ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: magicmo
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2012, 04:11:08 pm »

ขอบคุณมากๆนะคับท่าน
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 20, 2011, 08:56:47 pm »

สธ.ย้ำหน่วยงานทั่ว ปท.เฝ้าระวัง"อี.โคไล" เกาะติดผู้ป่วยเม็ดเลือดแดงแตก ไตวาย

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับเจ้าหน้าที่สำนักป้องกันโรค 12 เขตทั่วประเทศ เกี่ยวกับมาตรการควบคุมโรคจากเชื้อ อี.โคไล โอ 104 ว่า ได้เน้นให้สำนักควบคุมโรคแจ้งผู้ประกอบอาหารว่า หากเจ็บป่วยโดยเฉพาะด้วยโรคทางเดินอาหาร ให้หยุดประกอบกิจการจนกว่าจะหาย เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อโรคไปยังผู้บริโภค นอกจากนี้ยังกำชับให้สร้างความเข้าใจประเด็นการติดต่อจากคนสู่คน เพราะอาจทำให้ประชาชนวิตกกังวล เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคทางเดินอาหารชนิดหนึ่ง การติดต่อมาจากอาหารและน้ำ แต่ที่ต้องระวัง คือ พฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะผู้ปรุงอาหาร ซึ่งต้องย้ำเตือนผู้ประกอบทุกคน ซึ่งวันที่ 22 มิถุนายน จะหารือกับกรมอนามัยเพื่อเฝ้าระวังร้านอาหาร โดยเฉพาะแผงลอยตามตลาดนัด ซึ่งอาจควบคุมยาก
 
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้อ อี.โคไล ติดต่อจากน้ำ อาหาร ดังนั้นสิ่งที่ต้องระวัง คือ สุขอนามัยการกิน โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ของ สธ. โดยล้างมือก่อนประกอบอาหาร กินข้าว ปรุงอาหารให้สุก แยกเขียงอาหารดิบจากผัก จะสามารถป้องกันเชื้อได้
 
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า ไทยอยู่ในกลุ่มที่ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงน้อย แต่ไม่ได้หมายความปลอดภัย 100% เพราะเชื้ออยู่ในสิ่งแวดล้อมและอาหารที่เคลื่อนย้ายไปประเทศต่างๆ ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำ คือ เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการเม็ดเลือดแดงแตก ไตวาย แม้จะไม่ได้เดินทางมาจากยุโรปก็ตาม ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยังสุ่มตรวจอาหารที่มาจากยุโรป

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1308571381&grpid=&catid=19&subcatid=1904


.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 19, 2011, 09:06:57 pm »

พบอีโคไลระบาดจากคนสู่คนครั้งแรกในเยอรมนี

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไลในเยอรมนี ล่าสุดเมื่อวานนี้ กระทรวงสาธารณสุขเยอรมนียืนยันว่า พบการติดเชื้ออีโคไลจากคนสู่คนเป็นครั้งแรกในประเทศ

รัฐมนตรีสาธารณสุขเยอรมนี แถลงยืนยันเรื่องดังกล่าว เมื่อวานนี้ ในระหว่างเดินทางไปยังสถาบันอนามัยแห่งมหาวิทยาลัยในมุนสเตอร์ โดยกล่าวว่า ผู้ป่วยที่แพร่เชื้ออีโคไลจากคนสู่คนรายแรกในเยอรมันเป็นผู้หญิง ซึ่งทำงานในห้องครัวร้านอาหารแห่งหนึ่งใกล้เมืองแฟรงค์เฟิร์ต โดยเธอติดเชื้อจากการรับประทานถั่วงอก และได้แพร่เชื้ออีโคไลไปยังคนอื่นๆ อีก 20 คน

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อที่ห้องแล็บในเมืองฮัมบูร์ก อธิบายถึงการแพร่เชื้อจากคนสู่คนรายนี้ว่า ผู้ป่วยได้แพร่เชื้อจากการทำอาหารให้คนอื่นรับประทาน ซึ่งจากที่ทราบกันก็คือ แบคทีเรียอีโคไลในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอที่จะแพร่ระบาดแล้ว และอาหารที่ผู้ป่วยปรุงหรือจัดเตรียมก็สามารถปนเปื้อนเชื้ออีโคไล

ส่วนกรณีที่พบเชื้ออีโคไล สายพันธุ์ใหม่และอันตรายนี้ที่น้ำในลำธารเมืองแฟรงค์เฟิร์ต เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเยอรมนี บอกว่า จะไม่เป็นอันตรายต่อประชาชน และจะไม่ส่งผลต่อระบบน้ำดื่ม ตราบใดที่ประชาชนปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น คือ อย่าเพิ่งลงไปว่ายน้ำในลำธาร หรือแม่น้ำบริเวณดังกล่าวและอย่าใช้น้ำจากลำธารมารดผักที่ปลูก

ด้านสถาบันโรคติดต่อเยอรมนี ออกแถลงการณ์วานนี้ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล โอ 104 นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตในเยอรมนีไป 38 คน ในสวีเดน 1 คน ติดเชื้อ 3,408 คน โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่า ผู้ป่วยกว่า 100 คนอยู่ใน 13 ประเทศทั้งยุโรป สหรัฐฯและแคนาดา อย่างไรก็ตามสถานการณ์ก็ดีขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากผู้ติดเชื้อน้อยลง และจากการตรวจสอบยังไม่พบว่า มีการแพร่ระบาดครั้งใหม่

http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/39734/%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B5.html

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 17, 2011, 07:56:31 pm »

"อีโคไล" ป้องกันได้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   
16 มิถุนายน 2554 14:20 น.



ข่าวการระบาดของเชื้ออีโคไลในประเทศแถบยุโรปในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้บริโภคทั่วโลกไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะมีผู้ป่วยหลายร้อยคน แถมยังมีผู้เสียชีวิตจากเชื้ออีโคไลนี้ด้วย

เจ้าเชื้ออีโคไลที่ว่านี้ เป็นแบคทีเรียซึ่งพบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์ สามารถทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารที่รุนแรง โดยมีอาการที่สำคัญคือท้องเสียชนิดอุจจาระมีเลือดปน บางรายอุจจาระเป็นมูกเลือด และที่สำคัญคือมักพบว่าโรคนี้ทำให้เกิดภาวะไตวายร่วมด้วย เชื้อแบคทีเรียอีโคไลนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยเฉพาะในมูลสัตว์ ดังนั้นหากคนกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อเหล่านี้เข้าไป ก็จะทำให้เกิดอาการท้องร่วง จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบและมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ บางรายถึงกับเสียชีวิตได้

สำหรับในเมืองไทยแม้จะยังไม่มีผู้ป่วยหนักด้วยเชื้อตัวนี้ แต่ "108 เคล็ดกิน" ขอแนะนำว่าควรระวังรักษาสุขภาพตัวเองไว้ก่อน โดยมีวิธีป้องกันอย่างง่ายๆ โดยใช้วิธี "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ" วิธีเดียวกับการป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่เพิ่งระบาดในประเทศไทยและทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ เพราะเชื้อแบคทีเรียอีโคไลจะตายเมื่อผ่านความร้อนจากการปรุงอาหาร และการล้างมือก่อนกินอาหารก็เป็นวิธีฆ่าเชื้อโรคที่ได้ผล แต่สำหรับผู้ที่นิยมบริโภคผักสดเนื้อดิบ ต้องระมัดระวังให้มาก โดยควรล้างผักสดด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แช่น้ำทิ้งไว้ 10-15 นาที และล้างผักผ่านน้ำไหลนานประมาณ 2 นาที เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค หากเป็นผลไม้และผักสดที่มีเปลือกก็ควรปอกเปลือก รวมทั้งอาจใช้สารในการชะล้างสารปนเปื้อนออกไปร่วมด้วยก็ได้ เช่น ด่างทับทิม น้ำส้มสายชู หรือผงฟู ส่วนเนื้อดิบนั้นควรงดไปก่อนจะดีที่สุด


.

-http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000073617-

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 12, 2011, 08:40:41 am »

ไทยโล่ง! อโวคาโดไม่อันตราย-เจอในกะหล่ำปลีปมเพิ่มอีก





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ผลตรวจอีโคไลในอโวคาโด ยืนยันไม่ใช้เชื้อชนิดที่คร่าชีวิตชาวยุโรป สธ.ให้ขายต่อได้ ขณะที่ผลตรวจกะหล่ำปลีปมพบเชื้ออีโคไลอีก ยังไม่ทราบสายพันธุ์ เตือนประชาชนอย่าวิตก

          หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวพบแบคทีเรียอีโคไล ไม่ทราบชนิด ปนเปื้อนอยู่ในอโวคาโดที่นำเข้าจากยุโรปนั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า จากการตรวจยืนยันทางชีวเคมีของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในอโวคาโด พบว่าไม่ใช่เชื้ออีโคไลสายพันธุ์ โอ 104 ที่ระบาดและคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 30 รายในยุโรป โดยเชื้ออีโคไลที่พบในอโวคาโดนั้นพบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงอนุญาตให้ผู้นำเข้าอโวคาโดสามารถจำหน่ายได้

          นายจุรินทร์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เฝ้าระวังผักผลไม้นำเข้าจาก 13 ประเทศในยุโรปที่มีรายงานเชื้อแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และให้วอร์รูมกรมควบคุมโรค ประชุมติดตามสถานการณ์โรคอย่างใกล้ชิด และต้นตอแหล่งแพร่เชื้อ จึงขอให้ประชาชนไทยมั่นใจในมาตรการป้องกันเฝ้าระวังของกระทรวงที่พร้อมปกป้องสุขภาพคนไทย ขอให้ประชาชนรับประทานผักผลไม้ตามปกติ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ หากประชาชนยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ จะป้องกันไม่ให้ป่วยได้

          ขณะที่ นายอมรินทร์ นันทวิทยาภรณ์ หัวหน้ากลุ่มตรวจด่านอาหารและยา อย. กล่าวว่า ได้มีการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ อาทิ แครอต พริกหยวก กะหล่ำปลี และผลไม้รวมทั้งหมด 1 ตู้คอนเทนเนอร์ และจะนำผักผลไม้อย่างละ 1 กิโลกรัมไปตรวจสอบเชื้อดังกล่าว โดยจะนำไปตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน ซึ่งสินค้าดังกล่าวมีทั้งพร้อมรับประทาน และต้องนำไปปรุงให้สุกก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากอังกฤษ เบลเยียม สเปน และนำเข้ามาตั้งแต่วันที่ 5 พ.ค. ส่วนผลอโวคาโดที่ตรวจพบเชื้ออีโคไลเบื้องต้นยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเชื้อสายพันธุ์ใด ซึ่งในล็อตดังกล่าวนั้นมีการนำเข้ามา 420 ลัง และนำมาตรวจสอบหมดแล้ว

          "ประชาชนที่จะรับประทานผักและผลไม้ในช่วงนี้ ควรนำมาล้างให้สะอาดก่อน โดยอาจใช้น้ำส้มสายชูหรือเกลือก็ได้ หรือควรต้มให้สุกก่อนรับประทาน รวมทั้งได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการชะลอการนำเข้าผักผลไม้จากยุโรปแล้ว" นายอมรินทร์กล่าว

          วันเดียวกัน พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจตลาดสดบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย พร้อมทั้งระบุว่า แม้ยังไม่พบการแพร่เชื้ออีโคไลในไทย แต่ก็มีการแพร่ระบาดหลายประเทศในยุโรป กทม.จึงต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง และจะลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันตัวเอง ไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกตกใจ แต่รู้เท่าทัน

         และสำหรับความคืบหน้าการตรวจหาเชื้ออีโคไลในกะหล่ำปลีปม ล่าสุด นายแพทย์สถาพร วงษ์เจริญ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการเก็บตัวอย่างผักผลไม้ ที่นำเข้าจากทางทวีปยุโรป อาทิ กะหล่ำปลีปม พริกหยวก แครอท นั้น เบื้องต้นพบว่า กะหล่ำปลีปม มีเชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนอยู่ แต่ยังไม่สามารถระบุสายพันธุ์ได้ชัดเจนว่า เป็นสายพันธุ์อันตรายที่ทำให้เกิดโรคหรือไม่ จะต้องมีการตรวจสอบลงลึกในรายละเอียดอีกครั้ง เพื่อหาสายพันธุ์ที่แท้จริง เนื่องจาก เชื้อ อี.โคไล บางสายพันธุ์ไม่เป็นอันตราย และสามารถพบได้ทั่วไปในบ้านเรา ซึ่งจะต้องมีการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ก็จะทราบผลว่า เป็นเชื้ออี.โคไล สายพันธุ์ใด ส่วนพริกหยวก แครอท ยังอยู่ระหว่างการตรวจหาเชื้อ อี.โคไล

         ทั้งนี้ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังฝากไปยังประชาชนอย่าวิตกกังวล เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้มีการเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงท่านใดจะรับประทานผักและผลไม้ ในช่วงนี้ควรจะนำมาล้างให้สะอาดก่อน โดยอาจจะใช้น้ำส้มสายชู หรือเกลือก็ได้ หรือควรจะต้มให้สุกก่อนรับประทาน



อีโคไล


[10 มิถุนายน] อีโคไล ระบาดหนัก! ดับแล้ว 30 ราย-ไทยพบในอโวคาโด

          "อี.โค ไล" ระบาดไม่หยุด ล่าสุด พบผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 30 ราย ขณะเจ้าหน้าที่เร่งหาที่มาเชื่อมรณะจากการตรวจสอบอาหารของผู้เสียชีวิต

          นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมัน กล่าวว่า เจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุข ได้พยายามอย่างสุดความสามารถ ในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อี.โคไล

          ขณะที่ หน่วยงานสาธารณสุขในเมืองคัสเซิล ตอนกลางของประเทศเยอรมัน ได้ทำการตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่ให้บริการด้านอาหาร ในงานเลี้ยงวันเกิด ใกล้กับเมืองเกอตติงเกน เมื่อวันที่วันที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้น พบผู้ป่วย 8 คน จากการร่วมงานเลี้ยงดังกล่าว ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในช่วงของการทดสอบเชื้อ ด้านบริษัทกล่าวว่า จะให้ร่วมมืออย่างเต็มที่

          ส่วนยอดผู้ติดเชื้อล่าสุด พบแล้วกว่า 2,900 ราย ใน 12 ประเทศ และยอดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยัน จากหน่วยงานในแฟรงค์เฟิร์ตของเยอรมนี วานนี้ (9 มิ.ย.) ระบุมีแล้วทั้งสิ้น 30 ราย


อโวคาโด

อโวคาโด


[9 มิ.ย.] อีโคไลโผล่ไทย! สธ.เจอปนเปื้อนในอโวคาโดนำเข้า

          สธ.เผยพบอโวคาโดนำเข้าจากยุโร ปปนเปื้อนเชื้ออี.โคไล แต่ยังไม่ทราบชนิด อีก 5 วันรู้ผลชัด เตือนประชาชนไม่ต้องวิตก เพราะเชื้ออี.โคไลมีหลายชนิด มักอยู่ตามผักผลไม้ได้ทั่วไป แต่ไม่เป็นอันตรายต่อคน

          วันนี้ (9 มิถุนายน) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า หลังจากด่านอาหารและยา ประจำท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิได้สุ่มเก็บอโวคาโด จำนวน 2 กิโลกรัมที่นำเข้าจากยุโรป ส่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรียอี.โค ไลชนิดรุนแรง โอ 104 (Enterohaemorrhagic E.coli O104) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมานั้น ล่าสุด ผลการตรวจในเบื้องต้น พบเชื้ออี.โคไล ในอโวคาโดตัวอย่างที่สุ่มเก็บมา แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นเชื้ออี.โคไลชนิดใด ทำให้เกิดสารพิษหรือไม่ ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์อีกประมาณ 3-5 วันจึงจะทราบผล ส่วนกะหล่ำปลีปม จะทราบผลตรวจเบื้องต้นในเช้าวันพรุ่งนี้ (10 มิถุนายน 2554)

          อย่างไรก็ตาม นายจุรินทร์ ยังย้ำว่า ขอให้ประชาชนไม่ต้องวิตกกังวลที่มีการตรวจพบเชื้ออี.โคไลในอโวคาโดครั้งนี้ เพราะถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากเชื้ออี.โคไล มีหลายชนิด และเป็นเชื้อที่มีอยู่ทั่วไปในผลิตภัณฑ์การเกษตร ผัก ผลไม้ ซึ่งไม่เป็นอันตรายสำหรับประชาชน และยังสามารถรับประทานผัก ผลไม้ต่อไปได้ตามปกติ

          ทั้งนี้ นายจุรินทร์ ยังได้แนะนำว่า ก่อนที่จะนำผัก ผลไม้มารับประทาน ควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนหลาย ๆ ครั้ง ด้วยการเปิดน้ำจากก๊อกแรงพอประมาณให้ไหลผ่านผักสด ผลไม้นานอย่างน้อย 2 นาที หรืออาจใช้น้ำส้มสายชู เกลือ ควบคู่ไปด้วย หากเป็นผักที่มีกาบใบห่อต้องคลี่ใบถูให้สะอาดก่อน รวมทั้งลอกหรือปอกเปลือกชั้นนอกของผักสดหรือผลไม้ทิ้งไป เพื่อลดสิ่งปนเปื้อน อย่างไรก็ตาม การรับประทานผักที่ปรุงผ่านความร้อนแล้วจะปลอดภัยที่สุด เพราะเชื้อแบคทีเรียจะตายเมื่อถูกความร้อน 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก กระทรวงสาธารณสุข และ ไอ.เอ็น.เอ็น.

http://health.kapook.com/view27014.html

.



ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2011, 08:48:36 am »

เยอรมันยืนยันถั่วงอกต้นตออีโคไล



ศุนย์โรคติดต่อเยอรมันยืนยัน ต้นตอการระบาดของเชื้ออีโคไลมาจากถั่วงอก ขณะที่จำนวนผู้ป่วยมีถึง 3 พันคนและเสียชีวิตอย่างน้อย 30 ราย

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ไรน์ฮาร์ด เบอร์เกอร์ ประธานสถาบันโรเบิร์ตคอช ศูนย์โรคติดต่อแห่งชาติเยอรมนี ได้แถลงว่า ทางการเยอรมันได้พบต้นตอการระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไลแล้ว โดยพบว่าถั่วงอกเป็นต้นตอของการระบาด ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 30 ราย และป่วยถึง 3พันคน

เบอร์เกอร์เชื่อว่าต้นตอการระบาดมาจากฟาร์มออแกนนิกเล็กๆ ในรัฐโลว์เออร์แซกโซนี แม้การตรวจสอบฟาร์มดังกล่าวได้ผลเป็นลบ แต่หลักฐานยังชี้ว่าฟาร์มนี้น่าจะเป็นต้นตอของการปนเปื้อน

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่กำลังลดลง แต่การระบาดยังไม่สิ้นสุด โดยหลายคนยังรู้สึกมีอาการป่วยหลังจากทานอาหารปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียเข้าไปหลายวันก่อน

ด้านรัฐบาลเยอรมันได้ยกเลิกคำเตือนห้ามทานมะเขือเทศ แตงกวา และกะหล่ำดิบแล้ว

http://www.posttoday.com/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/93659/%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%A5
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2011, 07:50:51 am »

อีโคไล ระบาดหนัก! ดับแล้ว 30 ราย-ไทยพบในอโวคาโด


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          "อี.โค ไล" ระบาดไม่หยุด ล่าสุด พบผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 30 ราย ขณะเจ้าหน้าที่เร่งหาที่มาเชื่อมรณะจากการตรวจสอบอาหารของผู้เสียชีวิต

          นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมัน กล่าวว่า เจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุข ได้พยายามอย่างสุดความสามารถ ในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อี.โคไล

          ขณะที่ หน่วยงานสาธารณสุขในเมืองคัสเซิล ตอนกลางของประเทศเยอรมัน ได้ทำการตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่ให้บริการด้านอาหาร ในงานเลี้ยงวันเกิด ใกล้กับเมืองเกอตติงเกน เมื่อวันที่วันที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้น พบผู้ป่วย 8 คน จากการร่วมงานเลี้ยงดังกล่าว ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในช่วงของการทดสอบเชื้อ ด้านบริษัทกล่าวว่า จะให้ร่วมมืออย่างเต็มที่

          ส่วนยอดผู้ติดเชื้อล่าสุด พบแล้วกว่า 2,900 ราย ใน 12 ประเทศ และยอดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยัน จากหน่วยงานในแฟรงค์เฟิร์ตของเยอรมนี วานนี้ (9 มิ.ย.) ระบุมีแล้วทั้งสิ้น 30 ราย

http://health.kapook.com/view27014.html

.



ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 05:51:12 pm »

.

 
 
“จุรินทร์”เผยผลตรวจอโวคาโดที่นำเข้าจากยุโรป เบื้องต้นพบเชื้ออี.โคไล แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดสารพิษหรือไม่ ต้องใช้เวลาในการตรวจอีก 3-5วันจึงจะทราบผล
 
 



ย้ำการพบเชื้ออี.โคไลปนเปื้อนในผักผลไม้ เป็นเรื่องปกติทั่วไป ประชาชนไทยไม่ต้องวิตกกังวล ยังรับประทานผักผลไม้ได้ตามปกติ แต่ก่อนรับประทาน ต้องล้างน้ำให้สะอาดก่อน

วันนี้(9 มิถุนายน 2554)นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้า การตรวจเชื้อแบคทีเรียอี.โคไลชนิดรุนแรง โอ 104 (Enterohaemorrhagic E.coli O104) จากตัวอย่างผัก ผลไม้นำเข้าจากยุโรป ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่า หลังจากที่ด่านอาหารและยา ประจำท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิได้สุ่มเก็บ อโวคาโด จำนวน 2 กิโลกรัม ส่งตรวจเพาะเชื้อที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554 ขณะนี้ทราบผลการตรวจในเบื้องต้น พบเชื้ออี.โคไล แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นเชื้ออี.โคไลชนิดใด ทำให้เกิดสารพิษหรือไม่ จะต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์อีกประมาณ 3-5 วันจึงจะทราบผล ส่วนกะหล่ำปลีปม จะทราบผลตรวจเบื้องต้นในเช้าวันพรุ่งนี้ (10 มิถุนายน 2554)


นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า การตรวจพบเชื้ออี.โคไลในอโวคาโดครั้งนี้ จัดเป็นเรื่องปกติ ประชาชนไทยไม่ต้องวิตกกังวล เนื่องจากโดยทั่วไป เชื้ออี.โคไล มีหลายชนิด และเป็นเชื้อที่มีอยู่ทั่วไปในผลิตภัณฑ์การเกษตร ผัก ผลไม้ ไม่เป็นอันตรายสำหรับประชาชน ยังสามารถรับประทานผัก ผลไม้ต่อไปได้ตามปกติ โดยก่อนที่จะนำมารับประทาน ควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนหลายๆ ครั้ง โดยให้คลี่ใบถูให้สะอาดในกรณีที่เป็นผักที่มีกาบใบห่อ ซึ่งวิธีการล้าง อาจล้างด้วยการเปิดน้ำไหลจากก๊อกแรงพอประมาณ ให้ไหลผ่านผักสด ผลไม้นานอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายอื่นๆในการล้างควบคู่ด้วย เช่น น้ำส้มสายชู , เกลือ เป็นต้น หรือลอกหรือปอกเปลือกชั้นนอกของผักสดหรือผลไม้ทิ้งไป เพื่อลดสิ่งปนเปื้อน


ส่วนการรับประทานผักโดยปรุงผ่านความร้อน รวมทั้งผักลวก จะปลอดภัย เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียจะตายเมื่อถูกความร้อน 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป นายจุรินทร์กล่าว


........................... 9 มิถุนายน 2554






.

[url]http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=39019


.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 09:39:39 pm »

ทานอะไรต้องระวังครับ

เดี๋ยวนี้ ใช้สารเร่ง สารเคมี เต็มไปหมดเลยครับ


.