเผลอลบภาพ ก็ควรแกะการ์ดออกมาทันที ห้ามถ่ายภาพเพิ่ม เพื่อไม่ให้ข้อมูลใหม่ มีโอกาสทับข้อมูลเดิมที่หายไปแล้ว

4. หากมีการ์ดหลายอัน ก็ควรทำตำหนิด้วย หากคุณมีการ์ดหลายอัน ก็ควรจะทำตำหนิเล็กน้อยให้รู้ว่า การ์ดไหนใช้ไปแล้ว การ์ดไหนยังไม่ได้ใช้ เพราะถ้าหากเผลอหยิบการ์ดที่ใช้ไปแล้วมาใช้ ก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพที่ถูกบันทึกไปก่อนหน้านี้ได้

5. ควรใช้ Card Reader โอนภาพลงคอมพิวเตอร์ การใช้ Card Reader ถ่ายโอนข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ จะเป็นวิธีที่รวดเร็วและปลอดภัยมากกว่าการใช้สาย USB ในการถ่ายโอนข้อมูล เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองแบ็ตเตอรี่ของกล้องได้ และอาจส่งผลต่อความเสียหายของภาพ

6. อย่าลบภาพในกล้อง ขณะที่บันทึกภาพ การลบภาพในกล้อง ขณะที่บันทึกภาพ อาจจะทำให้เสียเวลาในการลบ และอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ทางที่ดีควรซื้อการ์ดในความจุที่สูงจะดีกว่า และควรลบภาพทิ้งได้ หลังจากที่นำภาพลงเข้าคอมพิวเตอร์ไปแล้ว

7. ไม่ควรนำการ์ดบันทึกภาพออกจากตัวกล้องเร็ว ก่อนที่จะนำการ์ดบันทึกภาพออกจากกล้อง ควรตรวจไฟสัญญาณสีแดงหลังกล้องก่อนว่าหยุดการกระพริบแล้ว ถ้าหากดึงออกมาเร็ว อาจจะทำให้ข้อมูลหายได้

8. อย่าตกใจหากการ์ดเสียหาย บางครั้งคุณอาจจะทำการ์ดบันทึกภาพเสียหาย แบบไม่ได้ตั้งใจก็เป็นได้ เช่น ทำการ์ดเปียกน้ำ ซึ่งความจริงการ์ดเหล่านี้มีความทนพอสมควร เพียงแค่คุณรอให้การ์ดแห้งสนิทจริง ๆ ก็สามารถนำกลับไปใช้งานได้แล้ว

9. ควรแบ็กอัพไฟล์สม่ำเสมอ เวลาถ่ายภาพอะไรที่สำคัญ ๆ ข้อแนะนำอีกอย่างหนึ่งคือ ควรสำรองไฟล์ภาพไว้ที่อื่นด้วย เพื่อป้องกันเวลาที่การ์ดบันทึกเสียหาย ก็ยังมีแหล่งสำรองของข้อมูลอยู่

10. ติดรายละเอียดไว้ที่การ์ดบันทึกภาพ เพื่อให้ทราบว่า การ์ดแต่ละอัน บันทึกข้อมูลภาพจากงานอะไร

เกร็ดน่ารู้อื่น ๆ

หรือเครื่องตรวจโลหะ จะไม่ส่งผลต่อการสูญหายของข้อมูลในการ์ดความจำแต่อย่างใด


ขอขอบคุณข้อมูลจาก



-http://www.fotoinfomag.com/-

-http://hilight.kapook.com/view/66659-

.