ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: magicmo
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2012, 05:48:42 pm »

ขอบคุณมากๆ
ข้อความโดย: Uzumaki Naruto
« เมื่อ: มกราคม 12, 2012, 09:36:54 pm »



"คนฉลาดทำเคราะห์ให้เป็นโอกาส แต่คนประมาท ทำโอกาสให้เป็นเคราะห์”
      
      นี่เป็นคติตามหลักพระพุทธศาสนาที่สอนไว้ว่า เมื่อเราประสบสถานการณ์ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม ต้องหาประโยชน์จากมันให้ได้ แม้แต่เป็นเคราะห์ก็ต้องทำให้เป็นโอกาส หรือหาประโยชน์จากเคราะห์นั้นให้ได้
      
      คตินี้ถ้าเป็นคนไม่ประมาทและเป็นคนฉลาดก็สามารถทำได้ อย่างน้อยก็ถือเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นเตือนให้คนของเราได้สติ แล้วก็มีความเข้มแข็ง แต่ถ้ามัวคร่ำครวญโอดโอยตีโพยตีพายกันอยู่ ก็เสียเวลาเปล่าๆ และเป็นการซ้ำเติมตัวเองด้วย...
      
      คนไทยเรานี้ เวลาเกิดสถานการณ์ต่างๆที่เป็นเหตุร้าย ก็จะมีคนหลายระดับ เราจะต้องเห็นใจกัน คนที่ยังมีจิตใจอ่อนแอ เราก็ให้โอกาสเขาบ้าง การโอดโอยโวยวายคร่ำครวญจะมีบ้าง เราก็เห็นใจและรู้ทัน อย่าไปนึกอะไรมาก ฟังเขาไป เขาอาจจะด่าจะว่า ก็ฟังได้ ยิ่งถ้าเป็นผู้นำผู้บริหาร ก็ยิ่งต้องอดทน ต้องให้เขา ระบาย ไม่ไปต่อล้อต่อเถียง แล้วก็ปลอบโยนให้สติ เขาดีๆ ตามเหตุตามผล แม้แต่เทวดาก็ยังต้องยอมให้โอกาสคน อย่างที่ว่าฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า
      
      ขอแต่ว่า เมื่อโอดครวญกันแล้วก็อย่าไปจบไปหยุด อยู่แค่นั้น ต้องผ่านขั้นนี้ไป
      
      พอระบายอารมณ์แล้ว ก็ตั้งสติ สงบ แล้วรีบหันมา ทำการแก้ไขด้วยปัญญา แล้วเอาเหตุการณ์ร้ายหรือปัญหามาใช้ให้เป็นประโยชน์
      
      ปัญหาจะต้องเป็นเวทีพัฒนาปัญญา คือปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเราใช้ความคิดพิจารณาค้นหาเหตุปัจจัยและหาทางแก้ไข เราจะพลิกปัญหาให้เป็นปัญญา เปลี่ยนอักษรตัวเดียวจาก “ปัญหา” ก็เป็น “ปัญญา” ไป
      
      คนที่เก่งนั้นเขาเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา และใช้ปัญหาเป็นเวทีพัฒนาปัญญา แล้วก็เปลี่ยนเคราะห์ให้เป็นโอกาส
      
      เวลาทุกข์ยากนี่เป็นประโยชน์มาก เวลาสุขสำราญ ต่างหากที่มักทำให้มัวเมาประมาท
      
      พระพุทธศาสนาสอนว่า ถ้าความรุ่งเรืองความสำเร็จเกิดขึ้น อย่ามัวเมา ต้องใช้มันให้เป็นประโยชน์ เอามันเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นไป
      
      คราวเคราะห์มัวครวญ ยามโชคก็เหลิง เอาแต่หนีเคราะห์และคอยโชค คนอย่างนี้เคราะห์เรียกหา แต่คนเป็นมหาบุรุษได้ ด้วยการผันเคราะห์ให้เป็นโชค และผันโชคให้แผ่ประโยชน์สุข
      
      ในด้านนี้ สังคมไทยเราอาจจะพลาดไปแล้ว เมื่อตอนเราฟุ้งเฟื่อง สบาย มีพรั่งพร้อม แทนที่เราจะเอามันเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ เรากลับไปหลงระเริง มัวเมา ประมาท นี่ท่านเรียกว่า ทำโอกาสให้เป็นเคราะห์ แทนที่จะใช้โอกาสนั้นในการสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นไป
      
      ทีนี้ถึงเวลานี้เราแย่ลงไปเป็นเคราะห์แล้ว ถ้ามัวไป ตีอกชกหัว เศร้าโศก โอดครวญ ก็กลายเป็นซ้ำเติมตัวเอง เคราะห์หนักเข้าไปอีก
      
      ถ้ามีสติปัญญา ตอนนี้ได้สติ แล้วใช้ปัญญา ก็ทำเคราะห์ให้เป็นโอกาส เพราะคราวทุกข์ยากเดือดร้อนนี่แหละ มักเป็นเวลาที่ดีที่สุด คนที่จะเจริญก้าวหน้าได้โดยมากต้องเจอปัญหา จะได้ฝึกตัวเองให้เข้มแข็ง แล้วเคราะห์นี่ก็ช่วยให้ทั้งสังคมทั้งชีวิตคนประสบความสำเร็จมามากมาย
      
      จากการเจอเคราะห์เจอปัญหาแล้ว ถ้าเราตั้งตัวดี มีท่าทีถูกต้อง เราก็จะมีความเข้มแข็ง พยายามต่อสู้ดิ้นรนขวนขวาย แล้วเราจะได้พัฒนาความสามารถ เราจะได้การฝึกฝนตน ฝึกปรือตัวเอง แล้วได้ปัญญาความสามารถมากขึ้นๆ แล้วชีวิตและสังคมก็จะเจริญก้าวหน้าต่อไป
      
      ขอย้ำคติที่ว่าไว้ข้างต้นอีกครั้งหนึ่งว่า
      
      “คนฉลาดทำเคราะห์ให้เป็นโอกาส แต่คนประมาท ทำโอกาสให้เป็นเคราะห์”
      
      เป็นอันว่า ตอนนี้มีเคราะห์แล้ว ยอมให้มีความเศร้าโศกเสียใจโอดครวญกันชั่วระยะสั้นๆ พอระบาย เสร็จแล้วก็ให้รีบตั้งสติ ต่อไปนี้ก็รีบมาดีใจว่าเจอเคราะห์แล้ว ทำมันให้เป็นโอกาส ผันเคราะห์ให้เป็นโอกาส แล้วเราก็จะเจริญก้าวหน้าต่อไป ไม่ต้องกลัว
      
      ฉะนั้น อย่าไปหมดกำลังใจ พระพุทธศาสนาไม่สอนให้เราท้อแท้ ไม่สอนให้เราท้อถอยอ่อนแอ เมื่อเจอปัญหา เจอเคราะห์กรรม เจอภัยอันตรายแล้ว ให้เข้มแข็ง แล้วใช้มันให้เป็นประโยชน์ในการฝึกปรือตัวเองให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป
      
      แล้วเราจะมีความชำนิชำนาญยิ่งขึ้นในการที่จะแก้ปัญหา ในการที่จะผจญเคราะห์กรรมภัยอันตรายให้ผ่่านก้าวไปสู่ความสำเร็จในการสร้างสรรค์พัฒนาได้ต่อไป..

 :07: