ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Uzumaki Naruto
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2012, 03:18:59 pm »



การที่พระพุทธองค์ทรงส่งพระสาวกออกประกาศศาสนาและพระองค์ก็เสด็จออกทำหน้าที่ด้วยนั้น มีจุดประสงค์อีกประการหนึ่งคือ สุขาย(สุ-ขา-ยะ) เพื่อความสุข ถ้าพิจารณาดูให้ลึกเข้าไปว่า ความสุขระดับไหน ความสุขประเภทไร ก็อาจจะพิจารณาได้หลายประเภท หลายแง่มุม อย่างน้อยพระองค์ก็สอนให้คนที่อยู่ในโลกิยสุข รู้จักแสวงหากามสุข สุขด้วยความปลอดภัย
      
      ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐) ได้จำแนกความสุขออกไปทั้งโดยประเภทและโดยระดับเป็นคู่ๆ มากมายหลายคู่ เช่น สุขของคฤหัสถ์กับสุขของบรรพชิต กามสุขกับเนกขัมมสุข โลกิยสุขและโลกุตตรสุข สุขของพระอริยะกับสุขของปุถุชน เป็นต้น ความสุขที่ท่านแบ่งไว้ชัดเจน ละเอียด ดูง่ายๆ ไม่ซับซ้อน น่าจะได้แก่ วิธีแบ่งระดับความสุขเป็น ๑๐ ขั้น คือ
      
      • ระดับความสุข ๑๐ ขั้น
      
      ๑. กามสุข ความสุขเนื่องด้วยกาม ซึ่งเกิดจากความกำหนัดยินดีในรูปที่สวย เสียงที่ไพเราะ กลิ่นที่หอม รสที่อร่อย และสัมผัสอันอ่อนนุ่มสุขสบาย หรือเรียกว่าความสุขที่เกิดจากกามคุณ ๕
      
      ๒. ปฐมฌานสุข ความสุขจากภาวะจิตที่เข้าสมาธิแห่ง รูปฌานขั้นที่ ๑ ซึ่งเป็นภาวะจิตที่สามารถสลัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบด้วยองค์ธรรม ๕ ประการ คือ วิตก (ภาวะจิตที่ตรึกนึกอารมณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก) วิจาร (ภาวะจิตที่เฟ้นพิจารณาอารมณ์นั้น) ปีติ (ภาวะจิตที่กำซาบอิ่มเอิบในอารมณ์) สุข (ภาวะจิตที่สุขสบายในอารมณ์) และเอกัคคตา (ภาวะจิตที่เป็นสมาธิหรือมีอารมณ์เดียว)
      
      ๓. ทุติยฌานสุข ความสุขจากภาวะจิตที่เข้าสมาธิแห่ง รูปฌานขั้นที่ ๒ ซึ่งประกอบด้วยองค์ธรรม ๓ ประการ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา
      
      ๔. ตติยฌานสุข ความสุขจากภาวะจิตที่เข้าสมาธิแห่ง รูปฌานขั้นที่ ๓ ซึ่งประกอบด้วยองค์ธรรม ๒ ประการ คือ สุข และเอกัคคตา
      
      ๕. จตุตถฌานสุข ความสุขจากภาวะจิตที่เข้าสมาธิแห่ง รูปฌานขั้นที่ ๔ ซึ่งประกอบด้วยองค์ธรรม ๒ คือ อุเบกขา (ภาวะจิตที่วางเฉยในอารมณ์) และเอกัคคตา
      
      ๖. อากาสานัญจายตนสมาปัตติสุข ความสุขจากภาวะ จิตที่เข้าสมาธิแห่งอรูปฌานขั้นที่ ๑ ซึ่งมีอากาศอันไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอารมณ์ หมายถึง ความสุขที่เกิดจากฌานจิตที่เลิกเพ่งกสิณ แล้วมากำหนดอากาศคือที่ว่างช่องว่าง เป็นอารมณ์ โดยพิจารณาให้เห็นว่าอากาศไม่มีที่สุด
      
      ๗. วิญญาณัญจายตนสมาปัตติสุข ความสุขจากภาวะ จิตที่เข้าสมาธิแห่งอรูปฌานขั้นที่ ๒ ซึ่งยึดเอาวิญญาณอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ หมายถึงความสุขที่เกิดจากฌานจิตที่เลิกเพ่งอากาศหรือที่ว่างนั้น แล้วมากำหนดเพ่งดูวิญญาณจิตที่แผ่ไปสู่ที่ว่างเป็นอารมณ์ โดยพิจารณาให้เห็นว่าวิญญาณไม่มีที่สุด
      
      ๘. อากิญจัญญายตนสมาปัตติสุข ความสุขจากภาวะจิตที่เข้าสมาธิแห่งอรูปฌานขั้นที่ ๓ หมายถึง ความสุขที่เกิดจากฌานจิตที่เลิกกำหนดเพ่งดูวิญญาณจิตที่แผ่ไปสู่ที่ว่าง แล้วมากำหนดภาวะที่ไม่มีอยู่แห่งวิญญาณเป็นอารมณ์ โดยพิจารณาให้เห็นว่าสักหน่อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี
      
      ๙. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาปัตติสุข ความสุขจากภาวะจิตที่เข้าสมาธิแห่งอรูปฌานขั้นที่ ๔ อันถึงภาวะที่สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็นอารมณ์ หมายถึงฌานที่เลิกกำหนดภาวะที่ไม่มีแห่งวิญญาณนั้น แล้วเข้าถึงภาวะที่มีสัญญา (ภาวะที่จิตกำหนดหมาย) ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ที่ละเอียดประณีตกว่าความสุขในขั้นอรูปฌานที่ ๓ นั้น
      
      ๑๐. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาปัตติสุข สุขเกิดจากภาวะ จิตสงบประณีต เข้าถึงนิโรธสมาบัติ อันถึงภาวะที่ดับสัญญาและเวทนาทั้งหมด เป็นภาวะจิตที่ละเอียดมีความประณีตลึกซึ้งกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาปัตติสุขขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง โดยผู้เข้าสมาบัตินี้จะไม่มีสัญญาและไม่มีเวทนา
      
      ถ้าย่อทั้ง ๑๐ นี้ลงอีก ก็เหลือ ๓ ข้อ คือ กามสุข ความสุขของคนทั่วไป ฌานสุข ความสุขของผู้ได้สมาธิจิต ขั้นฌาน นิโรธสมาปัตติสุข ความสุขเกิดจากการเข้านิโรธสมาบัติของพระอรหันต์
      
      ความสุขทั้งหมดนี้ท่านยอมรับว่าเป็นความสุขทั้งนั้น แต่เป็นความสุขที่ดีกว่าประเสริฐกว่ายิ่งไปตามลำดับ ประณีตบริสุทธิ์มากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น พระพุทธองค์ก็ยังขอให้มองความสุขเหล่านี้เป็น ๓ ส่วน คือ แง่ที่เป็นสุข แง่ที่มีทุกข์ และให้รู้จักทางออก เรียกว่ามองเป็น ๓ มิติ ในขั้นสุดท้ายก็เกิดมรรคสุข ผลสุข และนิพพานสุข ซึ่งไม่ กลับกลายอีก มีแต่ความปลอดโปร่งถ่ายเดียว นี่คือประโยชน์สุขที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มนุษย์เข้าถึงให้ได้
      
      • ความเจริญที่ประเสริฐ
      สำหรับคฤหัสถ์ ๑๐ ระดับ

      
      ในวัฑฒิสูตร ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๗๔) พระพุทธองค์ทรงแสดงความเจริญในขั้นตอนต่างๆ ของชีวิตคฤหัสถ์ไว้ ๑๐ ระดับ คือ
      
      ๑. เจริญด้วยอสังหาริมทรัพย์ มีเรือกสวน ไร่นา เป็นต้น
      ๒. เจริญด้วยสังหาริมทรัพย์ มีเงินทอง ข้าวเปลือก เป็นต้น
      ๓. เจริญด้วยบุตรธิดาและภรรยา
      ๔. เจริญด้วยข้าทาสบริวาร ลูกน้อง กรรมกร คนใช้
      ๕. เจริญด้วยสัตว์เลี้ยงต่างๆ ในกรณีที่มีอาชีพทางเลี้ยงสัตว์
      ๖. เจริญด้วยศรัทธา คือ ความเชื่ออันมั่นคง
      ๗. เจริญด้วยศีล คือ การควบคุมกายและวาจาตนเอง ให้ปกติ
      ๘. เจริญด้วยสุตะ คือ การศึกษา การสดับรังฟัง ความรู้ในวิทยาการต่างๆ
      ๙. เจริญด้วยจาคะ คือ การเสียสละเพื่อเกื้อกูลแก่คน อื่น
      ๑๐. เจริญด้วยปัญญา คือ มีความรอบรู้ในเหตุผลต่างๆ ทั้งด้านดีและไม่ดี

      
      พระพุทธองค์ทรงย้ำว่า หากบุคคลเจริญด้วยความเจริญในระดับต่างๆ ดังกล่าว ชื่อว่าเจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ เพราะสามารถถือเอาสิ่งที่เป็นสาระ คือสิ่งที่ประเสริฐแห่งชีวิตได้ และตรัสสรุปความเป็นพระพุทธคาถาว่า
      
      “ในโลกนี้ บุคคลใดเจริญด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก บุตร ภรรยา (ทาสกรรมกร) และสัตว์สี่เท้า บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้มีโชค มียศ เป็นผู้อันญาติมิตร และพระราชาบูชาแล้ว
      
      ในโลกนี้ บุคคลใดเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา บุคคลเช่นนั้นจัดเป็นสัตบุรุษ มีปัญญาเห็นประจักษ์ ย่อมเจริญด้วยความเจริญสองส่วน”
      
      จากพระพุทธคาถาสรุปความในพระสูตรนี้ เป็นเครื่อง ชี้ให้เห็นได้ว่าในทางพระพุทธศาสนามองปัจจัยแห่งการอยู่ดีมีสุขของคนผู้ครองเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจเป็น ๒ ชั้น คือ
      
      (๑) ชั้นของการสนองตอบความต้องการหรือการบำบัดทุกข์
      (๒) ชั้นของการบำบัด หรือบรรเทา คือการลดกระแส ของความอยาก ความต้องการที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด โดยให้ลดความรุนแรงลงเป็นชั้นของการบำรุงสุข


:D