ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2012, 04:39:39 pm »

8 เคล็ดลับเพื่อความสำเร็จในการกล้าที่จะรวย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
2 กุมภาพันธ์ 2555 12:14 น.



ท่าม กลางสังคมที่เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ หลาย ๆ ครอบครัวต้องเผชิญกับสภาวะขึ้น ๆ ลง ๆ ทั้งราคาน้ำมัน รวมไปถึงราคาสินค้าที่มองไปทางไหนก็มีแต่ข้าวของราคาแพง ทำให้ครอบครัวจำนวนไม่น้อยเกิดความหวาดหวั่น และไม่ไว้ใจกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เป็นอยู่

วันนี้ทีมงาน Life & Family มีหลักคิดดี ๆ เพื่อความสำเร็จในการกล้าที่จะรวยจาก คุณสุวภา เจริญยิ่ง กรรมการ ผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) อีกหนึ่งผู้ทำงานในแวดวงการเงินมากว่า 25 ปี และเจ้าของผลงานสร้างชื่ออย่าง "อายุเท่าไรก็รวยได้ ถ้าใช้เงินเป็น" และ "มีลูกกี่คนก็รวยได้ ถ้าใช้เงินเป็น" มาฝากกัน ส่วนจะมีหลักอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลยครับ

1. ต้องกล้าที่จะยอมรับว่า ปัจจุบันเราอยู่ในสถานะไหน

การยอมรับสถานะของตัวเอง และครอบครัวคือตัวควบคุมให้เรารู้จักใช้จ่ายอย่างเหมาะสม เช่น เราเป็นคนเงินเดือนไม่มาก มีภาระต้องเลี้ยงดูพ่อกับแม่ ทำให้การใช้เงินต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี เพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดการติดขัดได้

2. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ทั้งระยะสั้น และระยะยาว

การตั้งเป้าหมายในระยะสั้นลองมองแบบเป็นรายเดือนดูก่อนก็ได้ว่า เดือนนี้จะต้องเหลือเก็บเท่าไร ส่วนในระยะยาว คือการวางแผนเกษียณไว้เลย เช่น ต้องการมีเงินสักเท่าไรในช่วงเวลานั้น อาจจะ 20 ปี หรือ 30 ปีข้างหน้า เพื่อมาสอดรับกับเป้าหมายรายเดือนของเราว่าจะต้องใช้เครื่องมืออะไรทำให้ เงินงอกเงย แต่กระนั้นไม่ควรตั้งเป้าหมายที่มันยากเกินไป เช่น อยากเก็บเงินเดือนละ 5,000 ทั้ง ๆ ที่ได้เงินเดือน ๆ ละ 15,000 บาท

3. เริ่มต้นเก็บเงินเดี๋ยวนี้

ปัจจุบันคนเรามีอายุยืนขึ้น หรือพูดง่าย ๆ คือ แก่ง่ายตายช้า โดยอายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นกว่าในอดีตมาก ผู้ชายไทยมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 75 ปี ในขณะที่ผู้หญิงไทยมีแนวโน้มที่อายุยืนถึง 80 ปี ซึ่งอายุที่ยืนยาวขึ้น หมายถึงมีระยะเวลาในการใช้เงินหลังเกษียณเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้ต้องเตรียมเงินเพื่อใช้ในการเกษียณเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากไม่เริ่มต้นเก็บเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตตอนแก่ชราได้ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งค่ากิน และค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงขนาดของครอบครัวที่เล็กลง ส่งผลให้ชีวิตในวัยเกษียณของใครหลายคนต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น

4. กำหนดเป้าหมายที่ต้องการ และลงในรายละเอียด

การกำหนดเป้าหมายจะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีทิศทางมากขึ้น และทราบว่าจะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างไร จากนั้นก็ควรเช็กสุขภาพทางการเงินเพื่อสำรวจดูว่าคุณมีหนทางที่จะทำเป้าหมาย ให้เป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน เช่น มีแผนจะนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยอะไรบ้าง มีกำหนดระยะเวลาเท่าไร เป็นต้น ส่วนในกรณีที่มีเป้าหมายหลายอย่างในช่วงเวลาเดียวกัน สิ่งที่สำคัญคือ การรู้จักจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมาย โดยพิจารณาถึงความจำเป็นและเป้าหมายหลักในชีวิตเป็นสำคัญ

5. กำจัดอุปสรรค

การกำจัดอุปสรรคทางการเงินถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งเราต้องรู้จักทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างเป็นระบบ เพราะนั่นจะทำให้เรารู้ว่าในแต่ละเดือนเราใช้จ่ายอะไรไปบ้าง และควรจะต้องตัดอะไรที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง

6. มีวินัย และสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการเก็บออม และทำบัญชีรายรับรายจ่าย

7. เข้าใจในเรื่องการลงทุนและอัตราผลตอบแทน

การออม และการลงทุนควรมีความหลากหลาย เพื่อกระจายความเสี่ยงและต่อยอดการออมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ถ้ามีการออมเดือนละ 10,000 บาท และนำไปลงทุนในอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเทียบกับจำนวนปี คุณจะเห็นความมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้นและความสม่ำเสมอในการออม คือ แม้จะออมเงินเดือนละ 10,000 บาท แต่ถ้าทำผลตอบแทนได้ในระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลา 3 ปี จะมีเงินเก็บสูงถึงเกือบ 449,830 บาท และถ้ายังออมได้สม่ำเสมอในระยะเวลา 15 ปี คุณจะมีเงินเก็บถึง 6,163,660 บาทเลยทีเดียว

8. เริ่มต้นก่อนมีชัยไปกว่าครึ่ง

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ น้อง ก. ลงทุนปีละ 10,000 บาท ตั้งแต่อายุ 18 ปี ได้ผลตอบแทนปีละ 10% และลงทุนถึงอายุ 30 ปี แล้วปล่อยเงินลงทุนทิ้งไว้ โดยไม่ลงทุนเพิ่มจนอายุ 65 ปี น้องก.จะมีเงินต้น (10,000 บาท X 13 ปี) เท่ากับ 130,000 บาท และจะมีเงินเก็บตอนอายุ 65 ปี เท่ากับ 6,900,000 บาท

ส่วนพี่ ข.ลงทุนปีละ 20,000 บาท ตั้งแต่อายุ 30 ปี ได้ผลตอบแทนปีละ 10% และลงทุนต่อเนื่องจนอายุถึง 65 ปี พี่ข.จะมีเงินต้น (20,000 บาท X 35 ปี) เท่ากับ 700,000 บาท และจะมีเงินเก็บตอนอายุ 65 ปี เท่ากับ 5,420,000 บาท

ดังนั้น น้องก.เริ่มต้นลงทุนก่อนย่อมมีชัยไปกว่าพี่ข.อย่างเห็นได้ชัด โดยการลงทุนที่ว่านี้ เป็นการจัดสรรหรือกระจายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่น ลงทุนกับกองทุนรวมตลาดเงิน พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หรืออื่น ๆ เป็นต้น

นอกเหนือจาก 8 ข้อในข้างต้นแล้ว เราคงต้องยอมรับในความจริงอีกอย่างหนึ่งว่า คนจะรวยไม่ใช่เพราะเก็บเงินเก่ง แต่การใช้จ่ายอย่างมีสติ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือเส้นทางสู่เศรษฐีในอนาคต



-http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000014907-

.